แคนโต้ คือ บทกวีประเภทหนึ่งมีลักษณะเป็นเป็น
กลอนเปล่าไม่มีสัมผัส
มี ๓ บาท บาทละ ๑ วรรค ในแต่ละวรรคไม่กำหนดจำนวนพยางค์
ลักษณะเด่นของแคนโต้คือ
ใช้คำน้อย แต่ให้ความหมายลึกซึ้ง แคนโต้ เป็นบทกวีไทยร่วมสมัย เกิดขึ้นโดยคนไทย
มีลักษณะเป็นลูกผสมระหว่างตะวันออกและตะวันตก
รูปแบบคล้ายกวีไฮกุของญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันเล็กน้อย
ตรงที่ไฮกุจะเน้นไปทางการแสวงหาความหลุดพ้น
แต่
แคนโต้นั้นเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย แคนโต้เป็นเพียงบทกวีที่ประกอบไปด้วยกลุ่มถ้อยคำสั้นๆ
แต่สิ่งที่น่าแปลกก็คือ เมื่อกลุ่มคำเหล่านี้ถูกจัดเรียงเป็นสามบรรทัดแล้ว
กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง
เมื่อได้อ่านแคนโต้ของใครผู้ใดก็ตามเป็นความยาวต่อเนื่องจำนวนมาก
คุณจะกลายเป็นผู้ล่วงล้ำ เข้าไปรับรู้ถึงอารมณ์
และห้วงความคิดคำนึงของชีวิตใครผู้หนึ่งในลักษณะปะติดปะต่อ
และในยามที่คุณเผชิญหน้ากับถ้อยคำสั้นๆเหล่านั้น
คุณจะได้พบกับความหมายบางอย่าง
ผ่านความอ่อนไหว จากชีวิตเล็กๆบนโลกนี้
ในประเทศไทยมีผู้เขียนบทกวี 3 บรรทัดอยู่บ้างประปราย
แต่คนที่นิยาม การรวมกลุ่มของบทกวี 3 บรรทัด
ที่มีความยาวต่อเนื่อง 400 บทขึ้นไปว่า 'แคนโต้' นั้น คือ ฟ้า พูลวรลักษณ์
ฟ้า พูลวรลักษณ์ ได้ตีพิมพ์บทกวีแคนโต้หมายเลขหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2515
และแคนโต้หมายเลขสองในปี พ.ศ. 2543
ต่อมาได้คัดเลือกกลุ่มห้าแคนโต้กลุ่มที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2546
และห้าแคนโต้กลุ่มที่สอง ในปี พ.ศ. 2548
ที่มา
www.thaicanto.com