ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
21 พฤศจิกายน 2024, 11:49:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 [7] 8 9
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่  (อ่าน 139405 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 13 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
27 กรกฎาคม 2021, 04:15:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #120 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2021, 04:15:PM »
ชุมชนชุมชน

         

               
               

                     ทรงพระเจริญ

     ถวายพระพรอ่อนน้อม     จอมจักรินทร์
      จอมแมทัพธรนินทร์        หนึ่งนี้
       ฉลองเริ่มเฉลิมศิลป์    เสริมส่ง องค๋เอย
       เทพช่วยอวยชัยชี้     ชื่นช้อยพลอยเกษม

       เฉลิมพระชนม์ล้นเกล้าเราฉลอง
       พระเกียรติก้องสูงส่งดั่งหงส์เหม
       พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทั่วปริ่มเปรม
        ด้วยใจเอมอวยองค์...ทรงพระเจริญ


      quote author=@free link=topic=30468.msg224267#msg224267 date=1587856936]
   

   

คราวนี้ไม่ใช่กาพย์ห่อโคลง
คือกาพย์ ดอกแคร่วง พ่วงโคลงสี่สุภาพ แห็ม
ยังไม่จบโคลงสี่สุภาพ เพราะยังแต่งได้ไม่ครบถ้วน
ทีนี้งานเยอะ
โคลงสี่สุภาพไม่ใช่แค่แต่งเรียบง่ายตามฉันทลักษณ์เท่านั้น
ขณะแต่งไปเปิดตำราไป ข้าพเจัาก็เพิ่งรู้
โคลงสึ่สุภาพแต่งกันหลายลีลา เยอะเลย
ก็เลยต้องแต่งตามไป ค่อยสอดแทรกแถมไปบ้าง
ด้วยฝีมือระดับข้าพเจ้าใช้เวลาไม่น้าน
แค่หมดเท่าที่มีทั้งชีวิต ไม่เกินนี่

     

เทพยิ่งสดับรับรู้   ร่วมร้องเริงรำ
.....
เล่นเพลงเคร่งคำ   
ครูแจงแบ่งนำ   จุนเจือ

สองแขนแน่นเนื้อ   
ก้าวตรงลงเรือ   พายไป

เห่ฉ่าฮ้าไฮ้
ร่วมลำ นำไทย   ช่วยกัน

คละทุกข์สุขสันต์
มีสิบสี่วัน   ทุเลา   

ใครเขารือเท่าพ้อง    สนองนาน
ชนอื่นฝืนพบพาน     แพร่เชื้อ
กักสิบสึ่วันวาร          วอนอยู่ ดูรา
เราช่วยอวยเองเอื้อ   เพื่อฟื้นคืนเมือง

[/quote]


         

     โพสนี้ว่าจะเขียน กาพย์ดอกแคร่วง จึงไปค้นข้อมูลในกูเกิล เจอกระทู้นี้ของตัวเอง หน้าที่1 โพสทึ่8, 9,และ10
อ้าง
   ดูก็แต่งไว้ดีแล้ว เพราะแต่งใหม่อีกก็คงไม่ดีกว่า

และได้เห็นว่าติดค้างเรื่องจะฝึกหัดโตลงสึ่สุภาพอันหลากหลายฉ้นทลักษณ์ ลีลา ลึกลับซับซ้อน ถึงขนาดต้องชะงักติดในในค้างอยู่นาน
 วันนี้สมควรจะเริ่มเสียที  ซึ่งหากจะแต่งแต่โคลงสี่สุภาพอย่างเดียวก็ไม่ีู้จะจลเมื่อไร คนอ่านจะเบื่อ ฉะนั้นจะแต่งสลับกับคำประพันธ์ชนิดอื่น

          โคลงสี่สภาพ

บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”
ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปลายปี 2554 จนถึงต้นปี 2555

และผู้วิจัยได้ปรับจากการนําเสนอเรื่องนี้ ในที่ประชุมของสํานักศิลปกรรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2555.

สุนทรภู่สร้างนวัตกรรมด้านรูปแบบโคลงสี่สุภาพและนวัตกรรมด้านเนื้อหาของโคลงนิราศในนิราศสุพรรณ ในด้านรูปแบบ สุนทรภู่สร้างโคลงที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้น ได้แก่ เพิ่มข้อบังคับพิเศษซึ่งเป็นสัมผัสใน 3แห่งและสัมผัสเสริมซึ่งเป็นสัมผัสข้ามวรรคในโคลงแต่ละบท ทำให้พบโคลง 30 แบบของสุนทรภู่ และโคลง 2 แบบที่สุนทรภู่ชอบแต่ง คือ โคลง “สพพพ” และ “พพพพ” นอกจากนี้ ยังพบว่าสุนทรภู่ได้แต่งโคลงกลบทเป็นจำนวนมากในนิราศเรื่องนี้ มีทั้งโคลงกลบทเดี่ยวและโคลงกลบทผสม 2 ชนิดในโคลงบทเดียวกัน


         

      เริ่มแรกลองแต่ง 1บท ตามแบบแผน ผสมผสานฉันทลักษณ์เท่าที่เห็น รวมลงใน 1บท
    

    เชิญไชโยโห่ก้อง    กรองกลอน
     สรรพสื่อนำคำสอน    แซ่ซ้อง
     ถวายร่ายพระพ่ร        พึงเพิ่ม เฉลิมรา
     สนานร่ำสำนวนร้อง    เร่งรู้ชูฉลอง

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : เนิน จำราย, พยัญเสมอ, masapaer

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
30 กรกฎาคม 2021, 07:56:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #121 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2021, 07:56:PM »
ชุมชนชุมชน

       

                  โคลงสี่สุภาพ ของสุนทรภู่

ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสุนทรภู่สร้างนวัตกรรมในโคลงดังต่อไปนี
  1.   นวัตกรรมด้านรูปแบบโคลง           สุนทรภู่สร้างรูปแบบโคลงสี่สุภาพของตนเองขึ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.1 รูปแบบโคลงสี่สุภาพทีไม่ใช่โคลงกลบท    โคลงสีสุภาพของสุนทรภู่ทีไม่ใช่โคลงกลบทมีคุณลักษณะสําคัญต่อไปนี
 
1.1.1 โคลงที่มี 32 คําในหนึ่งบท จากการศึกษาจํานวนคําในโคลงสี่สุภาพแต่ละบทของสุนทรภู่ พบว่าสุนทรภู่นิยมใช้โคลงที มีจํานวนคํา 32 คําในหนึ่งบทมากที่สุด คือ เป็นโคลงที่มีคําสร้อยเฉพาะท้ายบาทสาม พบมากถึง 456 บทจาก 462 บท คิดเป็นร้อยละ 98.7 ดังตัวอย่าง

   ๏เทียวสนุกทุกสนัดแท้  แต่เรา
          เร่ร่อนนอนป่าเขา   เค่าไม้        
หลงเลี้ยวเทียวเดินเดา   ดึกดื่น สอื้นเอย               
หาพระปรอทได้    เดือดร้อนอ่อนหู

นอกจากนี้มีโคลงสี่สุภาพที่มีจํานวนคํา 30 คําอยู่บ้าง คือ เป็นโคลงสี่สุภาพที่ไม่มีคําสร้อยเลย มีอยู่ 5 บท ได้แก่ โคลงบทที 22 88 90 142 และ 296 คิดเป็นร้อยละ 1.08
นอกเหนือจากนี้มีโคลงสี่สุภาพที่มีจํานวนคํา 34 คําด้วย คือ เป็นโคลงที่มีคําสร้อยทั้งท้ายบาทหนึ่งและท้ายบาทสาม แต่มีเพียง 1 บทเท่านั้น ได้แก่ บทที่ 73 คิดเป็นร้อยละ 0.22 เท่านั น   การจําแนกประเภทโคลงของสุนทรภู่โดยใช้จํานวนคําในบทเป็นเกณฑ์ ทําให้พบว่าสุนทรภู่นิยมใช้โคลงที มีจํานวนคํา 32 คําในบทมากที่สุด โดยใช้คําสร้อยในบาทสาม    ทําให้เห็นว่าเป็นโคลงทีแต่งอย่างเป็นระบบระเบียบมาก
1.1.2 โคลงที่เพิ่มข้อบังคับพิเศษให้มีสัมผัสใน 3 แห่งในโคลงบทเดียวกัน แม้ว่าประทีป วาทิกทินกร (เรื่องเดิม: 113)กล่าวว่า โคลงของสุนทรภู่มีสัมผัสสระ 4 แห่ง คือ ระหว่างคำที่2-3ของทุกบาท มีสัมผัสสระระหว่างคําสุดท้ายของบาทกับคําแรกของคําสร้อย มีสัมผัสสระระหว่างคําที 7-8 ในบาทสุดท้าย และมีสัมผัสสระระหว่างวรรคหน้าและวรรคหลังในบาทที 1  แต่ผู้วิจัยพบว่าในโคลงสุนทรภู่มิได้มีสัมผัสระหว่างวรรคในบาทที 1 อย่างสมํ าเสมอในโคลงทุกบท คือ มีในโคลงเพียง 231 บท  คิดเป็นร้อยละ 50 เท่านั น จึงไม่สามารถใช้โคลงจํานวนนี้เป็นตัวแทนโคลงของสุนทรภู่ได้

สุภาพร มากแจ้ง (2535:  270)  กล่าวว่าโคลงของสุนทรภู่มีสัมผัสใน 3 แห่ง คือ สัมผัสสระระหว่างคําที 2-3 หรือ 3-4 ของทุกบาทเหมือนดังที พบในโคลงของพระศรีมโหสถ รวมทั้งในโคลงพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และระหว่างคําที 7-8 ของบาท  
    ทั้งยังมีสัมผัสพยัญชนะระหว่างคําที 5-6 ของแต่ละบาทด้วย  แต่จากการ ศึกษาของผู้วิจัย พบว่าสัมผัสพยัญชนะระหว่างวรรคไม่ได้มีในทุกบาทของโคลงสุนทรภู่ และที มีก็พบในโคลงเพียง 100 บทเท่านั น  คิดเป็นร้อยละเพียง 21.64 จึงไม่สามารถนับเป็นตัวแทนของโคลงสุนทรภู่ได้เช่นเดียวกัน ผู้วิจัย (เรื องเดิม: 196) พบว่าแท้จริงแล้วสัมผัสในที เป็นข้อบังคับเพิ่มเติมในโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่มีเพียง 3 แห่ง เหมือนดังที รัตนา ศาลิกร (2545: 71-76) กล่าวไว้ ได้แก่ สัมผัสระหว่างคําที 2-3 ในวรรคหน้า ระหว่างคําที 7-8 ในวรรคสุดท้าย   และระหว่างคําท้ายบาทกับคําสร้อย แต่รัตนา ศาลิกร มิได้แสดงผลการเก็บข้อมูลดังกล่าวที เห็นเป็นระบบอย่างชัดเจน   ผู้วิจัยได้ศึกษารายละเอียดจากโคลงทุกบทของสุนทรภู่และได้ผลสรุป ดังนี .......
                         (ยังมีต่อ)



