31 กรกฎาคม 2013, 06:50:PM |
NongNoo
LV1 เด็กน้อยอ่านกลอน
คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3
|
|
« เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 06:50:PM » |
ชุมชน
|
ช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพ ให้หนูหน่อยนะค่ะ เรื่องเกี่ยวกับ การชมธรรมชาติในโรงเรียน พันธุ์ไม้ต่างๆ ดอกไม้ ต้นไม้ และสมุนไพร ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ ๑ บทค่ะ ขอบคุณมาก ๆ น่ะค่ะ
|
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 07:21:PM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 07:21:PM » |
ชุมชน
|
คืองานครูส่งให้............แบบเรียน หวังว่าศิษย์หัดเขียน.......ต่อได้ ตามแบบอย่างพากเพียร...สานต่อ ขอแต่งนำมาให้...........ก่อนนั้นลองดู.
|
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 07:44:PM |
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 08:10:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 08:10:PM » |
ชุมชน
|
๐มีหลายคำครับที่เข้าใจผิดทำให้เวลาแต่งกลอนจะเพี้ยนสัมผัสได้
คุณพันทองเข้าใจถูกต้องแล้วครับ คำว่าน้ำ สะกดด้วย สระอำ ล้ำ ก็สะกดด้วยสระอำเช่นกันครับ
เช่นคำว่า ไม้ สะกดด้วยสระไอ ไม่ใช่สระอาแล้วมีแม่เกยกำกับ เช่น ร้าย หรือคล้าย แต่เวลาอ่านจะอ่านยาวเหมือนๆกัน ผมว่าเรื่องแบบนี้คุณครูทราบอยู่แล้วล่ะครับ
ขนาดเราแต่งแบบมือสมัครเล่นยังทราบเลย
รอฟังความเห็นท่านอื่นๆดูครับผม
-เพิ่มเติม ถ้าพิจารณาโดยขั้นที่สูงขึ้นไปอีกคือ เมื่อความถูกต้องของไวยากรณ์ตรงเป๊ะแล้ว มาดูเรื่องความสละสลวยของถ้อยคำที่ใช้ (โดยอาจอิงจากเสียงเวลาอ่านทำนองเสนาะก็ได้). ผมคิดว่าการอ่านคำว่าน้ำกับล้ำ เท่าที่ผมเคยเปิดฟังในเว็บที่อ่านทำนองเสนาะ เสียงไม่เพี้ยนกันมากนะครับ เมื่อกังวลตรงนี้จะเปลี่ยนคำ ที่เป็นสระอำ ไม้โท คำอื่น ได้แก่ กล้ำ ค้ำ จ้ำ ง้ำ ช้ำ ซ้ำ ถ้ำ ป้ำ ย้ำ ห้ำ(หั่น) อ้ำ เพื่อให้ออกเสียงสั้นเหมือนกันก็ต้องไปดูเนื้อความที่แต่งว่าความหมายมันคล้อยตามกันไหม เท่าที่ผมดูคำอื่นๆ ความหมายอาจจะไม่ดีเท่าที่คุณพันทองแต่งด้วยซ้ำ ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยน ต้องเปลี่ยนทั้งประโยคและดีกว่าเก่า ลำพังเปลี่ยนเพราะเสียงน้ำ กับล้ำ อย่างเดียวนี่ผมเองไม่ค่อยเห็นด้วยนัก เพราะตัวอย่างการอ่านทำนองเสนาะก็มีให้เห็นบ่อยๆที่อ่านคำว่าน้ำได้ไพเราะ เพราะสระอำ ไม้โท ก็มีแต่คำว่าน้ำเท่านั้น ที่อ่านยาว และคำว่าน้ำจะหาคำไวพจน์ไหนมาแทนที่ลงท้ายด้วยไม้โทนี่ เท่าที่ผมทราบ ไม่มีเลยนะครับ ไม่เหมือนคำว่าผู้หญิงที่ลงท้ายด้วยไม้โท มีตั้งหลายคำ เช่น น้อง, ยอดสร้อย, อ่อนไท้, แน่งน้อย เป็นต้น
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 08:23:PM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 08:23:PM » |
ชุมชน
|
มีแบบนี้ด้วยหรือ ไม่เคยทราบมาก่อน ขอรอฟังความเห็นจากทุกท่านด้วย นพ
|
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 08:24:PM |
ไพร พนาวัลย์
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 2083
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,422
นักร้อง
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 08:24:PM » |
ชุมชน
|
เรื่องนี้ต้องขอให้คุณ Nongnoo ช่วยนำความเห็นของคุณพันทอง และคุณไร้นาม ไปเรียนให้คุณครูภาษาไทย ขอย้ำ คุณครูภาษาไทยนะครับ ขอเรียนเชิญให้ท่านช่วยอธิบายมาให้ละเอียดหน่อยเถิดว่า คำว่า น้ำ กับล้ำ มันคนละสระได้ยังไงกัน ในเมื่อใช้ สระอำ เหมือนกัน จะได้ช่วยเปิดหูเปิดตาชาวเราที่เข้าใจอย่างนี้ ได้หูตาสว่างกันเสียที งั้นคำว่า ได้ กับ ไป ก็คงคนละสระ และ คำว่า ไม้ กับ ไหม้ ก็คงคนละสระเหมือนกัน ใช่ไหมครับ??
