ไม้อ่อนดัดง่าย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
21 พฤศจิกายน 2024, 06:59:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไม้อ่อนดัดง่าย  (อ่าน 6659 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
04 มิถุนายน 2013, 12:40:PM
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 12:40:PM »
ชุมชนชุมชน




ฝูงชนกำเนิดคล้าย    คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ  แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน    กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง     อ่อนแก้ฤาไหว

    พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๕


๐ไม้อ่อนพึงดัดได้   ดังหมาย
ไม้แก่ฤาจักกลาย    กลับได้
เหมือนคนกล่นหญิงชาย   ทุกเหล่า แลพ่อ
วัยอ่อนพึงฝึกไว้       แก่แล้วเกินสอน๐

๐ไก่อ่อนควรจับต้ม   แกงกิน
เนื้อไก่นุ่มชวนยิน    เรียกลิ้ม
ไก่แก่ห่อนถวิล       คิดจับ แกงนา
เนื้อไก่เคี้ยวฤายิ้ม    แก่แล้วเกินแกง๐

๐พลั้งผิดแก้ผิดได้     ดังหมาย
พลั้งผิดแก้ผิดกลาย   ถูกได้
เห็นผิดผิดจนตาย     มิอาจ คืนพ่อ
เห็นผิดเกินแก้ไซร้   ผิดซ้ำเอือมเตือน๐


      ผู้แต่ง Orion264(มือขวา)
               ๔  มิถุนายน ๒๕๕๖



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ชลนา ทิชากร, รัตนาวดี, choy, saknun, แป้งน้ำ, panthong.kh, รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์, Shumbala, ...เป็ดน้ำ..., ไพร พนาวัลย์, Prapacarn ❀

ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่
04 มิถุนายน 2013, 02:19:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #1 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 02:19:PM »
ชุมชนชุมชน

มโนจินต์พร่างแก้ว         ปรารถนา
ผิพรั่นบ่ชูกล้า            ห่มเถ้า
คั้นแท้แห่งปัญญา         แพร้วทิพย์
สิผ่านอวิชช์ก้าว         มิ่งฟ้าจักรวาลฯ

ขังอัตตาเขื่องแท้         มโนคติ
ตรึกเพ่งสมาธิ         ผ่านข้าม
ปัญญาเร่งช่อผลิ         แก้วค่า
ใครกริ่งเทวาคร้าม         ร่วงรุ้งมณีเสมอฯ

อันความรู้แหล่งหล้า         ทศทิศ
ปราชญ์เคร่งจารลิขิต      แก่นซึ้ง
บอกแจ้งสิ่งใดพิษ         เปื่อยเน่า
ผิบ่เชื่ออย่าขึ้ง         นิ่งนั้นดีเสมอฯ

เนื้อเหล็กสนิมกร่อนแท้      เนื้อใน
กัดแก่นแข็งเหล็กวาย      ป่นปี้
นพคุณค่าแก้วไซร้         สนิมพ่าย
เช่นดั่งเปลือกกระพี้         แกร่งสู้ไม้ไฉนฯ


***นี่คือ โคลงชิ้นแรกๆ ที่เขียนจากความทรงจำ (ไม่น่าเกิน 10 ชิ้นแรกในชีวิต เขียนในช่วงปี 2530 มากกว่า หรือน้อยกว่าบวกลบ 5 ปี ไม่แน่ใจ) คือเขียนประมาณนี้ เป็นการผสมผสานระหว่างจารีตนิยมและอิทธิพลของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ (ท่านได้ซีไรต์ปี 2529) หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยกลับไปเขียนแนวนี้สักเท่าไร เขียนประมาณเล่าเรื่องที่พบเห็นทั่วไปในชีวิตจริงๆ ที่ “ตา” เห็น และ “หัวใจ” สัมผัสได้ แล้ว “กลั่น” มาเป็น “อารมณ์กวี” สื่อออกไปยังผู้เสพ

