รับประทานอาหาร มีที่มาอย่างไร ?
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
24 พฤศจิกายน 2024, 08:10:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รับประทานอาหาร มีที่มาอย่างไร ?  (อ่าน 4662 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
19 ธันวาคม 2013, 04:36:PM
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« เมื่อ: 19 ธันวาคม 2013, 04:36:PM »
ชุมชนชุมชน


ทาน หรือรับประทานอาหาร มีที่มาอย่างไร


            ปัจจุบันนี้สังคมไทยมีการนิยมใช้คำว่า"ทาน"หรือรับประทาน" แทนคำว่า"กิน"ด้วยถือว่าเป็นคำที่สุภาพ
จนหลายคนเข้าใจว่า ทานหรือรับประทานนั้นมีความหมาย"กิน"ไปแล้ว
แต่ที่จริงแล้วคำว่า ทาน เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี  แปลว่า"ให้" เป็นการใช้คำแบบทับศัพท์นั่นเอง
เมื่อนำมาพูดเป็นคำไทย มักพูดว่า"ให้ทาน"(ให้ให้)
ถ้าคนที่ให้มีศักดิ์สูงกว่าสามัญชน เช่นเป็นเจ้านาย มักมีคำนำหน้าทาน เป็นประทาน  เช่น สมเด็จพระเทพฯทรงประทานสิ่งของ
ถ้าผู้ให้มีศักดิ์สูงถึงพระเจ้าแผ่นดินหรือเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน  เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระบรมราชินี
ก็จะมีคำนำหน้าเป็น"พระราชทาน"  นี่คือในส่วนของผู้ให้
             ทีนี้ในส่วนของผู้รับบ้าง
ถ้ารับของจากสามัญชน ก็เรียกว่า รับทาน
ถ้ารับของจากเจ้านาย ก็ใช้คำว่า รับประทาน  เช่น รับประทานสิ่งของจากสมเด็จพระเทพฯ
(หมายความว่าสมเด็จพระเทพทรงประทานให้ส่วนเราคือผู้รับ)
ถ้ารับของจากพระเจ้าอยู่หัวหรือจากพระบรมราชินี ก็ใช้คำว่า รับของพระราชทาน

แล้วคำว่ารับประทานอาหารมาจากไหน ???


คำว่ารับประทานอาหาร  คำนี้สันนิษฐานว่าเดิมทีน่าจะมาจากชาวไทยที่นับถือศาสนาคริสต์

คือชาวคริสต์จะมีความเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่าง พระเจ้าประทานมาให้  รวมทั้งอาหารที่กินทุกมื้อด้วย
ดังนั้นเมื่อชาวคริสต์จะรับประทานอาหารจึงมีพิธีขอบคุณพระเจ้าที่ทรงประทานอาหารมาให้
การกินข้าวจึงถือเป็นการรับประทานอาหาร  คือ รับอาหารที่พระเจ้าประทานมาให้นั่นเอง
ต่อมาคำๆนี้ก็ระบาดมาสู่สังคมไทย  กลายเป็น รับประทานอาหาร  รับประทาน  รับทาน และทานอาหาร ในที่สุด
และเกิดเป็นความหมายใหม่ว่า รับประทาน หรือทาน นั้นหมายถึงคำว่ากิน ที่สุภาพ

สรูปแล้ว คำว่า รับประทานอาหาร  ก็หมายถึง รับอาหารที่พระเจ้าทรงประทานมานั่นเอง
ต่อมาแม้ผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ก็นิยมใช้คำๆนี้



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : D, รพีกาญจน์, ไพร พนาวัลย์, ศรีเปรื่อง, ชลนา ทิชากร, รัตนาวดี, panthong.kh, เพรางาย, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่
13 มกราคม 2014, 11:06:AM
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,391



« ตอบ #1 เมื่อ: 13 มกราคม 2014, 11:06:AM »
ชุมชนชุมชน


จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5859.msg129603;topicseen#msg129603

ในเอกสารหนังสือวชิรญาณวิเศษ เมื่อ ร.ศ. ๑๐๘ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๒ มีการใช้คำว่า "รับประทาน" แล้ว