ถึงตรงนี ข้อบังคับสัมผัส บางฉันทลักษณ์บอกว่ามี บ้างบอกไม่มี ผมจึงขอสรุปเแบบแผนเพื่อใช้แต่งโคลงสี่สุภาพสำหรับส่วนตัวเองว่า  ข้อบังคับที่บอกวา "ไม่มีคือ มีก็ได้ไม่ ก็ไดิ"  ที่บอกว่า "มีคือต้องมี"
.....
ลองดู

มะลิซ้อน2ชั้น
               

เสมอนานาชาติ
               
     เชิญไชโยโห่ก้อง    กรองกลอน
     สรรพสื่อนำคำสอน    แซ่ซ้อง
     ถวายร่ายพระพร        พึงเพิ่ม เฉลิมรา
     สนานร่ำสำนวนร้อง    เร่งรู้ชูฉลอง
..........


       

        ผองผินบินฟ่องฟ้า     ถลาเเถลิง
แถต่ำทำเชือนเชิง     แช่มช้อน
ภมรว่อนกระเจิง         กระนจายจู่ สูเอย
โรยกลิ่นรินมะลิซ้อน   ซ่านซ้ำรำไร

            เทิดไทยชูสู่ฟ้า     สากล
ชวนย่องเพลินเชิญยล     เยี่ยมเหย้า
ไปมาอย่าหายหน            เหินห่าง รางรา
เรือนหมู่เรียงเคียงเค้า       คู่คล้ายสหายเสมอ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : เนิน จำราย, พยัญเสมอ, โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
02 สิงหาคม 2021, 11:02:AM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #122 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2021, 11:02:AM »
ชุมชนชุมชน

    


[/size
บาทสกุณี    เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง แสดงจริยวัตร อากัปกริยา อัน นุ่มนวล งามสง่า อ่าองค์ ยงยศ ของ พระอินทร์ กษัตริย์ กษัตรี เป็นต้น
                

สีดาลุยไฟ  ขบวนแห่สีดา เพลงหน้าพาทย์เสมอ สีดาลุยไฟ เพลงเชิดฉิ่ง...บันดาลเป็นโกสุมปทุมทอง                                                                        

บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”.....(ต่อ)

สัมผัสในแห่งที่1      เป็นสัมผัสในชนิดสัมผัสสระระหว่างคําที 2-3  ร้อยละ 90.31    เป็นสัมผัสในชนิดสัมผัสพยัญชนะระหว่างคําที 2-3   ร้อยละ  2.76         เป็นสัมผัสในชนิดสัมผัสพยัญชนะในตําแหน่งอื่น      ร้อยละ  6.44         (คือระหว่างคําที 3-4 บ้าง   คําที 1-3 บ้าง   หรือคําที 2-4 บ้าง)    ขาดสัมผัสชนิดนี 8 บาท ชํารุดจนอ่านไม่ได้ 1 บาท   ร้อยละ   0.48
      
สัมผัสในแห่งที่2
คือ สัมผัสระหว่างคําที 7-8 ในบาทสี่   ผู้วิจัยพบว่า                
เป็นสัมผัสสระ   ร้อยละ 97.62
เป็นสัมผัสพยัญชนะ     ร้อยละ   1.08                เป็นสัมผัสพยัญชนะในคําตําแหน่งอื่น ร้อยละ   0.43                ไม่มีสัมผัสชนิดนี้ ร้อยละ   0.87

สัมผัสในแห่งที่3
คือ สัมผัสระหว่างคําสุดท้ายของบาทกับคําแรกของคําสร้อย พบว่า    
เป็นสัมผัสสระ   ร้อยละ 88.74    เป็นสัมผัสพยัญชนะ      ร้อยละ   7.79    ไม่มีสัมผัสชนิดนี ร้อยละ   3.46
                ผลการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่าข้อบังคับการแต่งโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่ คือ เพิ่มสัมผัสใน 3 แห่งในโคลงสี่สุภาพทั่วไปและส่วนใหญ่เป็นสัมผัสสระ มีที่เป็นสัมผัสพยัญชนะน้อยมาก                 นวัตกรรมด้านรูปแบบโคลงที่สุนทรภู่สร้างขึ้นนี เป็นการต่อยอดรูปแบบโคลงสี่สุภาพที่กวีโบราณในสมัยอยุธยาตอนกลางได้คิดขึ้นซึ่งเป็นโคลงที่มีสัมผัสในชนิดสัมผัสสระขึ้น2แห่งในโคลงบทเดียวกัน คือ ระหว่างคําที 2-3 หรือ 3-4 ในวรรคหน้าของแต่ละบาท  และระหว่างคําที 7-8 ในวรรคสุดท้าย  ดังปรากฏในโคลงบทแรกของตัวอย่างโคลงที มีชื อว่า “สีหคติกํากาม นาคบริพันธฉันท” ในจินดามณี (วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 2, 2530: 482)      และปรากฏอย่างเป็นระบบชัดเจนในโคลงอักษรสามหมู่เกือบทุกบทของพระศรีมโหสถ (เรื องเดิม: 645-649)
ดังตัวอย่าง

โคลงสีหคติกํากาม นาคบริพันธฉันท    
๏ ธ  วัวกลัวเมียเพี้ยง   กลัวเสือ          
โม  เมาเงางุนเยือ  กล่าวกล้า            
โอ  โถงโครงเปล่าเหลือ    ตัวแต่ง          
ปาก หากลากคําค้า คึ่งให้ใครขาม

โคลงอักษรสามหมู่            
๏ พรียพลรนร่นร้น       พลเขา        
ปีนป่ ายทลายทะลวงเผา    เผ่าเผ้า        
 สท้านท่านทานเรา           ดูยาก  
ลอมล่อมล้อมฟางเข้า    จ่อข้ายขจายลง

นอกจากนี้ สัมผัสในดังกล่าวยังพบในโคลงพระราชนิพนธ์บางบทของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศด้วย (วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3, 2531: 52-63) เช่น
   
๏ เสร็จชลอก่อแท่นขึ้น  รองรับ
รือเรือกเฝือกประดับ ทับไว้
เสมอนิทรกิจกลหลับ ลืมตื่น
ร้าวฉานสท้านไม้  แยกย้ายสลายลง

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสันนิษฐานว่าสุนทรภู่อาจพัฒนารูปแบบโคลงของตนเองมาจากโคลงสมัยอยุธยาตอนกลางหรือตอนปลายด้วยการเพิ่มสัมผัสสระะหว่างคําสุดท้ายของบาทกับคําแรกของคําสร้อยในบาทสามเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง  ทําให้มีสัมผัสในถึง3 แห่งในโคลงบทเดียวกัน

แสดงเป็นผังข้อบังคับการแต่งโคลงสี่สุภาพทั่วไปเปรียบเทียบกับข้อบังคับการแต่งโคลงสี สุภาพของสุนทรภู่ซึ่งมีข้อบังคับการแต่งเพิ่มขึ้น ดังนี้
ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพทั่วไป
ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่  

เสียงลือเสียงเล่าอ้าง   อันใด  พี่เอย      
(เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า  ดาดาว)
เสียงย่อมยอยศใคร           ทั่วหล้า          
(จรูญจรัดรัศมีพราว         ุ  พร่างฟ้า)
สองเขือพี หลับใหล          ลืมตื่น ฤๅพี่        
(ยามดึกนึกหนาวหนาว    เขนยแนบ แอบเอย)
สองพี่คิดเองอ้า            อย่าได้ถามเผือ  
(เยนฉ่ำนํำค้างย้อย         เยือกฟ้าพาหนาว)

อย่างไรก็ตามในกรณีเป็นโคลงที่ ไม่มีคําสร้อยก็จะขาดสัมผัสในระหว่างคําสุดท้ายของบาทกับคําสร้อยไป 1 แห่ง  แต่ลักษณะเช่นนี ก็มีน้อยมากในนิราศสุพรรณ.....ยังมีต่อ.....1.1.3 โคลงที่มีสัมผัสข้ามวรรค 1-4 บาท........

            เทิดไทยชูสู่ฟ้า     สากล
ชวนย่องเพลินเชิญยล     เยี่ยมเหย้า
ไปมาอย่าหายหน            เหินห่าง รางรา
เรือนหมู่เรียงเคียงเค้า      คู่คล้ายสหายเสมอ
..........



