พี่ค่ะช่วยแต่งนิราศหอศิลป์หั้ยหน่อยค่ะ 10 บท ช่วยหน่อยนะค่ะ หนูไม่มีความถนัดในเรื่องนี้เลยจิงๆ
ช่วยหน่อยนะค่ะ
มีข้อมูลดังนี้ค่ะ
อาคารทรงไทย สถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์ ที่สูงเด่นเป็นสง่าอยู่บนถนนแจ้งสนิทนี้ เรียกว่า "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม กาญจนาภิเษก อุบลราชธานี"
หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ อยู่ชั้นล่างของ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก อุบลราชธานี มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ท้องถิ่น ของชุมชนและจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสาน เป็นศูนย์ส่งเสริมสร้างสำนึกท้องถิ่น ในด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอุบลราชธานี ด้วยความเชื่อที่ว่า
"หอวัฒนธรรม คือ รากฐานความมั่นคงของชาติ ความอ่อนแอทางวัฒนธรรม เป็นปัจจัยไปสู่ความเสื่อมสลายของชาติ หอวัฒนธรรม เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต"
เมื่อท่านเดินทางมาถึงศูนย์ศิลป์แล้ว สังเกตุจะมีทางรถขึ้นไปชั้น 2 ตรงส่วนนั้น จะเป็นส่วนต้อนรับของศูนย์ศิลป์ครับ เราไม่ต้องขึ้นไป ให้เดินเลี่ยงไปด้านข้างของทางขึ้น จะด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ จะเห็นประตูทางเข้าของ หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ เข้าไปได้เลยครับ ไม่เสียค่าผ่านประตูแต่อย่างใด และพื้นที่ส่วนที่อยู่ระหว่างประตูทางเข้า ซ้าย-ขวา นั้น เรียกว่า "ห้องภูมิเมือง"
ห้องภูมิเมือง แสดงสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแม่น้ำโขง-ชีมูล มีโดมจำลองสภาพทางภูมิศาสตร์ด้วยครับ อยากรู้จักพื้นที่ไหน กดปุ่มได้เลย จะมีไฟแสดงตำแหน่งให้ชม
จากนั้น เดินไปทางด้านขวามือของทางเข้าครับ ที่นี่จะเป็นห้องภูมิราชธานี
ห้องภูมิราชธานี ท่านจะได้พบกับร่องรอยทางอารยธรรมของเมือง ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงการตั้งเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ยุคปฏิรูปการปกครอง ยุคประชาธิปไตย ส.ส.อีสาน เสรีไทยในอีสาน จนถึงอุบลราชธานีในปัจจุบัน
ห้องภูมิธรรม แสดงพัฒนาการ ของพระพุทธศาสนา ที่เข้ามาในจังหวัดอุบลราชธานี จากรึกวัดมหาวนาราม พระสงฆ์ฝ่ายคันธุระ วิปัสสนาธุระ ประเพณีวัฒนธรรมอันเนื่องในพระพุทธศาสนา ฮีตสิบสองครองสิบสี่ และประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดสำคัญที่ตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี
ห้องภูมิปัญญา ห้องนี้ใหญ่หน่อยค่ะ เนื้อหาเยอะมาก ทั้งส่วนบอร์ดนิทรรศการ และรูปจำลอง ข้าวของเครื่องใช้จริงๆ มากมาย แสดงภาพวิถีชีวิตของชาวอุบลราชธานี อาทิ อาหารการกิน ยารักษาโรค สมุนไพรพื้นบ้าน เฮือนอีสานและหมู่บ้านอีสาน ผ้าและการแต่งกาย หัตถกรรมพื้นบ้าน (การทำไห การหล่อโลหะบ้านปะอาว) ดนตรีอีสาน หมอลำ เพลงกล่อมเด็ก และคนดีศรีอุบล ในแขนงต่างๆ ถือว่าเป็นการจบนิทรรศการที่สมบูรณ์แบบครับ เพราะที่บอร์ดของคนดีศรีอุบลนี้ ตรงกลาง จะแทรกด้วยกระจกบ้านใหญ่ เวลาเราไปยืนแล้ว เงาของเราจะอยู่ตรงกลางของคนในภาพ อาจเป็นสัญญาที่เราให้ไว้ต่อกันครับ ว่า
พวกเราจะเติบโตเป็น..... คนดีศรีอุบล
เอกลักษณ์ของศูนย์และลักษณะเฉพาะ
อุบลราชธานี เป็นเมืองที่มีสกุลศิลป์ ที่สืบสานมาตั้งแต่เริ่มสร้างบ้านแปงเมือง คือสกุลศิลป์ วัดทุ่งศรีเมือง มีการถ่ายทอดกันมา ตามวิถีแห่งศิลปะพื้นถิ่นอีสาน (ตามมีตามเกิด) ผสมผสานกับศิลปะไทยจากกรุงเทพฯ อย่างกลมกลืน จนดูไม่ออกว่า อะไรคือไทย ซึ่งเป็นธรรมชาติของศิลปวัฒนธรรม แต่งานศิลปะอุบลราชธานี ก็ยังคงทำหน้าที่บ่งบอก ความเป็นศิลปะอุบลราชธานี อันโดดเด่นอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังได้เผยแพร่ไปยังถิ่นอื่น โดยคณะช่างศิลป์คณะต่างๆ อย่างเงียบๆ ศิลปะไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมฯ ของชาติใด หรือท้องถิ่นใดก็ตาม เป็นองค์วัตถุ หรือสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เป็นสื่อแสดงความคิด ความเชื่อและจิตวิญญาณ ของชนชาติหรือท้องถิ่นนั้นๆ ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งแวดล้อมที่สร้างความภูมิใจ ชื่นชมของคนชาตินั้น หรือท้องถิ่นนั้นเท่านั้น แต่หากเป็น การบ่งบอกให้คนจากถิ่นอื่นได้รับรู้ เรียนรู้ ชื่นชมภูมิใจ ในความมีศิลปวัฒนธรรม และอารยธรรม อันลำค่าอีกด้วย ดั้งเดิมเราได้ชื่นชมศิลปกรรมด้านต่างๆ จากวังและวัด ซึ่งเป็น "สถาบันการศึกษา" แม้เมื่อเราสร้างสถาบันการศึกษารุ่นแรก เรายังไม่ละเลยในศิลปกรรมไทยประยุกต์ในตึกเรียน เช่น ตึกนาค คณะอักษรสาสตร์จุฬาฯ ตึกเรียนของโรงเรียนวชิราวุธ ฯลฯ แต่ในชั้นหลังได้ละเลยไปเสียสิ้น การสร้างใส่ศิลปกรรม ในอาคารสถาบันอุดมศึกษา เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอารยประเทศ สืบทอดกันมานานนับหลายศตวรรษ แม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ผลที่ได้รับ ในด้านสุนทรียะหรือทางด้านจิตพิสัยในระยะยาวนั้น มากมายสุดประเมินค่าเป็นเงินได้
emo_111ช่วยหนูหน่อยค่ะ