22 ธันวาคม 2007, 12:12:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 12:12:PM » |
ชุมชน
|
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ความหมายของคำว่า "กลบท" ไว้ดังนี้ กลบท (กน-ละ-บด) น.คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม(กลบทตรีประดับ) ในคำประพันธ์ร้อยกรองแต่โบราณของไทยเรานั้น เรามีกลบททั้งที่เป็น กลอนกล ร่ายกล โคลงกล กาพย์กล และฉันท์กล แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะกลอนกล เท่านั้น กลอนกล ก็คือกลอนสุภาพนั่นเอง แต่มีการแต่งเพิ่มลักษณะบังคับให้วิจิตรพิสดารมากยิ่งขึ้น เช่นบังคับให้มีสัมผัสสระ สัมผัสอักษร คำเป็น คำตาย คำซ้ำ และรูปวรรณยุกต์ เป็นต้น ว่าจะต้องมีอยู่ในตำแหน่งคำใดของกลอน แล้วตั้งชื่อเรียกการกำหนดข้อบังคับนั้นว่าเป็นกลบทชื่ออะไรต่างๆออกไป โดยมากกลอนกลมักจะแต่งเป็นกลอนเก้า เพราะบรรจุคำได้มากกว่า ทั้งจังหวะการอ่านก็เป็น จังหวะละสามพยางค์ การกำหนดข้อบังคับพิเศษขึ้นมาจึงมีจังหวะเสียงที่ลงตัวได้ดีกว่า กลอนกลบทมีมากมายหลายชนิด แต่ในที่นี้จะยกตัวอย่างมาให้เห็นบางชนิด ที่เห็นว่าเป็นศิลปะในการเขียนกลอนชนิดหนึ่ง ที่เราอาจจะนำมาใช้ได้บ้างในบางครั้งหากเห็นว่าจะช่วยทำให้กลอนที่แต่งมีเสียงและจังหวะที่อ่านหรือฟังแล้วไพเราะ กลอนกลบทที่มีมาแต่โบราณนั้น มีอยู่หลายชนิดชื่อต่าง ๆ กันไป ได้แก่กลบทในชื่อต่อไปนี้ - กลอนกลบทสะบัดสะบิ้ง - กลอนกลบทตรีประดับ(ตรีเพชร) - กลอนกลบทธงนำริ้ว - กลอนกลบทอักษรสังวาส - กลอนกลบทกินนรเก็บบัว - กลอนกลบทพยัคฆ์ข้ามห้วย - กลอนกลบทรักร้อย - กลอนกลบทจักรวาล(ครอบจักรวาล) - กลอนกลบทยัติภังค์ - กลอนกลบทอักษรกลอนตาย - กลอนกลบทกวางเดินดง.... เป็นต้น ที่มา http://www.st.ac.th/thaidepart/kolbot.php
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 12:14:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 12:14:PM » |
ชุมชน
|
กลบทกบเต้นต่อยหอย
คิดถึงน้อง ข้องถึงนวล ควรหรือหนอ เคยสราญ ค้านสลัด เพราะขัดคอ โอ้ใจเจ้า เอาใจจ่อ ต่อเพื่อนชาย เร่งเตือนเจ้า เร้าเตือนจิต คิดรักหนัก กลับโกรธเลี้ยว เกรี้ยวโกรธรัก รานสลาย ซนแต่งอน ซ่อนแต่เงื่อน แชเชือนกลาย ลืมเพื่อนชู้ หลู่เพื่อนชาย หาใหม่ชม
จะเห็นว่า ลักษณะพิเศษของกลบทกบเต้นต่อยหอยก็คือ คำที่ ๑,๒,๓ กับ ๔,๕,๖ในแต่ละวรรคจะสัมผัสอักษรกัน โดย
คำที่ ๑ จะสัมผัสอักษรกับคำที่ ๔ คำที่ ๒ จะสัมผัสอักษรกับคำที่ ๕ คำที่ ๓ จะสัมผัสอักษรกับคำที่ ๖
ทั้งนี้แต่ละวรรคจะสัมผัสอักษรตัวใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นอักษรเดียวกันในทุกวรรค ดังตัวอย่างวรรคที่ 6 สัมผัสอักษรดังนี้ ซ ต ง - ซ ต ง (ซนแต่งอน ซ่อนแต่เงื่อน) วรรคสุดท้ายสัมผัสอักษร ล พ ช - ล พ ช (ลืมเพื่อนชู้ หลู่เพื่อนชาย) เป็นต้น เราสามารถนำกลเม็ดแบบนี้มาใช้กับกลอนที่เราแต่งได้ในบางวรรคที่เราต้องการ ช่วยให้กลอนของเราในวรรคนั้นดูมีศิลปะขึ้นมาทันที
