14 มกราคม 2010, 12:24:AM |
วฤก
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 14 มกราคม 2010, 12:24:AM » |
ชุมชน
|
อยากให้คุณ Webmaster มาบอกวิธีการเล่นอักษร หรือที่เรียกว่า "กลบท-กลอักษร"น่ะครับ เพราะอยากรู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และอีกอย่าง ผมไปหาแล้วมันมีแค่นิดเดียวเอง ถ้าหาได้ก็ขอบคุณมากครับ แต่ไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ ด.ช.นนท์ กลบท "ธงนำริ้ว"กำหนดให้ ซ้ำคำ สองคำแรกของทุกวรรคกลอนครับ
|
|
|
|
|
|
16 มีนาคม 2010, 10:28:PM |
ระนาดเอก
webmaster
คะแนนกลอนของผู้นี้ 780
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,732
~พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ~
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 16 มีนาคม 2010, 10:28:PM » |
ชุมชน
|
..ผมอยากให้สมาชิกทุกท่าน..ที่มีความสนใจในการเขียนกลอนสุภาพ(กลอนแปด).. ..ได้เข้ามาตักตวงความรู้จาก ข้อมูลตรงนี้ครับ.. ..ซึ่งข้อมูลทั้งหลายที่ผมนำมาเผยแพร่นี้.. ..เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์..เหมาะสำหรับ..ทุกๆท่านที่มีความสนใจในการเขียนกลอนแปด..ซึ่งเป็นกลอนตลาดเขียนกันอย่างแพร่หลาย.. ..แต่หลายๆท่านในที่นี้ บางท่านก็อาจหลงลืมกฎเกณฑ์ในการเขียน..เช่น เกล็ดเล็กๆน้อยๆในการเขียน.. ..ประเภท.."สัมผัสซ้ำ" , "ชิงสัมผัส" หรือ "สัมผัสเลือน" ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นฐานแรกของ การเขียนกลอนแปด ที่ทุกๆท่านควรจะทราบครับ.. ..เนื้อหาดังกล่าวนี้..ก็เป็นข้อมูลพื้นฐาน ที่ถือว่าเป็นมาตราฐานของทางวงการกลอนไทย.. ..และก็เป็นมาตราฐานหนึ่ง..ซึ่งทางสมาคมฯหรือทางชมรมต่างๆ ในวงการกลอน.. ..ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินผลงานกลอนที่ได้ส่งเข้าประกวด..ตลอดจนนิตยสารบางเล่ม ที่พิจารณาผลงานของทุกๆท่านเพื่อลงตีพิมพ์ด้วยครับ..
..ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจาก..หนังสืออ้างอิง: ๑. "เรียงร้อยถ้อยคำ" โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ วาณิช จรุงกิจอนันต์ ๒. "กลอนสัมผัสใจได้อย่างไร" โดย วาสนา บุญสม..ครับ!
กลอนสุภาพ
ผมสังเกตเห็น นักกลอนสมัครเล่น รุ่นใหม่ๆ หลายๆคน ที่เมื่อเริ่มต้น เขียนกลอนแปด มักจะลืมเลือน หรือไม่ทราบถึง กฏเกณฑ ์ทางฉันทลักษณ์ และไม่สามารถแยกแยะ เสียงกับจังหวะ ของกลอนสุภาพ ที่ถูกต้องได้ จึงได้ทำการค้นคว้า และรวบรวม เป็นข้อเสนอแนะ สำหรับนักกลอนรุ่นใหม่ๆ ให้อ่าน และทำความเข้าใจ ถึงลีลาและชั้นเชิงใน การเขียนกลอนสุภาพ ให้ไพเราะ และสัมผัสใจคนอ่าน โดยจะพยายาม อ้างอิงจาก ท่านผู้รู้ในเชิงกลอน ให้มากที่สุด
ข้อบังคับในกลอนสุภาพ
