ไม้เท้ายอดกตัญญู
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 01:08:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไม้เท้ายอดกตัญญู  (อ่าน 3734 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
07 สิงหาคม 2008, 06:26:PM
มั่น แซลี้
Special Class LV4
นักกลอนรอบรู้กวี

****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 136
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,124


กินเพื่ออยู่ แต่อยู่เพื่อน้องหมวย


« เมื่อ: 07 สิงหาคม 2008, 06:26:PM »
ชุมชนชุมชน

เรื่องมาจาก [email protected] ในนามของ got deedeejang([email protected]http://www.deedeejang.com




ชายชราคนหนึ่ง ใบหน้าซูบซีดมีแววหม่นหมองอมความเศร้าไว้อย่างน่าสงสาร แขนขามีแต่หนังหุ้มกระดูก นุ่งผ้าที่เก่ายิ่งกว่าเก่า ขาดกระรุ่งกระริ่ง ผมสีขาวนั้นยาวและหยาบ แสดงอาการที่ไม้ได้เอาใจใส่ดูแลจากเจ้าของ หรือจากใครๆเลย แกตาบอด เบ้าตาที่บอดนั้นกลวงลึกจนเห็นสันกระดูกเบ้าตาชัด แกถือไม้เท้าที่หงิกงอเดินคลำทางเปะปะไปข้างถนน สะพายซอเก่าๆอันหนึ่งไว้ที่บ่าขวา มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายถือกะลาสำหรับขอทาน

ชายชราคนนี้ เดิมนั้นแกเป็นคนร่ำรวย มีลูกทั้งหญิงชายนับได้ 7 คน แกเลี้ยงดูส่งเสียลูกให้มีการศึกษาดี ได้แต่งงานมีครอบครัวหมดทุกคน ทั้งได้แบ่งทรัพย์มรดกให้ลูกทุกๆคนเรียบร้อยแล้ว แต่ลูกของแกต่างคนต่างเกี่ยงกัน ไม่มีใครรับเลี้ยงพ่อแม่ คนโน้นก็บอกว่า คนนั้นน่ารับไปเลี้ยง คนนั้นก็ว่าคนนี้ต่างหากที่ต้องรับไปเลี้ยง ต่างคนต่างกลัวเสียเวลา เสียทรัพย์ กลัวเป็นภาระที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ พวกลูกๆต่างก็ไปอยู่ที่เมืองอื่นไกลออกไป จึงทำให้ชายชราต้องอยู่กันเพียงสองคนผัวเมีย

พวกลูกๆ นั้น นานหลายปีแล้วไม่เคยมีใครมาเยี่ยมดพ่อแม่เลย ต่างคนต่างมุ่งคร่ำเคร่งอยู่กับการทำมาหากิน ยุ่งอยู่กับลูก เมีย ผัว และใช้เวลาว่างไปในงานสังคมดื่มๆ กินๆ หรูหราไป ไม่มีใครห่วงใยพ่อแม่ คนน้องก็คิดว่าพี่ๆคงไปดูแล้ว ส่วนพี่ๆ ก็คิดว่าน้องๆคงดูแลแล้ว นี่แหละโบราณที่ว่า "ลูกสิบคนพ่อแม่เลี้ยงได้ พ่อแม่มีเพียงสองคน แต่ลูกสิบคนเลี้ยงท่านไม่ได้"

พ่อแม่ผู้อาภัพทั้งสอง อยู่กินกันไปอย่างว้าเหว่ เพราะคิดถึงลูกๆ เหลือเกิน ได้แต่บ่นคิดถึงเขา ประกอบกับสมัยนั้น ไม่มีการไปรษณีย์ ไม่มีการประชาสงเคราะห์อย่างทุกวันนี้ คือเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อสมัยพุทธกาลสองพันห้าร้อบกว่าปีมาแล้ว

