22 ธันวาคม 2007, 01:22:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 01:22:PM » |
ชุมชน
|
ที่มา http://www.st.ac.th/thaidepart/kol_aksorn.phpพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ความหมายของคำว่า "กลอักษร" ไว้ดังนี้ กลอักษร (กน-อัก-สอน,กน-ละ-อัก-สอน) น. กลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน เช่น โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกำใจ จะจากไกลไม่เคย (กลอักษรงูกินหาง) กลอักษรนั้น ผู้เขียนจะเขียนไว้เป็นกลซ่อนเอาไว้ ผู้อ่านต้องมีความรู้หรือความคิดที่สามารถจะถอดกลนั้น จึงจะสามารถอ่านกลนั้นได้ ดังตัวอย่างย่อหน้าข้างบน ในคำอธิบายของพจนานุกรมนั้น มีกลอักษรอยู่สามวรรค ซึ่งสามารถถอดความออกมาเป็นกลอนได้ดังนี้ กลอักษรงูกินหาง โอ้อกเอ๋ย แสนวิตก โอ้อกเอ๋ย กระไรเลย ระกำใจ กระไรเลย จะจากไกล ไม่เคย จะจากไกลจะเห็นว่าผู้เขียนได้วางกลไว้คือให้อ่านจนสุดวรรคแล้วอ่านซ้ำตามด้วยคำที่ ๑-๓ (๓ คำหลังในแต่ละวรรคก็คือ ๓ คำแรกในวรรคนั้นๆ นั่นเอง) จะเห็นว่าถ้าถอดกลอักษรนี้ได้ก็จะอ่านออกมาเป็นกลอน กลอักษรมีอยู่หลายชนิดเหมือนกัน อาทิเช่น - กลอนกลอักษรคมในฝัก - กลอนกลอักษรงูกินหาง - กลอนกลอักษรนกกางปีก - กลอนกลอักษรคุลาซ่อนลูก - กลอนกลอักษรถอยหลังเข้าคลอง - กลอนกลอักษรม้าลำพอง - กลอนกลอักษรเมขลาโยนแก้ว
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 01:27:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 01:27:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษรคมในฝัก
ปางเริ่มรักจะห่างเหิน สองใจเป็นต้องหมองเมิน เขินขามคิดสะเทิ้นอาย
ว่าหวังรักจะช้าชื่น รื่นรวยรสเร็วคืนหาย ชิดเชยกลิ่นยังติดกาย วายว่างเว้นเสียดายที
ในกลอักษรคมในฝักนั้น จะสังเกตเห็นว่าการอ่านจะลำดับคำดังนี้ ออกเสียงคำที่ ๑ ๒ ๓ ๓ ๒ ๑ ๗ ๘ ๙เป็นอย่างนี้ทุกวรรคไป จะได้ว่า
ปางเริ่มรัก รักเริ่มปาง จะห่างเหิน สองใจเป็น เป็นใจสอง ต้องหมองเมิน เขินขามคิด คิดขามเขิน สะเทิ้นอาย ว่าหวังรัก รักหวังว่า จะช้าชื่น รื่นรวยรส รสรวยรื่น เร็วคืนหาย ชิดเชยกลิ่น กลิ่นเชยชิด ยังติดกาย วายว่างเว้น เว้นว่างวาย เสียดายที
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 01:29:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 01:29:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษรลิ้นตะกวด