๑ คณะ กลอนสุภาพแต่ละบท จะมี ๒ บาท แต่ละบาทจะมี ๒ วรรค แต่ละวรรค จะมี ๘ คำ (ตามปกติ ให้ใช้คำได้ ระหว่าง ๗ - ๙ คำ) ดังตัวอย่าง
กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน <- วรรคสดับ อ่านสามตอนทุกวรรคประจักษ์แถลง <- วรรครับ ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง <- วรรครอง ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน <- วรรคส่ง
บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก มี ๒ วรรค คือ วรรคสดับ(วรรคสลับ) และวรรครับ บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท มี ๒ วรรค คือ วรรครอง และวรรคส่ง
๒ สัมผัส มี ๒ อย่างคือสัมผัสนอก และสัมผัสใน สัมผัสนอกนั้น เป็นข้อบังคับที่ต้องใช้ ดังรูป ส่วนสัมผัสใน ใช้เพื่อ ให้กลอนนั้น มีความไพเราะ มากขึ้น
การใช้ สัมผัสนอก เป็นเรื่องที่ทุกคน ทราบดี อยู่แล้ว เพียงแต่ ที่เคยเห็น นักกลอนมือใหม่ บางคน มักจะไม่ส่งสัมผัส ระหว่างบท คือส่งจาก คำสุดท้าย ในวรรคสุดท้าย ไปยังคำสุดท้ายในวรรคที่สอง ของบทต่อมา และสัมผัสนอกนั้น จะใช้สัมผัสสระ ที่เป็นเสียงเดียวกัน ความผิดพลาด ที่มักจะพบเห็น คือใช้สัมผัสสระ เสียงสั้นกับเสียงยาว ทำให้กลอน บทนั้นเสียไปทันที เช่น ไม้ สัมผัสกับ วาย , สันต์ สัมผัสกับ วาร เป็นต้น..
ส่วนการใช้สัมผัสใน มีได้ทั้งสัมผัส สระและอักษร การใช้สัมผัสใน อันไพเราะ ตามแบบอย่าง ของสุนทรภู่ มักจะใช้ ดังตัวอย่าง
๐ เหมือนหนุ่มหนุ่มลุ่มหลงพะวงสวาท เหลือร้ายกาจกอดจูบรักรูปเขา ครั้นวอดวายตายไปเหม็นไม่เบา เป็นหนอนหนองพองเน่าเสียเปล่าดาย.. "สุนทรภู่" สิงหไตรภพ
สังเกตได้ว่า สุนทรภู่ มักจะใช้ สัมผัสใน ที่คำที่ ๓-๔ และคำที่ ๕-๗ และมักจะใช้ รูปแบบเช่นนี้ เป็นส่วนมาก ในบทประพันธ์ บางตำแหน่งที่ไม่สามารถใช้สัมผัสสระได้ ก็อาจจะใช้สัมผัสอักษรแทน
๓ เสียง คำสุดท้าย ในแต่ละวรรค ของกลอน มีข้อกำหนด ในเรื่องเสียง ของวรรณยุกต์ เป็นตัวกำหนดด้วย การกำหนดเรื่องเสียงนี้ ถือว่าเป็นข้อบังคับ ทางฉันทลักษณ์ อย่างหนึ่ง ของกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ อันมีข้อกำหนด ดังต่อไปนี้..
๑. คำสุดท้ายวรรคที่ ๑ (วรรคสดับ) ใช้ได้ทุกเสียง แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เสียงสามัญ ๒. คำสุดท้ายวรรคที่ ๒ (วรรครับ) ต้องใช้เสียงเอก โท หรือจัตวา นิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญและตรี (บางท่านก็อนุโลมให้ใช้เสียงตรีได้แต่ไม่นิยม) ๓. คำสุดท้ายวรรคที่ ๓ (วรรครอง) ต้องใช้เสียงสามัญ หรือเสียงตรี ที่นิยมที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียง เอก โท และจัตวา ๔. คำสุดท้ายวรรคที่ ๔ (วรรคส่ง) ต้องใช้เสียงสามัญหรือตรี ที่นิยมมากที่สุดคือเสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงเอก โท และจัตวา..
