01 สิงหาคม 2013, 09:57:AM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 09:57:AM » |
ชุมชน
|
มีอีกหลายคำนะครับ
คือคำว่า
"ชั่ง" กับ "ช่าง"
"ไม้" กับ "ละม้าย"
"ได้" กับ "ด้าย"
การเปลี่ยนรูปแบบทั้งการออกเสียงและการเขียนน่ะ ใครสามารถออกกฎระเบียบตรงนี้ได้ครับ ราชบัณฑิตยสถานรึเปล่าครับ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 10:01:AM |
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,104
ทิวาฉาย ณ ปลายผา
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 10:01:AM » |
ชุมชน
|
ข้อใดออกเสียงสระยาวทุกคำ ๑. น้ำตาแสงใต้ ๒. ลำน้ำโขงเชี่ยว ๓. คำนำเรื่องข้าว ๔. จำนงจำหน่าย
(แนวข้อสอบ ไทย กข ปี ๒๕๓๑)
คุณนพ คุณไร้นวม-ไร้หนาม คุณบัณทิตเมืองสิงห์
ตอบ ข้อ ๑ เหมือนกัน (ดูจากกล้องวงจรปิดแล้ว จับพิรุธไม่ได้)
ถูกต้องค่ะ
คอยรับคะแนนเก็บนะคะ
เฉลยค่ะ
ข้อ ๑ น้ำ ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/ (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน รูป เสียงสั้น /อะ/ ) ตา ออกเสียงยาว /อา/ (รูปและเสียงตรงกัน) แสง ออกเสียงยาว /แอ/ (รูปและเสียงตรงกัน) ใต้ ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ย/ (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน รูป ออกเสียงสั้น /อะ/ )
ข้อ ๑ จึงถูกต้อง นักเรียนเก่งจัง
ข้อ ๒ ลำ ออกเสียงสั้น /อะ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/ (รูปกับเสียงตรงกัน) น้ำ ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ม/ (รูปกับเสียงไม่ตรงกัน รูป เสียงสั้น /อะ/ ) โขง ออกเสียงยาว /โอ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/ (รูปกับเสียงตรงกัน) เชี่ยว ออกเสียงสั้น /เอียะ/ มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับ ถ้าคำ เชียว ออกเสียง /เอีย/ ออกเสียงยาว
** รูปวรรณยุกต์กำกับ ทำให้เสียงสระในบางคำเปลี่ยนได้ เช่น รอง ออกเสียงยาว /ออ/ , ร่อง ออกเสียงสั้น / เอาะ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/ ปอง ออกเสียงยาว /ออ/ , ป้อง ออกเสียงสั้น / เอาะ/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ง/
ข้อ ๓ คำ ออกเสียงสั้น /อะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) นำ ออกเสียงสั้น /อะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) เรื่อง ออกเสียงสั้น /เอือะ/ มีววรรณยุกต์เอกกำกับ ข้าว ออกเสียงยาว /อา/ มีพยัญชนะสะกด /ว/ (รูปกับเสียงตรงกัน)
ข้อ ๔ จำ ออกเสียงสั้น /อะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) นง ออกเสียงสั้น /โอะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) จำ ออกเสียงสั้น /อะ/ (รูปกับเสียงตรงกัน) หน่าย ออกเสียงยาว /อา/ มีเสียงพยัญชนะสะกด /ย/ (รูปกับเสียงตรงกัน)
........................