ได้ทราบสาร เสน่หา น่าเสสรวล จะมาเย้า ยั่วใจ ให้เรรวน เห็นเล่ห์ล้วนลวงล่อข้อจงใจ ซี่งว่าแสนรัญจวนหวนโหยถวิล ทั้งโดยดิ้นอกจะหักรักหลงไหล มอบชีวังฝังฝากปลงฤทัย จะคงให้ความสัตย์จริงสิ่งรักแรง หากอ่านไปโดยไม่พิจารณาแล้ว บางคนอาจเห็นว่า ก็เป็นกลอนปกติ ไม่เห็นว่าจะเป็นกลอักษรอย่างไร แต่แท้ที่จริงแล้ว กวีได้ซ่อนกลไว้ด้วย นั่นคือกลอักษรชนิดนี้อ่านได้สองแบบ แบบแรกก็คืออ่านตามรูปคำที่เห็น ส่วนแบบที่ ๒ เป็นการสลับคำในตำแหน่งของคำท้ายวรรคสองคำ ซึ่งถอดออกมาได้อย่างนี้
ได้ทราบสาร เสน่หา น่าสรวลเส จะมาเย้า ยั่วใจ ให้รวนเร เห็นเล่ห์ล้วน ลวงล่อ ข้อใจจง ซึ่งว่าแสน รัญจวน หวนถวิลโหย ทั้งโดยดิ้น อกจะหัก รักไหลหลง มอบชีวัง ฝังฝาก ฤทัยปลง จะคงให้ ความสัตย์จริง สิ่งแรงรัก
|
|
|
|
11 กันยายน 2008, 01:03:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 กันยายน 2008, 01:03:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษรงูกินหางฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน
วาจาสัตย์ชื่นอุรา คำของหญิงสิงมนัส ชวนแอบอิงยิ่งยวน ขอฝากกายไม่ประวิงอ่านได้ว่า ฟังเสียงหวาน ขานเสียงดัง ฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาล หวานเตือน เหมือนน้ำตาล เสนาะจริง ยิ่งคำหวาน เสนาะจริง
วาจาสัตย์ ชื่นอุรา วาจาสัตย์ คำของหญิง สิงมนัส คำของหญิง ชวนแอบอิง ยิ่งยวน ชวนแอบอิง ขอฝากกาย ไม่ประวิง ขอฝากกายกฎ : ๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ ต้องให้มีสัมผัสซ้ำคำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค คือให้คำที่ ๑ กสัมผัสกับคำที่ ๗ , คำที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ และคำที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๙ ๒. เมื่อจะทำเป็นกลอักษรงูกินหาง ให้ตัดคำซ้ำ ๓ คำ ซึ่งอยู่สุดท้ายของวรรคออกเสีย เหลือไว้เพียงวรรคละ๕ คำบ้าง ๖ คำบ้าง สุดแล้วแต่ในวรรคนั้น ๆ จะเป็นกลอนแปดหรือกลอนเก้า ๓. กลอนกลอักษรงูกินหาง ให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง จึงจะได้ความเต็มตามลักษณะของกลอนเพราะที่ตัดออก ๓ คำนั้นเป็นคำซ้ำกับ ๓ คำข้างต้นวรรคจึงต้องอ่านซ้ำแทนคำที่ตัดออก ที่มา http://www.geocities.com/annenena/index21.htm
|
|
|
|
11 กันยายน 2008, 01:11:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 กันยายน 2008, 01:11:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษรนกกางปีกโอ้จอมขวัญ สุรางค์ศรี ระลึกคำ ตรึกทวี เพราะบุญมี หนุนนำใจ