ที่สำคัญอีกจุดหนึ่งก็คือ คำที่ ๓ จะสัมผัสสระกับคำที่ ๔ ในทุกวรรค
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 12:17:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 12:17:PM » |
ชุมชน
|
กลบทพยัคฆ์ข้ามห้วย
เสียแรงหวัง ใจมุ่ง ผดุงหวัง ไม่ควรชัง ฤามาราน พาลชิงชัง เออเป็นใจ ใครมั่ง ไม่น้อยใจ สู้ถนอม แนบเนื้อ นี้เหลือถนอม ก็เหตุไฉน ยังไม่ออม เสน่ห์ไฉน เมื่ออาลัย ยังไม่ลืม ปลื้มอาลัย ช่างเด็ดรอน รักได้ ไปรอนรอน
ในกลบทพยัคฆ์ข้ามห้วยนี้ ข้อบังคับอยู่ที่กำหนดให้ คำที่ ๓ ในแต่ละวรรคเป็นคำเดียวกันกับคำสุดท้ายในแต่ละวรรคนั้นๆ
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 12:19:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 12:19:PM » |
ชุมชน
|
กลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง
โอ้แสนรัก โอ้ศักดิ์เรา ไม่เท่าถึง แสวงมาด สวาทหมาย ไม่วายคะนึง ลงนอนอิง แล้วนิ่งอึ้ง รำพึงเพียร ข้างทุกข์พี่ ขาดที่ผู้ เป็นคู่คิด ก็เพราะมา กำพร้ามิตร คิดหันเหียน ดั่งตกชล ดูตนชาย เหมือนว่ายเวียน แสนทุพล สู้ทนเพียร เวียนตะกาย
กลบทละลอกแก้วกระทบฝั่งนี้ มีลักษณะคล้ายๆกับคลื่นที่ทะยอยตามกันเข้ามากระทบฝั่ง นั่นคือคำที่ 1,2 และ 3 ในแต่ละวรรคนั้น จะเล่นสัมผัสอักษรเรียงทะยอยตามกันเข้ามา คือ คำที่ ๑ สัมผัสอักษรกับคำที่ ๔ คำที่ ๒ สัมผัสอักษรกับคำที่ ๕ คำที่ ๓ สัมผัสอักษรกับคำที่ ๖ ตัวอย่างเช่น ในวรรคแรก ใช้คำว่า โอ้แสนรัก โอ้ศักดิ์เรา คือเสียงพยัญชนะ ว่า ออ สอ รอ - ออ สอ รอ วรรคต่อมา แสวงมาด สวาทหมาย คือเสียงพยัญชนะ ว่า สอ วอ มอ - สอ วอ มอ เป็นต้น
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 12:22:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 12:22:PM » |
ชุมชน
|
กลบทครอบจักรวาล ขามจิตคิด ข้อหมาง ระคาง ขามความจริงใจ นี่ไฉน จึงแหนง ความควรจะถาม ก็ไม่ถาม กันตาม ควร ที่นางแกล้ง แปลงเรื่อง ให้เคือง ที่ สรวลซิกซี้ กันเสียได้ ไม่ไต่ สวนจวนจะชื่น ช่างมาคืน ให้รัญ จวนออสำนวน พี่นาง อย่างนี้ ออกลบทครอบจักรวาลนี้ โบราณกำหนดให้คำแรกและคำสุดท้ายในแต่ละวรรค เป็นเสียงเดียวกัน(ซ้ำเสียงกัน) โดยแต่ละวรรคขึ้นต้นด้วยคำใด ก็ต้องลงท้ายด้วยคำที่มีเสียงซ้ำกัน(หรือคำเดียวกัน) เพิ่มเติมจาก http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlรู้สิ่งไร ร้ายแรงยาก อย่าอยากรู้ หวังแว่วหู ปากจะนิ่ง อย่ากริ่งหวัง ดังหนึ่งฆ้อง ก้องเสียง สำเนียงดัง ตีหยุดยั้ง ยังกังวาล นานกว่าตี ผิดคำกล่าว ราวกับพา ให้หาผิด ที่จะมิด อย่าพึงหมาย มิใช่ที่ ดีแลชั่ว ตัวของใคร นิ่งไว้ดี ควรต้องทำ จะต้องชี้ แต่ที่ควร
ช้างตายเน่า เอาใบบัว ปิดตัวช้าง สงวนบ้าง มิใช่ข้อ อย่าพอสงวน ชวนเสียกิจ ผิดระบอบ อย่าชอบชวน เดาอย่าด่วน ใจหวัง ลำพังเดา