สิ่งที่พึงระวัง ในการใช้สัมผัส มากเกินไป จนลืมความหมาย สำคัญหลัก อันเป็นเรื่องราว ของกลอนนั้นๆ ก็จะทำให้ กลอน ดูไม่เป็นธรรมชาติ ไม่มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ ท่านอาจารย์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยกล่าวไว้ว่า "ถ้าหลงใหลถือเคร่งกับสัมผัสคำมากเกินไป ก็ทำให้เกิด คำด้าน ขึ้นมาได้" "คำด้าน" คือสำนวนที่มีแต่ "สัมผัสคำ" แต่ไม่ "สัมผัสใจ" นั่นเอง..
๔ จังหวะ ในกลอนสุภาพมักจะแบ่งกลุ่มคำออกเป็น ๓ ช่วงจังหวะ คือ ooo oo ooo เป็นกลุ่มแบบ ๓-๒-๓ บางท่าน อาจจะแบ่ง เป็นอย่างอื่น ก็ได้เช่น oo oo ooo (๒-๒-๓) , oo ooo ooo (๒-๓-๓) , ooo ooo oo (๓-๓-๒) หรือใช้หลายๆแบบที่กล่าวมานี้ผสมกัน แต่รูปแบบ ๓-๒-๓ เป็นมาตรฐานที่นิยมกันมากที่สุด ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในกลอนของ สุนทรภู่ ดังตัวอย่าง
๐ เมื่อเคราะห์ร้าย-กายเรา-ก็เท่านี้ ไม่มีที่-พสุธา-จะอาศัย ล้วนหนามเหน็บ-เจ็บแสบ-คับแคบใจ เหมือนนกไร้-รังเร่-อยู่เอกา..
การยึดจังหวะ เช่นนี้รวมกับ การใช้สัมผัสใน แบบท่านสุนทรภู่ เป็นหลักการ มาตรฐาน ที่มักจะ ทำให้กลอน ไพเราะ สละสลวย ได้โดยง่าย แต่ก็พึงระวัง การแบ่งจังหวะ แบบที่ฝืน จนต้องฉีกคำ เช่น เที่ยวสวนส-นุกอ-เนกประสงค์ ซึ่งทำให ้กลอนนั้น อ่านไม่ได้จังหวะ ดังที่ต้องการ และอาจทำให้ กลอนเสีย ทั้งบทได้
๕. ข้อควรหลีกเลี่ยงในการเขียนกลอน
ข้อควรหลีกเลี่ยงนี้ เป็นเพียง ข้อแนะนำ (ส่วนตัว) มิใช่กฏเกณฑ์ ตายตัว ที่ต้องปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด เพียงแต่ ถ้าสามารถ ปฏิบัติตาม ข้อควรระวัง เหล่านี้แล้ว จะทำให้กลอน ดูสละสลวย และถูกต้อง ตามความนิยม ของกวีสมัยก่อนๆ และมิใช่วิธีการ ในการประเมิณค่า ของบทประพันธ์ แต่อย่างใด ถ้าใครสามารถ ยึดถือไว้ เป็นหลัก ในการแต่งกลอน ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี
๕.๑ ไม่ควรใช้คำไม่สุภาพ, คำหยาบต่างๆ มาใช้ เช่น เสือก, ตูด, ถุย ฯลฯ, คำแสลงเช่น มหา'ลัย, แม่ง ฯลฯ เป็นต้น
๕.๒ ไม่นำคำเสียงสั้น กับเสียงยาว มาสัมผัสนอกกัน อย่างที่เคย กล่าวมาแล้ว ในเรื่องสัมผัส การกระทำ เช่นนี้ ถือว่าเป็นความผิดพลาด ทางฉันทลักษณ์โดยตรง โดยให้ดูที่รูปสระนั้นๆ เป็นหลักเช่น รัก สัมผัสกับ มาก, ใจ สัมผัสกับ วาย, คน สัมผัสกับ โดน , เก้า สัมผัสกับ ท้าว, เก็น สัมผัสกับ เขน ฯลฯ เป็นต้น ดังตัวอย่าง..
๐ ศึกสิงห์เหนือเสือใต้ในวันนี้ ขอสตรีร่วมบทบาทชาติสุขศานต์ ตาร้อยคู่ตาคู่เดียวเกี่ยวร้อยกัน สงครามนั้นจักสงบเลิกรบรา..