ได้มองเนตร เหมือนต้องศร จะนั่งนอน คลั่งหลงใหล ฝันละเมอ ฝันทุกวันไป ต้องนอนไข้ สะท้อนทรวง อ่านได้ว่า โอ้จอมขวัญ ขวัญจอม สุรางค์ศรี ระลึกคำ คำระลึก ตรึกทวี เพราะบุญมี มีบุญ หนุนนำใจ
ได้มองเนตร เนตรมอง เหมือนต้องศร จะนั่งนอน นอนนั่ง คลั่งหลงใหล ฝันละเมอ ละเมอฝัน ทุกวันไป ต้องนอนไข้ ไข้นอน สะท้อนทรวง กฎ : ๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำสัมผัสกันสองคู่ จะอยู่ตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ ตามปรกติมักจะอยู่ระหว่าง คำที่ ๑ ถึงคำที่ ๕ หรือที่ ๘ แต่ต้องเรียงติดกัน ๔ คำ ให้คู่ที่ ๑ คร่อมคู่ที่ ๒ ดังตัวอย่าง ๒. เมื่อจะทำเป็นกลอักษรนกกางปีก ให้ตัดคำที่ ๒ ของแต่ละคู่ออก เหลือไว้แต่คำหน้า วรรคหนึ่งคงมี ๕ คำบ้าง ๖ คำบ้าง สุดแต่ว่าในวรรคนั้น ๆ จะเป็นกลอน ๘ หรือกลอน ๙ ๓. กลอนกลอักษรนกกางปีก ให้สังเกตความดูว่าให้ตัดคำอะไรออก และเหลือคำอะไรไว้ แล้วอ่านคำที่เหลือ นั้นทวนกลับอีกครั้งหนึ่ง จึงจะได้ความ คือนับถอยหลังขึ้นไป ๓ คำ แล้วจึงอ่านทวน ที่มา http://www.geocities.com/annenena/index25.htm
|
|
|
|
11 กันยายน 2008, 01:20:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 กันยายน 2008, 01:20:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษรม้าลำพองหนาวจิตโอ้โธ่นุช คราวครั้งปลื้มลืมทุกข์ มีกลิ่นคาวร้าวรานี
หึงหวงจัดตัดใจ หนีเปิดปึงขึ้งพักตร ทีท่าเห็นเล่นตัว ทำเสื่อมศรีชี้ชัด อ่านได้ว่า หนาวจิตโอ้โธ่นุชโธ่โอ้จิตหนาว คราวครั้งปลื้มลืมทุกข์ลืมปลื้มครั้งคราว มีกลิ่นคาวร้าวรานร้าวคาวกลิ่นมี
หึงหวงจัดตัดใจตัดจัดหวงหึง หนีเปิดปึงขึ้งพักตร์ขึ้งปึงเปิดหนี ทีท่าเห็นเล่นตัวเล่นเห็นท่าที ทำเสื่อมศรีชี้ชัดชี้ศรีเสื่อมทำ กฎ : ๑. ให้ใช้คำวรรคละ ๙ คำ ในวรรคหนึ่ง ๆ ให้มีคำซ้ำกัน ๔ คู่ คือ คำที่ ๑ กับคำที่ ๙ , คำที่ ๒ กับคำที่ ๘ , คำที่ ๓ กับคำที่ ๗, คำที่ ๔ กับคำที่ ๖ ๒. เมื่อจะทำเป็นกลอักษรม้าลำพอง ให้ตัดคำที่ ๖, ๗, ๘, ๙ ออกเสีย เหลือไว้เพียง ๕ คำ เพื่อเป็นกลให้ผู้อ่านคิดเติมให้ถูกต้อง ฉะนั้น เมื่ออ่านถึงคำที่ ๕ แล้วให้อ่านคำที่ ๕ ย้อนกลับไปหาคำที่ ๑ อีกทุกๆ วรรค จึงจะได้ความตามลักษณะของกลอน ที่มา http://www.geocities.com/annenena/index23.htm
|
|
|
|
11 กันยายน 2008, 01:25:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 กันยายน 2008, 01:25:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษรคุลาซ่อนลูกเคยเห็นใจน้อยหรือใจไม่คิดเห็น เฝ้าหลงรักน้อยผลักกระเด็น ทำลิ้นเล่นเป็นบ้าบอ