สมัย นั้นพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ สองผัวเมียชราผู้นี้เป็นพราหมณ์ ต่อมาบ้านของแกถูกไฟไหม้ ทุกอย่างวอดวายไปในกองเพลิง เมียของแกก็ตายในกองเพลิงนั้นด้วย

ชายชราผู้นี้จึงเสียใจมาก เพื่อนบ้านนั้นก็ช่วยแบ่งอาหารให้ก็แต่ชั่วครั้งชั่วคราว จะให้กินตลอดไปนั้นก็ไม่มี แกก็เกรงใจเขา จึงเที่ยวเร่ร่อนขอทาน โดยสีซอขับบรรเลงเพลงไปตามสี่แยกข้างถนน ข้างตลาด จนกระทั่งวันหนึ่งได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์จึงคิดอุบายให้ โดยแต่งเพลงให้บทหนึ่ง ให้แกท่องแล้วไปขับร้องตามชุมชนต่างๆ (ในพระไตรปิฎก เป็นภาษาบาลี)...

โอ้ อนิจจา ตัวเรา ยามเฒ่าแล้ว
พวกลูกแก้ว ทอดทิ้ง ไม่เหลียวหา
หูก็หนวก ตาบอดซมซานมา
ถือกะลา สีซอ ขอเขากิน

มีไม้เท้าอันเดียว เที่ยวเร่ร่อน
ง่วงก็นอนข้างถนน บนกรวดหิน
เมื่อเป็นทุกข์ โอดครางกลางแผ่นดิน
ยามจะกิน อาหารเศษ ทุเรศทรวง

ยามซวนเซ จะพลาด ล้มฟาดพื้น
มีไม้เท้า ยันยืน ได้ยึดหน่วง
ฉันซูบผอม ตรอมใจ ตาลึกกลวง
ไม่มีลูก คอยห่วง เอื้ออารี

โอ้มีลูก ลูกนั้น มันเนรคุณ
ไม่เกื้อหนุน ทอดทิ้งให้หมองศรี
ยามฉันถูก ท่านไก่ไล่จิกตี
ไม้เท้านี้ ป้องภัย ไล่สัตว์พาล

ถูกวัวดุ ฟู่ฟู่ ขู่จะขวิด
มีไม้เท้าเป็นมิตร คอยสงสาร
ใช้กวัดแกว่ง คอยรักษาเป็นปราการ
ยามข้ามธาร ไม้เท้านำฉันไป

เมื่อเดินทาง ไม้เท้าบอกวิถี
ไม้เท้านี้ ดีกว่าลูกเป็นไหนไหน
คนเศษคน อกตัญญู ไร้น้ำใจ
มันทำได้ ใจหินสิ้นเมตตา

เสียง ซอเศร้าๆ ที่ชายชรานั่งร้องขับคลอ ตามสี่แยก ทำให้ผู้คนทั้งหลายได้ฟังเกิดความสงสารอย่างจับใจ หยิบเงินและอาหารมาบริจาคช่วยเหลือแก และนำไปวิจารณ์สาปแช่งลูกเนรคุณเหล่านั้น

จนกระทั่งข่าวนี้แพร่ไปถึงลูกๆ ของแก ทำให้ลูกนั้นได้สำนึก พากันมารับพ่อไปเลี้ยงดู ทั้งนี้เพราะคนอินเดียสมัยนั้น เขาถือมากในเรื่องการปรนนิบัติบิดามารดา เขาบูชาบิดามารดาเป็นเสมือนเทพเจ้า เขาเชื่อฟังบิดามารดา ไม่กล้าเถียง ไม่กล้าดื้อรั้นในสิ่งที่พ่อแม่ห้ามปราม เมื่อถูกสังคมรุมประณามเช่นนั้น พวกลูกๆ ก็คิดได้ สำนักผิด พากันมารับเอาพ่อไปเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่....

แล้วคุณล่ะ วันนี้ดูแลพ่อแม่แล้วรึยัง


 

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s