10 พฤษภาคม 2013, 10:22:AM |
อริญชย์
|
|
« เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2013, 10:22:AM » |
ชุมชน
|
เลื่อมพรายปีก แมลงทับ ขลับมันขลับ เลื่อมพรายปีก แมลงทับ ขลับมันขลับ แวววาววับ ยามแสงทอง ส่องสาดส่อง ท่ามกลางพฤกษ์ ไพรเรืองรอง กรองม่านกรอง เป็นถิ่นของ แมลงน้อย ลอยล่องลอย
มวลแมกไม้ วิไลพรรณ ฉันเฉิดฉัน รุ้งลาวัณย์ งามพราวพร้อย ย้อยหยาดย้อย สายลมเย็น พัดดงดอย คอยฝนคอย บินไม่ถอย แมลงทับ วับวาววับ
กัดยอดอ่อน สีสดเขียว เคี้ยวเร่งเคี้ยว ไต่เลาะเลี้ยว เคลื่อนขยับ จับก้านจับ กิ้งก่าแดง มองค้อนควับ งับพร้อมงับ แมลงทับ อย่าเพลินกิน บินเถิดบิน ฯ
อริญชย์ ๑๐/๕/๒๕๕๖
ปล.เป็นเพียงจินตนาการแต่งเล่น ๆ ไม่ถูกต้องตามหลักฉันทลักษณ์ ควรอ่านเพื่อความบรรเทิงเท่านั้น แต่ไม่ควรยึดเป็นแบบอย่างเน้อ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, คอนพูธน, พี.พูนสุข, choy, Music, ดุลย์ ละมุน, ดารกะ, รัตนาวดี, Moo Dum, พิมพ์วาส, ชลนา ทิชากร, พยัญเสมอ, กรกช, D, victoria's secret, กังวาน, khuadkao, สะเลเต, สุวรรณ, ยามพระอาทิตย์อัสดง, Shumbala, ไพร พนาวัลย์, yaguza, เนิน จำราย, Prapacarn ❀
ข้อความนี้ มี 25 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
10 พฤษภาคม 2013, 04:28:PM |
Moo Dum
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2013, 04:28:PM » |
ชุมชน
|
แมลงทับ จับไม้ เขียวใบเขียว เรียวหญ้าเรียว เกี่ยวก้อน หินซ้อนหิน ใบร่วงหล่น ปนจม ดินถมดิน รินไหลริน ยินฝนพรั่ง วันทั้งวัน
ยามเบิกบาน มานสุขล้น หมุนวนหมุน หนุนหลับหนุน อุ่นไอ ฝันไกลฝัน ร่วมสองแรง แบ่งปัน กันและกัน พันผูกพัน ฝันให้ ไกลสุดไกล
ไม่อยากจาก พรากยุด รั้งฉุดรั้ง ตั้งใจตั้ง หวังจริง ใหญ่ยิ่งใหญ่ ขอร่วมทุกข์ สุขสอง ใจคล้องใจ ใครมีใคร ไม่เท่า เรามีเรา
Moo Dum
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, พิมพ์วาส, อริญชย์, choy, รัตนาวดี, ชลนา ทิชากร, พยัญเสมอ, กรกช, D, พี.พูนสุข, panthong.kh, victoria's secret, กังวาน, khuadkao, สะเลเต, สุวรรณ, ยามพระอาทิตย์อัสดง, Shumbala, ไพร พนาวัลย์, เนิน จำราย, Prapacarn ❀
ข้อความนี้ มี 21 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
10 พฤษภาคม 2013, 06:57:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2013, 06:57:PM » |
ชุมชน
|
สุดยอดมากๆครับ ทั้งสองท่าน ท่านอริญชย์ สุดยอดแห่งความคิด ทำไมกันนะที่ผ่านมาข้าน้อยถึงไม่มีความคิดแบบนี้บ้าง ขอแสดงความนับถือสูงสุดครับ ท่านหมูดำสุดยอดนักคัดสรรเล่นคำครับ ข้าน้อยขอแสดงความนับถือทั้งสองท่าน เสียดายที่ข้าน้อยได้ปฏิญญาไว้แล้วว่าไม่ให้และไม่ขอรับคะแนนจากผู้ใด จึงทำได้แต่เพียงชมเชยด้วยวาจาเท่านั้น และข้าน้อยขออนุญาตท่านอริญชย์นำแนวคิดนี้ไปฝึกหัดบ้างนะครับ
Orion264(มือขวา)
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : อริญชย์, D, พี.พูนสุข, panthong.kh, รพีกาญจน์, Moo Dum, กรกช, ชลนา ทิชากร, victoria's secret, กังวาน, khuadkao, สะเลเต, สุวรรณ, Shumbala, ไพร พนาวัลย์, เนิน จำราย
ข้อความนี้ มี 16 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
10 พฤษภาคม 2013, 07:31:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2013, 07:31:PM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณ ท่าน Orion264(มือขวา) ที่ชื่นชมและสนใจงานชิ้นนี้ เป็นการทดลองแต่งเล่น ๆ ก็เกรงท่านผู้รู้หลายคนจะตำหนิเหมือนกัน แต่ก็อยากเสนอแนวคิดลอง ๆ ดู ถ้าท่าน Orion264(มือขวา) สนใจ ก็แต่งเล่นได้เลย ไม่ว่ากัน อีกอย่างยังไม่ได้ตั้งชื่อกลอนกลบทอะไร