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 12:27:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 12:27:PM » |
ชุมชน
|
กลบทมังกรคายแก้ว
สารสงวน ควรมิตร สงวนสาร นานคะนึง เสน่ห์น้อง คะนึงนาน ทวีทุกข์ เหลือที่ทาน ทนทุกข์ทวี โศกถวิล กินเทวษ ถวิลโศก พี่ห่างน้อง ต้องวิโยค ด้วยห่างพี่ ปีกว่าปาน ประมาณไว้ ได้กว่าปี แลสุดที่ จะพำนัก ที่สุดแล ลักษณะพิเศษของกลบทมังกรคายแก้วก็คือ จะเอาคำที่ ๑,๒ ในแต่ละวรรคมาใช้ย้อนถอยหลังในตำแหน่งที่ ๗,๘ คล้ายๆ มังกรที่กลืนแก้วเข้าไป(ในคำที่ ๑,๒) แล้วคายแก้วออกมา (โดยคำที่ ๒ ต้องออกมาก่อนคำที่ ๑) ดังนั้นตำแหน่งที่ ๗,๘ ก็คือคำที่ ๒ และ ๑ ในวรรคนั้นนั่นเอง เช่น
สารสงวน จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น สงวนสาร นานคะนึง จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น คะนึงนาน ทวีทุกข์ จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น ทุกข์ทวี โศกถวิล จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น ถวิลโศก พี่ห่าง จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น ห่างพี่ ปีกว่า จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น กว่าปี เป็นต้น
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 01:07:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 01:07:PM » |
ชุมชน
|
กลบทฉัตรสามชั้น
หวนสวาท โหยถวิล สวาทหวน ครวญคะนึง คะเนนึก คะนึงครวญ ใจเศร้าโศก แสนกำสรวล โศกเศร้าใจ เอ๋ยอกโอ้ หวังวิตก โอ้อกเอ๋ย ไฉนฤานี่ จึงเฉย นี่ฤาไฉน ไกลสถาน ที่สถิตย์ สถานไกล แค้นใจเจ็บ ด้วยอาลัย เจ็บใจแค้น กลบท "ฉัตรสามชั้น" มีลักษณะคล้ายกันกับมังกรคายแก้ว คือการนำคำในต้นวรรคมาสลับที่ในสุดวรรคของแต่ละวรรคนั้น ๆ แต่ต่างกันตรงที่ มังกรคายแก้วใช้เพียงสองคำ ส่วน "กลบทฉัตรสามชั้น" นั้น จะใช้คำสามคำของต้นวรรค มาสลับคำในท้ายวรรค เช่น
หวนสวาท จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น สวาทหวน ครวญคะนึง จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น คะนึงครวญ ใจเศร้าโศก จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น โศกเศร้าใจ เอ๋ยอกโอ้ จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น โอ้อกเอ๋ย ไฉนฤานี่ จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น นี่ฤาไฉน ไกลสถาน จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น สถานไกล แค้นใจเจ็บ จะมาใช้ในท้ายวรรคเป็น เจ็บใจแค้น เป็นต้น
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 01:12:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 01:12:PM » |
ชุมชน
|