   

    
[/colorเลอทรงองค์ผ่านฟ้า     วรารัชช์...(วัฒน์)
งามท่านการจริยวัตร     ว่าไว้
งามเรืองเครื่องกษัตริย์  สูงส่ง องค์เอย
พสกถิ่นอินทราไซร้       แซ่ซ้องฉลองเฉลิม

เสริมสัตย์จัดสื่อสร้าง     ฟางไฟ
ลุยย่ำยำเยงไย              ยิ่งเย้ย
สีดาฝ่าเปลวไป              ปลอดเปล่า เผาเลย
กมลใฝ่ใครหะเฮ้ย          ห่อนห้ามทรามสมร

(ไม่พบคำทรามสมรอย่างเป็นทางการ แต่มีผู้ใช้อยู่บ้าง
จึง่ลือกใช้คำนี้เพราะชอบมากกว่าคำ ทรามสงวน

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
07 สิงหาคม 2021, 03:03:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #123 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2021, 03:03:PM »
ชุมชนชุมชน

       

     
บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”.....(ต่อ)

1.1.3 โคลงที่มีสัมผัสข้ามวรรค 1-4 บาท เมื่อศึกษาคําสัมผัสข้ามวรรคในโคลงของสุนทรภู่ ผู้วิจัยพบว่าสุนทรภู่ไม่ได้บังคับให้ใช้สัมผัสข้ามวรรคในการแต่งโคลงแบบสุนทรภู่ เพียงแต่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้มีเพื่อเพิ มเสียงไพเราะแก่โคลงที่แต่ง คือ ทําให้สัมผัสใน 3 แห่งที่ส่วนมากเป็นสัมผัสสระเด่นน้อยลง ผู้วิจัยพบว่าในการแต่งโคลงแต่ละบทนั้นสุนทรภู่นิยมใช้สัมผัสข้ามวรรคครบทั้ง 4 บาทมากที่สุด รองลงมาคือสัมผัสข้ามวรรค 3 บาท 2 บาท และ 1 บาทตามลําดับ คิดเป็นร้อยละ 77.71(359 บท) 18.18(84 บท) 3.68(17 บท) และ 0.43(2 บท)โดยลําดับ
ในกรณีที มีสัมผัสข้ามวรรคเพียง 1 บาท สุนทรภู่เลือกใช้สัมผัสดังกล่าวเป็นสัมผัสพยัญชนะ และใช้อยู่ในบาท 1 หรือบาท 4 เท่านั น

การศึกษาสัมผัสข้ามวรรคในโคลงของสุนทรภู่ส่งผลให้ผู้วิจัยพบว่าสุนทรภู่แต่งโคลงสี สุภาพไว้ถึง 30 แบบ แบบที ชอบใช้มากที สุด คือ “สพพพ” หมายความว่าเป็นโคลงที มีสัมผัสข้ามวรรคชนิดสัมผัสสระในบาทแรก และเป็นสัมผัสพยัญชนะใน 3 บาท ที่เหลือ โคลงแบบ “สพพพ” นี มีมากถึง 231 บทซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50

โคลงอีกแบบหนึ่งที่ชอบใช้รองลงมาคือ “พพพพ” มีในโคลง 100 บท คิดเป็นร้อยละ 21.65 ทั งยังพบว่าโคลงแบบ “สพพพ” และ “พพพพ” นี มีลักษณะการแต่งที เป็นระบบระเบียบมากจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน
อนึ่งตามที่มีผู้กล่าวว่าโคลงของสุนทรภู่มีสัมผัสในมากเกินไป ทําให้โคลงมีลีลาช้าและอืดอาดนั้น ผู้วิจัยมีความเห็นว่าขึ้นอยู่กับผู้อ่านว่าจะอ่านให้ช้าหรือเร็วเป็นสําคัญ สัมผัสในชนิดสัมผัสสระช่วยให้อ่านโคลงได้รื่นไหลมากยิ่งขึ้น ไม่ได้ทําให้อ่านช้าลงแต่อย่างใดหากอ่านโดย ไม่หยุดเมื่อสิ้นสุดวรรคหน้าในแต่ละบาท ดังที่ พ. ณ ประมวญมารค กล่าวว่าให้อ่านโคลงแบบข้ามสัมผัสนอกไปเสีย (พ.ณ ประมวญมารค, 2519: 237) หมายความว่าอ่านคําตลอดทั้งบาทให้ต่อเนื่องกันไป ทําให้โคลงมีลีลาแบบกลอน เช่น

บางปลาร้าปลาคล่ำน้ำ ลําคลอง
 คนเหล่าชาวประมงมอง มุ่งข้า
 สุ่มซ่อนช้อนชนางปอง ปิดเรือก เฝือกแฮ
 เหม็นเน่าคาวปลาร้า เรียดคุ้งคลุ้งโขลง

พ.ณประมวญมารคกล่าวชมสุนทรภู่ว่าแต่งโคลงได้ดี มีความแน่นพอดีทุกบท หากอ่านได้ตามที สุนทรภู่ตั้งใจแต่ง นิราศสุพรรณก็จะไพเราะไม่แพ้โคลงของกวีอื่น เช่นโคลงนิราศนรินทร์ของนายนรินทร์หรือนิราศลําน้ำน้อยของพระยาตรัง (เรื่องเดิม: หน้าเดิม)

ผู้เขียนมีความเห็นว่าการใช้สัมผัสสระแต่งโคลงอย่างเห็นเด่นชัดมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางแล้ว เพียงแต่อาจไม่เป็นที นิยมแพร่หลายมากนัก เมื่อสุนทรภู่นํามาพัฒนาให้มีสัมผัสในเพิ่ มมากขึ้นในการแต่งโคลง ความไม่คุ้นเคยในการใช้สัมผัสสระแต่งโคลงในหมู่กวีส่วนใหญ่ ทําให้สุนทรภู่ถูกตําหนิ....(มีต่อ).. 1.2โคลงสี่สุภาพแบบสุนทรภู่ที่เป็ นโคลงกลบท
............


ศกุนตลา ชมท่ารำ ครู คมคาย กลิ่นภักดี

ใช่แต่จะมีกำเนิดสูงส่งและมีความงามล้ำเลิศที่กล่าวถึงไปแล้วเท่านั้น ในด้านอุปนิสัยนางศกุนตลาก็ถือว่าเป็น “สตรีผู้เด็ดขาด” รวมถึงฉลาดในการเจรจาซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของนางกษัตริย์ กล่าวคือ เมื่อท้าวทุษยันต์ไม่มีทีท่าว่าจะระลึกได้ว่านางเป็นใคร นางก็กล้าบริภาษพระองค์กลางท้องพระโรงและตัดสินใจจากไปโดยไม่ร่ำไรขอร้อง

ท้าวทุษยันต์ -รศ.ดร.ศุภช้ย จันทรสุวรรณ ครูนาฏศิลป์ขั้นเทพ
นางศกุนตลา (แต่งเครื่องนางกษัตริย์) - ผศ.คมคาย กลิ่นภักดี นุ่มนวลที่สุด นุ่มจนนิ่มครับครู คลิปนี้เพราะต้องการเห็นครูรำ คุ้มสุดคุ้ม

           



เสริมสัตย์จัดสื่อสร้าง ฟางไฟ
ลุยย่ำยำเยงไย ยิ่งเย้ย
สีดาฝ่าเปลวไป ปลอดเปล่า เผาเลย
กมลใฝ่ใครหะเฮ้ย ห่อนห้ามทรามสมร



แต่งโคลงสี่สุภาพ เพื่อ ฝึกฉันทลักษณ์


     

       จรจากมากปริ่มปลื้ม ลืมรือ
รักเริ่มเดิมหมายมือ มั่นเชม้น
รักรอก่อเทิดถือ ทัศน์เที่ยง เพียงพ่อ
รักซ่อนวอนวายเว้น ว่าไว้ไยผยอง…. (วอนคือ ส่อ, รน)


สองสม้ครรักใคร่ครั้ง ยังเยาว์
ครองป่าพนาเขตเขา คู่คุ้น
คนเคยเอ่ยลืมเรา ละเลี่ยง ละเลย
เคราะห์แค่นแหวนเตือนกระตุ้น แต่ต้องสองตา
บันทึกการเข้า
10 สิงหาคม 2021, 01:38:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #124 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2021, 01:38:PM »
ชุมชนชุมชน

     

                 

อาศิรพระแม่เจ้า     เพราเพริศ
เฉลิมเปรื่องเรืองประเสริฐ     แซ่ซ้อง
ยงจริงยิ่งยศเลิศ     เลอร่ำ คำแล
พระก่อพระเกียรติก้อง     กว่ากว้างทางสกล

ชนสมชมชื่นร้อง     กรองกราน
ถวายช่วยอวยเคึยงขาน     คู่ข้าง
กรณีกี่กองการ     เกิดก่อ ลออเอย
สึบคู่ชูศาตร์สร้าง    สื่อสิ้นศิลป์สวย

       


     (....ต่อ)
บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”........

  นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่
1.2 โคลงสี่สุภาพแบบสุนทรภู่ที่เป็ นโคลงกลบท  

1.2.1 สุนทรภู่สร้างลักษณะใหม่ให้แก่โคลงกลบทที่มีมาแต่เดิม สุนทรภู่กล่าวชื่อโคลงกลบทที่ ตนเองแต่งไว้ในโคลงบทสุดท้ายของนิราศสุพรรณว่ามี 6 ชื่อ แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าโคลงกลบทแต่ละชื่อมีในโคลงบทใดบ้างในนิราศสุพรรณ ผู้วิจัยพบว่าทั้ง 6 ชื่อนี้ล้วนเป็นโคลงกลบทเดียวชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ นาคบริพันธ์ กบเต้น สรล้วน (ซึ่งก็คืออักษรล้วน   มีทั้งชนิดที 1 ซึ่งเล่นคําที มีเสียงพยัญชนะเดียวกันตลอดบาท และชนิดที2ซึ่งเล่นคําทีมีเสียงพยัญชนะเดียวกันในคํา 3 คําที วางไว้ติดกัน) อักษรสาม สกัด แคร่ และซ้อนดอก    อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยพบว่าสุนทรภู่แต่งกลบทอีก 4 ชื่อโดยไม่ได้ระบุชื่อไว้ ได้แก่ โคลงกลบทอักษรสลับ ตะเข็บไต่ขอน บุษบงแย้มผกา และงูกระหวัดหาง อนึ่ง ตามที ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่าโคลง “พพพพ” และ “สพพพ” ของสุนทรภู่มีวิธีการแต่งที เป็นระบบระเบียบมากแบบเดียวกับลักษณะการแต่งกลบท จึงน่าจะจัดโคลงทั้ง  2 ชนิดนี ไว้ในกลุ่มโคลงกลบทได้ด้วย  ผู้วิจัยขอเรียกชื่ อโคลง “พพพพ” ว่ากลบทงูกระหวัดหางชนิดที 2  โดยเรียกกลบทงูกระหวัดหางแบบเดิมว่างูกระหวัดหางชนิดที 1 และเรียกชื อโคลง “สพพพ” ว่ากลบทงูตวัดหางเพราะเล่นทั้งเสียงสัมผัสสระและพยัญชนะ  ขณะที่กลบทงูกระหวัดหางเล่นแต่เสียงสัมผัสพยัญชนะเท่านั น งูกระหวัดหางชนิดที 1  เล่นเสียงพยัญชนะทั้งที่ เป็นคําระหว่างวรรคและระหว่างบาท ส่วนงูกระหวัดหางชนิดที 2 เล่นแต่คําที มีเสียงสัมผัสพยัญชนะระหว่างวรรคในบาทเดียวกันเท่านั้น 

