ชิโนทัยฉันท์ ๑๘ อ.มนชิดา ผู้ประดิษฐ์
เสียงระฆังดังสะท้านประสานเสียง
ฉิวเฉลียงลมฉวัดเฉวียนฉิว
ทิวสะบ้าหญ้าประปรายสยายทิว
ไหวผะพลิ้วปลิวระยับขยับไหว
รุ่งอรุณกรุ่นละอองอรุณรุ่ง
ไพรจรุงรุ้งกระจ่าง ณ กลางไพร
ใสประเทืองเรืองรวีนทีใส
เย็นหทัยในพระธรรมฤทัยเย็น
ครูแดง
ผังบังคับ แต่ละวรรคมี9คำ
1บทมี4วรรค แต่ละวรรคกำหนด ครุ ลหุดังนี้
ครุลหุครุ ครุลหุครุ ลหุครุครุ
คำสัมผัสในบท คำท้ายวรรคที่1 สัมผัสคำที่3ในวรรค2
คำท้ายวรรคที่2สัมผัสคำท้ายวรรคในวรรคที่3
คำท้ายวรรคที่3สัมผัสคำที่3ในวรรค4
คำท้ายวรรค4สัมผัสระหว่างบทกับคำท้ายวรรคที่2ในบท2

ชิโนทัยฉันท์ ๑๘ ในบทนี้ได้นำกลบทครอบจักรวาลนำมาประยุกต์ผสมผสานเข้าในบทชิโนทัยฉันท์ เพราะมองเห็นว่าคำใดคำหนึ่งเมื่อย้ายที่ไปอีกที่หนึ่งย่อมทำหน้าที่ต่างกัน
เมื่ออยู่หน้าประโยคกับหลังประโยคทำให้คำคำหนึ่งเป็นได้ทั้งประธานหรือกริยาและกรรม ย่อมเป็นไปได้
นี่คือเสน่ห์ของอักษรไทยในวรรณศิลป์
เช่น
ไพรจรุงรุ้งกระจ่าง ณ กลางไพร
ไพรจรุง
...ไพร ทำหน้าที่เป็น ประธานในประโยค
รุ้งกระจ่าง ณ กลางไพร
...ไพร คำหลังทำหน้าทึ่เป็นกรรมในประโยค เป็นต้น