กลบทเบญจวรรณห้าสี แสนสุดโศก สั่งสาร เห็นนานหาย คนข้างเคียง เคยคอย พลอยกลับกลาย อกเอ๋ยโอ้ เอออาย เพราะหมายเกิน หลงละเลิง ลมลิ้น ไม่กินแหนง สายสนสื่อ เสกแสร้ง ช่วยเดินเหิน โน่นนี่นั่น แนะนำ แล้วทำเมิน ชักชวนเชิญ เชือนไช ไม่เหลียวแล กลบท " เบญจวรรณห้าสี" มีลักษณะสำคัญอยู่ที่ คำที่ ๑ ถึง ๕ ในแต่ละวรรคจะสัมผัสอักษรกันทุกวรรคไป แต่ละวรรคก็จะสัมผัสอักษรอย่างหนึ่งอย่างใด(คำว่าสัมผัสอักษร หมายถึงใช้เสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน)เช่น แสนสุดโศกสั่งสาร.................สัมผัสอักษรเสียงพยัญชนะ สอ คนข้างเคียงเคยคอย................สัมผัสอักษรเสียงพยัญชนะ ขอ (ข ค ฆ.เป็นเสียงเดียวกัน) เป็นต้น เพิ่มเติมจาก http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlอย่าหยิ่งเย่อยกย่อง ลำพองพิษ อาจโอ้อิทธิ์อวดอ้าง อย่างข่มเหง ขอดข้อนแข้นขู่ข่ม ให้เขาเกรง โฉดโฉงเฉงเฉาฉ่า ชะล่าใจ
ทำท่วงทีท่าทาง วางจังหวะ โกงเกะกะก้าวก่อ ข้อคำไข ล้วนเล่ห์ลิ้นลวงลอด สอดกลไก เหน็บแนมในนึกน่า ระอาคำ
ถ้าถึงถ้อยถอยถด สลดหลบ จับจริงจบเจิ่นเจน ก็เอนถลำ เหมือนไม้เมามูลมอด ทอดทิ้งทำ กลับกลอกกล้ำเกลื่อนกลาย คลายกำลัง
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2007, 01:16:PM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2007, 01:16:PM » |
ชุมชน
|
กลบทกบเต้นสามตอน
เจ็บคำ จำคิด จิตขวย หลงเชย เลยชม ลมชวย ดูรวย ด้วยรวน ด่วนร้าว กลบท "กบเต้นสามตอน" นี้ มีช่วงจังหวะเป็นกลอนหก แต่แพรวพราวในการเล่นเสียงพยัญชนะและสระ ถือว่า ใช้ศิลปะในการประพันธ์ชั้นสูงมาก จะเห็นว่าเป็นการเล่นเสียงพยัญชนะทั้งสามจังหวะ เช่น
เจ็บคำ จำคิด จิตขวย .......เล่นเสียงพยัญชนะ จอ คอ จอ คอ จอ คอ ........คำ สัมผัสสระกับ จำ และคิด สัมผัสสระกับ จิต
|
|
|
|
23 ธันวาคม 2007, 11:11:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007, 11:11:AM » |
ชุมชน
|
กลบทบัวบานกลีบขยาย ที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เจ้างามพักตร์ผ่องเพียงบุหลันฉาย เจ้างามเนตร์ประหนึ่งนัยนาทราย เจ้างามขนงก่งละม้ายคันศรทรง
เจ้างามนาสายลดังกลขอ เจ้างามสอเหมือนคอสุวรรณหงส์ เจ้างามกรรณกลกลีบบุษบง เจ้างามวงวิลาสเรียบระเบียบไร
เจ้างามปรางเปล่งปลั่งเปรมปราโมทย์ เจ้างามโอษฐแย้มยวนจิตร์น่าพิสมัย เจ้างามทนต์กลนิลช่างเจียรไน เจ้างามเกษดำประไพเพียงภุมริน
เจ้างามปีกตัดทรงมงกุฎกระษัตริย์ เจ้างามทัดกรรณเจียกผมสมพักตร์สิ้น เจ้างามไรไม่แข็งคดหมดมลทิน เจ้างามประทิ่นกลิ่นเกศขจายจร
เจ้างามเบื้องปฤษฎางค์พ่างพิศวง เจ้างามทรวงสมทรงอนงค์สมร เจ้างามถันเทียมเทพกินร เจ้างามกรอ่อนดังงวงเอราวัณ
เจ้างามนิ้วนะขาน่ารักหนอ เจ้างามลออเอวบางเหมือนนางสวรรค์ เจ้างามเพลากลกัทลีพรรณ เจ้างามบาทจรจรัลจริตงาม
เจ้างามละม่อมพร้อมพริ้งยิ่งนางมนุษย์ เจ้างามดุจลอยฟ้ามาสู่สนาม เจ้างามอุดมสมลักขณานาม เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย
เจ้างามศักดิ์สมบูรณ์ประยูรยศ เจ้างามหมดประมวญสวาทพี่มาดหมาย เจ้างามจริงทุกสิ่งสรรพ์ดังบรรยาย ชื่อบัวบานกลีบขยายหมายนามเอยฯ เป็นกลอนแปด ใส่กลบท โดยการซ้ำ ๒ คำที่ต้นวรรคทุกวรรค และใช้กระทู้เดียวตลอดจนจบความ มีลักษณะเช่นเดียวกับ กลบทบัวบานกลีบ ในหนังสือกลบทศิริวิบุลกิตติ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า "ชื่อบัวบานกลีบขยายหมายนามเอยฯ" ในคำกลอนนั้น ต้องการระบุชื่อกลบทว่า กลบทบัวบานกลีบขยาย หรือเป็น กลบทบัวบานกลีบ ที่ทรงแต่งขยายเพิ่มเติมมาให้ศึกษาในชั้นหลัง เพิ่มเติมจาก http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlไม่ควรคิด ก็อย่าคิด เข้าต่อล้อ ไม่ควรข้อ ขอดเขา ด้วยโวหาร ไม่ควรเป็น ก็อย่าเป็น เหมือนเช่นพาล ไม่ควรสมาน อย่าสมัคร สมาคม
ไม่ควรรอ ก็อย่าต่อ เข้าต้านตัด ไม่ควรทัด ทานถ้อย อย่าทับถม ไม่ควรชิด อย่าสนิท สนมชม ไม่ควรข่ม ก็อย่าข้อน ให้เคืองคำ
ไม่ควรหาญ อย่าราน ให้ร้อนร้าว ไม่ควรกล่าว พึงระวัง อย่างพลั้งถลำ ไม่ควรเปิด ก็อย่าเชิด ชูเงื่อนงำ ไม่ควรทำ ตรองท่า พยุงจูง
|
|
|
|
23 ธันวาคม 2007, 11:19:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007, 11:19:AM » |
ชุมชน
|
กลบทนาคเคี่ยวกระหวัด ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlผู้ใหญ่สอน ผ่อนตาม ให้ งามเงื่อน เงื่อนงาม ความท่านเตือน เหมือน มุ่งหมาย หมายมุ่ง ตรอง มองให้เห็น อย่า เว้นวาย วายเว้น เช่น เชิงหมาย ให้ ควรการ การควร อย่าเพ่อหวน โกรธ ตอบต่อ ต่อตอบ เห็น ชอบข้อ จึง ไขขาน ขานไข คำ ถามทัด ให้ ชัดชาญ ชาญชัด จัดวิจารณ์ ให้ แจ้งใจ ใจแจ้ง อย่าระแวง แคลง คิดผิด ผิดคิด คัด ดัดจริต อย่า หลงไหล ไหลหลง ตาม ความเชือน กลับ เกลื่อนไกล ไกลเกลื่อน กลับ นับให้ ใจดาลดวง
|
|
|
|
23 ธันวาคม 2007, 11:24:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007, 11:24:AM » |
ชุมชน
|
กลบทนาคราชแผลงฤทธิ์ ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlคำคารม ลมลิ้นเล่ห์ อุบายบอก ออกบทเบื้อง เยื้องยอก ใจห่วงหวง จ้วงเหตุหา ท่าช่องชี้ นี่ไยยวง หน่วงยุดอย่าง ต่างดวง เมตตาใจ ไม่ต่างจิต คิดว่าจริง ทุกสิ่งล้วน ถ้วนแสนหลาก ยากประมวล หมดสงสัย ไม่สอดส่อง ดูให้ต้อง ตามเลศนัย ไต่เล่ห์นึก ตรึกไตร ดูท่วงที ดีทุกท่า ทางมายา มีหลายหลาก มากเหลือล้ำ ตามยาก แต้มสอดสี ตีส่วนสอง ให้เห็นช่อง ชอบเชิงที ชี้ชวนทาง อย่างแต่มี ล้วนอาการ กลบทนี้ใช้พยัญชนะต้นของสามคำสุดท้ายของวรรคก่อนหน้า มาเป็นพยัญชนะต้นของสามคำแรกในวรรคต่อมา
|
|
|
|
23 ธันวาคม 2007, 11:26:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007, 11:26:AM » |
ชุมชน
|
กลบทอักษรสลับล้วน ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlการก่อนกอบ ชอบช่องเช่น เห็นเหินห่าง จำจากจาง หมางเมินม่าย ฝ่ายฝ่าฝูง ยลเยี่ยงอย่าง พ่างพื้นเพื่อ เจือจานจูง สิ่งส่วนสูง มุ่งเมียงมาด คาดเคียงควร
