10 สิงหาคม 2013, 11:02:PM |
~ นายใบชา ~
|
|
« เมื่อ: 10 สิงหาคม 2013, 11:02:PM » |
ชุมชน
|
พอดีมีหลายคนถามมาหลายคนครับว่า กลอนเปล่าต้องมีสัมผัสหรือเปล่า
อธิบายตามเข้าใจเลยนะครับว่า. มีหรือไม่ก็ได้ แต่ด้วยความงดงามของกลอน อีกทั้งสื่ออารมณ์ได้ดี จึงนิยมมีสัมผัส ทำไมถึงบอกว่าเป็นกลอนไร้ฉันทลักษณ์ ถ้าจะจำแนกจริงๆ ฉันทลักษณ์คือโครงสร้างรูปแบบข้อกำหนด ในการเขียนตามโครงสร้างนั้นๆแบบตายตัว เช่น โคลง หรือกลอนต่างๆเป็นต้น ฉะนั้น กลอนเปล่าจึงเป็นกลอนที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว ไม่กำหนดจำนวนคำหรือประโยค ดังนั้น สำหรับคนที่เขียนเปล่าอยู่บ่อยๆเช่นผม จึงจะสังเกตได้ว่า กลอนทุกกลอนที่เคยเขียน จะไม่มีโครงสร้างเหมือนกันตายตัว เปรียบเทียบเหมือนเพลง ยาว-สั้น ต่างกัน ทำนองต่างกัน ทำนองของกลอนเปล่า จึงไม่ซ้ำกัน ตามที่เคยรู้มาบ้างไม่เยอะนัก กลอนที่ไม่มีสัมผัส เรียกว่ากลอนบรรยาย หรือกลอนพูด เพราะคำว่ากลอนเปล่าไม่ได้ถูกบรรจุไว้ คำว่ากลอนเปล่าจริงๆเพิ่งเกิดเมื่ิอไม่นานนักนี่เอง คำว่าเปล่า จึงถูกเรียกเองโดยคนเขียน อยาางไรก็ดี กลอนประเภทสื่ออารมณ์ได้ดี คล้ายฟังเพลง จะเพราะไม่เพราะอย่างไรนั้น ทำนอง การลงตัวในการอ่าน อ่านได้ลื่นไหล ใช้คำได้ดี ไม่จัดคำมาก/น้อย เกินไป ตามความเหมาะสมและอารมณ์ในการอ่าน. ขอบคุณครับ ข้อมูลผิดพลาดประการใดติชมแนะนำได้เลยนะครับ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : choy, บ้านกลอนไทย, รพีกาญจน์, panthong.kh, สมนึก นพ, Shumbala, คอนพูธน, บัณฑิตเมืองสิงห์, ชลนา ทิชากร, my smile, saknun, กังวาน, รการตติ, พิมพ์วาส, พี.พูนสุข
ข้อความนี้ มี 15 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
10 สิงหาคม 2013, 11:51:PM |
choy
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2013, 11:51:PM » |
ชุมชน
|
พอดีมีหลายคนถามมาหลายคนครับว่า กลอนเปล่าต้องมีสัมผัสหรือเปล่า
อธิบายตามเข้าใจเลยนะครับว่า. มีหรือไม่ก็ได้ แต่ด้วยความงดงามของกลอน อีกทั้งสื่ออารมณ์ได้ดี จึงนิยมมีสัมผัส ทำไมถึงบอกว่าเป็นกลอนไร้ฉันทลักษณ์ ถ้าจะจำแนกจริงๆ ฉันทลักษณ์คือโครงสร้างรูปแบบข้อกำหนด ในการเขียนตามโครงสร้างนั้นๆแบบตายตัว เช่น โคลง หรือกลอนต่างๆเป็นต้น ฉะนั้น กลอนเปล่าจึงเป็นกลอนที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว ไม่กำหนดจำนวนคำหรือประโยค ดังนั้น สำหรับคนที่เขียนเปล่าอยู่บ่อยๆเช่นผม จึงจะสังเกตได้ว่า กลอนทุกกลอนที่เคยเขียน จะไม่มีโครงสร้างเหมือนกันตายตัว เปรียบเทียบเหมือนเพลง ยาว-สั้น ต่างกัน ทำนองต่างกัน ทำนองของกลอนเปล่า จึงไม่ซ้ำกัน ตามที่เคยรู้มาบ้างไม่เยอะนัก กลอนที่ไม่มีสัมผัส เรียกว่ากลอนบรรยาย หรือกลอนพูด เพราะคำว่ากลอนเปล่าไม่ได้ถูกบรรจุไว้ คำว่ากลอนเปล่าจริงๆเพิ่งเกิดเมื่ิอไม่นานนักนี่เอง คำว่าเปล่า จึงถูกเรียกเองโดยคนเขียน อยาางไรก็ดี กลอนประเภทสื่ออารมณ์ได้ดี คล้ายฟังเพลง จะเพราะไม่เพราะอย่างไรนั้น ทำนอง การลงตัวในการอ่าน อ่านได้ลื่นไหล ใช้คำได้ดี ไม่จัดคำมาก/น้อย เกินไป ตามความเหมาะสมและอารมณ์ในการอ่าน. ขอบคุณครับ ข้อมูลผิดพลาดประการใดติชมแนะนำได้เลยนะครับ