ขอแต่งไว้เป็นแนวทางละกันนะ เผื่อใครมีไอเดียดีๆ จะตั้งชื่อกลบท หรือแต่งเล่น ๆ ก็คงจะเป็นประโยชน์มิใช่น้อย เนื่องจากคำที่ใช้จะต้องพ้องเสียงกันหลายคำ ทำให้ผู้แต่งต้องคิดหาคำมาให้ได้นั่นเอง และคิดว่าคงมีประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ภาษาไทยอยู่ไม่มากก็น้อย
ผิดพลาดประการใด ขอให้ท่าน Orion264(มือขวา) และท่านผู้รู้ทั้งหลายโปรดให้อภัย ให้ถือซะว่าเป็นการลองผิดลองถูกละกันเนาะ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : D, พยัญเสมอ, พี.พูนสุข, panthong.kh, รพีกาญจน์, Moo Dum, กรกช, ชลนา ทิชากร, choy, victoria's secret, กังวาน, khuadkao, สะเลเต, สุวรรณ, Shumbala, ไพร พนาวัลย์, yaguza, เนิน จำราย
ข้อความนี้ มี 18 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
10 พฤษภาคม 2013, 09:22:PM |
กรกช
Special Class LV4 นักกลอนรอบรู้กวี
คะแนนกลอนของผู้นี้ 130
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 277
แม้มิเคยพบหน้า เชื่อเถอะว่า ที่นี่มีรัก
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2013, 09:22:PM » |
ชุมชน
|
กระผมมีกลอนนำเสนอมาให้วิจารณ์บทหนึ่ง ไม่ทราบว่าแนวนี้มีท่านใดเคยร้อยกรองไว้หรือไม่ ด้วยด้อยความรู้รอบตัว โปรดวิจารณ์ได้เต็มที่ ขอน้อมรับทุกประการ
กรกช
#๑๓๘
-๐-
ร้องคำหวาน วานลม ชมทำนอง วานลมร้อง ทำนอง ชมคำหวาน ทำนองร้อง หวานชม คำลมวาน ทำนองหวาน วานชม ลมร้องคำ
-๐-
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ชลนา ทิชากร, รพีกาญจน์, choy, พยัญเสมอ, พี.พูนสุข, victoria's secret, กังวาน, khuadkao, อริญชย์, สะเลเต, สุวรรณ, ยามพระอาทิตย์อัสดง, Shumbala, ไพร พนาวัลย์, yaguza, เนิน จำราย, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 17 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
10 พฤษภาคม 2013, 11:12:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2013, 11:12:PM » |
ชุมชน
|
ข้าน้อยด้อยความรู้ เกิดมาเพิ่งจะเคยเห็นเป็นครั้งแรกนี่แหละครับ ต้องบอกว่ายากมากๆครับท่าน กลอนทั้งบทนั้นแท้จริงแล้วใช้คำแค่แปดคำเท่านั้นเอง
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พี.พูนสุข, กรกช, victoria's secret, khuadkao, อริญชย์, สะเลเต, สุวรรณ, choy, Shumbala, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, yaguza, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 14 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
10 พฤษภาคม 2013, 11:32:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2013, 11:32:PM » |
ชุมชน
|
ที่นี้อยากให้ลองดูวิธีการของข้าน้อยบ้าง ความจริงวิธีนี้เป็นแนวคิดเดียวกันกับท่านกรกช คือเขียนเพียงบรรทัดเดียว ๙ คำ แต่สามารถแปลงเป็นกลอนได้ทั้งสี่วรรค แต่เป็นคนละวิธีการกัน กลอนนี้ข้าน้อยเขียนไว้ที่รักกลอนดอทคอมตั้งแต่ปีที่แล้วแล้ว และน่าจะง่ายกว่าของท่านกรกช ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- บันทึกลับ เมื่อกลอนวรรคเดียวกลายเป็นกลอนสี่วรรค
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เมื่อกลอนที่มีอยู่เพียงวรรคเดียวแค่ ๙ คำนั้นสามารถกลายร่างเป็นกลอนทั้งบทได้ อะไรกันนี่ หรือว่าทายาทของสุนทรภู่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วอย่างแท้จริง(ว่าไปนั่น) แต่จริงๆแล้วไม่มีอะไร นี่ เป็นเพียงลูกเล่นอย่างหนึ่งที่ควรรู้ไว้เท่านั้น เชื่อว่าหลายคนคงต้องเคยมีความปรารถนาที่จะหาวิธีการทำให้กลอนเพียงวรรคเดียว หรือสองวรรค สามารถกลายเป็นกลอนเต็มบทขึ้นมาได้(แม้จะสื่อความหมายไม่ค่อยได้ก็ตามที) ตัวอย่างของพยายามที่จะเขียน กลอนให้จำนวนคำน้อยที่สุด แต่กลับสามรถอ่านเป็นกลอนทั้งบทได้นั้นพึงเห็นตัวอย่างเช่น กลบทถอยหลังเข้าคลอง กลอักษรนกกางปีก และกลอักษรต่างๆที่พยายามซ่อนความในรูปแบบต่างๆ แต่มีวิธีที่จะอ่านให้เป็นกลอน(หรือโคลง) เต็มรูปแบบได้ และเพื่อเป็นการตอบเฉลยโจทย์ดังกล่าว วันนี้เราจะมาลองทำกลอนที่มีอยู่เพียงวรรคเดียวให้กลายเป็น กลอนที่มีสี่วรรคเต็มบทกัน ตัวอย่างก็มีดังนี้