ดังตัวอย่างงูกระหวัดหางชนิดที่1                                                                          
๏ ดงมเกลือเหลือดกล้ำ  ดําเหลือ
เล่หม่อมย้อมมเกลือเจือ   กแจะให้  
ใจหม่อมย่อมเหมือนมเกลือ  กลิ่นร่ำ ดําเอย  
ดําเทือกเปลือกแก่นไสร้     ซิ่นต้นผลดํา

งูกระหวัดหางชนิดที่2

คนขี่ตีต้อนเร่ง         รันควาย
ถอนถีบกีบกอมตกาย      โก่งโก้
เหนื่อยนักชักเชือกหงาย  แหงนเบิ่ง เบือนแฮ    
คนหวดปวดป่วนโอ้    สอึกเต้นเผ่นโผน

ในโคลงกลบทงูกระหวัดหางชนิดที 1 ข้างต้นมีข้อบังคับการแต่ง คือ เล่นเสียงพยัญชนะเดียวกันทั้งในบาทและข้ามบาท    บาทแรกเล่นเสียงพยัญชนะในคํา “ดกลํ า-ดําเหลือ” และเล่นเสียงพยัญชนะระหว่างบาทแรกกับบาทสองในคําว่า “เหลือ-เล่”  ในบาทสองเล่นเสียงพยัญชนะในคํา “เจือ-(ก)แจะ” และเล่นเสียงพยัญชนะระหว่างบาทสองกับบาทสามในคํา “(ก)แจะ-ใจ”      ในบาทสามเล่นเสียงพยัญชนะในคํา “(ม)เกลือ-กลิ่น” และเล่นเสียงพยัญชนะระหว่างบาทสามกับบาทสี่ ในคํา “ดํา-ดํา”      ในบาทสี เล่นเสียงพยัญชนะในคํา “ไสร้-ซิ่น”  

ในโคลงกลบทงูกระหวัดหางชนิดที 2 แต่งง่ายขึ้น คือ เล่นแต่เสียงพยัญชนะข้ามวรรคในบาทเดียวกันเท่านั้น ได้แก่ เร่ง-รัน  (ต) กาย-โก่ง  หงาย-แหงน   โอ้-(ส) อึก

ด้วยเหตุนี้ โคลงกลบทที่ สุนทรภู่แต่งจึงมีรวมทั้งสิ้น 11 ชนิด เป็นโคลงกลบทที่มีมาแต่เดิม 9 ชนิด ได้แก่ นาคบริพันธ์ กบเต้น อักษรล้วน (ทั้งชนิดที่ 1  และชนิดที 2) อักษรสาม สกัดแคร่ อักษรสลับ ตะเข็บไต่ขอน บุษบงแย้มผกา งูกระหวัดหาง (ทั งชนิดที 1 และชนิดที 2)
โคลงกลบททั ง 9 ชนิดนี้ ล้วนมีข้อบังคับพิเศษแบบโคลงสุนทรภู่อยู่ด้วย คือ มีสัมผัสใน 3 แห่งในโคลงบทเดียวกัน ดังปรากฏในตัวอักษรดําเข้ม ในที นี ผู้วิจัยขอยกตัวอย่างกลบทอักษรล้วนชนิดที 1 และชนิดที 2 ดังนี้ โคลงกลบทอักษรล้วนชนิดที 1 เล่นคําที มีเสียงพยัญชนะเดียวกันตลอดทั้งบาท  พบในโคลงบทที 142    286   
ส่วนโคลงกลบทอักษรล้วนชนิดที่ 2 เล่นคําที มีเสียงพยัญชนะเดียวกันเพียง 3 คําที อยู่เรียงต่อกัน  ดังนี้

อักษรล้วนชนิดที่ 1    
                                                       
๏ เขาเฃียวโขดคุ่มขึ้น   เคียงเคียง                
ร่มรื่นรุกขรังเรียง  เรียบร้อย            
โหมหัดหิ่งหายเหียง   หันหาด แฮ่วแฮ     
ยางใหญ่ยอดยื่นย้อย   โยกโย้โยนเยน

อักษรล้วนชนิดที่ 2  

๏ จําร้างห่างน้องนึก  น่าสวน             
สองฝ่ายชายหญิงยวน    ยั่วเย้า 
หวังชายฝ่ายหญิงชวน   ชื่นเช่น เหนเอย
กลเช่นเล่นซักเสร้า      เสพเพื่อน เฟือนเกษม
..........(ยังมีต่อ)...
บันทึกการเข้า
18 สิงหาคม 2021, 03:48:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #125 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2021, 03:48:PM »
ชุมชนชุมชน

       

     
(....ต่อ)
บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”........

(43) อย่างไรก็ดีผู้วิจัยพบว่ามีโคลงกลบทของสุนทรภู่อยู่ 3 บท ทีเหลือข้อบังคับพิเศษที่ เป็นสัมผัสในแบบโคลงสุนทรภู่เพียง 2 แห่งเท่านั้น ได้แก่

โคลงกลบทอักษรล้วนชนิดที 1 เฉพาะในบท 142 โคลงกลบทอักษรบริพันธ์หรือที สุนทรภู่เรียกว่านาคบริพันธ์ในบทที 22 และโคลงกลบทสกัดแคร่ในบทที 296 (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เรื่องเดิม: 508) ทั้งนี้ เพราะข้อบังคับการแต่งกลบทเหล่านี้ ไม่เอื้อให้มีคําสร้อยได้ จึงขาดสัมผัสในไป 1 แห่ง เช่น

แจ้วแจ้วจักกระจั่นจ้า จับใจ
หริ่งหริ่งเรื่อยเรไร ร่ำร้อง
แซ้งแซวส่งเสียงไส ทราบโสท
แหนงนิ่งนึกนุชน้อง นิ่มเนื้อนวลนาง

จากทีกล่าวมาเห็นชัดเจนว่าแม้เป็นโคลงกลบทที มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสุนทรภู่นํามาแต่งก็เพิ่ มสัมผัสในซึ่งเป็นข้อบังคับพิเศษแบบโคลงสุนทรภู่เข้าไปด้วย จึงสร้างลักษณะใหม่ให้แก่โคลงกลบทที่ มีมาแต่เดิม เช่น

โคลงกลบทอักษรล้วนของสุนทรภู่ต่างจากโคลงกลบทชื่อเดียวกันของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

บทอักษรล้วนของเจ้าพระยาพระคล ัง (หน)
และโคลงกลบทบุษบงแย้มผกาของสุนทรภู่ต่างจากโคลงกลบทบุษบงแย้มผกาในลิลิตพระลอ ดังนี

กลบทอักษรล้วนของเจ้าพระยาพระคล ัง (หน)

อังหมะลูกหลังล้วน   พลพาย
ขุนอินทร์นาวานาย    นั่งนั้น
หมู่แมงโห่หิวคลาย   คลาคลาด
กระทุ่มเสียงโห่หลั้น  กึกก้องกตุมภาง

กลบทอักษรล้วนของสุนทรภู่

จําร้างห่างน้องนึก  น่าสวน
สองฝ่ายชายหญิงยวน   ยั่วเย้า
หวังชายฝ่ายหญิงชวน   ชื่นเช่น
กลเช่นเล่นซักเสร้า  เสพเผื่อนเฟือนเกษม



44 กลบทบุษบงแย้มผกาในลิลิตพระลอ
(***ขอ***)
ขอลุสมสบสร้อย สองนาง
ขออย่าลุเล่ห์ทาง  เสน่ห์นั้น
ขอคิดอย่าใจจาง   คําแม่ สอนนา
ขอพ่อเร็วคืนกั้ง     ขอบแคว้นไกรกรุง

กลบทบุษบงแย้มผกาของสุนทรภู่
(***เสีย***)
เสียเทียรเสียทูบซ้ำ   เสียสัทา
เสียที่มีกระมลมา     โนศน้อม
เสียดายฝ่ายศาศนา สัมนะ พรเอย (...พร...สุนทรภู่ อ่านเป็นพระ)
เสียน่าตาหูพร้อม เพราะรู้ดูเหน

(...ยังมีต่อ...)


         

พระลอ อ.เวณิกา บุนนาค
พระเพื่อน อ.ศรีเวียง จิ๋วพัฒนกุล
พระแพง ผศ.คมคาย กลิ่นภักดี



ฟัอนแพนเป็นระบำประกอบละคร"พระลอ"
แต่เดิมการฟ้อนแพนในเรื่องพระลอนั้น เป็นการรำคนเดียวคือฟ้อนเดี่ยว ต่อมานางลมุล ยมะคุปต์ ได้นำมาใช้ในการฟ้อนหมู่โดยเพิ่มเติมลีลาการฟ้อนให้มากขึ้น มีทั้งผู้แสดงหญิงล้วน และผู้แสดงชาย – หญิง โดยมีบทร้องประกอบ ซึ่งประพันธ์โดยพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

ผมว่านาฏศิลป์ล้านนาสวยงามไพเราะ ก็ด้วยท่วงทำนอง
ผสมผสาน สำนวนสำเนัยงลาว กลมกลืน
               


         
อวยเอยเคยโอ่อ้าง อันใด
ยศเยี่ยงเพียงภูวไนย หน่อเจ้า
ลือคำล่ำหลงใหล ลืมทั่ว มัวเฮย
"แพง""เพิ่อน"เหมือนรักเร้า ร่ำพ้อ "ลอ"พญา

ราตรีมีฝ่ายฟ้อน กรกราย
เพฺ็ญผ่องสองหญิงชาย ชื่นชู้
แขนเรียวเกี่ยวแพนผาย เผยเพื่อเผือรา
แคนเป่าเขาเรียนรู้ ร่วมร้องครองครัน

จันทรจรกระจ่างฟ้า ตราคราว
นวลเนื่องเรืองดวงดาว สะพรั่งพร้อม
เชิงชุุมหนุ่มชวนสาว สมเสน่่ห์ สนองเอย
คืนค่ำนำจันทร์น้อม กระหน่ำโน้มโลมใจ
บันทึกการเข้า
26 สิงหาคม 2021, 05:42:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #126 เมื่อ: 26 สิงหาคม 2021, 05:42:PM »
ชุมชนชุมชน

       

         


จงรักจึงคนึงจิตคิดถึงพ่อ
ก้าวตามต่อเพราะพระองค์ทรงสถิต
จึงจงรักภักดีชั่วชีวิต
ก้าวตามติดรอยพระบาทราชดำเนิน

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พยัญเสมอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
18 กันยายน 2021, 08:02:AM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #127 เมื่อ: 18 กันยายน 2021, 08:02:AM »
ชุมชนชุมชน

       

       




         

.ต่อ)
บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”........



