การบังคับ คำเอก คำโท ของโคลง มีที่มาอย่างไรครับ?
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 03:51:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การบังคับ คำเอก คำโท ของโคลง มีที่มาอย่างไรครับ?  (อ่าน 3193 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
18 กรกฎาคม 2014, 09:53:AM
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,388



« เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2014, 09:53:AM »
ชุมชนชุมชน

การบังคับ คำเอก คำโท ของโคลง มีที่มาอย่างไรครับ?

เป็นเรื่องที่สงสัยมาตั้งแต่สมัยเรียนแล้วครับ อย่างการบังคับคำสัมผัสในร้อยกรองต่างๆ การบังคับเสียงท้ายวรรคในกลอน บังคับครุลหุในฉันท์
ก็มีนึกออกว่ามันเป็นการบังคับเสียงให้ไพเราะขึ้น แต่อย่างคำเอกคำโทนี่เป็นการบังคับรูปมากกว่าเสียง(?) เลยไม่แน่ใจว่ามีหน้าที่อะไรครับ

รบกวนผู้รู้ช่วยไขข้อข้องใจให้ทีครับ
สมาชิกหมายเลข 936681 http://pantip.com/topic/32338790
=====

น่าสนใจครับ เพื่อน ๆ กรุณาช่วยกันค้นคว้าหน่อย ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
21 กรกฎาคม 2014, 09:56:AM
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,388



« ตอบ #1 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2014, 09:56:AM »
ชุมชนชุมชน

ขอแสดงความคิดเห็นครับ

ผมคิดว่า คงเป็นประเด็นเรื่อง “เสียง” เช่นเดียวกับร้อยกรองประเภทอื่น ๆ ครับ
(เหตูผลคือ คนสมัยก่อนสื่อสารผ่าน “เสียง” เป็นสำคัญ)

แล้วทำไม บังคับรูป เอกโท ? ผมว่า
ทำให้ไม่ต้อง “ลงรายละเอียด” ครับ
ด้วยเหตุ ไม่ว่าอักษรใด ไม่ว่า คำเป็นคำตาย ครุลหุ จะมีเสียงได้แค่ เอก โท ตรี เท่านั้น
ผู้รู้ท่านคงว่า ตำแหน่งที่กำหนด ควรมีแค่ สามเสียง จึงฟังไพเราะ

เพื่อน ๆ เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยครับ
ข้อความนี้ มี 4 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
21 กรกฎาคม 2014, 04:39:PM
ศรีเปรื่อง
Special Class LV5
นักกลอนแห่งเมืองหลวง

*****

คะแนนกลอนของผู้นี้ 220
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 371


ข้าพเจ้าเพียงใช้บทกวี...เพื่อหย่อนฤดี


« ตอบ #2 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2014, 04:39:PM »
ชุมชนชุมชน


ที่มา: http://www.thaipoet.net/images/1178117860/planklong4.jpg

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะครับ

ผมเชื่อว่า การกำหนดวรรณยุกต์ที่มีเสียงพิเศษ (เสียงที่ต่ำหรือสูงไปจากปกติ) ที่บางตำแหน่งของโคลง (ช่วงต้น, กลาง และ ท้ายในบางวรรค)
ก็เพราะต้องการกำหนดท่วงทำนองการอ่านให้มีความไพเราะครับ ("ผญา" ของอีสานบ้านผมก็มีลักษณะทำนองนี้เหมือนกันครับ)

ลักษณะเสียงวรรณยุกต์ไทย สรุปได้ดังนี้ครับ
๑. เสียงสามัญ >> ให้เสียงกลางหรือเสียงปกติ
๒. เสียงเอก >> ให้เสียงต่ำ
๓. เสียงโท, ตรี และ จัตวา >> ให้เสียงสูง
    - "โท" เสียงจะสูงที่ช่วงต้นเสียง
    - "ตรี" เสียงจะสูงที่ช่วงปลายเสียง
    - "จัตวา" เสียงจะช้อนลงต่ำแล้วม้วนขึ้นสูงที่ช่วงท้าย
ที่มา: ปรับปรุงจาก http://pantip.com/topic/31088832

ทีนี้ปัญหาก็อยู่ที่ว่า ทำไมถึงกำหนดแต่รูปวรรณยุกต์เอกและโท...แล้ว "ตรี" กับ "จัตวา" ล่ะไปไหน?

ข้อสันนิษฐานของผมก็คือ สมัยที่คิดค้นโคลง คงยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ "ตรี" และ "จัตวา" ครับ
หลักฐานสนับสนุนความคิดผมมีดังนี้ครับ:-
๑. วรรณกรรมที่บรรจุร้อยกรองประเภทโคลงที่เก่าแก่ที่สุดของไทย (ที่สืบค้นหลักฐานได้) คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ
โดยประกอบด้วย ร่าย และ โคลง ๕ (มณฑกคติ) เชื่อกันว่า แต่งขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง (กษัตริย์องค์แรกของกรุงศรีอยุธยา)
ที่มา: http://haab.catholic.or.th/history/history04/ayutaya9/ayutaya9.html

๒. "วรรณยุกต์ไทยเป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา
ส่วนวรรณยุกต์ที่เก่าที่สุดนั่นก็คือวรรณยุกต์เอกและวรรณยุกต์โท
และวรรณยุกต์ตรีและวรรณยุกต์จัตวาเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น"
ที่มา: http://shows.voicetv.co.th/kid-len-hen-tang/54425.html

ศรีเปรื่อง
๒๑ ก.ค. ๒๕๕๗

ปล. ขอย้ำ...เป็นเพียงความคิดเห็นนะครับ
ข้อความนี้ มี 4 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s