เมื่ออยากลอง ต้องขอทำ หนำให้พอ อาจจะมีการสงสัยว่าเอ๊ะ แล้วแค่นี้จะกลายเป็นกลอนเต็มรูปแบบได้แน่หรือ ? มันยังไงๆอยู่นา ขอตอบว่าได้แน่นอนครับ เมื่อเราจัดรูปแบบใหม่ก็จะได้ผลดังนี้
เมื่ออยากลอง ต้องขอทำ ทำขอต้อง เมื่ออยากลอง หนำให้พอ พอให้หนำ เมื่ออยากลอง ทำขอต้อง ต้องขอทำ เมื่ออยากลอง พอให้หนำ หนำให้พอ จะเห็นได้ว่าคำว่า เมื่ออยากลองนั้นใช้สำหรับเป็นกระทู้ตั้งทุกกระทู้ ส่วนคำถัดมา ต้องขอทำ จะใช้สำหรับ วรรคที่ ๑ กับวรรคที่ ๓ และคำสุดท้ายคือ หนำให้พอ จะใช้สำหรับวรรคที่ ๒ กับวรรคที่ ๔ ซึ่งเป็นวรรคสุดท้าย
วิธีแต่ง ติดไว้วันหลังก่อนครับ วันนี้ขี้เกียจเขียนอธิบายแล้ว ลองดูจากตัวอย่างไปพลางๆก่อน แล้วถ้ามีเวลาว่างเมื่อไหร่จะมาเขียนบอกเคล็ดลับ :p6:
กลอนสี่บทที่เขียนไว้เพียงสี่วรรค
เมื่ออยากลอง ต้องขอทำ หนำให้พอ(๑) ความคิดแปลก แตกเหล่ากอ ขอเพียงคิด(๒) โลดลิ่วไป ใช้ชีวิต ปิดคดี (๓) อ่านบทกลอน ท่อนที่มี หนีหลับนอน(๔)
แปลงเป็นบทกลอน ๑ เมื่ออยากลอง ต้องขอทำ ทำขอต้อง เมื่ออยากลอง หนำให้พอ พอให้หนำ เมื่ออยากลอง ทำขอต้อง ต้องขอทำ เมื่ออยากลอง พอให้หนำ หนำให้พอ ๒ ความคิดแปลก แตกเหล่ากอ กอเหล่าแตก ความคิดแปลก ขอเพียงคิด คิดเพียงขอ ความคิดแปก กอเหล่าแตก แตกเหล่ากอ ความคิดแปลก คิดเพียงขอ ขอเพียงคิด ๓ โลดลิ่วไป ใช้ชีวิต ชีวิตใช้ โลดลิ่วไป ปิดคดี คดีปิด โลดลิ่วไป ชีวิตใช้ ใช้ชีวิต โลดลิ่วไป คดีปิด ปิดคดี ๔ อ่านบทกลอน ท่อนที่มี มีที่ท่อน อ่านบทกลอน หนีหลับนอน นอนหลับหนี อ่านบทกลอน มีที่ท่อน ท่อนที่มี อ่านบทกลอน นอนหลับหนี หนีหลับนอน
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : กรกช, victoria's secret, khuadkao, อริญชย์, สุวรรณ, choy, Shumbala, รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, เนิน จำราย, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
11 พฤษภาคม 2013, 12:25:AM |
choy
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2013, 12:25:AM » |
ชุมชน
|
กระผมมีกลอนนำเสนอมาให้วิจารณ์บทหนึ่ง ไม่ทราบว่าแนวนี้มีท่านใดเคยร้อยกรองไว้หรือไม่ ด้วยด้อยความรู้รอบตัว โปรดวิจารณ์ได้เต็มที่ ขอน้อมรับทุกประการ
กรกช
#๑๓๘
-๐-
ร้องคำหวาน วานลม ชมทำนอง วานลมร้อง ทำนอง ชมคำหวาน ทำนองร้อง หวานชม คำลมวาน ทำนองหวาน วานชม ลมร้องคำ
-๐-
ลมวานชม คำร้อง ทำนองหวาน คำลมวาน นองชม ทำหวานร้อง วานลมคำ หวานร้อง ชมทำนอง หวานคำร้อง ทำนอง วานลมชม
***เฮ้อ...เหนื่อยจุงเบย...แบบนี้พอทนได้ไหม
choy 10 พ.ค. 56
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : khuadkao, กรกช, พยัญเสมอ, อริญชย์, สะเลเต, สุวรรณ, ยามพระอาทิตย์อัสดง, Shumbala, รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, เนิน จำราย, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 14 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
11 พฤษภาคม 2013, 12:23:PM |
กรกช
Special Class LV4 นักกลอนรอบรู้กวี
คะแนนกลอนของผู้นี้ 130
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 277
แม้มิเคยพบหน้า เชื่อเถอะว่า ที่นี่มีรัก
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2013, 12:23:PM » |