1.2.2 สุนทรภู่สร้างโคลงกลบทชนิดใหม่
   
1 สร้างโคลงกลบทชนิดใหม่ที่เป็นกลบทเดี่ยว ในจํานวนโคลงกลบท 11 ชนิดทีสุนทรภู่แต่งในนิราศสุพรรณ มีโคลงกลบทเดียวทีสุนทรภู่คิดสร้างสรรค์ขึนใหม่ 2 ชนิด ได้แก่ กลบทซ้อนดอก และงูตวัดหาง นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน  ยังไม่เคยมีนักวิชาการคนใดค้นพบว่ากลบทซ้อนดอกของสุนทรภู่มีลักษณะการแต่งเป็นเช่นใดและมีในโคลงบทใดบ้าง นักวิชาการหลายคน เช่น    พ.ณ ประมวญมารค (2510: 178) คิดว่ากลบทซ้อนดอกคือกลบทก้านต่อดอก ซึงไม่ถูกต้อง  ผู้วิจัยพบว่ากลบทซ้อนดอกมีอยู่ 11 บทในนิราศสุพรรณ ได้แก่ บทที 38  49  98  160  166  274  288  291  387  412  และ 426  และมีลักษณะการแต่งต่างจากกลบทก้านต่อดอกอย่างเด่นชัด ดัง
เช่นโคลงกลบทก้านต่อดอกที่คัดมาจากโคลงดั้นปฏิสังขรณ์        วัดพระเชตุพนฯ   ซึงเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ ปรมานุชิตชิโนรส ดังนี


ก้านต่อดอกของกรมปรมาฯ                                       

 หอรฆังทรงสร้างใหม่  เหมือนเรือน           
 ในอุดรลานเถลอง            หลั่นนั้น                           
การประดับสรรพสรรพ์เหมือน  มีที่ เพรงพ่อ       
 สถานสถิตนอกชั้นหั้น       แห่งกระแพง       


กลบทซ้อนดอกของสุนทรภู่
                       
ข้างคลองสองฝังเฟือย  เฟือยแขม             
คาแฝกแซกเซียดแซม        ซับซ้อน           
ในพุ่มกุ่มกกแกม         กอย่า รย้าแฮ             
นกหกวกเวียรหว้อน     วิงเต้นเผ่นโผน
…..(ยังมีต่อ)


…...สุดยอด...อยากมากลองแต่ง….


       

       คืนค่ำนำจันทร์น้อม กระหน่ำโน้มโลมใจ
…….


บัวใบบังพรั่งพร้อย        ลอย(ละ)ลาน
ไหลเลื่อนเหมือนวันวาร   เหว่ว้า
ยางใยใช่พบพาน      เพียงเผื่อน เลือนเลย
นัยหนึ่งุถึงเชือนช้า    เช่นช้ำคำครวญ
   
ชวนชูดูฝ่ายฟ้อน          ลครโขน
ศิลป์ส่งคงอวยโอน       เอ่ยอ้าง
เรียนรำคร่ำโชกโชน             ชาญเชึ่ยว เจียวเฮย
แปรเปลี่ยนเวียนเสรืมสร้าง    สิ่งสร้อยพลอยเพลิน




    คำ "ฝ่ายฟ้อน"   "ลคร"   พบบ่อยในคำกลอนรุ่นเก่า น่าใช้ได้ ไม่ผิด เพียงแต่ปัจจุบันไม่นิยม

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พยัญเสมอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
21 กันยายน 2021, 09:39:AM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #128 เมื่อ: 21 กันยายน 2021, 09:39:AM »
ชุมชนชุมชน

     

       

(ต่อ)
บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”........


(45)   จะเห็นได้ว่ากลบทก้านต่อดอกนั้นเล่นคําทีมีเสียงสระเดียวกันตรง 2 คําท้ายของบาท

แต่กลบทซ้อนดอกเล่นคําที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกันในคําที 4 และ 5 ในแต่ละบาท   มีข้อสังเกตว่าในโคลงกลบทที่สุนทรภู่คิดสร้างสรรค์ขึ้นนี้ มีสัมผัสใน 3 แห่งและคําสัมผัสข้ามวรรคแบบโคลงสุนทรภู่ด้วย

 ส่วนกลบทงูตวัดหางนั้น  คือ โคลงแบบ “สพพพ” ของสุนทรภู่ พบว่ามีในนิราศสุพรรณรวม 231 บท เป็นชนิดของโคลงกลบททีมีมากทีสุดในนิราศสุพรรณนี้
ผู้วิจัยสรุปว่าเป็นรูปแบบโคลงทีเป็นโคลงในดวงใจของสุนทรภู่ เพราะมีใช้มากในช่วงท้ายของนิราศสุพรรณ
   
โคลงกลบทงูตวัดหางเป็นกลบททีสุนทรภู่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยพัฒนามาจากกลบทฟองสมุทรในจินดามณีทียังแต่งไม่เป็นระบบ ทําให้ไม่ปรากฏลักษณะกลบทในทุกบาท คือ ขาดลักษณะการเล่นคําทีมีเสียงพยัญชนะเดียวกันตรงคําที 4 และ 5 ในบาทสาม (วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 2: 466). ดังนี     

 ๏ ค่าไข้รรักอาจอ้าง   คณนา
ขรางปลัดพีธพา         เพกขวํ้า
ตกสมุทเทียงชลธา     ทูทุ่น ตีเนอ
สัตวมากมวนในนํ้ำ      คลั่งแค้นระเหหน
......(ยังมีต่อ)




      ราตรีประดับดาว
     

               กากี
       

2โพส มีโคลงกลบท 3ชนืด
ผมจะผสมทั้ง 3ชนิดรวมเป็นกลบทใหม่ กลบทเดียว รวบๆไป แต่งทีดียวควบได้ 3ชนิด ไม่เสียเวลา

1กลบท งูตวัดหาง พพพพ
2 กลบท ก้านต่อดอก
3 กลบท ซ้อนดอก
   3.1 จากตัวอย่างคำประพันธ์ มิใช่ผมบังอาจไปแก้ไขนะครับเพียงเห็นว่า ช้อนดอกยังซ้อนไว้แบบ เว้นก็ไม่เว้น เต็มก็ไม่เต็ม  มีโหว่
(ถึงว่า ผู้วิจัยกล่าว….นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน  ยังไม่เคยมีนักวิชาการคนใดค้นพบว่ากลบทซ้อนดอกของสุนทรภู่มีลักษณะการแต่งเป็นเช่นใดและมีในโคลงบทใดบ้าง….)
ผมคงไม่ได้ทำอะไรผิด โดยซ้อนดอกลงไปอีก เป็น ซ้อนดอกสองชั้น
และกลบทที่ผมเขียนขึ้นใหม่ ควรจะปรับสัมผัสใน คำที่7และ8 เป็นสัมผัส พยัญชนะ ก็ยังไม่กล้า ถ้ามีโอกาสได้แต่งอีกคิดว่า คงจะเปลี่ยนเป็นสัมผัสพยัญชนะครับ  คาดว่ายังคงอยู่ใต้ฉันทลักษณ์บรมครูสุนทรภู่ ที่ยึดถือ ครับ




แปรเปลี่ยนเวียนเสรืมสร้าง    สิ่งสร้อยพลอยเพลิน
…..


     

       เยินยอลออแช่มช้อย   ชายหมาย
เหมือนเม่าเผาตัวตาย      ต่างอ้าง
พลางพลีนี่หลากหลาย   เหลือเชื่อ เฟือเอย
หลงเล่ห์เห ราร้าง        ร่ายคล้ายวายปราณ

เฉิดฉานเริดร่านร้อน   แรงแสง
แปรเปลี่ยนเลียนปรับแปลง  (ว่าง)..เปล่าเค้า
หลับไหลไพล่คลางแคลง   ครวญป่วน รัญจวนเฮย
ฝันใฝ่ในจันทร์เจ้า   จ่างค้างกลางนภา

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
03 ตุลาคม 2021, 11:49:AM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #129 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2021, 11:49:AM »
ชุมชนชุมชน

         

       

ละคร ทางล้านนามักประกอบเพลงสำเนียงลาว
         

         


(..ต่อ..)
2 สร้างโคลงกลบทผสม 2 ชนิดในโคลงบทเดียวกันขึ้นใหม่ 
เมื่อผู้วิจัยจัดโคลงของสุนทรภู่แบบ “พพพพ” และ “สพพพ” เป็นโคลงกลบท  เพราะมีวิธีการแต่งที่เป็นระบบระเบียบแบบกลบท ส่งผลให้เกิดมีโคลงกลบทผสม 2 ชนิดในโคลงกลบทหลายบทของสุนทรภู่ในนิราศสุพรรณ   เนื่องจากสุนทรภู่นําโคลงกลบทแบบ “พพพพ” ที่เรียกว่างูกระหวัดหางแบบที 2 หรือโคลงกลบทแบบ “สพพพ” ทีเรียกว่างูตวัดหางไปแต่งร่วมกับโคลงกลบทชนิดใดชนิดหนึ่ง   ผู้วิจัยแบ่งโคลงกลบทผสม 2 ชนิดข้างต้นออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

2.1 โคลงกลบทผสม 2 ชนิดที่เกิดจากการใช้โคลง “พพพพ” แต่งร่วมกับโคลงกลบทเดี่ยวชนิดใดชนิดหนึ่ง เกิดเป็นโคลงกลฟบทผสม 5 ชนิด ได้แก่

