|
|
20 มกราคม 2014, 09:24:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 มกราคม 2014, 09:24:PM » |
ชุมชน
|
ดอกเบี้ยเบ่งบาน ในกาลปลายเดือน เจ้าหนี้มาเยือน พร้อมเตือนติงทวง
ว่าให้รีบคืน สุดฝืนเหนี่ยวหน่วง หากปล่อยวันล่วง โอ้ดวงอาจจู๋
เจ้าหนี้โหดร้าย เขาหมายเข่นฆ่า ดอกเบี้ยเงินตรา คนมาข่มขู่
ยึดบ้านยึดรถ ยึดหมดเรารู้ เครียดจริงแล้วตู ก็กู้เขามา
ดอกเบี้ยดอกไม้ ไม่คล้ายกันเจ้า ดอกเบี้ยทำเรา ต้องเศร้าหนักหนา
ส่วนดอกไม้นั้น ทำฉันปรีดา เช่นดอกกัญชา หอมน่าดมดี
หรือว่าดอกฝิ่น แม้กลิ่นไม่หอม แต่ยามดมดอม สดชื่นชีวี
เคลิ้มองค์หลงใหล พาใจสุขศรี อิ่มเอมเปรมปรีดิ์ มีสุขจริงเอย
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
21 มกราคม 2014, 09:49:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 21 มกราคม 2014, 09:49:AM » |
ชุมชน
|
วิชชุมมาลาฉันท์ 8 จากวิกิพีเดีย
วิชชุมมาลาฉันท์ มีความหมายว่า "ระเบียบแห่งสายฟ้า" ประกอบด้วยครุล้วน จึงใช้บรรยายความอย่างธรรมดา
หนึ่งบทมี 4 บาท บาทละ 8 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 4 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอน
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ครุ-ครุ ครุ-ครุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนหาผู้ หนึ่งในนึกดู เห็นใครไป่มี หลายวันถั่นล่วง เมืองหลวงธานี นามเวสาลี ดุ่มเดาเข้าไป
ผูกไมตรีจิต เชิงชิดชอบเชื่อง กับหมู่ชาวเมือง ฉันอัชฌาสัย เล่าเรื่องเคืองขุ่น ว้าวุ่นวายใจ จำเป็นมาใน ด้าวต่างแดนตน
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต
====
ขอย้ำครับ
๑ ฉันท์นี้ ๘ วรรค เป็น ๑ บท อาจเขียนเป็น ๔ บาท (๔ บรรทัด) ดังนั้น ควรเขียน ๘ วรรค หรือ ๔ บรรทัดให้ติดกัน
๒ เป็น ครุ ทุกคำ ดังนั้น ชบา มะลิ จะใช้ไม่ได้
๓ แม้ "สัมผัสแบบกลอน" แต่ไม่เน้นว่า "เสียงท้ายวรรคสอง นิยมเสียงจัตวา"
กลอน ๔ แบบ ๑
* เหวยเหวยอีจันทรา........ขึ้นหน้าเถียงผัว......... อุบาทว์ชาติชั่ว...............ไสหัวมรึงไป
* นางจันทาเถียงเล่า........พระองค์เจ้าหลงไหล....... ไล่ตีเมียไย...................พระไม่ปรานี
บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง (ใส่ * หรือ ใช้เว้นบรรทัด เพื่อให้ทราบว่า "ขึ้นบทใหม่" ครับ)
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
* แรมทางกลางเถื่อน........ห่างเพื่อนหาผู้........ หนึ่งใดนึกดู....................เห็นใครไป่มี.......... หลายวันถั่นล่วง...............เมืองหลวงธานี........ นามเวสาลี.....................ดุ่มเดาเข้าไป
สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต
สังเกต :- กลอน ๔ ......................................................... ฉันท์วิชชุมฯ
๑ กลอน๔ มี ๒ บท (๑ บท มี ๔ วรรค) ............................. มี ๑ บท (๑ บท มี ๘ วรรค) ๒ มี ลหุ ได้ (คำที่ใช้สระ เสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด : พระ) .......... ต้องไม่มี ลหุ เลย (คือเป็น ครุ ทั้งหมด) ๓ มีส่ง-รับสัมผัส ระหว่างวรรค ....................................... ไม่บังคับ ส่ง-รับสัมผัส วรรค ๓-๔ และ วรรค ๗-๘ (มีก็ได้)
|
|
|
|
22 มกราคม 2014, 09:41:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 มกราคม 2014, 09:41:AM » |
ชุมชน
|
ขออนุญาตเพิ่มเติมครับ
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ (share ตุลาคม 17, 2012) [ฉันท์ * ๑ บท สังเกต วรรคสอง ใช้เสียงสามัญ ซึ่งในกลอนจะแนะนำให้เลี่ยง และ เขียนบรรทัดติดกันทั้ง ๔ บาท]
....เขียนฉันท์ ฝันไกล...............หวังใจ นักเรียน โน้มนำ เธอเพียร.....................อ่านเขียน กลอนกานท์ ฉันท์นี้ น่าเริ่ม.........................แต่งเติม ขับขาน ง่ายง่าย จดจาร.......................สานฝัน พลันจริง
==== แดงคนดี ตุลาคม 18, 2012
เหมือนกลอนสี่ ไหมจ๊ะนี่ เช่น...