ชุมชน
|
#๑๔๑
-๐-๐-๐-
แนวคิดเกิดเมื่อครั้ง นานมา โยงเกี่ยวกับภาษา ใคร่อ้าง ของจีนเอ่ยพรรณา คำถั่ว "เถาถั่วต้มถั่ว"ค้าง นี่แท้ทางเป็น
-๐-๐-๐-
เห็น"บทกวีเจ็ดก้าว" โจสิด ถูกเคี่ยวคำลิขิต พี่ใช้ โจผีเร่งชีวิต หวังฆ่า สามก๊กประพันธ์ไว้ บ่งชี้สอนใจ
-๐-๐-๐-
ความนัยจึงใฝ่ตั้ง จารเขียน ดูดั่งบทความเลียน แบบผู้ ประโยคอ่านวนเวียน แตกต่าง วรรคหนึ่งกลับกลายรู้ อ่านได้เป็นกลอน
-๐-๐-๐-
ขอขอบคุณในความสนใจของท่าน choy นะขอรับ ขอสารภาพว่า รู้สึกว่าบทเดียวสั้นเกินไป แต่ยังมิสามารถแต่งบทที่สองต่อได้ เนื่องจากยังหาคำเหมาะใจมาร้อยรวมกันมิได้เลย
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, พยัญเสมอ, choy, khuadkao, อริญชย์, ชลนา ทิชากร, panthong.kh, สุวรรณ, ไพร พนาวัลย์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, เนิน จำราย, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
11 พฤษภาคม 2013, 05:56:PM |
กรกช
Special Class LV4 นักกลอนรอบรู้กวี
คะแนนกลอนของผู้นี้ 130
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 277
แม้มิเคยพบหน้า เชื่อเถอะว่า ที่นี่มีรัก
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2013, 05:56:PM » |
ชุมชน
|
ขอเลียนล้อแนวทางท่านอริญชย์
#๑๔๒
-๐- ฝันเฝ้าฝัน บรรเจิด แพร้วเพริศแพร้ว แล้วเลยแล้ว ไร้หมั่น หาหันหา ตนเตือนตน ต่ำข้าง ลาร้างลา บ้าใบ้บ้า เจ็บจม งายงมงาย -๐- เวียนหวังเวียน อ้อนเจรียง คู่เคียงคู่ กู่ก้องกู่ กลับลี้ หน่ายหนีหน่าย ชมเชยชม คนชอบ รายรอบราย คล้ายคงคล้าย ขยะเกิน มองเมินมอง -๐- ป่วนปั่นป่วน ยิ่งชวน ไห้หวนไห้ ไหม้หม่นไหม้ หลงงก ป้องปกป้อง แค่เขาแค่ แหย่ชิม ลองลิ้มลอง เสนอสนอง สนองเสนอ อวยเอออวย -๐-
ตัดคำสีแดงออก อ่านได้เป็นกลอนหก
จำเรียง ก. ขับลำ,ขับกล่อม,ร้องเพลง,เจรียง [v.] sing
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : อริญชย์, choy, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, พยัญเสมอ, panthong.kh, สุวรรณ, ไพร พนาวัลย์, พี.พูนสุข, รัตนาวดี, ยามพระอาทิตย์อัสดง, khuadkao, เนิน จำราย, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 14 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
11 พฤษภาคม 2013, 10:07:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2013, 10:07:PM » |
ชุมชน
|
กลอนทั้งบทที่มีคำอยู่เพียงแปดคำ แต่งโดยศึกษาจากกลอนตัวอย่างที่คุณกรกชนำมาให้ดู หลายคนเห็น เป็นงาม ตามตนคล้าย งามเป็นหลาย คล้ายตน ตามคนเห็น ตนเห็นตาม งามคล้าย หลายคนเป็น ตนตามเห็น เป็นหลาย คล้ายคนงาม ยากมากครับ ให้แต่งอีกครั้งทำไม่ได้ ขอบคุณท่านกรกชครับ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : panthong.kh, รพีกาญจน์, สุวรรณ, กรกช, อริญชย์, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, พี.พูนสุข, รัตนาวดี, choy, khuadkao, เนิน จำราย, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
11 พฤษภาคม 2013, 11:01:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2013, 11:01:PM » |
ชุมชน
|
เสือช้างสิงห์ ลิงหมู หนูค่างเหยื่อ หมูลิงเสือ เหยื่อค่าง หนูช้างสิงห์ ค่างสิงห์หนู หมูเหยื่อ เสือช้างลิง ค่างหนูสิงห์ ลิงเสือ เหยื่อช้างหมู ฯ
อริญชย์ ๑๑/๕/๒๕๕๖
เอามั่ง ลงไม่สวยเท่าไหร่ แต่งขำ ๆ ทุกท่าน พยายามแล้ว อิอิ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : กรกช, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, พยัญเสมอ, สุวรรณ, panthong.kh, พี.พูนสุข, รัตนาวดี, รพีกาญจน์, choy, khuadkao, เนิน จำราย, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
