ถ้าเรื่องฉันทลักษณ์
นู๋อัลพูดจริงๆว่าถ้าเคร่งมากคงไม่ผ่านกันเลยอ่ะ
เพราะถ้านู๋อัลบอกว่า รูปแบบบังคับเป็นกลอนสุภาพ
กลอนสุภาพ มีสามแบบ คือกลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า แค่นั้นอ่ะ
ส่วนที่เขียนแปดมั่งเก้ามั่ง อันนั้นเค้าเรียก กลอนตลาด
แต่ก็อนุโลมให้อ่านะ เพราะสมัยนี้กลอนตลาดก็ถือเป็นกลอนสุภาพไปและ
ส่วนที่ถามว่า
แล้วกลอนแบบมีหลายๆคำจะเป็นกลอนแปดก็ไม่จะเป็นคำบรรยายก็ไม่เชิงแบบนี้เรียกว่ากลอนรึเปล่า
ถ้าตอบแบบคนทั่วๆไปเข้าใจก็ถือเป็นกลอนค่ะ เค้าเรียกว่า กลอนเปล่า (Blank verse)
ซึ่งมีที่มาจากกลอนในวรรณคดีอังกฤษที่ไม่มีการสัมผัสคำ แต่มีการเน้นเสียงในลักษณะ lambic Pentameter
คือ 1 บาท แบ่งเป็น 5 จังหวะ จังหวะละ 2พยางค์ พยางค์แรกเสียงเบา (ลหุ) พยางค์หลังเสียงหนัก (ครุ)
กลอนเปล่าได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของกวีนิพนธ์ประเภทบรรยายโวหารยาวๆ
รวมทั้งงานด้านปรัชญาและการละคร นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา
สำหรับกลอนเปล่าของไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำกลอนเปล่าเข้ามาใช้ในไทย
โดยใช้เป็นบทสนทนาที่แปลมาจากบทละครของเช็คเสปียร์
ต่อมา จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทร้อยกรองชื่อพิราบขาวในลักษณะของกลอนเปล่า
แต่เป็นกลอนเปล่าที่เปลี่ยนแปรไปจากเดิมในความหมายจากตะวันตก ซึ่งทำให้มีผู้เรียกว่า กลอนเปลือย
กลอนเปล่าและกลอนเปลือยที่ไทยใช้ จึงหมายถึงงานเขียนที่ผู้แต่งมุ่งประหยัดและพิถีพิถันในการใช้คำและที่สำคัญคือ
ผู้เขียนพยายามจัดถ้อยคำเป็นวรรค หรือเป็นรูปใดรูปหนึ่งคล้ายร้อยกรอง เพียงแต่ไม่มีสัมผัสบังคับเท่านั้น(อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://horo.exteen.com/20050918/entry)
Blank Verse - composed of unrhymied lines of lambic pentameter
Lambic Pentameter - has five feet, or beats, pre line, and every other symble is stressed Example:
Your face my thane, is as a book where men
u / u / u / u / u /
may read strange manners. To beguile the time,
u / u / u / u /
ที่มา
http://beef2006.tripod.com/id11.htmlกลอนในไทยที่เป็นกลอนเนี่ยมันมีกี่ประเภท
เท่าที่เรียนมาเหมือนว่ามี
กลอนหก กลอนสุภาพ กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา
กลอนนิราศ กลอนเพลง(เพลงยาว) และกลอนบทละครค่ะอย่างไรก็ตามในสมัยนี้เราได้รับอิทธิพลทางด้านวรรณศิลป์จากต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก
ซึ่งจะเห็นได้จาก กลอนไฮกุ กลอนแคนโต้ และรวมไปถึงกลอนเปล่า
ถ้าถามว่าสิ่งเหล่านี้มีในตำราบังคับมั้ยว่าคุณต้องแต่งยังไง
มีค่ะ แต่คนรับเข้ามาไม่ได้รับเข้ามาอย่างละเอียด
เลยเหมือนเป็นการนำวรรคที่คล้องจองมาต่อกันตามอารมณ์เท่านั้น
กลอนภาษาอังกฤษ ใครว่าไม่มีบังคับ
นู๋อัลเคยนั่งศึกษาอยู่เป็นสิบๆรูปแบบ
หนึ่งในนั้นที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายก็คือ
Roses are red,
Violets are blue,
ไม่รู้ว่าเคยได้ยินกันหรือเปล่า แล้วเขาจะให้เราเขียนต่ออีกสองวรรค เช่น
Roses are red,
Violets are blue,
Honey is sweet,
and so are you!
หรือ
Roses are red,
Violets are blue,
Here am I,
But where are you?
ถามว่าไฮกุแต่งอย่างไร
หลายๆคนน่าจะตอบได้ว่า 5-7-5
แต่ไฮกุก็จะมีบังคับอีกในเรื่องของใจความ ถ้าสนใจลองไปศึกษาเพิ่มเติมดูนะคะ
ก็ตอบเท่านี้ละกัน ถ้าสงสัยอะไรอีกก็ถามมาได้ค่ะ ^^
ถ้าตอบไม่ได้จะไปซักถามจากผู้รู้มาให้