(ขอเพิ่มเติมเพื่อเสริมอีกนิดหนึ่งจากท่านนายใบชา)กลอนเปล่า (Blank Verse) ต้นกำเนิดจริงๆ เป็นกลอนในวรรณคดีอังกฤษที่ไม่มีการสัมผัสคำ แต่มีการเน้นเสียงในลักษณะ lambic Pentameter คือ 1 บาท แบ่งเป็น 5 จังหวะ จังหวะละ 2พยางค์ พยางค์แรกเสียงเบา (ลหุ) พยางค์หลังเสียงหนัก (ครุ) กลอนเปล่าได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของกวีนิพนธ์ประเภทบรรยายโวหารยาวๆ รวมทั้งงานด้านปรัชญาและการละคร นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา สำหรับกลอนเปล่าของไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงนำกลอนเปล่าเข้ามาใช้ในไทย โดยใช้เป็นบทสนทนาที่แปลมาจากบทละครของเช็คสเปียร์ ต่อมา จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทร้อยกรองชื่อพิราบขาวในลักษณะของกลอนเปล่า แต่เป็นกลอนเปล่าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในความหมายของวรรณกรรมตะวันตก ซึ่งทำให้มีผู้เรียกว่า กลอนเปลือย ดังนั้น กลอนเปล่าและกลอนเปลือยที่ไทยใช้ จึงหมายถึงงานเขียนที่ผู้แต่งมุ่งประหยัดและพิถีพิถันในการใช้คำและที่สำคัญ คือ ผู้เขียนพยายามจัดถ้อยคำเป็นวรรค หรือเป็นรูปใดรูปหนึ่งคล้ายร้อยกรอง เพียงแต่ไม่มีสัมผัสบังคับเท่านั้น จ่าง แซ่ตั้ง ใช้ความเป็นจิตรกรในการเขียนงานกวีนิพนธ์ งานบางชิ้นวางรูปร่างโดยคำนึงถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ งานของจ่าง จึงมีความเป็น วรรณรูป ด้วย เช่น กลอนเปล่าบท กลางคืน ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ : กลางคืน ท้องฟ้า ยามกลางคืน ดาว ดาว ดาว ดาว จันทร์ ดาว ดาว ดาว ดาว พื้นดินทุกแห่ง เงียบ คงเหลือแต่เสียงร้องของแมลง
จ่าง แซ่ตั้ง เขียนกลอนเปล่าด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวคิดที่ต้องการจสะท้อนออกมาเป็นสำคัญ แนวการเขียนของจ่าง ทำให้มีนักเขียนรุ่นหลังนำไปเป็นแบบอย่างในการเขียนบ้าง หรือกรณีกลอนเปล่า หยาดฝน เป็นผลงานของผกาดิน (นามปากกา) ที่วางรูปแบบเป็น วรรณรูป โดยวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เหมือนเป็นเม็ดฝนหล่นจากฟ้า ตรงกับเนื้อความที่พรรณนาไว้
เด็ก คนนั้น มองสายฝน ภายนอกหน้าต่าง หยาดน้ำฝนจากฟ้า หลั่งมาเป็นสาย ดู ซิ จ๊ะ น้ำฝน ใส สาว คนนั้น มองสายฝน ภายในหัวใจ หยาดน้ำฝนจากใจ หลั่งมาเป็นสาย ดู ซิ จ๊ะ น้ำฝน ขุ่น ***ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก : หนังสือร้อยกรอง, รองศาสตราจารย์ วราภรณ์ บำรุงกุล