ลุงไพร (อ่านว่า พราย ซะดีมั้ง?)
|
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 08:39:PM |
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 08:42:PM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 08:42:PM » |
ชุมชน
|
อืมม.... เป็นเรื่องมุมมองของครูท่านนั้นแล้วล่ะครับ ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเร็วมาก ๆ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา (หลังจากตั้งประเทศตามแนวคิดของชาติตะวันตก) อย่างคำว่า "ข้าว" ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน เมื่อก่อนก็เขียนเป็น "เข้า" แล้วก็ออกเสียงเป็น "เข้า" จริง ๆ ด้วย คำว่า "บรรเทา" เมื่อก่อนก็เขียนเป็น "บันเทา" คำว่า "เป็น" เมื่อก่อนก็ไม่มีไม้ไต่คู้ "เปน" คำว่า "อักโข" ที่แปลว่า "มาก" ก็ทอนรูปมาจาก "อักโขภิณี" คำว่า "พิศดาร" เมื่อก่อนแปลว่า "ละเอียดลออ" เป็นความหมายในทางบวก เดี๋ยวนี้เราก็ใช้กันเกร่อในความหมายทางลบ คือ "แปลก,พิลึก" (จำได้ว่าผมเคยอ่านหนังสือเก่าเล่มหนึ่งมีส่วนของเนื้อความว่า "ตำรานี้ได้อรรถาธิบายความโดยพิศดาร") ฯลฯ ส่วนคำว่า "น้ำ" จริง ๆ เราต้องอ่าน "น้ำ" ตามสระของมัน แต่ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็อ่านเป็นเสียงที่ก้ำกึ่งกันระหว่าง "น้ำ" กับ "น้าม" จริง ๆ นั่นแหละ ครูท่านนั้นคงกลัวว่าเวลาน้องเขาเอาไปขับทำนองเสนาะมันจะหย่อนไพเราะ เพราะมันเสียงสระมันไม่ตรงกันจริง ๆ (มั้ง) (แฮ่ ๆ พยายามมองแง่บวก)
|
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 08:47:PM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 08:47:PM » |
ชุมชน
|
เราเริ่มงอสระอง งงแล้ว น้ำ อ่านว่าน้าม แต่ ค้ำ อ่านว่า คั้ม แล้วน้ำอ่านว่า นั้มไม่ได้หรือ คและน อักษรต่ำด้วยกันใช้สระอำ วรรณยุกต์โทเมือนกัน ไปทางเสียงเดียวกัน แล้วมาออกเสียงสั้นยาวต่างกันได้ไง หรือว่า ครูสอนไปแนวนั้น แต่เราแต่งให้เขาไปตามแบบของเรา จึงเป็นคนละมุมมองกัน
นพ
|
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 08:52:PM |
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 09:02:PM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 09:02:PM » |
ชุมชน
|
เราเริ่มงอสระอง งงแล้ว น้ำ อ่านว่าน้าม แต่ ค้ำ อ่านว่า คั้ม แล้วน้ำอ่านว่า นั้มไม่ได้หรือ คและน อักษรต่ำด้วยกันใช้สระอำ วรรณยุกต์โทเมือนกัน ไปทางเสียงเดียวกัน แล้วมาออกเสียงสั้นยาวต่างกันได้ไง
นพ
คำว่า "น้ำ" ก็เป็นภาษาที่เกิดการเพี้ยนเสียง เหมือนกับคำว่า "เข้า" ที่โดนเปลี่ยนเป็น "ข้าว" ติดที่ "น้ำ" ยังไม่มีการแก้ไขรูปให้ตรงกับเสียงตามสมัยนิยม ในแง่ของหลักภาษาเรายังอ่านเป็น "นั้ม" ได้ (แต่ออกเสียงเป็น "นั้ม" คนที่ฟังเราเขาอาจจะงงก็ได้นะครับ เพราะสมัยนิยมอ่านเป็น "น้าม" แล้วจริง ๆ) ศรีเปรื่อง
|
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 09:52:PM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 09:52:PM » |
ชุมชน
|