ข้อสอบข้อนี้ เกี่ยวกับ เสียงสระในภาษาไทย ครูภาษาไทยยุคเก่า (ครูพี) และครูภาษาไทยยุคใหม่(???) ต้องสอนไวยากรณ์เก่าเหมือนเดิม แต่ตัวอย่างคำเกิดขึ้นใหม่ไม่สิ้นสุด อาจจะมีไวยากรณ์ใหม่เพิ่มก็เป็นได้ ต้องเตรียมรับมือกับข้อสอบโอเน็ตให้ดี
วกกลับมาเรื่องที่กำลังถกกันอยู่ค่ะ แหะ ๆ กินข้าวก่อนนะคะ... ถ้ามีข้อความใดคลาดเคลื่อน แนะนำด้วยค่ะ
พี.พูนสุข
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 10:44:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 10:44:AM » |
ชุมชน
|
ในมุมมองผม ซึ่งไม่ได้เรียนด้าน ภาษา เป็นหลัก แต่ได้มีประสบการณ์ไปทั่วไทย และว่าตามประวัติศาสตร์ที่ได้อ่านพบมาทั้งภาษาไทย และอังกฤษ
ขอยืนยันว่า ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละชุมชน เขายึดเสียงเป็นหลัก ยิ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนขีดเขียนหนังสือ เสียงเป็นหลักสำคัญที่หล่อหลอมชุมชน
แต่คนเราทุกเผ่าพันธุ์มีดนตรีในหัวใจ จึงมีการเคาะจังหวะ แล้วจึงตามมาด้วยท่วงทำนอง เกิดเป็นบทเพลง แล้วจึงมีการขีดเขียน มีร้อยกรองคำประพันธ์ที่มีรูปแบบซับซ้อนตามมา
(การจดจารเป็นวัฒนธรรมชนชั้นปกครอง ได้สร้างภาษาให้เข้าถึงยาก เทียบได้ระหว่าง บาลี กับ สันสกฤต ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ คำว่า สํสฺกฤต (संस्कृत) แปลว่า "กลั่นกรองแล้ว" ส่วนคำว่า สํสฺกฤตา วากฺ (संस्कृता वाक्) จะใช้เพื่อเรียก "ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว" ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ จากวิกิพีเดีย)
การใช้เสียงนั้น ผู้ใช้ก็จะเน้นความเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาที่พวกเขาพบเจอ คุ้นเคย การออกเสียง สั้นยาว หนักเบา จึงเกิดขึ้นตามอารมณ์ความรู้สึกขณะพูดเป็นสำคัญ
เมื่อผมได้พบครูเพลงตามภาคต่างๆ หรือแวดวงขับร้องในศาสนาคริสต์ พบว่ามีลักษณะเหมือน ๆ กัน คือ ในคำ คำเดิมนั้น ๆ จะออกเสียง สั้นยาว หนักเบา ให้ไพเราะลื่นไหลเป็นสำคัญ ไม่มีเกณฑ์ตายตัว เน้นให้ฟังเพราะ เข้าใจกันได้ (เกิดการเอื้อนเสียงขึ้นในการขับร้องเพลง คงไม่มีครูเพลงคนใดให้ศิษย์ร้อง "คนเรารักกันยาก" ตามโน้ต ซึ่ง "ยาก" จะกลายเป็น "อยาก" 555)
สรุป น้ำ ใช้ได้แน่นอน (จะอ่านแบบใด ก็มุ่งให้สื่อสารเข้าใจกันได้ และฟังไพเราะ) ขอบคุณครับ
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 10:59:AM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 10:59:AM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณน้องเจ้าของกระทู้ คุณพัน และทุก ๆ ท่านที่มาร่วมแลกเปลี่ยนกัน สุดยอด ผมได้ความรู้อีกเป็นกะละมังเลย ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับแนวคิดของท่าน Toshare มาก ๆ และผมก็รับได้ด้วย หากจะใช้สระเสียงสั้นกับยาวมาสัมผัสกัน เช่น ใจ กับ คลาย เพราะเวลาเราขับทำนองเสนาะหรือร้องเป็นเพลง เราสามารถปรับความสั้นยาวของเสียงให้ใกล้เคียงกันได้ แต่...คงต้องเอาไว้ดูไว้อ่านคนเดียว ไปให้ครูหรือคนอื่น ๆ ดู...มีหวังโดนถล่มเละแน่ ๆ ศรีเปรื่อง
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 11:17:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 11:17:AM » |
ชุมชน
|
ขอเล่าเรื่องขำ ๆ เกี่ยวกับ เสียง อีกเรื่องนะครับ