11 พฤษภาคม 2013, 11:33:PM |
ชลนา ทิชากร
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2013, 11:33:PM » |
ชุมชน
|
หมูเสือช้าง กวางเก้ง ก็เองรู้ เองก็หมู รู้ช้าง เสือกวางเก้ง เก้งเสือช้าง กวางหมู ก็รู้เอง เสือช้างเก้ง เองรู้ ก็หมูกวาง
ชลนา ทิชากร
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : กรกช, สายใย, พยัญเสมอ, สุวรรณ, panthong.kh, panthong.kh, พี.พูนสุข, อริญชย์, รัตนาวดี, yaguza, รพีกาญจน์, choy, khuadkao, เนิน จำราย, ไพร พนาวัลย์, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 16 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
ขอขอบคุณ ทุกภาพ และทุกบทเพลง จาก Internet และ Youtubeค่ะ
|
|
|
12 พฤษภาคม 2013, 07:27:AM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 07:27:AM » |
ชุมชน
|
ต้องยอมรับว่าแรกทีเดียวผมงงมากๆกับกลอนแบบนี้นะครับ เพราะไม่รู้ว่าจะแต่งยังไง เริ่มยังไง บอกตรงๆว่าถ้าไม่เข้าใจเคล็ดลับจะไม่มีทางแต่งได้ ผมเสียเวลาอดหลับอดนอนพิจารณาจากกลอนต้นแบบ ของคุณกรกชอยู่วันกับคืนเต็ม แรกๆก็เริ่มเข้าใจเคล็ดลับแล้วครับ แต่ติดปัญหาอยู่ที่การหาคำที่เหมาะสม เพื่อจะมาใช้แต่งนั่นแหละครับที่ยากมากๆ ดังนั้นผมก็เลยติดจนล่วงเข้าวันที่สอง ตอนที่ตัดสินใจแต่งกลอนนี้ผมคิดว่ายังไงก็ต้องแต่ง แม้ว่าจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม จากนั้นก็หลับตาสูดลมหายใจนึกถึงเทวดาฟ้าดินสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือว่าให้มาช่วยดลจิตดลใจให้ผม แต่งกลอนนี้ได้ หลังจากนั้นก็ปล่อยให้สมองว่างเปล่าเหมือนคนสลึมสลือไม่ให้มีสิ่งใดอยู่ในหัว จากนั้นก็เริ่มบรรทัดแรกตามเคล็ดลับที่สังเกตได้มา ส่วนบรรทัดต่อไปสุดแล้วแต่สวรรค์จะกำหนดครับ โดยตนเองมีหน้าแค่นำทุกคำมาเรียงให้ครบทั้งแปดคำไม่ให้มีคำใดขาด และไม่ให้มีคำใดเกิน ปรากฏว่าน่าอัศจรรย์มากที่พอลงมือทำไปกลับปรากฏว่าทำได้ ทั้งนี้และทั้งนั้นที่ผมทำได้ก็เกิดจากเคล็ดลับที่ได้จากกลอนตัวอย่างของคุณกรกฎบวกเทพยาดาฟ้าดินท่านช่วย นั่นแหละครับ ไม่ได้เกิดจากตัวผมเองเลย หรือจะบอกว่าบังเอญฟลุคก็ได้ ไม่นึกว่าคุณอริญชย์กับคุณ ชลนา ทิชากร ก็ทำได้ โดยเฉพาะคุณชลนา ทิชากรนั้นเข้าใจเคล็ดลับการแต่ง ได้มากกว่าผมและคุณอริญชย์อีก ต้องขอชมเชย สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ คุณกรกฏนะครับ ที่นำเคล็ดลับดีๆแปลกๆมาแบ่งปัน หากไม่ได้กลอนที่คุณกรกชนำมาลงให้ดูนี้แล้ว ผมคิดว่าชาตินี้ผมคงไม่มีวันแต่งได้แน่ๆ Orion264(มือขวา)
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : panthong.kh, panthong.kh, panthong.kh, panthong.kh, อริญชย์, กรกช, พี.พูนสุข, รัตนาวดี, รพีกาญจน์, choy, khuadkao, ชลนา ทิชากร, เนิน จำราย, ไพร พนาวัลย์, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 15 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
12 พฤษภาคม 2013, 08:08:AM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 08:08:AM » |
ชุมชน
|
ทีนี้มาพูดถึงกลเม็ดเคล็ดลับในการแต่งกันบ้าง ไม่ทราบว่าคุณกรกฎจะอนุญาตให้ผมเปิดเผยหรือเปล่าครับ เผื่อว่านักลอนท่านใดสนใจได้ทราบแล้วจะได้ลองนำไปหัดแต่งบ้าง หรือว่าจะเก็บไว้เป็นความลับฟ้าดิน ให้ทำความเข้าใจกันเอง สืบทอดรุ่นต่อรุ่นแบบการเรียนรู้อย่างเซ็น คือรู้เฉพาะตัว ไม่มีการอธิบาย ทั้งนี้ผมยืนยันว่าไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน นี่เพิ่งจะเห็นเป็นครั้งแรก ผมก็จะเคารพการตัดสินใจของคุณกรกฏครับ
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