***หนึ่งในผู้ที่มีความรู้เรื่องวรรณคดีอังกฤษดีมากคือ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ท่านจบเอกวรรณคดีอังกฤษตอนเรียนปริญญาตรี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) แต่ไม่เคยเห็นท่านพูดหรือเขียนอะไรที่เกี่ยวกับบทกวีหรือวรรณคดีเลย...เสียดาย
***ควรจะมีใครทำการค้นคว้าและมาเล่าสู่กันฟังในบ้านกลอนฯ ผู้เขียนเองงานรัดตัวไม่ค่อยมีโอกาสแวะห้องสมุดเพื่อค้นคว้ามากนัก
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, panthong.kh, รัตนาวดี, สมนึก นพ, Shumbala, คอนพูธน, บัณฑิตเมืองสิงห์, ชลนา ทิชากร, my smile, saknun, ไพร พนาวัลย์, กังวาน, ~ นายใบชา ~, รการตติ, พี.พูนสุข
ข้อความนี้ มี 15 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
11 สิงหาคม 2013, 08:59:AM |
~ นายใบชา ~
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2013, 08:59:AM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลโดยละเอียด เสริมต่อจากที่ท่านได้กล่าวมาข้างต้น กลอนเปล่า ถูกเขียนขึ้นครั้งแรกอย่างที่ข้อมูลข้างต้นบอกไว้ กลอนมีอยู่ทุกมุมทั่วโลก ลักษณะของกลอนก็แตกต่างกันไปในแต่ละชาติ แต่กลอนไทยมีเอกลักษณ์ทีีต่างจาก กลอนชาติอื่นคือ กลอนไทยมีการใช้อักขระที่งดงาม สัมผัสที่ไพเราะ อย่างที่ครูสุนทรภู่กวีเอกของโลกได้แต่งไว้ แต่กลอนชาติอื่น อาจจะเนื่องด้วยภาษา หรืออย่างไรก็ตาม จะพบเห็นสัมผัสได้น้อย รูปแบบก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง บทกวีของจีน ผู้เขียนเองเคยได้อ่านมาบ้าง โดยมากจะไม่มีสัมผัส หากแต่ผู้แปลความจากภาษานำความหมาย มาจัดเรียงบ้าง ฉะนั้นกลอนเปล่าทีีมาจากต้นฉบับได้ถูกเขียนขึ้นใหม่ ในรูปแบบของกลอนไทย โดยยังใช้ ความไม่กำหนดความ คือแต่งตามอารมณ์ของผู้แต่งเอง โดยมีสัมผัสนอก-ใน ครบถ้วน หากเพียงแต่ยังคง รูปลักษณ์ของความเป็นกลอนเปล่าไว้ อย่างทีีเรียนมาข้างต้น ซึ่งหากเขียนตามต้นฉบับต่างประเทศ เชื่อว่าจะมีหลาย ท่านสับสนเป็นแน่แท้ รวมถึงการที่ให้คนในยุคปัจจุบันเข้าใจได้ง่าย จึงเริ่มต้นมาเป็นกลอนเปล่าในแบบฉบับของไทย อย่างที่หลายๆท่านเคยได้อ่านกัน ผู้เขียนยังเชื่อเสมอครับว่า ไทยคือเมืองกวีเอกของโลก เพราะฉะนั้นกลอนที่มีสัมผัส นอก-ใน มีฉันทลักษณ์ถูกต้องตามแบบที่ครูท่านสอนมา และไพเราะที่สุดในโลก ฉะนั้นจะเพราะหรือไม่อย่างไร สัมผัสคือ เอกลักษณ์ของกลอนไทย กลอนเปล่าในแบบฉบับของไทยจึงมีมาให้คนได้อ่านกันจนถึงวันนี้และสืบไป ขอบคุณครับ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : panthong.kh, รัตนาวดี, สมนึก นพ, คอนพูธน, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, my smile, saknun, กังวาน, รการตติ, พี.พูนสุข
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
11 สิงหาคม 2013, 09:57:AM |
~ นายใบชา ~
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2013, 09:57:AM » |
ชุมชน
|