เข้ามาอ่านงานคุณพัน โดยละเอียดอีกที ผมว่าคุณพันแต่งให้น้องเขางดงามเกินไปหรือเปล่า? ครูเขาถึงคาดคั้นให้ปรับปรุงงานให้เป๊ะยิ่งขึ้นไปอีก เพราะในแง่หลักภาษาแล้ว งานคุณพันไม่มีอะไรผิดเลย ศรีเปรื่อง
|
|
|
|
31 กรกฎาคม 2013, 11:45:PM |
พรายม่าน
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 11:45:PM » |
ชุมชน
|
กลับมาอ่านกลอน ก็เจอกรณีเข้าพอดี ผมว่าการศึกษาของเราน่าเป็นห่วงนะครับ โดยเฉพาะครู ถ้าสระ-อำ ให้อ่านออกเสียงเป็นสระ-อา
เอาตัวอย่างโคลงของบูรพาจารย์มาให้อ่านประกอบครับ
พรายม่าน สันทราย ๓๑ กรกฎ ๕๖
๏ มหานากฉวากวุ้ง คุ้งคลอง ชุ่มชื่นรื่นรุกขีสอง ฝั่งน้ำ คุกคิดมิศหมายครอง สัจสวาดิ ขาดเอย กล้าตกรกเรื้อซ้ำ โศกทั้งหมางสมรฯ
นิราศสุพรรณ สุนทรภู่
๏ นกแร้งบินได้เพื่อ เวหา หมู่จระเข้เต่าปลา พึ่งน้ำ เข็ญใจพึ่งราชา จอมราช ลูกอ่อนอ้อนกลืนกล้ำ เพื่อน้ำนมแรง ฯ
โลกนิติ
๏ หนองบัวบงกชช้อย ชูชวน ชื่นเอย บัวดั่งบัวนุชอวล อ่อนน้ำ กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย ภุมเรศแรมรสกล้ำ กลีบฟ้ายาไฉนฯ
นิราศนรินทร์
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 12:26:AM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 12:26:AM » |
ชุมชน
|
หรืออีกมุมมองหนึ่ง ครูอาจไล่ความผิดถูกจากลูกศิษย์ ว่าเขียนเองหรือเปล่า ให้คำต่างนั้นมา ซึ่งเป็นตำแหน่ง สัมผัส เมื่อไม่สามารถยืนยันให้หนักแน่นได้ แบบว่าลังเล แสดงว่าไม่ได้เขียนเองทั้งหมด ประมาณนี้.....นพ
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 12:40:AM |
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,104
ทิวาฉาย ณ ปลายผา
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 12:40:AM » |
ชุมชน
|
ข้อใดออกเสียงสระยาวทุกคำ ๑. น้ำตาแสงใต้ ๒. ลำน้ำโขงเชี่ยว ๓. คำนำเรื่องข้าว ๔. จำนงจำหน่าย
(แนวข้อสอบ ไทย กข ปี ๒๕๓๑)
พรุ่งนี้เฉลยค่ะ
พี.พูนสุข
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 01:04:AM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 01:04:AM » |
ชุมชน
|
ข้อ 1 ครับ (สงสัยผิดคนแรกเลยนี่) มาตอบกันช้าจัง เลยไม่รู้จะลอกใคร
นพ
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 01:45:AM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 01:45:AM » |
ชุมชน
|
๐ตอบ ก.ไก่ว่าน้ำ ก็ยาว ตากระผมคู่ขาว บ่สั้น แสงที่ส่องพร่างพราว ไกลโน่น นภานา ใต้ล่องแต่ละคราวนั้น เหงือกแห้งกระหาย
๐ข.ไข่โขงเชี่ยวขั้น ขยาดยล ยาวแค่ช่วงข้างบน เขื่อนกั้น ลำโขงจึ่งบ่วน ยาวดอก เหมาะกับคำว่าสั้น เช่นให้เหตุผล
๐ค้นข่าวข้นเรื่องข้าว บ่ยาว ดอกเดอ เขาลบกลบเรื่องราว แทบสิ้น ข่าวน้ำท่วมเมื่อคราว พายุ เข้าเนอ จึงจักยาวด่าวดิ้น มิคล้ายค. ควาย
๐จำนงจำหน่ายล้วน แพงหลาย จะผ่อนยาวก็ผาย หัตถ์ห้าม ราคาค่าเช่าขาย แพงลิ่ว ย่อมเร่งจำนงคร้าม รีบคว้า ง.เงินฯ
(คนขายชื่อจำนงคร้าบบ รับเฉพาะง.เงิน จึงไม่ตอบง. งู)
(ผมจึงตอบตามท่านนพว่า ก.ไก่ ตามเหตุผลที่ยกมา)
*อะ อ้าวฉันทลักษณ์ผิดซะงั้น ง่วงแล้วมั้ง โชคดีที่ใครยังไม่มาเห็น