หลอกให้หลงคงความสัตย์ แม่กลับตัดไม่เหลือหลอ คิดคำหญิงหยิ่งเสียพอ ทำวางข้อเขื่องกระไรอ่านได้ว่า เคยเห็นใจน้อยหรือใจไม่คิดเห็น เฝ้าหลงรักน้อยหรือรักผลักกระเด็น ทำลิ้นเล่นน้อยหรือเล่นเป็นบ้าบอ
หลอกให้หลงน้อยหรือหลงคงความสัตย์ แม่กลับตัดน้อยหรือตัดไม่เหลือหลอ คิดคำหญิงน้อยหรือหญิงหยิ่งเสียพอ ทำวางข้อน้อยหรือข้อเขื่องกระไรกฎ : ๑. ให้คำที่ ๓ กับคำที่ ๖ เป็นคำซ้ำกัน และคำที่ ๔ กับคำที่ ๕ ต้องเป็นคำที่มีเนื้อความไปในทางตัดพ้อต่อว่าหรือแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจ เช่น คำว่า น้อยหรือ , ควรหรือ , นี่หรือ เป็นต้น ถ้าใช้คำใดคำหนึ่งจะต้องใช้ให้เหมือนกันตลอดทุกวรรค ๒. เมื่อทำเป็นกลอักษรคุลาซ่อนลูก ให้ตัดคำที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ออกเสียทุกวรรค เว้นแต่วรรคที่หนึ่งให้คงไว้เพื่อจะได้สังเกตรู้ว่าตัดคำอะไรออกไป เพราะคำที่ ๔ และที่ ๕ ต้องใช้เหมือนกันทุกวรรค ส่วนคำที่ ๖ ก็เหมือนกับคำที่ ๓ จึงตัดออกเสียได้ เวลาอ่านต้องอ่านเติมให้ครบจึงจะถูกต้อง ที่มา http://www.geocities.com/annenena/index22.htm
|
|
|
|
17 กันยายน 2012, 07:31:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 กันยายน 2012, 07:31:PM » |
ชุมชน
|
นกปีกเขียว
กลอักษรลิ้นตะกวด
แบบที่ ๑
กลางสิงขร หินงอก ซอกหลีกเสี้ยว นกปีกเขียว คับแค้น แสนเศร้าสร้อย บินเชื่องช้า ผ่านทาง อย่างเบาลอย ทั่วเขาดอย พงไพร ไยมิตรเคือง
โบยบินข้าม ลำห้วย ด้วยหมายพัก เผื่อทายทัก ผองเพื่อน เตือนติดเนื่อง แต่หมู่นก ล้วนเก่ง เบ่งฤทธิ์เรือง ต่างคิดเยื้อง กรายร่าง ทางเชิงดอย ฯ แบบที่ ๒
กลางสิงขร หินงอก ซอกเสี้ยวหลีก นกเขียวปีก คับแค้น แสนสร้อยเศร้า บินเชื่องช้า ผ่านทาง อย่างลอยเบา ทั่วดอยเขา พงไพร ไยเคืองมิตร
โบยบินข้าม ลำห้วย ด้วยพักหมาย เผื่อทักทาย ผองเพื่อน เตือนเนื่องติด แต่หมู่นก ล้วนเก่ง เบ่งเรืองฤทธิ์ ต่างเยื้องคิด กรายร่าง ทางดอยเชิง ฯ
อริญชย์ ๑๗/๙/๒๕๕๕ ปล.ยังไม่ค่อยได้เรื่องได้ราว มือใหม่หัดเล่น อิอิ ยากจริง ๆ มึนตึ๊บ แก้สิบกว่ารอบ
จุดประสงค์ที่หัดแต่งคือ "กลอักษร" มีเสน่ห์ เป็นกลอนฝีมือชั้นครู ฝึกไว้ก็ไม่เสียหาย ถูกบ้าง ผิดบ้าง อย่าถือสาหาความ ทุกท่าน
ใครจะลองดูกลอื่นบ้าง ก็ดูตัวอย่างข้างบนโน้นเน้อ สำหรับข้าน้อย ลองวันละกลก็พอ (มึนที่สุดในปฐพี)
เฮ้อ.....พอกันที กลอักษรลิ้นตะกวด!!!!