"แลจะจ่ายเงินให้ผู้ช่วยปฏิคม ไปจัดซื้อของเครื่อง
กลักต่าง ๆ  มีขนมปังเปนต้นเปนเงิน ๔๐๐ บาท ซื้อ
จานมีดช้อน ซ่อมแลอื่น ๆ ซึ่งเปนเครื่องที่จะใช้ในการ
เลี้ยงอาหาร เปนเงิน ๑๐๐ บาท รวมเปนเงิน ๕๐๐ บาท
ยังค่าตู้ชั้นสำหรับไว้ของจะต้องทำเติมอิก  อาหาร
ที่จะมีไว้สำหรับเลี้ยงสมาชิกนี้  ผู้ใดมารับประทาน
จะเรียกราคาพอสมควร  พอไม่ต้องชักทุนของหอ
พระสมุดให้ขาดไปในข้าอาหารนี้เท่านั้น  แลไม่เปน
การกะเกณฑให้รับประทานทุกท่าน  เปนการหาไว้
สู่กันสำหรับท่านที่มีประสงคจะรับประทานเท่านั้น"

siamese 04 ม.ค. 14, 18:35

ตัวอย่างการใช้ "รับประทาน" จาก พงษาวดารเมืองสงขลา เรียบเรียงโดย พระยาสุนทรานุรักษ์ (ชม) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ในรัชกาลที่ ๕

ในปีเถาะ นพศก ฝนตกน้ำท่วมจนท้องนาของราษฎรทำนามิได้ผลรับประทานเลย ราษฎรได้ความเดือดร้อนในการที่ไม่มีอาหารรับประทานถึงแก่ล้มตายกลางถนน ที่ยกอพยพครอบครัวไปอยู่บ้านเมืองอื่นเสียโดยมาก เวลานั้นเข้าสารราคาเกวียนละ ๕๐๐ เหรียญก็ยังไม่มีที่จะซื้อ พระยาสงขลารีบเข้าไปกรุงเทพ ฯ นำความที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อนไม่มีอาหารรับประทาน  ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๓ ทรงทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ขอรับพระราชทานซื้อเข้าสารออกมาเจือจานราษฎรในเมืองสงขลา ๑๐๐๐ เกวียน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยกภาษีเข้าสาร ให้แก่พระยาสงขลา ๆ กราบถวายบังคมลาออกมาถึงเมืองสงขลาในเดือนยี่ปีมโรงจัตวาศก

เพ็ญชมพู 06 ม.ค. 14, 10:06

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, รัตนาวดี, พี.พูนสุข, ศรีเปรื่อง, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 5 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
13 มกราคม 2014, 12:42:PM
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« ตอบ #2 เมื่อ: 13 มกราคม 2014, 12:42:PM »
ชุมชนชุมชน


       ตามประวัติศาสตร์ที่เคยเรียนมา  พวกคริสตัง นั้นมีเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช(ยุคกรุงศรีอยุธยา)แล้วครับ
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร  ถ้าจะมีคำพวกนี้ใช้อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ของกรุงรัตนโกสินทร์
       อีกประการหนึ่ง ข้อเขียนนี้ก็ใช้คำว่า "สันนิษฐาน" กับคำว่า "น่าจะ"  จึงไม่ใช่ความคิดเห็นที่จะยึดถือเป็นกฏเกณฑ์หรือข้อยุติ หรือใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
ทางวิชาการได้ 







ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, รัตนาวดี, พี.พูนสุข, ศรีเปรื่อง, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 5 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่
13 มกราคม 2014, 01:32:PM
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,391



« ตอบ #3 เมื่อ: 13 มกราคม 2014, 01:32:PM »
ชุมชนชุมชน


ผมค่อนข้างจะเห็นด้วยกับความคิดคุณ Orion264(มือขวา) ที่ว่า คำนี้น่าจะมีที่มาจากพวกคริสต์

จากที่คุณ siamese และคุณ เพ็ญชมพู ยกมาจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยรัชการที่ ๕
แต่เราทราบกันดีว่า รัชการที่ ๔ ทรงเคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ Bishop Pallegoix

Bishop Pallegoix was highly esteemed by King Mongkut, and they often discussed issues with each other.
The king even personally assisted at Pallegoix' funeral.
From Wikipedia

นี่อาจเป็นที่มาหนึ่งของคำ ๆ นี้ครับ

10:57

คุณ shareหรือชาวเรือนไทยท่านอื่น พอจะหาเอกสารที่มีคำว่า "รับประทาน" ก่อนหน้ารัชกาลที่ ๕ หรือเก่ากว่านั้นมาแสดงได้บ้างหรือไม่หนอ  ยิงฟันยิ้ม
เพ็ญชมพู 11:08

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รัตนาวดี, พยัญเสมอ, ศรีเปรื่อง, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 5 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s