***นักกลอนมุ่งความไพเราะ, อ่านสละสลวยเพลิดเพลิน, เน้นความเริงรมย์แห่งสุนทรีย์, งามทั้งฉันทลักษณ์, ภาษา, สัมผัสเสียง/คำ, เสียงดนตรี,จังหวะจะโคน ฯลฯ นักกลอนจะได้ทั้งหมด นี้คือ ความสามารถพิเศษของนักกลอนไทยแต่ละท่าน แต่กวีไม่ใช่ (นักกลอนส่วนหนึ่งก็เป็นกวี)

***กวีเลือกหยิบสิ่งเดียวกันนั้นถ่ายทอดออกมาเป็น “ภาษาของอารมณ์กวี” ที่ไม่จำเป็นต้องสละสลวยสวยงาม หยาดเยิ้ม หยดย้อย แต่กวีเขียนความจริงที่เขาใช้อารมณ์ของตัวเองเข้าไปจับต้องสัมผัสแล้วกลั่นสิ่งที่เข้ามากระทบนั้นๆ ร้อยเรียงออกมาด้วยคำที่ “ง่ายงาม” อีกทั้งชั้นเชิง ลีลา ก็ไม่สละสลวยแบบนักกลอน, บางครั้งอ่านติดๆ ขัดๆ ตะกุกตะกักด้วยซ้ำไป แต่ “นัยยะ” ที่ได้นั้นคือ “คุณค่า” ที่กวีต้องการสื่อกับคนเสพ


สนอง เสาทอง
4 มิถุนายน 56

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์, พยัญเสมอ, Shumbala, รัตนาวดี, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, Prapacarn ❀

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
04 มิถุนายน 2013, 04:51:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #2 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 04:51:PM »
ชุมชนชุมชน

นกร้างคู่...ครวญเหงา

นกน้อยมาร้างคู่
เกาะเจ่าอยู่เดียวเซื่องหงอย
ไร้คู่พร้องคลอขับร้อย
ใจละห้อยละเมอหาคู่ใจ

น้ำคำนกร้างคู่เว้าวอน
เอ่ยอ้อน...จิ๊บ...จิ๊บ...พร่ำไห้
'...ว่าเหงาจิต...ว่าเหงากาย...'
วิโยคใจระทมโศกท้อ

เสียงนกเศร้าเอื้อนเฉลย
จิ๊บ...จิ๊บ...อกเอ๋ยอนาถหนอ
ครวญเพ้อ, รำพันพ้อ
เหี่ยวห่อ ร้างคู่...คว้างฤทัย

น้ำคำนก...สะอื้นเครือ
'...คงเหงาเหลือ...คงเหงาร้าย...'
ไร้คู่แปงรังทอหญ้าใย
อุ่นอาศัย, ประสาอกนกน้อย

นกร้างคู่...ครวญเหงา
จิ๊บ...จิ๊บ...เนิบเบา...ค่อยค่อย
ไร้คู่ขับคลอขานสร้อย
น้อยอกน้อยใจชะตาตน

นกเอยคงเหงา...เปลี่ยวอก
ไร้คู่นกเคล้าพะนอร่วมหน
คงเหงาร้าย, ร้างคู่เคียงกมล
ในเหงาหม่นจมเจ่าอยู่ลำพังฯ


***ข้อสังเกต

***ผิดฉันทลักษณ์เยอะมาก ถ้าส่งเข้าประกวด “กลอน” กรรมการอ่านไม่เกิน 2 บทโยนทิ้งถังขยะไม่รับพิจารณา แต่นี่เป็นบทกวีที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์

***ไม่มีความสละสลวยสวยงาม, ไม่มีชั้นเชิง ลีลา ไม่พลิ้ว หรือใดๆ ทั้งสิ้น เนิบๆ ช้าๆ ไปเรื่อยๆ

***แต่อ่านแล้ว รู้สึก “เหงาลึกในภวังค์อารมณ์ไหม” ตรงนี้ต่างหากที่ถูกนำมาพิจารณา

 
สนอง เสาทอง
นกร้างคู่...ครวญเหงา, กวีนิพนธ์ อุ่นลมรัก พัดคืนหวน มาอุ่นใจ, กรุงเทพฯ, วิภาษา, 2554, หน้า 105-106