กลอนเปล่ามีวิวัฒนาการต่อมาเรื่อย โดยเปรียบเหมือนทีวีและโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ซึ่งจะว่ากันตามจริงแล้ว ยังไม่มีชื่อที่ถูกกำหนดอย่างแน่นอน โดยมากคนนิยมเรียก กลอนประเภทนี้ว่า กลอนเปล่า วิวัฒนาการของกลอนเปล่า หากเปรียบเทียบกับทีวี ก็เหมือนทีวีขาวดำ14นิ้ว กับทีวีhdขนาด72นิ้ว มีความคมชัดของภาพมากขึ้น ก็คือรูปแบบของกลอนเข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ง่ายขึ้น สีของทีวีที่สวยขึ้น คือ การจัดเรียงของกลอนน่าอ่านมากขึ้น มีการแทรกสีอักขระ ภาพ เพลง ทำให้ดูน่าอ่านยิ่งขึ้น เสียงของทีวีพัฒนาจากทีวีขาวดำซึ่งเสียงไม่ดีนัก จนมาเป็นระบบเสียงรอบทิศทาง คือ มีการจัดวางคำได้ไพเราะขึ้น สื่ออารมณ์ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังไว้ซึ่งความเหมือนกันคือ สามารถนั่งดูได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถจับต้องสิ่งทีีอยู่ข้างในได้ และไม่สามารถรับกลิ่นได้ เปรียบคือ ยังมีรูปแบบของสัมผัส นอก-ใน มีบท มีวรรค ที่เหมือนกัน การวิวัฒนาการนี้ทำให้คนสามารถ เข้าใกล้ชิดกลอนได้มากขึ้น เรียนรู้อักขระภาษาได้มากขึ้น หลายคนเรียกกลอนนี้ว่ากลอนวัยรุ่น แต่ผู้เขียนเองก็เลยวัยรุ่นมาได้พักใหญ่ แต่ก็ยังชอบอารมณ์ในการเขียนกลอนประเภทนี้อยู่ หวังว่า ข้อมูลจากผมเองก็ดี ท่านที่ติชมแนะนำก็ดี จะเป็นประโยชน์แก่ท่านๆ ไม่มากก็น้อย ผิดพลาดประการ ใดขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วย แนะนำติชมเพิ่มเติมได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : เพรางาย, panthong.kh, คอนพูธน, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, my smile, saknun, ไพร พนาวัลย์, กังวาน, สมนึก นพ, รการตติ, พี.พูนสุข
ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
11 สิงหาคม 2013, 10:38:PM |
|
|
11 สิงหาคม 2013, 11:01:PM |
|
|
12 สิงหาคม 2013, 02:10:PM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2013, 02:10:PM » |
ชุมชน
|
กลอนลูกบิดติดประตู รู้ว่าล็อค แน่นหนาแน่ แต่ที่แย่ยังไม่รู้ ลูกเล่นอยู่ที่ไหน สนามเด็กเล่นหลายท่านรู้ โน่นอยู่แสนไกล เบื่อแล้วนะ เมื่อไหร่นั้นลูกฉันจะกลับมา รอลูกบิดถึงเปิดได้ ทำไมใช้ยากนักนี่ หลายนาทีที่รอชักจะหงอแล้วหนา สิบนาทีจากนี้ไปหากยังไม่โผล่มา คงต้องใช้วิชาพลังช้างพังมันเลย.นพ 12ส.ค.56
|
|
|
|
12 สิงหาคม 2013, 02:55:PM |
|
|
13 สิงหาคม 2013, 11:38:AM |
ศรีวรมัน
LV3 นักเลงกลอนประจำซอย
คะแนนกลอนของผู้นี้ 5
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 15
ศรีวรมัน
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2013, 11:38:AM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณที่ให้ข้อมูลนะคับ จะเอาไปใช้เขียน รายงานเชิงวิชาการ มีอ้างอิง เป็นทางการ คงจะดีไม่น้อย • อนาคตเขาว่าเป็นเรื่องฝัน คะเเนนนั้นจะพลันเป็นไฉน ได้เกินครึ่งหรือผิดหมดทำอย่างไร ในหัวใจเฝ้ารอ ท้อเลย...ครู
|
|
|
|
|