[กลอนสี่ * ๒ บท สังเกต วรรคสอง ใช้เสียงจัตวา ทั้ง ๒ บท และ เขียนครบ ๔ วรรค ขึ้นบทใหม่ใช้ เว้นบรรทัด]
เขียนคำนำฝัน แบ่งปันท่วงถ้อย เรียงรายร่ายร้อย คงคอยคล้อยตาม
จูงจิตชิดใกล้ วางไว้ไขขาน มุ่งมามอบมาน สืบสานกานท์กล
==== share ตุลาคม 29, 2012
โดยทั่วไป ไม่เหมือนกันครับ แต่บางกรณีก็ชี้ชัดไม่ได้ เว้นแต่
๑ ผู้ประพันธ์ได้แต่ง หลายบท จนสังเกตได้ คือมี ลหุ ปรากฎให้เห็น ก็จะเป็น กลอน ๔ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ นั้น ห้ามมี ลหุ เด็ดขาด
๒ ผู้ประพันธ์แต่งกลอนตามเกณฑ์ เสียงวรรณยุกต์ อันไพเราะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วรรค ๒ กลอนนั้น วรรค ๒ (วรรครับ) นิยมให้เป็นเสียง จัตวา โท เอก ตามลำดับ
๓ ผู้ประพันธ์ ทำเครื่องหมายเริ่มต้นบท ไว้ชัด
|
|
|
|
|
23 มกราคม 2014, 02:19:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 23 มกราคม 2014, 02:19:PM » |
ชุมชน
|
ปกติ ผมก็ไม่เคร่งกฎเกินไป เพราะคิดว่า ศิลปะไม่ควรมีกฎมากจนรุงรัง
เว้นแต่ ต้องสอนกันให้ถูกต้องเหมาะควร เป็นข้อตกลงร่วมกัน หรือ เพื่อส่งประกวด
ดังตัวอย่าง ชอบมากครับ
ฉันท์ห่อโคลง
**โคลงสี่สุภาพ** ทิวาลาลับฟ้า ................ ...เลือนไกล จันทร์หนึ่งก็คลาไคล...... ส่องหล้า ชีวิตลิขิตไป....................... ก่อเกิด ประเสริฐดีถ้วนหน้า...........อย่ากล้าก่อกรรม
**อินทรวิเชียรฉันท์**
ภากร จะร่อนลง ........ ...สุริยงค์ จะปลงแสง ใบไม้ ก็เฉาแห้ง .............ตรุแล้ง ก็แห้งตาย ดวงดาว ก็พราวพริบ .....ระดะยิบ ก็ปริบปราย จันทรา ระย้าพราย.... ..รวิหงาย มิวายสรวง เกิดแก่ ก็สับสน.......... ตนุคน มิพ้นลวง เจ็บดับ สลับช่วง.........ก็ละบ่วง สิดวงใจ
====
ความคิดดีมาก ๆ ครับ นำเสนอสิ่งแปลกใหม่ที่สร้างสรรค์
แต่ติติงนิด ความในฉันท์ยังไม่พอในการรองรับความคิดในโคลง ควรแต่งฉันท์เพิ่มเติมอีกครับ
สังเกต ฉันท์ ๒ บทแรก รับความในโคลง ๒ บาทแรก แต่มีฉันท์เพียงบทเดียว รับโคลง ๒ บาทหลัง
โดยทั่วไป คำว่า "ห่อ" นั้น สิ่งที่นำมาห่อควรคลุมสิ่งที่ถูกห่อได้ครบถ้วน
แต่งเพิ่มหน่อยนะครับ และขออนุญาตล่วงหน้าที่จะนำไปเผยแพร่
(ใช้ "เผยแพร่" เพราะ หมายให้ "กระจาย" ออกไป แผ่ ก. คลี่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิมหรืออาการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แผ่อาณาเขต; ให้ เช่น แผ่ส่วนบุญ. แพร่ ก. กระจายออกไป)
|
|
|
|
23 มกราคม 2014, 03:48:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 23 มกราคม 2014, 03:48:PM » |
ชุมชน
|
ขออนุญาตลบความคิดเห็นนี้ครับ เนื่องจากเห็นว่าไม่ค่อยจะเหมาะ
Orion264
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
27 มกราคม 2020, 04:07:PM |
Jaoab
LV1 เด็กน้อยอ่านกลอน
คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 27 มกราคม 2020, 04:07:PM » |
ชุมชน
|
ช่วยเค้าเเต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ เรื่อง รักษ์โลกด้วยได้มั้ยยยอ่าาคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|