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พยัญเสมอ, บูรพาท่าพระจันทร์, รพีกาญจน์, รัตนาวดี, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, Prapacarn ❀, Shumbala

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
04 มิถุนายน 2013, 06:23:PM
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« ตอบ #3 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 06:23:PM »
ชุมชนชุมชน




                        ก่อนอื่นเลยคงต้องขอทำความเข้าใจกับคุณสนองก่อน(คือผมก็ยังงงๆว่านี่ตกลงผมคุยอยู่กับคุณสนองหรือคุณช๊อยกันแน่ ?)
เท้าความเรื่องที่คุณสายใยทักท้วงคุณสนอง(หรือคุณช๊อย แต่ต่อจากนี้เรียกว่าคุณสนองก็แล้วกัน)เรื่อง ฟ้าต้น  ซึ่งแกก็ไม่ยอมให้เหตุผลใดๆ
ผมเห็นคุณสนองไปยกเรื่องความหมายของคำต่างๆมาอธิบายแสดงว่าไม่เข้าใจเรื่องที่คุณสายใยทักท้วง  ด้วยความปรารถนาดีจากใจโดย
ที่ไม่ได้มีเจตนาจับผิดแต่อย่างใดผมก็ได้ส่ง MP บอกให้คุณสนองได้ทราบว่าที่เขาทักท้วงนั้นคือเรื่องใด  แต่สิ่งที่ผมคาดไม่ถึงก็คือ
คุณสนองได้ศึกษามาจากสำนักที่สอนว่าเรื่องตำแหน่งบังคับเอกเจ็ดโทสี่ของโคลงสี่สุภาพนั้นไม่ใช่ถือเป็นข้อเคร่งครัด  นี่เองที่ทำให้ผม
หมดข้อข้องใจว่าเหตุใดคุณสนองโดนทักแล้วจึงไม่ทราบ  สาเหตุก็คือตัวคุณสนองไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องผิดนั่นเอกที่วางรูปวรรณยุกต์โท
ไว้ในตำแหน่งที่บังคับวรรณยุกต์เอก
                       ทีนี้ก็มาเข้าประเด็นกัน  ประเด็นที่เป็นปัญหาในเรื่องนี้ก็คือความเห็นไม่ตรงกันว่าตำแหน่งคำที่ ๖ ในบาทที่ ๒ ของโคลงสี่สุภาพนั้น
ใช้รูปวรรณยุกต์โทหรือไม้โทได้หรือไม่ ?