เอื้อนออกอ้าง อย่างยิ่งยาก บากเบือนเบี่ยง พูดพอเพียง เอียงอ่อนโอษฐ์ โหดหวงหวน เพราะพริ้งพร้อม กล่อมกล่าวกลืน ชื่นชอบชวน โลมเล่ห์ล้วน ยวนแย้มยั่ว ทั่วถ้วนทาง
แถวถิ่นเถิน เนินน่านน้ำ ข้ามเขตโขด ห้วงหาดโหด โฉดเชื้อชัก ขวักไขว่ขวาง แม้ไม่มี ที่ทัดทัน กั้นกีดกาง แบ่งเบาบ้าง ข้างข้อคำ ร่ำรีรอ
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2007, 11:17:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2007, 11:17:AM » |
ชุมชน
|
กลบทมยุราฟ้อนหาง ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlดูดูท่า อย่าเลินเล่อ เผลอบ่อยบ่อย คุมคุมใจ ไว้อย่าปล่อย ไปปร๋อปร๋อ เหมือนเหมือนอย่าง ทางที่เป็น เช่นพอพอ ตรองตรองใจ ที่ในข้อ ให้ควรควร
เปรียบเปรียบว่า บุตรภรรยา คนใช้ใช้ ปล่อยปล่อยปละ ละให้ ฮึกหวนหวน เฉยเฉยเสีย ไม่สั่งสอน ข้อนชวนชวน กล้ากล้านัก มักก่อกวน จะแรงแรง
มีมีแต่ ต่างจะดื้อ ถือปึ่งปึ่ง ข้อนข้อนข้าง วางข้อขึง ขึ้นแข็งแข็ง คล้ายคล้ายช้าง ห่างขอ มักแคลงแคลง ชวนชวนชัก มักระแวง จงจำจำ
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2007, 11:19:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2007, 11:19:AM » |
ชุมชน
|
กลบทยัติภังค์ ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlครูสอน สอนก็ได้ แต่ใจภัก ภักดีต่อ ต่อที่รัก ทุกคำสำ สำเหนียกกล่าว กล่าวคิด พินิจดำ ดำริห์ชอบรู้ รู้จำ สุนทรภา
ภาษิตเปรียบ เปรียบแม้น เหมือนหนึ่งสัง สังคีตดัด ดัดประดัง ทุกสิ่งสา สามารถพร้อม พร้อมเพราะ เสนาะอา อาลัยชวน ชวนกระบือร่า ให้ฟังบรร
บรรเลงขับ ขับก็ป่วย เวลาปรา ปรารภเรื่อง เรื่องจะหา หรือรู้ฉัน ฉันใดเพราะ เพราะจะเพียร ก็ยากพรร พรรณาสอน สอนพาลนั้น ย่อมยากแสดง
กลอนกลบทยัติภังค์เหมือนกลบทอื่น ๆ แต่ต้องให้คำที่สุดท้ายของวรรคเป็นคำที่ใช้ยัติภังค์เชื่อมไปยังวรรคต่อไปเสมอ นอกนั้นเหมือนทั่วไป ไม่น่าน่าจะประคองสนองมิตร- ภาพคิดคิดถึงความหลังครั้งเคยสรวล- เสเฮฮาแย้มแฉล้มอวล- อบกลิ่นชวนชวนชื่นระรื่นจิน- ตนานึกนึกในมโนพิศ- วงอย่างยิ่งยิ่งพินิจจิตเจ้าหิน- ชาติทำกรรมกรรมก่อให้เกิดภิน- ทนาการลาญสิ้นสิ้นสุดนึก ที่มา http://www.geocities.com/annenena/index4.htm
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2007, 11:23:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2007, 11:23:AM » |
ชุมชน
|
กลบทละเวงวางกรวด ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlผู้พ่ายแพ้ ผ่อนหลบ หลีกลับเลี่ยงพึงพอเพียง อย่าควร ข่มขัดแข็ง จวบเจียนจวน จนท่า รุกเร้าแรงพล้ำพลาดแพลง พลั้งตน จักจนใจเหี้ยมฮึกเหิม หาญนัก มักมึนม่อยน้ำหนองน้อย แหนงเพลิง สิ้นสงสัย หมิ่นเมินมาก หากกลับ กลัวเกลื่อนไกลเห็นเหตุให้ หวนแปร แท้ทางทีดูใดโดย ให้ต้อง ชันเชิงชอบรู้เรื่องรอบ อย่าระแวง หน่ายแหนงหนี พึงเพ่งพิศ คิดหา ท่าท่วงที โอบอ่อนเอื้อ อารี การเกื้อกูล