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : สุนันยา, ช่วงนี้ไม่ว่าง, ชลนา ทิชากร, พี.พูนสุข, Prapacarn ❀, รพีกาญจน์, รัตนาวดี, เมฆา..., ดอกฝิ่น, พยัญเสมอ, เนิน จำราย
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
17 กันยายน 2012, 07:51:PM |
|
|
17 กันยายน 2012, 08:02:PM |
เพรางาย
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 553
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,312
ทุกคำถามจะนำมาซึ่งคำตอบ
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 17 กันยายน 2012, 08:02:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษรลิ้นตะกวด
ได้ทราบสาร เสน่หา น่าเสสรวล จะมาเย้า ยั่วใจ ให้เรรวน เห็นเล่ห์ล้วนลวงล่อข้อจงใจ ซี่งว่าแสนรัญจวนหวนโหยถวิล ทั้งโดยดิ้นอกจะหักรักหลงไหล มอบชีวังฝังฝากปลงฤทัย จะคงให้ความสัตย์จริงสิ่งรักแรง หากอ่านไปโดยไม่พิจารณาแล้ว บางคนอาจเห็นว่า ก็เป็นกลอนปกติ ไม่เห็นว่าจะเป็นกลอักษรอย่างไร แต่แท้ที่จริงแล้ว กวีได้ซ่อนกลไว้ด้วย นั่นคือกลอักษรชนิดนี้อ่านได้สองแบบ แบบแรกก็คืออ่านตามรูปคำที่เห็น ส่วนแบบที่ ๒ เป็นการสลับคำในตำแหน่งของคำท้ายวรรคสองคำ ซึ่งถอดออกมาได้อย่างนี้
ได้ทราบสาร เสน่หา น่าสรวลเส จะมาเย้า ยั่วใจ ให้รวนเร เห็นเล่ห์ล้วน ลวงล่อ ข้อใจจง ซึ่งว่าแสน รัญจวน หวนถวิลโหย ทั้งโดยดิ้น อกจะหัก รักไหลหลง มอบชีวัง ฝังฝาก ฤทัยปลง จะคงให้ ความสัตย์จริง สิ่งแรงรัก
คุณงายว่ามันน่าจะถอดกลออกมาเป็นแบบนี้มากกว่าค่ะ ได้ทราบสาร เสน่หา น่าสรวลเส จะมาเย้า ยั่วใจ ให้รวนเร เห็นล้วนเล่ห์ ลวงล่อ ข้อใจจง
ซึ่งว่าแสน รัญจวน หวนถวิลโหย ทั้งดิ้นโดย อกจะหัก รักใหลหลง มอบชีวัง ฝังฝาก ฤทัยปลง จะให้คง ความสัตย์จริง สิ่งแรงรัก
|
คนที่กำลังไล่ตามความฝัน ท่ามกลางความผกผันของเวลา
|
|
|
17 กันยายน 2012, 08:09:PM |
ช่วงนี้ไม่ว่าง
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 17 กันยายน 2012, 08:09:PM » |
ชุมชน
|
ขอแต่งดูสักหน่อยค่อยสานถัก คำขานรักให้น้องลองได้เห็น เผื่อว่าน้องนั้นนะจะใจเย็น มิใช้เน้นผิดถูกผูกคำกล
หัดแรกๆมั่วไปก่อนครับ ยังไม่ต้องไปคำนึงถึงความหมายมากนัก พอเริ่มเป็นแล้วจึงค่อยคิดใช้คำที่สื่อความหมาย
ขอแต่งดูสักหน่อยค่อยถักสาน คำรักขานให้น้องลองเห็นได้ เผื่อว่าน้องนั้นนะจะเย็นใจ มิเน้นใช้ผิดถูกผูกกลคำ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : อริญชย์, ไพร พนาวัลย์, ชลนา ทิชากร, พี.พูนสุข, Prapacarn ❀, รพีกาญจน์, บ้านริมโขง, รัตนาวดี, เมฆา..., ดอกฝิ่น, เนิน จำราย
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
17 กันยายน 2012, 08:39:PM |
ช่วงนี้ไม่ว่าง
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 17 กันยายน 2012, 08:39:PM » |
ชุมชน
|
กลเม็ดเคล็ดลับของกลอักษรลิ้นตะกวด จะอยู่ที่การส่งสัมผัสระหว่างคำที่ ๕ ไปลงคำที่ ๖ ของวรรคครับ ส่วนคำที่ ๗-๘ นั้นจะเหลือไว้เพื่อใช้เป็นการสลับเสียงกัน ตำแหน่งที่จะต้องใช้สลับเสียงกันมีดังนี้ (ตำแหน่งสีแดง คือตำแหน่งที่ใช้สลับเสียงสระ ตำแหน่งสีฟ้า คือจุดส่งสัมผัสระหว่างคำที่ ๕ ไปยังคำที่ ๖ เมื่อแต่งแล้วก็ลองตรวจตราฉันทลักษณ์ให้ถูกต้องตามหลักการแต่งกลอนแปดด้วยนะครับ ซึ่งเรื่องนี้คิดว่าคงทราบกันดีอยู่แล้ว)
๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐ ๐๐๐ ๐๐ ๐๐๐
ในการแต่งนั้น จำเป็นต้องหาคำที่สลับกันและสื่อความหมายได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เคล็ดลับสำหรับการฝึกกลบทใดๆที่นับว่าแต่งได้ยากก็คือ ให้ลองมั่วๆไปก่อน โดยไม่ต้องรีบคำนึงถึงความหมาย เมื่อเริ่มรู้แนวทางแล้วจึงค่อยคิดใช้คำที่สื่อความหมาย จึงจะทำให้เป็นเร็ว
|
|
|
|
17 กันยายน 2012, 09:44:PM |
|
|
18 กันยายน 2012, 08:03:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 18 กันยายน 2012, 08:03:PM » |
ชุมชน
|
นกกระจอก+นกระติ๊ด
กลอักษรงูกินหาง
นกกระจอก นอกกระจก นกกระจอก ร้องเริงร่า มาเย้าหยอก ร้องเริงร่า ในท้องนา ฟ้าสีทอง ในท้องนา รวมฝูงกัน พันธุ์เผ่ามา รวมฝูงกัน
นกกระติ๊ด จิตผวา นกกระติ๊ด สุดหวาดหวั่น พรั่นอมิตร สุดหวาดหวั่น เคยผูกพัน กันทุ่งข้าว เคยผูกพัน วันนี้ใคร ในทุ่งนั้น วันนี้ใคร
ชาวนาหม่น ปนระอา ชาวนาหม่น รวงข้าวใหม่ ในนาตน รวงข้าวใหม่ สุดช้ำใจ ไล่กระจอก สุดช้ำใจ ส่งเสียงดัง หวังนกไป ส่งเสียงดัง
นกกระติ๊ด คิดเองว่า นกกระติ๊ด ชาวนาคลั่ง สั่งประชิด ชาวนาคลั่ง รวมพลัง พังกระจอก รวมพลัง บินเข้าไป ไล่ตามหลัง บินเข้าไป ฯ
อริญชย์ ๑๘/๙/๒๕๕๕
ปล.หากแต่งผิดพลาดประการใด ใช้ถ้อยคำควรหรือไม่ควรอย่างไร ขอท่านผู้รู้ให้ความเมตตาช่วยชี้แนะข้าน้อยผู้กำลังฝึกฝนด้วยจ้ะ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้ พอดีว่าลองทำจากตัวอย่างข้างล่างนี้ กลอักษรงูกินหางฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน
วาจาสัตย์ชื่นอุรา คำของหญิงสิงมนัส ชวนแอบอิงยิ่งยวน ขอฝากกายไม่ประวิงอ่านได้ว่า ฟังเสียงหวาน ขานเสียงดัง ฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาล หวานเตือน เหมือนน้ำตาล เสนาะจริง ยิ่งคำหวาน เสนาะจริง
วาจาสัตย์ ชื่นอุรา วาจาสัตย์ คำของหญิง สิงมนัส คำของหญิง ชวนแอบอิง ยิ่งยวน ชวนแอบอิง ขอฝากกาย ไม่ประวิง ขอฝากกายกฎ : ๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ ต้องให้มีสัมผัสซ้ำคำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค คือให้คำที่ ๑ กสัมผัสกับคำที่ ๗ , คำที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ และคำที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๙ ๒. เมื่อจะทำเป็นกลอักษรงูกินหาง ให้ตัดคำซ้ำ ๓ คำ ซึ่งอยู่สุดท้ายของวรรคออกเสีย เหลือไว้เพียงวรรคละ๕ คำบ้าง ๖ คำบ้าง สุดแล้วแต่ในวรรคนั้น ๆ จะเป็นกลอนแปดหรือกลอนเก้า ๓. กลอนกลอักษรงูกินหาง ให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง จึงจะได้ความเต็มตามลักษณะของกลอนเพราะที่ตัดออก ๓ คำนั้นเป็นคำซ้ำกับ ๓ คำข้างต้นวรรคจึงต้องอ่านซ้ำแทนคำที่ตัดออก ที่มา http://www.geocities.com/annenena/index21.htm
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
19 กันยายน 2012, 12:12:PM |
|
|
08 ตุลาคม 2012, 12:07:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2012, 12:07:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษร ?