๐๐๐๐๐     ๐๐(๐๐)
๐๐๐๐๐     ๐้
๐๐๐๐๐     ๐๐(๐๐)
๐๐๐๐๐     ๐๐๐๐



                          ซึ่งประเด็นมันก็อยู่ที่ตรงนี้ คือได้หรือไม่เท่านั้น  เราไม่ได้ถกเถียงกันเรื่องใครเป็นกวีใครไม่เป็นกวี   เราไม่ได้ถกเถียงกันเรื่องโคลงดั้น
โคลงสองสุภาพ  โคลงสามสุภาพ  หรือบทประพันธ์ประเภทอื่นเช่นกลอนว่าใครเขียนดีไม่ดี  ใครเก่งไม่เก่ง  หรือผลงานใครได้รับการตีพิมพ์
ผลงานใครไม่ได้รับการตีพิมพ์  แต่เราถก-เถียงกันเรื่องข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพเท่านั้น  จึงป่วยการที่คุณสนองจะไปยกบทกวีประเภทอื่นๆ
มาเพื่อแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถเพื่อให้ผมยอมรับ  เพราะประเด็นที่พูดกันก็คือ คำที่ ๖ บาทที่ ๒ ของโคลงสี่สุภาพใช้รูปวรรณยุกต์โท
หรือไม้โทได้หรือไม่  เมื่อผมยืนยันว่าใช้ไม่ได้  คนอื่นๆบอกว่าใช้ไม่ได้  ตำราฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพบอกว่าใช้ไม่ได้  แต่คุณสนองบอกว่าใช้ได้
ก็เป็นอันว่าความเห็นไม่ตรงกัน  ซึ่งผมจะขอยกเอาคำพูดของคุณสนองที่เคยโพสต์ไว้เกี่ยวกับข้อตกลงของ แหลม มอริสัน  ที่มีต่อ น็อต นุติ เขมโยธิน
ว่า เขาทั้งสองตกลงจะพูดกันเฉพาะเรื่องดนตรี โดยไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องอื่น  ผมเองก็เช่นกัน  คือเรื่องที่ผมต้องพูดกับคุณสนองก็คือ
เรื่องฉันทลักษณ์บังคับของโคลงสีสุภาพ  ไม่เกี่ยวกับคำประพันธ์ประเภทอื่นๆ  ดังนั้นต่อให้คุณสนองจะไปยกตัวอย่างบทประพันธ์ใดๆขึ้นมาพูด
เพื่อสนับสนุนว่าตนเองถูกมันก็ไม่ได้มีความหมายใดๆ เพราะมันเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน  ส่วนบทประพันธ์ที่คุณสนองได้ยกมานั้น
ผมก็ยอมรับว่าดี  และยอมรับในคุณวุฒิและวัยวุฒิของคุณสนอง  แต่มันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับโคลงสี่สุภาพที่เราถกเถียง  ประเด็นอยู่แค่ว่า
ใช้ได้หรือไม่ เท่านั้น
                         หวังว่าการที่ผมออกมาแสดงความคิดเห็นนั้นคงจะไม่สร้างความขุ่นเคืองอะไรให้คุณสนองนะครับ  ก็อย่างที่บอกแต่ต้นว่า
ที่ต้องบอกไปเพราะเห็นคุณสนองไม่เข้าใจว่าถูกทักท้วงเรื่องอะไร  จึงได้ยอมสละเวลาเฉลยให้ ไม่ได้มีเจตนาจะจับผิดอะไรเลยจริงๆ


                                                                                                      ด้วยความนับถือ

                                 
                                                                                                   
                                                                            Orion264(มือขวา)






ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, รัตนาวดี, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, Prapacarn ❀, Shumbala

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่
04 มิถุนายน 2013, 09:29:PM
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« ตอบ #4 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 09:29:PM »
ชุมชนชุมชน




                        ก่อนอื่นเลยคงต้องขอทำความเข้าใจกับคุณสนองก่อน(คือผมก็ยังงงๆว่านี่ตกลงผมคุยอยู่กับคุณสนองหรือคุณช๊อยกันแน่ ?)
เท้าความเรื่องที่คุณสายใยทักท้วงคุณสนอง(หรือคุณช๊อย แต่ต่อจากนี้เรียกว่าคุณสนองก็แล้วกัน)เรื่อง ฟ้าต้น  ซึ่งแกก็ไม่ยอมให้เหตุผลใดๆ
ผมเห็นคุณสนองไปยกเรื่องความหมายของคำต่างๆมาอธิบายแสดงว่าไม่เข้าใจเรื่องที่คุณสายใยทักท้วง  ด้วยความปรารถนาดีจากใจโดย
ที่ไม่ได้มีเจตนาจับผิดแต่อย่างใดผมก็ได้ส่ง MP บอกให้คุณสนองได้ทราบว่าที่เขาทักท้วงนั้นคือเรื่องใด  แต่สิ่งที่ผมคาดไม่ถึงก็คือ
คุณสนองได้ศึกษามาจากสำนักที่สอนว่าเรื่องตำแหน่งบังคับเอกเจ็ดโทสี่ของโคลงสี่สุภาพนั้นไม่ใช่ถือเป็นข้อเคร่งครัด  นี่เองที่ทำให้ผม
หมดข้อข้องใจว่าเหตุใดคุณสนองโดนทักแล้วจึงไม่ทราบ  สาเหตุก็คือตัวคุณสนองไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องผิดนั่นเอกที่วางรูปวรรณยุกต์โท
ไว้ในตำแหน่งที่บังคับวรรณยุกต์เอก
                       ทีนี้ก็มาเข้าประเด็นกัน  ประเด็นที่เป็นปัญหาในเรื่องนี้ก็คือความเห็นไม่ตรงกันว่าตำแหน่งคำที่ ๖ ในบาทที่ ๒ ของโคลงสี่สุภาพนั้น
ใช้รูปวรรณยุกต์โทหรือไม้โทได้หรือไม่ ?