๕.๓ ไม่ชิงสัมผัสก่อน ในการใช้คำสัมผัสนอกกันนั้น พึงระวังมิให้มีคำที่เป็นเสียงสระเดียวกัน กับคำที่จะใช้สัมผัสปรากฏก่อน คำสัมผัส ในวรรคเดียวกัน เช่น..
๐ จะไหวตัวกลัวเชยเลยลองนิ่ง เขากลับติงว่านั่น มันเชยใหญ่ อะไรอะไรก็ตะบันไป ทำฉันใดหนอพ้นเป็นคนเชย..
การกระทำเช่นนี้ จะทำให้กลอนด้อย ความไพเราะ ในเชิง คำสัมผัส เพราะมีการ ชิงสัมผัส กันก่อน
๕.๔ ไม่สัมผัสเลือน มักปรากฏอยู่ในวรรค รับ (ที่ ๒) และวรรคส่ง (ที่ ๔) คือมีการใช้คำ สัมผัส ภายในวรรค เดียวกัน ในคำที่ ๓, ๕ และ ๘ เช่น
๐ ถึงฤกษ์เรียงเคียงหมอนเมื่อตอนดึก กลับรู้สึกหนาวสั่นขันไหมเล่า? ใครไม่เคยเข้าหออย่าล้อเรา ถึงตัวเข้าบ้างคงหนาวเหมือนกล่าวเอย..
จะเห็นได้ว่า คำว่า หนาว กับ กล่าว นั้น เป็นสัมผัสใน ที่ถูกต้องแล้ว แต่ดันไปสัมผัส กับคำว่า เข้า ก่อนหน้านี้อีก จึงติดเงื่อนไข การใช้สัมผัสเลือนไป..
๕.๕ ไม่สัมผัสซ้ำ มี ๒ ประเภทคือ
ก. สัมผัสซ้ำแบบ "พ้องรูปและเสียง" คือเป็นการใช้คำสัมผัส เป็นคำเดียวกัน ซ้ำภายในบทกลอนบทดียวกัน หรือบทติดๆกัน เช่น..
๐ ช่างกำเริบเสิบสานทหารชั่ว อย่างเป็นผัวนางนี่ร้อยตรีสาว วันัยอ่อนหย่อนดื้อแถมมือกาว พบนายสาวไม่คำนับเข้าจับตัว..
ข. สัมผัสซ้ำแบบ "พ้องเสียง" คือเป็นการใช้คำสัมผัส เป็นคำพ้องเสียง ซ้ำภายในบทกลอนบทดียวกัน หรือบทติดๆกัน เช่น..
๐ ชีวิตเลือกเกิดมิได้ใครก็รู้ ต้องดิ้นรนต่อสู้อุปสรรค ทำให้ดีที่สุดอย่าหยุดพัก ทางสู่ศักดิ์ศรีแม้ไกลเหมือนใกล้กัน..
๕.๖ ไม่ควรใช้คำศัพท์โบราณ มาใช้มาก เกินความจำเป็น เนื่องจากคำเหล่านี้ ต้องแปลความหมาย ซึ่งคนส่วนมาก ไม่ทราบความหมาย เหล่านั้น ทำให้กลอน อ่านแล้ว ทำความเข้าใจ ได้ยากขึ้น เช่น..
๐ สรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์ ผ่องประภัศร์พลอยหาวพราวเวหา พริ้งไพเราะเสนาะกรรณวัณณนา สมสมญาแห่งสวรรค์ชั้นกวี ๐ อิ่มอารมณ์ชมสถานวิมานมาศ อันโอภาสแผ่ผายพรายรังสี รัศมีมีเสียงเพียงดนตรี ประทีปทีฆะรัสสะจังหวะโยนฯ..
๕.๗ ไม่นำคำเฉพาะที่เป็นคำคู่ มาสลับหน้าหลังกัน เพราะจะทำให้ ความหมายเปลี่ยนไป หรือ สูญสิ้นความหมาย ของคำนั้นๆไปได้ เช่น..