2.1.1 โคลงกลบทผสมอักษรล้วนแบบที่ 2 กับงูกระหวัดหางชนิดที่ 2 ได้แก่
                                         
      จําร้างห่าง"น้องนึก      น่า"สวน
สองฝ่ายชายหญิง"ยวน ยั่วเย้า"
หวังชายฝ่ายหญิง"ชวน ชื่นเช่น"  เหนเอย
กลเช่นเล่น"ซักเสร้า  เสพ"เผื้อนเฟือนเกษม
 
2.1.2 โคลงกลบทผสมอักษรสลับกับงูกระหวัดหางชนิดที่ 2                                   
 
ยนโศกยามเศร้า"ยิ่ง"   ทรวง"เยน"
คิดสุดขัดแสน"เขน"   
โศก"ไข้"
หวนหนาวหากนึก"เหน"   หน้า"แห่ง" น้องแฮ ฃ
ดวงจิตเด็จจาก"ได้"   จึง"ดิ้น"จําโดย

2.1.3 โคลงกลบทผสมซ้อนดอกกับงูกระหวัดหางชนิดที่ 2 ได้แก่                             

โพพญาท่าตลิ่งล้วน    ฬ้อเกวียร
โพไผ่ไม้เตงตเคียน   ตขบบ้าง
ซึกซากกระบากกระเบียน   กระเบากระแบก   กระบกแฮ
เสลาสลอดสลับสล้าง   เหล่าไม้ใกล้กระสิน

 2.1.4 โคลงกลบทผสมตะเข็บไต่ขอนกับงูกระหวัดหางชนิดที่2 ได้แก่ 

เสลาสลอดสลับสล้าง    สลัดได
สอึกสอะสอมสไอ   สอาดสอ้าน
มแฝ่มฟาบมเฟืองมไฟ      มแฟบมฝ่อ  พ่อเอย
ตขบตขาบตเคียนตคร้าน    ตคร้อตไคร้ตเคราตครอง

2.1.5 โคลงกลบทผสมสกัดแคร่กับงูกระหวัดหางชนิดที่ 2 ได้แก่                                 

 หนาวลมห่มผ้าห่อน    หายหนาว
ฟ้าพร่ำน้ำค้างพราว     พร่างฟ้า
เด่นเดือนเกลือนกลาศดาว   ดวงเด่น
ใจเปล่าเศร้าซบหน้า   นึกน้องหมองใจ

มีข้อสังเกตว่าการใช้โคลงแบบ “พพพพ” แต่งร่วมกับโคลงกลบทชนิดใดชนิดหนึงนีส่งผลให้โคลงกลบทเดียวบางชนิดกลายเป็นโคลงกลบทผสม เช่น โคลงกลบทอักษรสลับ ตะเข็บไต่ขอน  และสกัดแคร่  (.ยังมีต่อ..)

พญาผานอง ตอนรักสามเส้า
         

       


       

     ฝันใฝ่ในจันทร์เจ้า    จ่างค้างกลางนภา……

1.โคลงกลบทผสม อักษรล้วนแบบที่ 2  ซ้อนดอก กับงูกระหวัดหางชนิด พพพพ.

พญายังหวังว่าไว้       วังวน
ผันผ่านกาลกามกล   ก่อเกื้อ
เชิดชิงยิ่งยามยล       ยึดแย่ง แสวงเฮย
สานส่งนงแนบเนื้อ   นิ่มน้องสองสม

2.โคลงกลบทผสม   อักษรสลับ  สกัดแคร่  กับงูกระหวัดหางชนิด พพพพ.

คมคราวคาวใคร่แค้น   ครวญคม
เกล้าเกี่ยวเกลียวแกนกลม   แก่เกล้า
ต่างใจไต่จมตม   จิตต่าง จางเฮย
สามร่างสางรอยเส้า   ร่ำเศร้าเราสาม

3.ตั้งใจจะแต่งกลบท ตะเข็บไต่ขอน ผสม งูกระหวัดหาง  พอเริ่มจะลงมือ ยอมแพ้พลัน จะพูดว่า ผมรู้ไม่จริง ก็ไม่ปฏิเสธ ไม่รู้ว่าจะแต่งอย่างไรให้ลงฉันทลักษณ์โคลงสี่ ในความเห็น เริ่มจาก จำนวนคำ ทั้งสล้บคำลหุ ครุ วางสัมผัส  ทั้งบังคับ เอก โท ยาก ตำแหน่งเคลื่อน  ถ้าจะต้องแต่งออกมาให้ได้ คงไม่ได้โคลงสี่ พญาผานองค้างไว้ก่อน

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
10 ตุลาคม 2021, 03:55:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #130 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2021, 03:55:PM »
ชุมชนชุมชน


        2.2 โคลงกลบทผสม 2 ชนิดที่เกิดจากการใช้โคลง “สพพพ” แต่งร่วมกับโคลงกลบทเดี่ยวชนิดใดชนิดหนึ่ง เกิดเป็นโคลงกลบทผสม 2 ชนิด ได้แก่

2.2.1 โคลงกลบทผสม  อักษรสามกับงูตวัดหาง ได้แก่                                    

รวังไพรร่ายร้องกร่อ กร๋อกรอ
แอ้แอ่แอ้แอ๊อุลอ   เลียบร้อง
พญาลอล่อล้อคลอ เคล้าคู่  อยู่แฮ
กรอดกรอดกร๊อดกร๋อดร้อง    กรอกเต้นเล่นกระแต

2.2.2 โคลงกลบทผสม  ซ้อนดอกกับงูตวัดหาง ได้แก่

เหลียวซ้ายฝ่ายฝั่งเฟื้อย  เฟือยไสว
พงไผ่ไม้รําไร   รอบคุ้ง
แลขวาป่าแฝกไฟ   ฟอนเรี่ยน  เกรียนแฮ
ลิบลิ่วทิวท้องถุ้ง   ถิ่นกว้างวางเวง



ผู้วิจัยพบว่าสุนทรภู่แต่งโคลงกลบทเดี่ยวและโคลงกลบทผสมรวมกันถึง 354 บทในจํานวนโคลงทั้งสิ้น 462  บท  ซึ่งแสดงให้เห็นฝีมือการแต่งโคลงของสุนทรภู่อย่างชัดเจนเพราะลําพังแต่งโคลงสี่สุภาพธรรมดาก็แต่งยากอยู่แล้ว  แต่สุนทรภู่กลับสามารถแต่งโคลงที่มีลักษณะพิเศษแบบโคลงสุนทรภู่ได้มากถึง 462 บท ในจํานวนนี้เป็นโคลงกลบทที่มีวิธีการแต่งตามข้อบังคับพิเศษหรือข้อบังคับเฉพาะอีก 354 บท คิดเป็นร้อยละ 76.62  นิราศสุพรรณจึงเป็นโคลงนิราศที่สะท้อนให้เห็นความสามารถพิเศษของสุนทรภู่ในการแต่งโคลง ทั้งยังเป็นนิราศที่มีความยาวมากที่สุดและมีโคลงกลบทมากที่สุดในบรรดาโคลงนิราศที่กวีโบราณเคยแต่งกันมาก่อนนิราศสุพรรณของสุนทรภู่






ขอจบ   บทความวิจัยเรื่อง “นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”  เแบบ ของสุนทรภู่  เพียงเท่านี้ หากมีควันหลงอาจนำมาเสนอในโอกาสต่อไป

ขอขอบคุณ และ ขออณุญาต เจ้าของงานวิจัย
        ศาสตราจารย์ ดร. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต





                    ฝั่งโขง
           

                    นางครวญ
             


ส่วนตัวผมเองก็พอจะได้แบบแผนฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพแบบสุนทรภู่ เป็นแบบหลัก  ส่วนที่เป็นกลบท บางบทน่านำมาใช้ บางบทก็อาจรู้ไว้ใช่ว่า เพราะบางบทก็ขัดกับฉันทลัษณ์ ที่ผมหวังว่าน่าจะเป็น

คมคราวคาวใคร่แค้น   ครวญคม
เกล้าเกี่ยวเกลียวแกนกลม   แก่เกล้า
ต่างใจไต่จมตม   จิตต่าง จางเฮย
สามร่างสางรอยเส้า   ร่ำเศร้าเราสาม




       

            ยามเยือนยังฝั่งน้ำ ลำโขง
ชมชื่นยืนหยัดโยง เยี่ยมเหย้า
โครมครืนคลื่นคลาโคลง เคลงเคลื่อน เลือนฤๆ
คุณค่าควรคิดเค้า ค่อนคุ้นเคยคำ

ลำโขงไหลขุ่นล้น คนคอย
รานเจื่อนเลือนใจลอย ร่ำร้อง
ฝากครวญฝ่าครืนฝอย ฟากฝั่ง ฟังรา
เคยร่ำคำรักน้อง แน่นั้นนิรันดร์รือ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : เนิน จำราย, โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
16 ตุลาคม 2021, 07:52:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #131 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2021, 07:52:PM »
ชุมชนชุมชน

     

       
         

         




ลำโขงไหลขุ่นล้น คนคอย
รานเจื่อนเลือนใจลอย ร่ำร้อง
ฝากครวญฝ่าครืนฝอย ฟากฝั่ง ฟังรา
เคยร่ำคำรักน้อง แน่นั้นนิรันดร์รือ




โคลงกลบทผสม  4ชนิด


คือคำขอพ่อพ้อง ปรองดอง
เสมือนสม่ำเสมอเสนอสนอง แน่นแฟ้น
ฝักฝันเฟื่องเรืองรอง แรงแห่ง โหมเฮย
ชนชื่นชิดมิตรแม้น เมื่อเอื้อเองอวย


นับแต่นั้นวันเก่าคนเล่าขาน
สายน้ำซ่านไหลซ่าฟ้าสีสวย
นับแต่นี้ที่ฝันถึงวันรวย
สายน้ำสวยฟ้าใสใครเห็นมี

นับแต่นั้นขวัญดับลับลาหาย
สายรินรายน้ำตาฟ้ามืดสี
นับแต่ไหนไม่เคยขลาดหวาดฤดี
สายรินรี่ฟ้าคร่ำด้วยน้ำตา



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
06 พฤศจิกายน 2021, 09:07:AM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #132 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2021, 09:07:AM »
ชุมชนชุมชน

       

       

ขับทุ้มหลวงพระบาง (ต้นฉบับ)
         

       
ื         ฟ้อนแคน   
                
                   


แม่เอ๊ย  วันก่อนดูละครในเป็น
ว้นนี้ดูฉุยฉายเป็น   เพราะ
ครู จูน   อ. ขวัญใจ คงถาวร 