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2007, 11:25:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2007, 11:25:AM » |
ชุมชน
|
กลบทกินนรรำ ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlขจัดจิต ชนิดหน่าย ระคายข้อง ระเบียบเบื้อง ตระเตื้องต้อง สนองหนุน คดีดู จะชูช่อง ประคองคุณ จะลึกลับ จะพับพูน ประมูลมี
คะนึงนึก ตริตรึกตรอง ละบองแบ่ง ระบิลเบื้อง ยุเยื้องแย้ง แขนงหนี คะเนนับ สดับดู กระทู้ที จะต้านต่อ หรือรอรี คดีดู
พินิจแหนง ระแวงวน ฉงนเงื่อง จะค้านคัด ประหยัดเยื้อง ณเรื่องรู้ จะหมองหมาง ระคางคิด จะชิดชู กระแสศัพท์ สดับดู จะรู้รา
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2007, 11:28:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2007, 11:28:AM » |
ชุมชน
|
กลบทเจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlสุดจะค้น สนข้อ ส่อคำสอน เห็นข้อน ห่อนควร หวนคิดหา เรื่องต้อง ร้องต่าง ร้างตำรา ยิ่งท่า ยากทาง อย่างที่ยล
สอนพาล สารเพียง เสียงภาษิต สนคิด สุดแค้น แสนขัดสน ยากพ้อ ยอพา อย่าพึ่งยล เกียจปน กลปอง กองป่วยการ
แก้วเพชร เก็จผ่อง ก่องผิวก่ำ หากล้ำ ให้เหล่า แห่งลิงหาญ นึกไว้ ในว่า น่าหวังนาน แรงค้าน รานคำ ร่ำคนเรา
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2007, 11:30:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2007, 11:30:AM » |
ชุมชน
|
กลบทนารายณ์ประลองศิลป ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlสำเนาเขา สำนวนควร สำเหนียกคิด ประกิตชิด ประกอบชอบ ประกันเฉา คนึงดึง ขนัดดัด คะเนเดา มิเศร้าเหงา มิส้อนงอน มิสิ้นงาม
ระบิลสิ้น ระบายสาย ระเบียบเลศ นิเทศเหตุ นิทัศน์หัด นิทานห้าม ประจบนบ ประจักษ์นัก ประจงนาม จะซามตาม จะเสริมเติม จะเสื่อมตน ฉลาดปราชญ์ เฉลียวเปรียว เฉลยเปรียบ ประเทียบเพียบ ประทับพับ ประเทืองผล ขนานการ ขนอบกอบ ขนบกล จะยลบน จะเยื้องเบื้อง จะยากบัง
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2007, 11:43:AM |
Alpha
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2007, 11:43:AM » |
ชุมชน
|
กลบทพระจันทร์ทรงกรด ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlลำบากก่อน ก่อนทำ เห็น ลำบากหวนเหียนคิด คิดหาก จัก หวนเหียนผ่อนเพียรทำ ทำไปก่อน ค่อย ผ่อนเพียรปลงใจนึก นึกอย่าเวียน เปลี่ยน ปลงใจประกอบการ การอย่าละ ที่ ประกอบนิสัยผล ผลก็ตอบ ตาม นิสัย เป็นไปตาม ตามเช่น ที่ เป็นไป สำเนากล่าว กล่าวไว้ ฟัง สำเนา จักกลิ้งครก ครกหนัก หาก จักกลิ้ง ภูเขาสูง สูงก็จริง แต่ ภูเขา ใจเราเพียร เพียรให้เข้า แน่ ใจเรา ตรึกตรองใจ อย่า ใจเบา พึง ตรึกตรอง
|
|
|
|
|