**(ขออนุญาตแซวคำถามท่านอาจารย์นะครับผม)
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 02:49:AM |
บัณฑิตเมืองสิงห์
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 02:49:AM » |
ชุมชน
|
ข้อ ๑ น่าจะถูกที่สุด แต่ผมมีข้อสงสัยครับ ถ้าเราใช้ 'น้ำ' ในคำประสม จะออกเสียงได้ ๒ อย่าง (ไม่รู้ว่ารู้สึกไปเองหรือเปล่านะครับ) น้ำ - แม่น้ำ ห้องน้ำ สีน้ำ ฯลฯ เวลาออกเสียง 'น้ำ' โดดๆ หรือ อยู่ข้างหลัง คนมักออกเสียงยาว เช่น แม่น้าม ห้องน้าม สีน้าม น้ำ - น้ำมัน น้ำลาย น้ำใจ พอน้อง 'น้ำ' ย้ายมาอยู่ข้างหน้า เวลาออกเสียงจริงๆ เหมือนเรากร่อนเสียงนิดนึง เช่น นั้มมัน นั้มลาย นั้มใจ
สระเสียงสั้นออกเสียงยาวคำอื่นๆ เช่น ไม้ ก็เหมือนกัน ต้นไม้ - ต้นม้าย โต๊ะไม้ - โต๊ะม้าย ไม้เรียว - มั้ยเรียว ไม้กวาด - มั้ยกวาด
เลยสงสัยว่าหากเป็นเช่นนี้แล้ว 'น้ำตา' ข้อที่ ๑ ก็ไม่น่าจะถูกเหมือนกัน มารอเก็บความรู้ครับ
แต่เรื่องสัมผัส 'น้ำ' และ 'ล้ำ' ผมมองว่าถูกแล้วครับ ตามฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ ตำแหน่งนั้นบังคับใช้สัมผัสสระ+เสียงวรรณยุกต์โท ซึ่งก็ถูกต้องตามฉันทลักษณ์แล้ว หรือว่ามีตำราบอกให้ใช้สัมผัสเสียง ผมจะได้จำเสียใหม่ อิอิ
|
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 09:03:AM |
ค.คนธรรพ์
Special Class LV3 นักกลอนผู้มากผลงาน
คะแนนกลอนของผู้นี้ 73
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 145
คำ คำ คำ ค่ำ ค่ำ คำ คำ
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 09:03:AM » |
ชุมชน
|
ข้อสอบ ปี ๓๑ เมื่อ ๒๕ ปีก่อน ถ้าเป็นนักเรียนมัธยมปลายรุ่นนั้น ก็คงจะตอบ ก.ไก่ อย่างไม่ลังเล ถึงร้องเพลงน้ำตาแสงใต้ไม่ได้ ก็น่าจะคุ้นหูกับวรรคแรกที่ว่า “น้ามตาแสงใต้” กันแทบทุกคน หากเป็นปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่โจทย์ข้อนี้จะกลายเป็นโจทก์กล่าวถึงในสื่อออนไลน์ เพราะถ้าถือหลักโครงสร้างพยางค์ของคำ ก็จะแยกเสียงหนักเบาออกมาตามที่คุณบัณฑิตยกตัวอย่างคำในภาษาพูดมาแสดง ทำให้กล่าวได้ว่าตัวเลือกของโจทย์นี้ผิดทุกข้อ อยากเพิ่มเติมเรื่องที่คุณศรีเปรื่องบอกว่า ภาษาไทยเปลี่ยนเร็ว คำยืมสมัยใหม่ ที่สะกดด้วย ล คนร่วมสมัย ออกเสียงต่างกันชัดเจน ข้างซ้ายรุ่นพ่อ ข้างขวารุ่นลูก
ฟุตบอล อ่านว่า ฟุด-บอน ฟุด-บอว บราซิล อ่านว่า บรา-ซิน บรา-ซิว ดีเซล อ่านว่า ดี-เซน ดี-เซว เซนทรัล อ่านว่า เซ็น-ทรัน เซ็น-ทรัว
ไม่อยากบอกเลยว่า ผมออกเสียงข้างซ้ายหรือขวา เฮอะ
ผมของสรุปความคิดเรื่องคำรับส่งสัมผัสในโคลงโคลงสี่สุภาพที่ได้พูดคุยกันอย่างนี้นะครับ เพื่อเป็นประโยชน์ในการอภิปรายต่อไป หากผิดพลาดประการใดช่วยทักท้วงด้วย
๑.ข้อบังคับเสียง ๒.ข้อบังคับรูป อนุโลมเสียง ๓.หลักอ่านทำนองเสนาะ
แค่นี้ก่อนครับ
|
คำ คำ คำ ค่ำ ค้ำ คำ คำ
|
|
|
01 สิงหาคม 2013, 09:18:AM |
Prapacarn ❀
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2013, 09:18:AM » |
ชุมชน
|
|
Take my love, take my land Take me where I cannot stand I don't care, I'm still free You can't take the sky from me..
|
|
|
|