......เคยเห็น..."บึ้ง"...อึ้งนักเชียว..และเสียวไส้......บรื๊ออออ...
...ตัวอาไร้...มองจะ..จะ..ขยะแขยง
...เหมือนแมงมุมขยุ้มใย....เค้าใส่แกง..
...รสสำแดง...เล่าโอ่..แสนโอชา
......นานมากแล้วไปเที่ยวหัวหิน...ที่ตลาดสดหัวหิน...พ่อกับแม่(นักชิมทั้งคู่)...พบเจ้าตัวนี้วางขายเป็นกระทงเล็กๆ....ซื้อค่ะพี่น้องเอ๊ยยยยย....เอามาตำน้ำพริกเหมือนเราใส่แมงดานาในน้ำพริกน่ะค่ะท่านว่าของโบราณน่ะค่ะ...กลิ่นก็ประมาณน้ำพริกแมงดาธรรมดา...แต่หุ่นเธอรับไม่ได้จริง...
...
สำหรับ "บึ้ง" นั้นจะอยู่ในประเภทที่ 1 taruntura ซึ่งในประเทศไทย มีแค่ 3 สี คือ สีดำ สีน้ำเงิน และสีน้ำตาล และมีประมาณ 15-16 ชนิด ส่วน "บึ้ง" ที่เป็นข่าวกัดคนตายนั้น เป็น บึ้ง สีน้ำเงิน (Cobalt Blue Tarantula) ที่อยู่ในสกุลเดียวกันกับบึ้งดำไทย มีนิสัยดุร้าย กัดเก่ง ตัวผู้ลำตัวจะออกน้ำตาลนิดๆ ส่วนตัวเมียขาจะเป็นสีน้ำเงินสดสวยมากๆ ปัจจุบันบึ้ง หรือแมงมุมยักษ์ชนิดนี้พบได้น้อยมาก เพราะปกติแล้วบึ้งจะไม่ค่อยเข้ามาที่บ้านคน แต่ถ้าหากเข้ามาก็ด้วยสาเหตุ 2 ประการ คือ มาจับแมลงที่มาตอมไฟ และบ้านรกเกินไป
ผู้เชี่ยวชาญด้านแมงมุม กล่าวว่า ตัวบึ้งนับว่าเป็นแมงมุมที่น่ากลัว เพราะมีตัวใหญ่ถึงประมาณ 10 เซนติเมตร มีเขี้ยวพิษที่ใหญ่ ปริมาณพิษเยอะ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อชาวบ้านถูกกัดเท่าที่ทราบ เขาจะใช้สมุนไพรท้องถิ่นมาฝนทา แต่ก็ไม่ทราบว่า ทางการแพทย์แก้ไขอย่างไร สำหรับผู้ที่เสียชีวิตเป็นเป็นข่าวถูกบึ้งกัดเห็นว่า ถูกกัดถึง 2 ที่ ก็ต้องไปดูสภาพแวดล้อม หรือพิสูจน์อีกทีว่าจะถูกบึ้งกัดเสียชีวิตจริงหรือไม่
ส่วนบึ้งดำไทย หรือ ที่เรารู้จักกันดีว่า แมงมุมยักษ์ นั้น แม้จะเป็นแมงมุมที่มีพิษน้อย แต่กับบางคนที่แพ้สารพิษก็อาจเป็นอันตรายมากได้ ดังนั้นจึงต้องคิดเสมอว่าแมงมุมเป็นสัตว์ที่มีอันตราย แต่ในทางกลับกันแมงมุมก็มีประโยชน์ เช่นกัน เพราะมันช่วยกินแมลงศัตรูพืชในไร่นา แถมยังเป็นเมนูเด็ดที่ชาวบ้านบางพื้นที่ชื่นชอบนำมาปรุงเป็นยาอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลระบุว่า จริงๆ แล้ว "บึ้ง" ไม่มีพิษขนาดฆ่าคนปกติได้ นอกเสียจากว่า ผู้ที่โดนกัดจะเกิดแพ้พิษอย่างรุนแรง ซึ่งโดยธรรมชาติของบึ้ง จะใช้เขี้ยวกัดเหยื่อ บึ้งมีเขี้ยวพิษอยู่บริเวณส่วนหน้าของกระดอง ตรงปลายส่วนของปาก มีลักษณะเหมือนนิ้ว 2 ข้าง เรียก ว่า chelicerae แม้ว่า บึ้งเป็นสัตว์ตระกูลแมงมุมก็จริง แต่การกัดแตกต่างจากแมงมุมทั่วไป กัดเหมือนอาการหยิกของคน แต่บึ้งจะกัดเป็นแนวลึกตรง ซึ่งสามารถเอาชนะเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ บางครั้งบึ้งสามารถฆ่างูกะปะตัวเล็กๆ ได้อีกด้วย
สำหรับการโจมตีของบึ้ง เริ่มด้วยการใช้เขี้ยวจะฝังลึกลงไปในเนื้อ ปล่อยน้ำพิษผ่าน เขี้ยวเข้าสู่ร่างของเหยื่อ เมื่อเหยื่อรับพิษ เหยื่อจะไม่มีแรง ในที่สุดก็จะเป็นอัมพาตขยับเขยื้อนไม่ได้ เนื่องจากพิษบึ้งจะค่อยๆ ย่อยเนื้อของเหยื่อ ทำหน้าที่เหมือนกรดกัดกร่อน ให้เนื้อกลายเป็นของเหลว แล้วบึ้งจะดูดของเหลวออกมา...จนเหยื่อแห้งเหลือแต่ซาก