ขุกเข็ญ เขียนเป็น เข็ญขุก งอกงาม เขียนเป็น งามงอก ลิดรอน เขียนเป็น รอนริด หุนหัน เขียนเป็น หันหุน ว้าเหว่ เขียนเป็น เหว่ว้า ย่อยยับ เขียนเป็น ยับย่อย ทักทาย เขียนเป็น ทายทัก บดบัง เขียนเป็น บังบด งมงาย เขียนเป็น งายงม ร่ำรวย เขียนเป็น รวยร่ำ ชั่วช้า เขียนเป็น ช้าชั่ว
การใช้คำสลับกันเช่นนี้ อาจจะทำให้กลอน ที่ไพเราะ ด้อยคุณค่า ลงได้ เช่น..
๐ แค้นมีหนอนบ่อนไส้ใจไม่ซื่อ เป็นเครื่องมือเบียนเบียดช่วยเหยียดหยาม มันขายชาติช้าชั่วมิกลัวความ หายนะรุกรามเข้าทำลาย..
๕.๘ ไม่ควรให้คำสัมผัสนอก ซ้ำภายในวรรคเดียวกัน เช่น..
พวกเราเหล่าทหารชาญสนาม ไม่ครั่นคร้ามใครว่าหรือมาหยาม จะยืนหยัดซัดสู้ให้รู้ความ ดังนิยามเชิงเช่นผู้เป็นชาย..
๕.๙ ไม่ลอกเลียนหรือละเมิดลิขสิทธิ์ บทประพันธ์ของผู้อื่น นอกจาก จะผิดกฏหมาย พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์แล้ว ยังเป็นการผิด จรรยาบรรณ อีกด้วย จึงควรระวัง ไม่ลอกบทประพันธ์ ของผู้อื่นอย่างจงใจ เช่น..
กลอนที่ชื่อว่า "ขอ" ของ เอก หทัย เขียนไว้ว่า..
๐ ขอเธอมีรักใหม่อย่าให้รู้ และถ้าอยู่กับใครอย่าให้เห็น ให้ฉันเถอะ ขอร้องสองประเด็น แล้วจะเป็นผู้แพ้อย่างแท้จริง..
มีผู้นำไปแปลงใหม่ แล้วให้ชื่อว่า "วันนี้ที่รอคอย" ดังนี้..
๐ ขอเธอมีผัวใหม่บอกให้รู้ และเลือกคู่หล่อกว่าพี่อย่างที่เห็น พินัยกรรมใบหย่าอย่าลืมเซ็น แล้วจะเป็นโสดตอนแก่อย่างแท้จริง.. *** หนังสืออ้างอิง: ๑. "เรียงร้อยถ้อยคำ" โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ วาณิช จรุงกิจอนันต์ ๒. "กลอนสัมผัสใจได้อย่างไร" โดย วาสนา บุญสม
--------------------------------------------------------------------------------..จากใจระนาดเอกครับ..
|
|
|
|
28 มีนาคม 2010, 05:54:PM |
saowarose
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 28 มีนาคม 2010, 05:54:PM » |
ชุมชน
|
ผมมาใหม่นึกคึกมาฝึกเขียน อยากจะเรียนจะรู้ตามครูสอน เสาวรสพากเพียรจะเขียนกลอน ผมเด็กอ่อนฝากพี่ช่วยติชม
ผมหลงใหลในกลอนเป็นยิ่งนัก ติดกับดักเข้าแล้วสิครับผม แม้ว่ากลอนผมหนาไม่น่าชม ไม่เหมาะสมใคร่ขอคำแนะนำ แหะๆ ผมตั้งใจสุดชีวิตเลยครับ ไม่ไพเราะอย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ ไม่ถูกต้องอย่างไรช่วยแนะนำว่ากล่าวตักเตือนผมด้วยนะครับ
|
|
|
|
|
28 มีนาคม 2010, 06:34:PM |
saowarose
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 28 มีนาคม 2010, 06:34:PM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณหนุ่ม นะโม มากเลยครับ ได้สดับ ดีใจ มากนักหนา ผมจะตั้ง ใจครับ ผมสัญญา เรียนวิชา กับครู บ้านกลอนไทย
เพราะที่นี่ มีกลอน ที่ไพเราะ ผมชมเปาะ ในคำ ที่ลื่นไหล ขอบคุณอีก ครั้งครับ กับน้ำใจ ที่มอบให้เจ้าชายเสาวรส
ขอบคุณมากๆเลยครับพี่หนุ่มนะโม ผมซาบซึ้งจังเลยครับ กลอนของพี่เพราะมากๆเลยครับ ชี้เเนะผมด้วยนะครับ
|
|
|
|
|
01 เมษายน 2010, 01:27:AM |
..ทักษมน..