ผมมีเพื่อนพุทธหลายคนที่ชอบฟังเพลงประสานเสียง เขาจึงมักไปโบสถ์ด้วย วันหนึ่ง หลังเลิกพิธี มีคนหนึ่งถามว่า นี่ ๆ ศาสนาเธอมีแต่แพะ ๆ แกะ ๆ ไม่ใช่หรือ ผมก็ตอบว่าใช่ แล้วมีปัญหาอะไร เขาตอบว่า แล้วทำไมมี "ม้าลาย" ด้วย ผมก็ว่า ไม่มีแน่ ๆ เขาว่าแล้วเพลงสุดท้ายทำไมมี ผมล่ะงงไปเลย ต้องเข้าไปเปิดหนังสือเพลง 555 เนื้อเพลงมีว่า "มิทรงช่วยต้องม้วยมลาย" แต่ลูกหลานเขาไปเคร่งที่ตัวโน้ตมากเกินไป ร้องตามโน้ตจึงเป็นเรื่อง 555 เวลาผมสอนเพลงนี้ จะให้เขา ลดโน้ต "มะ" ลง แล้วไปเพิ่มที่ "ลาย" เพื่อให้ฟังได้เป็น "มลาย"
นี่คงเป็นอีกตัวอย่างขำ ๆ เรื่อง "สั้นยาว" ของเสียงอ่าน 555 ====
แฮะ ๆ เจอประเด็นคุณศรีเปรื่อง "ต้องเอาไว้ดูไว้อ่านคนเดียว" เลยต้องขอเพิ่มเติม
ไม่ต้องดูต้องอ่านคนเดียวดอกครับ 555 (ดอก ภาษาเขียนแบบ สูงวัย 555 ภาษาพูดเขาก็ว่า "หรอก" กันทั้งนั้น)
กรณีที่ผมยกมา ถ้าครูสอนขับร้องเพลงคนใด สอนให้ร้องตามโน้ต ผมยืนยัน นั่งยัน นอนยัน ไม่ยอมเด็ดขาด เหมือนศิษย์ครูเอื้อ ผมไม่เคยได้ยินใครร้อง "รักกันอยาก" เลย ครูเอื้อท่านก็คงไม่ยอมแน่ ๆ 555
สรุปคนเป็น ครู ควรมีความเข้าใจโลก เข้าใจชีวิตให้ดี ๆ ไม่ใช่แต่กอดตำรา อย่างที่เรามีปัญหาด้านการศึกษา ผมว่าก็เป็นทำนองนี้แหละครับ "ติดยึด" เกินไป
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 11:41:AM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 11:41:AM » |
ชุมชน
|
*เชิญชวนชมช่อไม้ โรงเรียน งามเด่นเพราะแวะเวียน รดน้ำ สูงตระหง่านตะเคียน ตะแบก พิศเพ่งแลเลิศล้ำ จึ่งชี้ชวนชม*
ประเด็น..โคลงบทนี้ สัมผัส น้ำ กับ ล้ำ ผิดหรือถูก เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
นพ
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 12:33:PM |
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,104
ทิวาฉาย ณ ปลายผา
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 12:33:PM » |
ชุมชน
|
*เชิญชวนชมช่อไม้ โรงเรียน งามเด่นเพราะแวะเวียน รดน้ำ สูงตระหง่านตะเคียน ตะแบก พิศเพ่งแลเลิศล้ำ จึ่งชี้ชวนชม* พันทอง พี่ว่า.. น้องพันแต่งโคลงบทนี้ได้ถูกต้องแล้ว โดยยึดแบบบรรพกวี ตามที่คุณพรายม่านยกตัวอย่าง หรือแม้แต่กวีกวีรัตนโกสินทร์ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ก็ใช้ค่ะ
๑.ล่องสะเปาเข้าติด ตามโคม โสมส่องคันฉ่องโฉม ฉาบน้ำ ผางประทีปประยิบโลม ลอยพักตร์ ลอยปะอุระช้ำ ช่วยรู้ใจประสงค์ ("ลอยกระทง" - คำหยาด)
๒. เดือนลอยขึ้นทิวฟ้าขึ้นมาแล้ว ประกายแพรวพราวระยับจับกระแส ไกลแสนไกลในสายหมอกระลอกแร เรืองร่างแหหิ่งห้อยพร้อยไม้น้ำ
ในดงดึกลึกเร้นเห็นทิวเขา เป็นเงาเงางำทับชระอับอ่ำ หมู่ยางยูงยืนซึมอยู่ครึ้มคล้ำ ยะเยียบฉ่ำเฉียบหนาวอยู่ราวไพร ("คืนหนึ่งในแควน้อย" - คำหยาด) อีกบทหนึ่ง ของ อังคาร จันทาทิพย์ (กวี รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ปี ๒๕๕๔) จากเรื่อง นาค : ตำนานแม่น้ำโขงอีกร้อยปีถัดไป...
จากฟ้าสูงต้นสาย สุดปลายน้ำ การค้างำครอบเงื่อนไขไม่หยุดหย่อน ทุนสะเทือนเคลื่อนฐานรุกธารสะท้อน ความยอกย้อนแผ่ขยายทลายทะลวงตัวอย่างข้างต้นนี้ พอจะตัดสินไดัหรือไม่ว่า.. ใช้คำว่า น้ำ ส่งสัมผัส และรับสัมผัสด้วยคำว่า ล้ำ พี. พูนสุข
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 02:34:PM |
|
|
|