๑. รักที่สุดไหวหวั่นใจคิด ว่ามิ่งมิตรที่รักมากหลาย เธอผู้เป็นดวงใจมิคลาย หวังมอบกายใจให้ครอบครอง กลัวว่าจะแปรผันเป็นอื่น ลืมความชื่นในรักเราสอง หากมีมือที่สามสี่จอง หวังว่าน้องจงมั่นสัญญา
กลอักษร ??
๒. พี่มีรักปักใจมุ่งใฝ่ ด้วยยังหมายพลีภักดิ์ปักใจ แม้ตัวตายก็พร้อมขอยอม แต่ความรักมิสลายคลายจาก
กลอักษร ???
๓. พี่รักเจ้า_จริงไม่ทิ้งขว้าง เป็นรักอย่าง_แท้ไม่แปรผัน เจ้าหวั่นจิต_ใจสิ่งใดกัน จงเชื่อมั่น_ใจอย่าได้กลัว
ทั้งสามแบบนี้แท้ที่จริงแล้วแต่ละแบบต่างก็เป็นกลบทแต่ละชนิดนะครับ เพียงแค่ตัดคำบางคำออกไปเท่านั้น แต่เมื่อเติมคำที่ขาดหายไปย่อมกลับกลายเป็น กลบทที่สมบูรณ์อักครั้ง...... (ใบ้นิด คำที่ตัดออกไปย่อมเป็นคำที่ซ้ำ)
Orion264(มือขวา) ๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
เครดิตที่มา http://www.rukklon.com/index.php?topic=4440.msg9628#msg9628
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
08 ตุลาคม 2012, 02:49:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2012, 02:49:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษร ????
๔. แอบรักที่สุด อยากถามไต่นัก ว่าตามอย่างคิด มีใครควงห้าม
อันยากและหินที่สุด และไม่แน่ใจด้วยว่าจะตรงกับกลบทใดหรือไม่ แต่ที่แน่ๆคือมีวิธีอ่านให้เป็นกลอนแน่ครับรับรองไม่มีมั่ว ผมว่าทิ้งไว้สักระยะ ถ้ายังไม่มีใครไขปริศนาออก เดี๋ยวจะกลับมาเฉลย
Orion264(มือขว่า) ๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
08 ตุลาคม 2012, 10:20:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2012, 10:20:PM » |
ชุมชน
|
กลอักษร ?
๑. รักที่สุดไหวหวั่นใจคิด ว่ามิ่งมิตรที่รักมากหลาย เธอผู้เป็นดวงใจมิคลาย หวังมอบกายใจให้ครอบครอง กลัวว่าจะแปรผันเป็นอื่น ลืมความชื่นในรักเราสอง หากมีมือที่สามสี่จอง หวังว่าน้องจงมั่นสัญญา
เฉลย คือ กลบท หงส์คาบพวงแก้ว
๑. รักที่สุดสุดไหวหวั่นหวั่นใจคิด ว่ามิ่งมิตรมิตรที่รักรักมากหลาย เธอผู้เป็นเป็นดวงใจใจมิคลาย หวังมอบกายกายใจให้ให้ครอบครอง กลัวว่าจะจะแปรผันผันเป็นอื่น ลืมความชื่นชื่นในรักรักเราสอง หากมีมือมือที่สามสามสี่จอง หวังว่าน้องน้องจงมั่นมั่นสัญญา
ถือว่าเกือบถูกครับ ความจริงอันนี้ก็คือกลบท หงส์คาบพวงแก้ว ที่ต้องซ้ำในคำที่ ๓-๔ กับ ๖-๗ ในแต่ละวรรค
กลอักษร ??