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 01 เมษายน 2010, 01:27:AM » |
ชุมชน
|
คารวะ.....ท่านอาจารย์ จะคุกเข่า....จนท่านรับข้าฯเป็นศิษย์ [/color] (โพ โพ)
|
|
|
|
01 เมษายน 2010, 09:28:AM |
ธาตรี พฤกษา
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 01 เมษายน 2010, 09:28:AM » |
ชุมชน
|
ท่านคารวะผู้ใดครับ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
01 เมษายน 2010, 10:36:PM |
คนไร้ค่า
Special Class LV1 นักกลอนผู้เร่ร่อน
คะแนนกลอนของผู้นี้ 23
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 201
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 01 เมษายน 2010, 10:36:PM » |
ชุมชน
|
ถึงคิดฝาก จากใจ หวั่นไหวฉัน...(อ่านถอยหลัง).......ฉันหวั่นไหว ใจจาก ฝากคิดถึง รองรอยร้าว หนาวเหน็บ จึงเจ็บตรึง....................ตรึงเจ็บจึง เหน็บหนาว ร้าวรอยรอง
จ้องจันทร์เจ้า เปล่าเปลี่ยว ดายเดียวหมาย........................หมายเดียวดาย เปลี่ยวเปล่า เจ้าจันทร์จ้อง รอคนไกล หายห่าง หมองทางมอง................................มองทางหมอง ห่างหาย ไกลคนรอ
ขอเก็บเศษ เช็ดโศก เกลาโลกเหงา...............................เหงาโลกเกลา โศกเช็ด เศษเก็บขอ ใจเหว่ว้า พาตัว ท้อกลัวพอ........................................พอกลัวท้อ ตัวพา ว้าเหว่ใจ
ใส่หวังฝัน มั่นหมาย ดูคล้ายอยู่...................................อยู่คล้ายดู หมายมั่น ฝันหวังใส่ เพียงพอแล้ว แน่วแน่ ใครแพ้ไป..................................ไปแพ้ใคร แน่แน่ว แล้วพอเพียง
เสียงใบไม้ ร่ายพัด ยังชัดฟัง......................................ฟังชัดยัง พัดร่าย ใบไม้เสียง เรากล่อมชื่น คลื่นลม เอียงตรมเคียง .............................เคียงตรมเอียง ลมคลื่น ชื่นกล่อมเรา
เหงาใจยิ่ง จริงแท้ มีแค่นี้.........................................นี้แค่มี แท้จริง ยิ่งใจเหงา รักหรือนี่ ที่หวัง เศร้าบางเบา......................................เบาบางเศร้า หวังที่....."นี่หรือรัก?"
ธาตรี พฤกษา...