12 พฤษภาคม 2013, 08:26:AM |
กรกช
Special Class LV4 นักกลอนรอบรู้กวี
คะแนนกลอนของผู้นี้ 130
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 277
แม้มิเคยพบหน้า เชื่อเถอะว่า ที่นี่มีรัก
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 08:26:AM » |
ชุมชน
|
#๑๔๗
-๐-๐-๐-
อันความลับนี้ไม่ มีหรอก ท่านเอย ตีแผ่เคล็ดลับบอก ต่อได้ เป็นทางบ่งเขียนดอก แนวที่ แจงเพื่อกระจ่างไซร้ แน่แล้วควรทำ
-๐-๐-๐-
เชิญท่านมือขวาขอรับ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พยัญเสมอ, อริญชย์, รพีกาญจน์, ยามพระอาทิตย์อัสดง, panthong.kh, choy, khuadkao, ชลนา ทิชากร, เนิน จำราย, พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, Moo Dum
ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
12 พฤษภาคม 2013, 09:58:AM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 09:58:AM » |
ชุมชน
|
งั้นขออนุญาตเริ่มเลยนะครับ เคล็ดลับสัญที่สุดก็อยู่ที่กลอนบรรทัดแรกนี่แหละครับ ร้องคำหวาน วานลม ชมทำนอง (กรกฎ) อธิบายตามกลอนที่ท่านกรกฏแต่งมาให้ดูเป็นตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า กลอนวรรคแรกนั้น ประกอบไปด้วยคำแปดคำ โดยมีสระเป็นคูๆอยู่สี่ดังนี้ ร้องนอง คำทำ หวานวาน ลมชมโดยกำหนดให้สระหนึ่งคู่ต้องมีเสียงต่างกัน เพื่อใช้ท้ายวรรคที่ ๑ และรับสัมผัสในวรรคที่ ๒ และให้มีสระอีกหนึ่งคู่ ให้มีเสียงต่างกัน ตัวหนึ่งต้องเป็นเสียง เอก เสียงโท หรือเสียงจัตวา เพื่อให้ใช้เป็นคำท้ายวรรคที่ ๒ และอีกตัวหนึ่งต้องเป็นเสียงสามัญเท่านั้น เพื่อจะมารับสัมผัส ที่ท้ายวรรค ๓ ตามฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพ(แต่กลอนนี้มีข้อเสียอย่างหนึ่งคือมีการซ้ำคำในบท ซึ่งนักกลอนส่วนมากไม่ยอมรับ แต่ใครไม่ยอมรับก็ช่างเหอะ ผมยอมรับเรื่องการซ้ำคำกันได้) คำอื่นๆที่เหลืออีกสองคู่ จะใช้เสียงอะไรก็ได้โดยไม่บังคับ(ดูตัวอย่าง) กลอนคุณกรกฏ ร้องนอง คำทำ หวานวาน ลมชม เมื่อเขียนเป็นกลอนวรรคแรก ร้องคำหวาน วานลม ชมทำนอง (ท่านกรกฎพลาดตรงที่ เลือกใช้ว่า ทำนอง ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำว่าทำและนอง เกิดเป็นความหมายใหม่ และไม่อาจเขียนกลับเป็น นองทำได้ เนื่องจากจะไม่สื่อความหมายใดๆ ดังนั้นก็เลยทำให้สัมผัสสะดุดในวรรคที่ ๒) กลอนมือขวา หลายคนเห็น เป็นงาม ตามตนคล้าย เมื่อแยกสระออกมาเป็นคู่ๆ หลายคล้าย คนตน เห็นป็น งามตาม เมื่อนำมาเรียงเป็นกลอน หลายคนเห็น เป็นงาม ตามตนคล้าย กลอนคุณอริญชย์ เสือช้างสิงห์ ลิงหมู หนูค่างเหยื่อ เมื่อแยกสระออกเป็นคู่ๆ เสือเหยื่อ ช้างค่าง สิงห์ลิง หมูหนู (ตรงนี้ถ้าแทนที่จะเป็นหมูหนูคุณอริญชย์ใช้เป็น หมูงู หรือ หนูงู โดยให้ตัวหนึ่งเสียงสามัญเสีย การลงท้ายกลอนก็จะไม่มีปัญหา)คราวนี้มาเขียนเป็นกลอน เสือช้างสิงห์ ลิงหมู หนูค่างเหยื่อ (คุณอริญชย์พลาดตรงที่ในคำคู่ทั้ง ๘ คำ ไม่มีคู่เสียงสามัญเลยแม้แต่คู่เดีียว ทำให้มีปัญหาในการลงท้ายบท) จะเห็นได้ว่าเคล็ดลับจะอยู่ที่สระ ๑ คู่ ที่จะต้องใช้สัมผัสระหว่างคำท้ายวรรแรกกับการรับสัมผัสในวรรคที่ ๒ ซึ่งจะต้องใช้คำที่เสียงต่างกัน กับอีกคู่หนึ่งที่จะใช้สำหรับส่งสัมผัสระหว่างท้ายวรรค๒ กับท้ายวรรค ๓ โดยมีคำหนึ่งต้องเป็นเสียงจัตวา โท หรือเอก เพื่อใช้ลงท้ายวรรค ๒ และอีกคำต้องเป็นเสียงสามัญเพื่อใช้ เป็นคำลงท้ายในวรรค ๓ คำที่เหลือนอกจากนี้ไม่บังคับ แต่ควรต้องมีเสียงสามัญอีก ๑ คู่ เพื่อใช้เป็นคำลงท้ายในวรรคส่ง ไม่งั้นจะลงผิดเสียงอย่างที่ท่านอริญชย์ลง หลายคล้าย คนตน เห็นป็น งามตาม (คู่ที่เน้นสี คือคู่ที่จะถูกใช้ในการรับสัมผัสระหว่างวรรค)เมื่อได้คำมาแล้วก็มาเรียงให้เป็นกลอนให้ถูกต้องตามหลักสัมผัสของกลอนแปด หลายคนเห็น เป็นงาม ตามตนคล้าย ต่อไปคือเริ่มว่าที่ ๒ งามเป็น........