๐๐๐๐๐     ๐๐(๐๐)
๐๐๐๐๐     ๐้
๐๐๐๐๐     ๐๐(๐๐)
๐๐๐๐๐     ๐๐๐๐



                          ซึ่งประเด็นมันก็อยู่ที่ตรงนี้ คือได้หรือไม่เท่านั้น  เราไม่ได้ถกเถียงกันเรื่องใครเป็นกวีใครไม่เป็นกวี   เราไม่ได้ถกเถียงกันเรื่องโคลงดั้น
โคลงสองสุภาพ  โคลงสามสุภาพ  หรือบทประพันธ์ประเภทอื่นเช่นกลอนว่าใครเขียนดีไม่ดี  ใครเก่งไม่เก่ง  หรือผลงานใครได้รับการตีพิมพ์
ผลงานใครไม่ได้รับการตีพิมพ์  แต่เราถก-เถียงกันเรื่องข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพเท่านั้น  จึงป่วยการที่คุณสนองจะไปยกบทกวีประเภทอื่นๆ
มาเพื่อแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถเพื่อให้ผมยอมรับ  เพราะประเด็นที่พูดกันก็คือ คำที่ ๖ บาทที่ ๒ ของโคลงสี่สุภาพใช้รูปวรรณยุกต์โท
หรือไม้โทได้หรือไม่  เมื่อผมยืนยันว่าใช้ไม่ได้  คนอื่นๆบอกว่าใช้ไม่ได้  ตำราฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพบอกว่าใช้ไม่ได้  แต่คุณสนองบอกว่าใช้ได้
ก็เป็นอันว่าความเห็นไม่ตรงกัน  ซึ่งผมจะขอยกเอาคำพูดของคุณสนองที่เคยโพสต์ไว้เกี่ยวกับข้อตกลงของ แหลม มอริสัน  ที่มีต่อ น็อต นุติ เขมโยธิน
ว่า เขาทั้งสองตกลงจะพูดกันเฉพาะเรื่องดนตรี โดยไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องอื่น  ผมเองก็เช่นกัน  คือเรื่องที่ผมต้องพูดกับคุณสนองก็คือ
เรื่องฉันทลักษณ์บังคับของโคลงสีสุภาพ  ไม่เกี่ยวกับคำประพันธ์ประเภทอื่นๆ  ดังนั้นต่อให้คุณสนองจะไปยกตัวอย่างบทประพันธ์ใดๆขึ้นมาพูด
เพื่อสนับสนุนว่าตนเองถูกมันก็ไม่ได้มีความหมายใดๆ เพราะมันเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน  ส่วนบทประพันธ์ที่คุณสนองได้ยกมานั้น
ผมก็ยอมรับว่าดี  และยอมรับในคุณวุฒิและวัยวุฒิของคุณสนอง  แต่มันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับโคลงสี่สุภาพที่เราถกเถียง  ประเด็นอยู่แค่ว่า
ใช้ได้หรือไม่ เท่านั้น
                         หวังว่าการที่ผมออกมาแสดงความคิดเห็นนั้นคงจะไม่สร้างความขุ่นเคืองอะไรให้คุณสนองนะครับ  ก็อย่างที่บอกแต่ต้นว่า
ที่ต้องบอกไปเพราะเห็นคุณสนองไม่เข้าใจว่าถูกทักท้วงเรื่องอะไร  จึงได้ยอมสละเวลาเฉลยให้ ไม่ได้มีเจตนาจะจับผิดอะไรเลยจริงๆ


                                                                                                      ด้วยความนับถือ

                                 
                                                                                                   
                                                                            Orion264(มือขวา)








(อ้างถึง)