กลัว งง ครับ เลยต่อตรงท้ายให้ เขียนถอยหลังให้อ่านเลยครับ จะได้สะดวกในการอ่าน....... ฝีมือท่าน เก่งกล้า ถึงเพียงนี้ ยังอุตส่าห์ ปรานี มาปราศัย คารวะ ข้าน้อย ละอายใจ ด้วยฝีมือ ไม่มีค่า พอคู่ควร
อยากจะขอ คารวะ ผู้กล้าเก่ง มินักเลง ใจอ่อนน้อม มิผกผวน มีน้ำใจ ต่อน้อง มีแปรปรวน ความทั้งมวล ข้ากลั่นกรอง ออกจากใจ
อยากให้ท่าน ถือตน ดังพี่ข้า จักสั่งสอน หรือติว่า เชิญปราศัย ขออย่า คารวะ ข้า ละอายใจ วางตัวใหม่ เถิดหนา พี่ข้าเอย
|
|
|
|
04 เมษายน 2010, 05:24:PM |
สายลมสีขาว
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 04 เมษายน 2010, 05:24:PM » |
ชุมชน
|
งานกวีดี มีถ้อย ร้อยคำฝัน เกิดจากคำ ประพันธ์ อันสดใส ซึ่งกลั่นออก มาจาก ห้องจิตใจ ส่องประกาย งามไสว ในอุรา
อย่ารีบเร่ง แต่แรก กลบท เดี๋ยวสลด ปลดไป สิ้นใจหา ด้วยเพราะคำ ที่ใช้ พร่ำออกมา กลับย้อนฆ่า ตัวเอง ข่มเหงกัน
จงใช้ใจ ใส่อาภรณ์ ป้อนสัมผัส เป็นบรรทัด จัดเติม เพิ่มสีสัน เมื่อชำนาญ ค่อยประดับ แก้วอำพัน เติมใส่ฝัน กลบท กฏหลักการ
กลอนจะงาม กานท์จะเพราะ เสนาะจิต จงลิขิต "ด้วยใจ" ใส่ประสาน อย่าได้ยึด ถือเหตุผล จนซมซาน เดี๋ยวจะเสีย คำหวาน ผสานทรวง
หากแต่ใช่ ใช้ใจ ใฝ่ลงลักษณ์ แล้วทิ้งผลัก เหตุผล ไม่สนหวง คงจะน่า เสียดาย ความหมายลวง เมื่องานถ่วง สองข้าง ไม่เท่ากัน เคยมีคนบอกมาว่า คนที่ใช้อารมณ์ในการทำสิ่งต่างๆนั้น มักจะถูกมองว่าไร้เหตุผล แต่ขณะเดียวกัน คนที่ใช้แต่เหตุผลทำสิ่งต่างๆ ก็มักจะถูกมองว่าไร้จิตใจเช่นกัน
|
|
|
|
04 เมษายน 2010, 10:40:PM |
ธาตรี พฤกษา
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 04 เมษายน 2010, 10:40:PM » |
ชุมชน
|
"เมื่อเราอาจหาญที่จะเขียนร้อยกรองที่มีบังคับแล้ว จะไปกลัวอะไรกับกลบทที่แค่มีบังคับมากขึ้น"
เชษฐภัทร
|
|
|
|
28 มิถุนายน 2010, 10:06:AM |
เพรางาย
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 553
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,312
ทุกคำถามจะนำมาซึ่งคำตอบ
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2010, 10:06:AM » |
ชุมชน
|
เขียดใต้บัว (กลอน ๗)
ซ่อนตัวอยู่ใต้ใบบัวเขียว นั่งอยู่ตัวเดียวเมื่อวันก่อน อาศัยน้ำอ่างล้างความร้อน ยึดเป็นที่นอนที่พักพิง
สัปดาห์ผ่านไปไม่เห็นตัว อ่างใหม่ใต้บัวเห็นเกาะนิ่ง เจ้าได้เพื่อนใหม่มาแอบอิง เพื่อนหญิงหรือชายไม่ยักรู้
ค่ำลงเห็นแมวเที่ยวมุดซุก ข้างอ่างไล่รุกค้นหาอยู่ คว้าแมวเข้าบ้านปิดประตู กลัวเขียดดวงจู๋อยู่ไม่นาน
|
คนที่กำลังไล่ตามความฝัน ท่ามกลางความผกผันของเวลา
|
|
|
28 มิถุนายน 2010, 03:08:PM |
|
|
22 สิงหาคม 2010, 04:53:PM |
|
|
22 สิงหาคม 2010, 07:05:PM |
|
|
23 สิงหาคม 2010, 05:57:PM |
|
|
25 สิงหาคม 2010, 06:31:PM |
|
|
25 สิงหาคม 2010, 06:37:PM |
ดาวระดา
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 25 สิงหาคม 2010, 06:37:PM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณครับสำหรับสิ่งดีๆผมน้อมรับไปปรับตัวครับท่าน ผมเองถ้าระวังก็ไม่เกิดโรคสองสามอย่างนี้หรอกแต่หลังๆไม่ค่อยระวัง ขอบคุณครับจากใจเช่นกันครับคุณ ซึ้งในน้ำใจที่ไขพาทีเนาะ
|
|
|
|
|