      ครู จูน...ฉุยฉายพราหมณ์
         
         



โพสวันนี้มาช้า เพราะ ยากประดิษฐ์ คิดสรรค์ ประพันธ์อักษร
"กลอนห่อโคลง"

โพสก่อนๆ เรื่อง กาพย์ห่อโคลง ก่อนแต่งก็ค้นคว้าจากกูเกิล พบว่าหลายท่านอธิบายไว้ต่างๆกัน ที่ข้าพเจ้าโพสไปก่อนๆหน้านั้นก็เป็นหนึ่งจากหลายคำอธิบายที่ต่างกันในส่วนปลีกย่อย แบบแผนหลักถือว่าไม่ต่างกัน
ส่วนเรื่องห่อโคลงก็คล้ายเคยได้ยินว่ามี กลอนห่อโคลง และเหมือนจะมี ห่อหลายชนิดสลับกันห่อ ข้าพเจ้ามิอาจจะชี้ชัดว่าควรจะยึดตามแบบของท่านใด
ฉะนั้น หากข้าพเจ้าจะรับเอาแบบฉบับของทุกท่าน หลอมรวม ผสม ดัดแปลง เป็นแบบแผนผสม  ก็ไม่น่าจะผิด

    "กลอนห่อโคลงแบบผสม"
โคลงกลบทผสม4ชนิด กลอนกลบทสร้อยสลับคู่สคราญแปลง
_โคลงกลบทอักษรล้วนสามคำคำแปลงจากอักษรล้วนสลับ
_ โคลงกลบทซ้อนดอก
_ โคลงกลบทก้านต่อดอก
_ โคลงกลบทงูกระหวัดหางแบบ พพพพ.ของสุนทรภู่
.........

นับแต่นั้นขวัญดับลับลาหาย
สายรินรายน้ำตาฟ้ามืดสี
นับแต่ไหนไม่เคยขลาดหวาดฤดี
สายรินรี่ฟ้าคร่ำด้วยน้ำตา

         

 ญาติยาเยือนเพื่อนพ้อง   พรรค์สรร
จิตจ่อจารวารวัน             ว่าช้า
หันเหินห่างพลางพลัน   พลอยพล่อย ผลอยนเอ
มิตรใหม่มวลควรค้า   คู่ผู้เคียงผอง

ญาติยายิ่งมิ่งเหมือนเพื่อนพึ่งพิง
จิตจ่อจรืงเนินนานสานเสริมสอง
ญาติยาหยันหันห่างร้างรับรอง
จิตจ่่อจ้องหมู่มิตรคิดคู่ควร

ชวนเฉิดฉายร่ายร้อน   รมย์สม
ทอดท่าทำขำคม    ค่อนอ้อน
เจียมจิตจ่อมตรอมตรม   ตราอย่า  ลาเลย
เพียงพี่พอยอย้อน   เยี่ยงเพี้ยงยุติพอ

ชวนเฉิดฉายร่ายคมรมย์ระบำ
เจียมจิตจำเอียงอายชายอ้อนขอ
ชวนเฉิดฉานหวานแหววแล้วพึงรอ
เจียมจิตจ่อเพียงนุชหยุดที่เธอ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
12 พฤศจิกายน 2021, 10:25:AM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #133 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2021, 10:25:AM »
ชุมชนชุมชน

       

 

เพลงสำเนียงพม่า มอญ ใช้ในละครพันทาง "ราชาธิราช" "ผูัชนะสิบทิศ"
ผมโพสกระทู้นาฏศิลปฺ์ครั้งแรกด้วยละคร ผู้ชนะสิบทิศเพราะชอบเพลง "พม่าอะโก" แล้วถูกแซงขึ้นเป็นอันดับหนึ่งโดย "เพลง มอญทองกวาว"   จากโพสนั้นจึงเริ่มชอบ ตะลุยชมคลิปนาฏศิลป์เพิ่มขึ้นจนติด  เลิกดูหนังฟังเพลง การแสดงอื่นใดทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นของชาติใด จากนั้น มีแต่นาฏศิลป์ไทยเท่านั้นที่ผมเชื่อว่าลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนที่สุดในโลก
เชิญชมฟังกันเถิดครับ ผมว่าหมดจากอาจารย์นาฏศิลป์รุ่นนี้เราจะไม่ได้เห็นนาฏศิลป์ตามขนบแท้ดั้งเดิมอีกแล้ว

มอญกรงทอง 
มอญ พญาแปร
พม่าอะโก       



          อีกครั้ง กลอนห่อโคลง

โคลงกลบทผสม4ชนิด
_อักษรล้วนชนิดที่2(สามคำ)
_ซ้อนดอก
_ก้านต่อดอก
_งูกระหวัดหางชนิดที่2  พพพพ.
 กลอนกลบท2ชนิด
_อักษรล้วนสลับ แปลงเป็นแบบกลอน8
_สร้อยสล้บคู่สคราญ แปลง

.


     ฉุยฉายวันทอง   

ขุนแผนร้องเพลงชวนวันทอง...ไปชม "หงส์เหม" เล่นให้เย็นใจ
คำ"หงสฺฺ์เหม" ค้นไม่เจอคำเขียน  ยินแต่ในเพลงร้อง

ชวนเฉิดฉายร่ายคมรมย์ระบำ
เจียมจิตจำเอียงอายชายอ้อนขอ
ชวนเฉิดฉานหวานแหววแล้วพึงรอ
เจียมจิตจ่อเพียงนุชหยุดที่เธอ


     

     เลอเลิศลอยอ่อยเอื้อน   เอมเกษม
ควรคู่คงหงส์เหม.  โห่โอ้
เอวองค์เอ่ยเปรยเปรม   ปรายฝ่าย ชายเฮย
ยังยั่วยลกลโก้   ก่อนย้อนกวนยวน

เลอเลิศลักษณ์อัครอรรถสัตย์เกษมเสียง
คงคู่เคียงแข่งแขแห่เหินหวน
เลอเลิศล้ำขำคมชายชมชวน
คงคู่ควรฝันใฝ่ใคร่ครอบครอง

สองสมสาร่าร้อน   เริงเพลิง
เด็ดเดี่ยวแดแลเหลิง   หลู่ผู้
ผิดผันพ่ายชายเชิง     ชังคั่ง เคียดเฮย
นางหนึ่งนุชสุดสู้   สู่ชู้สองชาย

สองสมสานการกามลามโลมหลั่ง
เด็ดเดี่ยวดังเชิดชวนมวลหมู่หมาย
สองสมสื่อยื้อแย่งแก่งกีดแกาย
เด็ดเดี่ยวดายนามนั้นว่า"วันทอง"

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
30 พฤศจิกายน 2021, 07:45:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #134 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2021, 07:45:PM »
ชุมชนชุมชน

     

     

มอญ ทองกวาว
         

โคลงไฮกุ ของข้าพเจ้า
มีกฏ เพียงสั้นๆเรียบง่าย เพื่อให้ ใครๆ ก็แต่งไฮกุ ได้
และ เมื่อคุณแต่งออกมาแล้ว โคลงของคุณ แน่นอนว่าจะสร้างแรงบันดาลใจต่อนักกลอน นักคิดนักเขียน กระทั่งนักเรียน มากมายหลายระดับชั้น จะอธิบาย กฏ ข้อกำหนด อารมณ์กวี หลักปรัชญา อัตลักษณ์ การตีความอันเชื่อถือได้ว่า  โคลงที่คุณแต่งออกมานั้น   ไม่ใช่ ไฺฮกุ ประสาอะไรจะว่าเพราะหรือไม่

จึงเรียกได้เพียงว่า โคลงไฮกุ ของข้าพเจ้า

โคลงไฮกุ 3วรรค 17พยางค์
โคลงสองสุภาพ 3วรรค 14 (+2 )พยางค์
กาพย์ ฉบัง16  3วรรค 16พยางค์ ประชัน
.

ดีใจได้ชมละครพันทาง เรื่อง มหาราชวงค์พม่า  มองซูซอ แต่งกายแปลงเป็นหญิง เพื่อลอบเข้าหา องค์หญิง งวยบ๊วย เมนตรามี

         
         

เป็นครั้งแรกครั้งเดียว ที่ได้เห็นท่ารำตัวละครหญิงเจือจริตกิริยาฝ่ายชาย ในผูัรำคนเดียวกัน เป็นการรำตีบท มิใช่ว่ารำไม่สวยหรือ ไม่ตามแบบแผน จริงๆแล้วก็สวย
จะพูดว่า ให้ หญิงรำเป็นชาย ชายรำเป็นหญิง ก็งั้นๆ ก็ไม่ใช่
มาตรฐาน ความงามนาฏศิลป์ไทย ตัวพระตัวนาง มาตรฐานเดียวกันไม่มีเพศ นาฏศิลปินไทยรำได้ทุกคน เป็นปกติ
(ครูบุญยังนักระนาดยังเคยรำเป็นตัวนาง)

ซูซอแต่งตัว
           

สองสมสานการกามลามโลมหลั่ง
เด็ดเดี่ยวดังเชิดชวนมวลหมู่หมาย
สองสมสื่อยื้อแย่งแก่งกีดแกาย
เด็ดเดี่ยวดายนามนั้นว่า"วันทอง"
.....
ส่งสัมผัส ไปที่ โคลงสอง



           

      รักเร้น จารใจเจียม
ค่ำคืนควร รสรัก วารวาย
รอรัก หนึ่งน้องนาง

มิหมองหมางห่างห้าม   เหินแห่งเหตุเขตข้าม
หนุ่มน้อย"ซูซอ"   รอฤๆ

ค่ำคืนฝืนฝันหยันย่อ  หาหดทดท้อ
"งวยบ๊วย"สวยสาค่าควร

แรงรักรุ่มหนุ่มนางสร้างกระแส
วันปราณแปรเป็นไปมิไห้หวน
แรงรักเร้าเย้ายิ่งชิงยั่วยวน
วันปราณปรวนวางวายตายตามกัน

บันทึกการเข้า
19 ธันวาคม 2021, 07:43:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #135 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2021, 07:43:PM »
ชุมชนชุมชน

     

   
         