๒. พี่มีรักปักใจมุ่งใฝ่ ด้วยยังหมายพลีภักดิ์ปักใจ แม้ตัวตายก็พร้อมขอยอม แต่ความรักมิสลายคลายจาก
เฉลย คือ กลบทพยัคฆ์ข้ามห้วย
๒. พี่มีรักปักใจมุ่งใฝ่รัก ด้วยยังหมายพลีภักดิ์ปักใจหมาย แม้ตัวตายก็พร้อมขอยอมตาย แต่ความรักมิสลายคลายจากรัก
อันนี้ถูกต้องครับ นี่คือกลบทพยัคฆ์ข้ามห้วยนั่นเอง (แต่ถ้าไม่ได้เน้นสีแดงเอาไว้ก็จะเป็นอีกอย่างนะ 555 666 777)
กลอักษร ???
๓. พี่รักเจ้า_จริงไม่ทิ้งขว้าง เป็นรักอย่าง_แท้ไม่แปรผัน เจ้าหวั่นจิต_ใจสิ่งใดกัน จงเชื่อมั่น_ใจอย่าได้กลัว
เฉลยคือ กลบทกินนรเก็บบัว ~~~~~กลอนฤาษีแปลงสาร
๓. พี่รักเจ้ารักจริงไม่ทิ้งขว้าง (พี่รักเจ้าไม่จริงรักทิ้งขว้าง) เป็นรักอย่างรักแท้ไม่แปรผัน (เป็นรักอย่างไม่แท้รักแปรผัน) เจ้าหวั่นจิตหวั่นใจสิ่งใดกัน (เจ้าหวั่นจิตหวั่นใจสิ่งใดกัน) จงเชื่อมั่นเชื่อใจอย่าได้กลัว (อย่าเชื่อมั่นเชื่อใจจงได้กลัว)
ที่แท้จริงแล้วนี่ก็คือกลบท กินนรเก็บบัว ที่ใช้ซ้ำคำที่ ๒ กับที่ ๔ ภายในวรรคนั่นเอง การเขียนเป็นกลอักษรก็แค่ตัดบางคำที่ซ้ำออกไปเท่านั้น สำหรับบทนนี้ขอแถมพ่วงด้วยกลอนฤาษีแปลงสาร
Orion264(มือขวา) ๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
กลอักษร ????
๔. แอบรักที่สุด อยากถามไต่นัก ว่าตามอย่างคิด มีใครควงห้าม
เฉลย...ไม่รู้ว่าจะเรียกเป็นกลบทชนิดใด
๔. แอบรักรักรักที่สุดสุดที่รัก อยากถามถามถามไต่นักนักไต่ถาม ว่าตามตามตามอย่างคิดคิดอย่างตาม มีใครใครใครควงห้ามห้ามควงใคร
วิธีอ่านคือ คำที่ ๒ นั้น เพิ่มมาอีกสองคำรวมเป็นสาม จากนั้นก็อ่านย้อนกลับอีกสามคำ ก็จะเป็นเก้าคำ ครบหนึ่งวรรคพอดี รางวัลสำหรับคนที่ทายถูกก็ไม่มีอะไรมากครับ แค่ต้องอยู่เป็นโสดไปอีก ๑๐ ปีเท่านั้น มารับรางแล้วไปหารแบ่งกันคนละครึ่งนะครับ
Orion264(มือขว่า) ๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
|
|