ตามด้วย หลาย เพราะคำว่า คล้ายเราใช้ไปแล้ว.....ดังนั้นคำรับผัสตรงนี้ เรานำมาใช้ไไม่ได้อีก(แต่นำไปใช้ได้ในคำถัดๆไปเพื่อให้ในหนึ่งวรรคมีคำครบทั้งแปดคำโดยไม่ขาด) กลายเป็น หลายคนเห็น เป็นงาม ตามตนคล้าย งามเป็นหลาย คล้ายตน ตามคนเห็นและเรื่อยๆไปจนจบทั้งบท .......................................... ..........................................จากนั้นก็เรียงยังไงก็ได้โดยให้แต่ละวรรคนั้นสัมผัสกัน ต้องไม่ให้เกินและต้องไม้ให้ขาด คือให้ใช้คำทั้งแปดที่กำหนดไว้แต่แรกให้พอดี ทุกๆวรรค ห้ามใช้คำอื่นนอกจากนี้ และห้ามวรรคใดวรรคหนึ่ง ขาดคำใดคำหนึ่ง จากทั้งแปดคำในวรรคแรก ผมอธิบายได้เพียงนี้ ที่เหลือหากต้องการทราบผู้อ่านต้องไปทดลองเอาเองครับ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ส่วนกลอนของคุณ ชลนา ทิชากรนั้นจะต่างจากท่านกรกฎ ผม และท่านอริญชย์ไปเล็กน้อยดังนี้ หมูเสือช้าง กวางเก้ง ก็เองรู้ เมื่อแยกสระออกเป็นคู่ๆจะได้คำดังนี้ หมูรู้ ช้างกวาง เองเก้ง ส่วนที่แปลกออกไป คือ เสือ กับ ก็ ซึ่งไม่ได้มาเป็นคู่ๆ เมื่อนำมาเขียนเป็นกลอนก็จะได้ดังนี้ หมูเสือช้าง กวางเก้ง ก็เองรู้ ซึ่งตามหลักการนี้ผมยังไม่ได้ลอง และยังไม่เข้าใจนัก ดังนั้นผมจึงได้บอกว่า คุณชลนา ทิชากร ได้เข้าใจเคล็ดลับการแต่งมากกว่า ผมและคุณ อริญชย์ ผิดถูกยังไงก็ต้องขออภัยด้วยครับ เพราะผมอธิบายไม่เก่ง และท่านอื่นๆไม่ต้องถามผมแล้วนะครับ ว่าแล้ววรรคต่อๆไปต้องแต่งยังไง เพราะผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไง คุณต้องลองแต่งถึงจะทราบเอง ส่วนการหาคำต้องใช้คำพยางค์เดียว ที่นำมาเรียงกันแล้วอ่านกลับไปกลับมามีความหมายได้ทั้งสองด้านนะครับ เช่น วันคืน คืนวัน ไปกลับ กลับไป ทางเดิน เดินทาง โรงหนัง หนังโรง ไม่ควรใช้คำที่มีความหมายในทางเดียว โดยเขียนกลับกันไม่ได้ เช่น ตำแหน่ง สมัคร สัมผัส สงสัย เอามาเขียนกลับเป็น แหน่งตำ หมักสะ ผัสสัม สัยสง แบบนี้ใช้ไม่ได้ครับ เพราะไม่สื่อความหมายใดๆ Orion264(มือขวา) ๑๒/๐๕/๒๕๕๖
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
12 พฤษภาคม 2013, 11:17:AM |
กรกช
Special Class LV4 นักกลอนรอบรู้กวี
คะแนนกลอนของผู้นี้ 130
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 277
แม้มิเคยพบหน้า เชื่อเถอะว่า ที่นี่มีรัก
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 11:17:AM » |
ชุมชน
|
#๑๔๙
-๐-๐-๐-
คำแจกแจงอ่านล้วน บอกความ เราแต่งเองยังตาม พยักหน้า เคยหลงฝั่งเมื่อยาม เขียนเพิ่ม สูตรท่านเปิดออกอ้า บอกแล้วเคล็ดดี
-๐-๐-๐-
เขียนเอง ยังงงเอง ท่านมือขวาวิจารณ์ครบถ้วน ขาดแต่ว่า ท่านชลนา มีเคล็ดใดเพิ่มนะ รอท่านชลนามาเฉลย
|
|
|
|
12 พฤษภาคม 2013, 01:01:PM |
ชลนา ทิชากร
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 01:01:PM » |
ชุมชน
|
เขียนเอง ยังงงเอง ท่านมือขวาวิจารณ์ครบถ้วน ขาดแต่ว่า ท่านชลนา มีเคล็ดใดเพิ่มนะ รอท่านชลนามาเฉลย หมูเสือช้าง กวางเก้ง ก็เองรู้ เมื่อแยกสระออกเป็นคู่ๆจะได้คำดังนี้ หมูรู้ ช้างกวาง เองเก้ง ส่วนที่แปลกออกไป คือ เสือ กับ ก็ ซึ่งไม่ได้มาเป็นคู่ๆ เมื่อนำมาเขียนเป็นกลอนก็จะได้ดังนี้
หมูเสือช้าง กวางเก้ง ก็เองรู้