เดือนดาวพราย ปลายฝนหนาว : พม่าชมเดือน - วัชโรดม

"เดือนดาวพราย ปลายฝนหนาว" เป็นผลงานประพันธ์บทร้องและบรรจุทำนองเพลงไทย ของ ชัยทัต โสพระขรรค์

ผู้ประพันธ์ได้รับแรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและความรัก จำนวน 6 เพลง ได้แก่ "ลมหนาว" "สายฝน" "ดวงใจกับความรัก" "เมื่อโสมส่อง" "สายลม" และ "เตือนใจ" โดยนำคำร้องขึ้นต้นในวรรคแรกของแต่ละเพลงมาใช้เป็นต้นบท แล้วแต่งคำประพันธ์ต่อตามหลักฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพจนครบทั้ง 6 บท
เพลงที่เลือกมาใช้สำหรับบรรจุคำร้อง มีจำนวน 6 เพลง เพลงแรกคือ "สาลิกาชมเดือน สามชั้น" มีการสอดแทรกการเดี่ยวขลุ่ยเพียงออประกอบการขับร้อง ต่อด้วยเพลงสองชั้นในสำเนียงต่าง ๆ ได้แก่ "น้ำลอดใต้ทราย" "แขกปัตตานี" "พม่าชมเดือน" "นางครวญ" และ "สร้อยเพลง"



กำลังพล 5,613 นาย ฉุดชัก ‘ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ’ ถวายพระเกียรติยศ
         




พม่าเห่ การบรรเลงวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร วงหญิง
ชมเถิด ชมแล้วรักไทย ภูมิใจไทย ไพเราะ ที่สุดในโลก
พูดไม่ได้ว่า วงผู้หญิงเล่น ก็เท่านี้ เก่งทุกคน น่ารักน่าจีบทุกคน จีบเป็น น้องนุ่ง พี่ป้าน้าอา
มิอฆ้อง ลักษณะผู้นำลอยเด่นขึ้นมา มือฉิ่ง ลักษณะผู้คุมกฏชัดไม่ยอมให้ใครผิดแน่
         



ผู้ชนะสิบทิศ ชอบเพลงเพราะ ท่ารำสวย ไม่เท่า พญาผานอง
ครู วันทนีย์ ม่วงบุญ ระดับครูแม่ผู้นึง รำสวยงาม ไม่ผิดแบบแผนแน่นอน รำสวยงามในเพลงพม่านิสา

         


     

      แรมจิต แรมใจ ไม่พบคำแปล แต่ไพเราะคำไพเราะความ
จิรนันท์ พิตรปรีขา ยังเคยใช้คำ "เรือนรัก แรมใจ"

โคลงไฮกุ โคลงสองสุภาพ กาพย์ฉบัง16 กลอนสร้อยสลับคู่สคราญ
ขั้น ทดลอง ไม่บอกว่าทำอะไร





จันทร์นวลเสมือนขวัญ
ค่ำคืนเดือนดับขวัญสลาย
ขอขวัญสถิตใจ

จันทร์จรัสเรืองเฟื่องฟ้า จันทร์แจ่มเจิดเลิศหล้า
ร่มเกล้าองค์พรหม อินทร์เอย

ชายชาติกราดเกรี้ยวเขี้ยวคม พงศ์ภักดิ์ศักดิ์สม
ส่งสเด็จเสวยสวรรค์

ขอขวัญป้องสมองมนุษย์ที่สุดคิด
คืนแรมจิตร้าวใจให้โศกศัลย์
ขอขวัญปกอกเอื้อเกื้อชีวัน
คืนแรมจันทร์แสงสว่างสกาวกลางใจ


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : masapaer, โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
25 ธันวาคม 2021, 07:33:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #136 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2021, 07:33:PM »
ชุมชนชุมชน

     

   

มอญช่อลูกหว้า
         


บุหลันเถา ครูสุกัญญา กุลวราภรณ์
         
ติดใจเสียงร้องจากเพลง พม่าเห่ จากโพสก่อน ติดตามไป จึงรู้ อย่างนี้นี่ ร้องเพลงเพราะ เป็นน้องสาว ครูสมชาย ทับพ่ร เคยรับการถ่ายทอดทางร้องบ้าง จากครูเจริญใจ สุนทรวาทิน

โคลงไฮกุ โคลงสองสุภาพ กาพย์ฉบัง16 กลอนสร้อยสลับคู่สคราญ ตั้งใจจะแต่งห่อโคลง ไม่รู้จะแต่งยังไง ต้องห่อถึงสามชั้น ทดลองไปก็เห็นว่าอาจเป็นไปได้ ทดลองแต่งอีกสามโคลง น่าจะได้




ขอขวัญป้องสมองมนุษย์ที่สุดคิด
คืนแรมจิตร้าวใจให้โศก-ศัลย์ลาย
ขอขวัญปกอกเอื้อเกื้อชีวัน
คืนแรมจันทร์แสงสว่างวาวกลางใจ

สุธา = น้ำ พสุธา = ดิน เยาวมาลย์ เปรียบ ดอกไม้แรกผลิ




     

    ทางไกล แท้คดเคึ้ยว
เดินตามกัน มีคนสวนทาง
เงาจันทร์ พรรณผกาเฮย

ในทางเทียวเกี่ยวข้อง แยกหนึ่งพึงถูกต้อง
ใช่ซ้ายฤๅขวา

กีดแก่งแซงซ้ำนำหน้า ห่างหายทายท้า
ราวลาดพาดพกาสุธาหวาน

ใต้เงาจันทร์ฝันไปไกลสุดจิต
เยาวมิตรทั่วพสุธามหาศาล
ใต้เงาจิตพิศฟ้าร่าสำราญ
เยาวมาลย์หลงหายที่ปลายทาง

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
18 มกราคม 2022, 03:34:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #137 เมื่อ: 18 มกราคม 2022, 03:34:PM »
ชุมชนชุมชน

         
   
      มอญรำดาบ 
         

มู่เดินรำพึง   ไม่ทราบว่า มู่ หรือ มู่เดิน หาคำแปลคำอธิบายไม่พบ

เพราะมากนะ  ใครจะพูดว่าไม่เพราะ อยากให้ไปพูดใกล้ๆพี่บัวขาว จ้า
         

ญี่ปุ่นรำพีง   
         






       
  ท้องทุ่งกว้าง ฟ้าสูง
ลมเอื่อย เมฆลอยไกล ไม่คืน
คนสวย เดินจากไป

         
กลางดินแดนแผ่นฟ้า
แปรเปลี่ยนเป็นพงหญ้า
ทุ่งร่างนางหาย

ลมพัดพาด ไม่ขาดสาย   ลอยเลื่อนเคลื่อนย้าย
เช่นผู้คน บนมรรคา

มยุราฟ้าสูงยูงบินไกล
งามเกินไขว่ชวดเชยเลยวาสนา
มยุรีที่เห็นเป็นบุญตา
งามเกินคว้าตนรู้มิคู่ควร 

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
27 มกราคม 2022, 02:50:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #138 เมื่อ: 27 มกราคม 2022, 02:50:PM »
ชุมชนชุมชน

           
 
จะจบสำเนียงพม่า มอญ ขาดไม่ได้ อย่าทำพี่บัวขาวโกรธ

ม่านมงคล




โคลงไฮกุห่อสามชั้น
ทดลองแต่งหลายครั้งก็คิดว่าน่าจะเป็นไปไดั
โคลงนี้แต่งโดยยึดแบบแผนว่า โคลงไฮกุ เป็นโคลงบทเดียวและไม่ส่งสัมผัสกับบทกวีใดๆ
จึงคิดแต่งขยายในแบบห่อโคลง ด้วย โคลงสองสุภาพ กาพย์ฉบ้ง16 อันเป็นบทกวี สามวรรคเช่นเดียวกัน จำนวนคำใกล้เคียงกัน แล้ว ตัดจบด้วยกลอน8สุพาพ เพื่อให้ความไพเราะ นุ่มนวล แต่งต่ออีกสักสองครั้ง น่าจะได้แบบแผนที่คิดว่าใช้ไดั

โหมโรงอาทิตย์อุทัย


 

           
  สมรัก สมัครฝัน
รอรัก คืนน้ำผึ้ง พระจันทร์
เหลียวมองสนองรัก

ชวนเชยชิดคู่ข้าง
กามก่อเกิดเสริมสาัาง
เร่าร้อนวิวาห์

หอห้องรองเรืองเฟื่องฟ้่า แจ่มจันทร์เลิศหล้า
วาทแหววหวาน จานใจจัง
รองเรือง = งามสุกใส


ทุกคราเคยเงยหน้าตาประสบ
เธอหันหลบหันข้างช่างสิ้นหวัง
ทุกคราคอยอ่อยอวยว่าสวยจัง
เธอหันหลังแค่เกือบไม่เหลือบแล

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
02 กุมภาพันธ์ 2022, 12:52:PM
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« ตอบ #139 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2022, 12:52:PM »
ชุมชนชุมชน

     
 
จูล่ง
         




เตียวเสี้ยน นายเขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์ (ไฑชนะ นวลละม่อม) : ประพันธ์บท/ประดิษฐ์ท่ารำ/ออกแบบเครื่องแต่งกาย. (ผู้ประพันธ์บทเสริม/ประดิษฐ์ท่ารำ ละครพันทาง เรื่องมหาราชวงศ์พม่า ตอน รักต้องห้าม
งวยบ๊วยเมนตรามี-มองซูซอ)
         


ไฮกุ ห่อสามชั้น
โคลงสองสุภาพ
กาพย์ฉบัง16
กลอนแปดสุภาพ




ภมรภู่ ว่อนเวียน
บุปผา ไกวก้าน เริงระบำ
สีสวย ล้วนเล่ห์ลวง


        https://vt.tiktok.com/ZSesjyCCN/
       

         
     
มากชายหมาย แย่งยื้อ
ชิงเด่นชวน ดวลดื้อ
เหนี่ยวโน้มโฉมฉาย

องเอวอ่อน กรกรีดกราย ชม้อยชม้าย
พาภัยเภท เหตุหึงหวง

เธอเลือกคู่สู่หมายปรายเสน่ห์
ชายแพ้เล่ห์กายใคร่ใจติดบ่วง
เธอเลือกเคียง่เรียงราวดาวเด่นดวง
ชายแพ้ลวงความสวยหมวยหลอกเรา
 

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 [7] 8 9
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s