***ตอบง่ายๆ สั้นๆ เป็นตำแหน่งเสียง "เอก" ที่หากเสียง "เอก" ลงไม่ได้ให้ลง "คำตาย" แทน อย่างที่ท่านสายใยและมือขวาทักท้วงถูกต้องแล้ว ก็อย่างที่บอก ปกติเขียนเน้นโท 4 เอก 1 ตลอด นอกนั้นก็เป็นธรรมชาติที่มันไปเอง อันนี้พลาดไปจริงๆ

***แต่ที่ลงโคลงและบทกวีให้ดูก็เพราะสะกิดใจคำที่มีนัยยะประมาณว่า "ไม้แก่ดัดยาก" ฉันจึง "เอือมเตือน" ซึ่งส่อนัยยะว่า "คุณไม่รู้เรื่องอะไรเลย ดื้อ...จนฉันเอือมเตือนคุณ...." ถ้าคนถือนี่ คำนี้ยิ่งกว่า "การด่ากันด้วยคำหยาบ" ก็เลยลงโคลงที่เคยเขียนไว้ให้ดูว่า เคยเขียนมาและเข้าใจโคลงอยู่แต่ "ฟ้าต้น" นี่พลาดไปจริงๆ ตอนนี้ค้นดูจากตำราแล้วก็อย่างที่บอกแต่ต้นนะแหละ

***ผมค้นต้นฉบับโคลงเก่าๆ ได้ 19 บท (คือเขียนโคลงน้อยมากในรอบกว่า 25 ปี) ส่วนมากเขียนบทกวี ตอนแรกกะว่าจะทยอยลงในคอลัมน์นี้ เพื่อบอกว่า "เขียนได้" และ "เขียนเป็น" ตอนนี้เมื่อมือขวาเปิดประเด็นก็ไม่ต้องเอาของเก่ามาหากินแล้ว เขียนใหม่ดีกว่า "เพราะแนวที่ลงให้ดูหนะ ผมเลิกเขียนไปนานแล้ว" ตอนนี้ก็เขียนอย่างที่อธิบายให้ฟังนะแหละ

***ช้อยกับสนอง เป็นคนละคน ตอนแรกผมแอนตี้พวกไอทีทุกชนิด (เพิ่งไปเปิดใช้อีเมลเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว, ไม่เล่น facebook, twitter คือแอนตี้หมด) ใช้คอมพิวเตอร์แค่พิมพ์ได้ (เขียนมือถนัดกว่า) พอดีช้อยเขาอยากเขียนอะไรเล่นๆ เลยใช้ชื่อ-ที่อยู่ของช้อย เขาก็มีเขียนได้แบบสั้นๆ ตลกๆ คลายเครียด 1-2 บท ยาวกว่านั้นไม่ได้ ที่เห็นยาวๆ นะของผมทั้งนั้น


***คงไม่ต้องถาม-ตอบอะไรกันอีกนะ ผมเป็นคนเขียนแยกประเด็นชัด เพราะอาชีพคนทำหนังสือทั้งชีวิตมันบังคับในตัว บอกตำแหน่ง และชื่อหนังสือก็ได้เพราะผมใช้ชื่อจริงมาตลอดในบ้านกลอนฯ ปัจจุบันผมดำรงตำแหน่ง "ผู้อำนวยการ" นิตยสาร "What Car Audio & Entertainment?" ก่อนหน้านั้นก็เป็น "บรรณาธิการ" มากว่า 15 ปี (หลายเล่ม) ส่วนคอลัมน์ที่ผมเขียนบทกวีเป็นเรื่องเป็นราวล้วนๆ ก็บอกกับมือขวาทางหลังไมค์ไปแล้ว


ขอบพระคุณมือขวาที่ใส่ใจและเป็นสารวัตรวรรณกรรมที่ดี คนวรรณกรรมต้องการคนอย่างท่านสายใย และมือขวานี่แหละ มีอะไรก็ท้วงติงมานะ แต่ประเด็นนี้เป็นอันจบแค่นี้ ผมตอบชัดเคลียร์แล้ว



ด้วยจิตคารวะ

สนอง เสาทอง

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์, ไพร พนาวัลย์, ชลนา ทิชากร, พยัญเสมอ, Prapacarn ❀, Shumbala

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s