ซึ่งตามหลักการนี้ผมยังไม่ได้ลอง และยังไม่เข้าใจนัก ดังนั้นผมจึงได้บอกว่า คุณชลนา ทิชากร ได้เข้าใจเคล็ดลับการแต่งมากกว่า ผมและคุณ อริญชย์ ความจริงคุณชลนาเป็นคนไม่คอยชอบอธิบายอะไรเท่าไรนัก แต่เพื่อไขข้อข้องใจ ว่า คุณชลนา มีเข็ดอะไร ให้คุณ (กรกฎ) สบายใจ คุณชลนา ไม่ได้มีเข็ดอะไรเลย เพียงเขียนกลอน แปด ธรรมดา ขึ้นมาบาทหนึ่ง (ไม่รู้เรียกถูกหรือเปล่า) ให้มันคล้องจองกัน และอ่านแล้วได้ใจความ คุณชลนา ยก หมูเสือช้าง กวางเก้ง เองก็รู้ ได้ใจความ แต่ไม่ถูกฉันทลักษณ์ คำว่าเองเป็นคำชิงสัมผัส เลยต้องเปลี่ยนเป็น หมูเสือช้าง กวางเก้ง ก็เองรู้ ไม่ค่อยได้ใจความเท่าไร เมื่อแต่งกลอนแปด ธรรมดา มาหนึ่งบาท เอาหนึ่งบาทแปดคำนั่นแหละ มาแต่งต่ออีกสามบาท ให้ครบ สี่บาท คุณชลนา ใช่วิธีนี้ ไม่รู้ว่าใช่เข็ดหรือเปล่า ผิดถูกแนะนำด้วย คุชลนา ก็ยังอ่อนหัดอยู่เหมือนกัน ชลนา ทิชากร
|
ขอขอบคุณ ทุกภาพ และทุกบทเพลง จาก Internet และ Youtubeค่ะ
|
|
|
12 พฤษภาคม 2013, 01:13:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 01:13:PM » |
ชุมชน
|
อย่าว่าแต่ท่านกรกช และคนอื่นอ่านแล้วจะงงเลยครับ ขนาดผมที่เป็นคนอาสาอธิบายเองก็ยังงงตัวเองเหมือนกัน เอาใหม่ครับ คราวนี้ยกตัวอย่่างกันให้แจ่มแจ้งแดงแจ๋กันไปเลย เคล็ดลับสำคัญการแต่งกลอนแบบนี้ก็อยู่ที่บรรทัดแรก ๘ คำนั่นแหละครับ ตัวอย่าง หลายคนเห็นเป็นงามตามตนคล้ายตามตัวอย่างที่ยกมานี้จะเห็นได้ในการเขียนกลอนบรรทัดแรกแปดคำนั้น ได้มีการเตรียมการไว้หมดแล้วว่าจะใช้ตัวไหน สำหรับรับสัมผัสระหว่างท้ายวรรหนึ่งกับวรรคสอง และจะใช้คู่ไหนเพื่อรับสัมผัสระหว่างท้ายวรรคสองกับท้ายววรคสาม และต้องเตรียมคำเสียงสามัญหนึ่งคู่ ไว้สำหรับการลงท้ายวรรคสี่ ดังตัวอย่าง หลายคนเห็น เป็นงาม ตามตนคล้าย งามเป็นหลาย คล้ายตน ตามคนเห็น ตนเห็นตาม งามคล้าย หลายคนเป็น ตนตามเห็น เป็นหลาย คล้ายคนงาม
เห็นไหมครับว่า ตรงที่เน้นสีแดงด้านบนนั้น ได้กลายมาเป็นคำลงท้ายวรรคสองกับวรรคสามไปแล้ว(ตามที่เน้นสีแดงให้ดู) นี่ก็คือการเตรียมการสำหรับคำที่จะใช้เป็นคำลงท้ายวรรคตั้งแต่แรกที่เขียนเพียงบรรทัดเดียว คำต่อมาก็คือคำว่า หลาย ซึ่งถูกเน้นสีฟ้าซึ่งอยู่เป็นคำแรกเลย ได้ถูกเตรียมไว้เพื่อนำมารับคำว่าคล้ายที่อยู่ท้ายวรรคตั้งแต่ต้น และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือต้องเตรียมคำที่เป็นเสียงสามัญไว้สำหรับลงท้ายวรรคที่สี่ด้วย นอกนั้นก็สุดแต่จะบรรเลงอย่างไรก็ได้ตามถนัด โดยยกคำจากบรรทัดแรกที่มีอยู่เพียงแปดคำมาสลับเอาตามใจชอบ โดยให้มีสัมผัสให้ถูกต้องตามหลักกลอนแปด ห้ามใช้เกินอย่างละคำ และห้ามขาดคำใดคำหนึ่ง ห้ามนำคำอื่นที่ไม่ได้อยู่แปดคำในบรรทัดแรกมาใส่ ตัวอย่างของท่านกรกฏ ร้องคำหวานวานลมชมทำนอง
ร้องคำหวาน วานลม ชมทำนอง วานลมร้อง ทำนอง ชมคำหวาน ทำนองร้อง หวานชม คำลมวาน ทำนองหวาน วานชม ลมร้องคำตัวอย่างกลอนของท่านอริญชย์ เสือช้างสิงห์ลิงหมูหนูค่างเหยื่อ
เสือช้างสิงห์ ลิงหมู หนูค่างเหยื่อ หมูลิงเสือ เหยื่อค่าง หนูช้างสิงห์ ค่างสิงห์หนู หมูเหยื่อ เสือช้างลิง ค่างหนูสิงห์ ลิงเสือ เหยื่อช้างหมู ฯ
เมื่อพิจารณาและชี้กันอย่างชัดๆแล้ว ทั้งสามบทนี้ใช้หลักการเดียวกันหมด คือได้เตรียมคำสำหรับไว้รับสัมผัสวรรคสองกับวรรคสามไว้แล้ว ๑ คู่ ซึ่งก็คือคำที่เน้นสีแดง โดยคำหนึ่งเสียงสูง อีกคำเสียงสามัญ และได้เตรียมคำที่จะใช้รับสัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคสองไว้แล้วซึ่งก็คือคำที่เน้นสีฟ้า ซึ่งจะใช้เสียงอะไรก็ได้ แต่ควรเป็นเสียงที่ต่างระดับกัน และคำที่เป็นเสียงสามัญอีกหนึ่งคู่ สำหรับคำลงท้าย แต่ท่านอริญชย์ไม่ได้เตรียมคำที่เป็นเสียงสามัญไว้ สุดท้ายก็เลยจำเป็นต้องลงด้วยเสียงสูง ผมคงอธิบายได้สุดเท่านี้แล้วนะครับ ที่เหลือก็ฝากผู้ที่สนใจเก็บไปคิดเอาเอง ว่าจะใช้คำแบบไหนจึงกลับได้ทั้งสองด้านหน้า เช่น มือขวา ขวามือ มือซ้าย ซ้ายมือ อันนั้นคงต้องแล้วแต่ปฏิภาณของแต่ละคนครับ แนะนำกันไม่ได้
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
|