02 มิถุนายน 2013, 02:47:PM |
|
|
02 มิถุนายน 2013, 03:21:PM |
|
|
03 มิถุนายน 2013, 06:53:PM |
choy
|
|
« ตอบ #102 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2013, 06:53:PM » |
ชุมชน
|
โกลาหลแต่เช้า วุ่นวาย จิกไล่โฉบฉวัดไฉว แกลบเอี้ยง กระจอกทุ่มเถียงใส่ บ่เกี่ยง รุ่นนา ครู่ใหญ่สลายเกลี้ยง มุ่งหน้าหากินฯ
ได้สงบเสียงอยู่บ้าง บ่ายสบาย รีบเยี่ยมบ้านกลอนไทย บ่ช้า เงียบเหงาอยู่เป็นไฉน พ้องเพื่อน ฤาว่าสิ้นเดือนลัลล้า เที่ยวร้านยาดองฯ
ใกล้หกโมงค่ำแล้ว ทำใจ ยินแว่วเกี่ยงโวยวาย พี่เอี้ยง กระจอกแย่งเสาไฟ ฟ้าอยู่ คอนแล เอี้ยงบ่ยอมฟาดเปรี้ยง ต่างเข้าโรมรันฯ
สงสารสองคู่เจ้า สกุณไพร เถียงทุ่มแย่งเสาไฟ ฟ้าต้น ทำรังแต่พอได้ ผ่านช่วง ฝนนา สิเผื่อเลี้ยงลูกพ้น ปีกกล้าขาแข็งฯ
***เสาไฟฟ้าหน้าบ้าน มีนกเอี้ยงแกลบทำรังอยู่ข้างบน, กระจอกทำรังอยู่ข้างล่างถัดลงมา ไม่มีคำว่าปรองดองและสมานฉันท์ใดๆ ทั้งสิ้น จิกตีเถียงกันวุ่นวายเช้าค่ำ อีกหน่อยทั้งสองคู่ปรับมีลูกเล็กๆ คงวุ่นวายน่าดู
หมายเหตุ : ****คำสร้อยที่นิยมใช้กับโคลงเป็น “แบบแผน” มีทั้งหมด 18 คำ (สำหรับนักประพันธ์แนวจารีตนิยม) 1. พ่อ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล 2. แม่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก 3. พี่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล อาจใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 ก็ได้ 4. เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ 5. เทอญ มีความหมายเชิงขอให้มี หรือ ขอให้เป็น 6. นา มีความหมายว่าดังนั้น เช่นนั้น 7. นอ มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า หนอ หรือ นั่นเอง 8. บารนี สร้อยคำนี้นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า ดังนี้ เช่นนี้ 9. รา มีความหมายว่า เถอะ เถิด 10. ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ 11. เนอ มีความหมายว่า ดังนั้น เช่นนั้น 12. ฮา มีความหมายเข่นเดียวกับคำสร้อย นา 13. แล มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น 14. ก็ดี มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น 15. แฮ มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อยแล 16. อา ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูดในเชิงรำพึงด้วยวิตกกังวล 17. เอย ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียกเหมือนคำว่าเอ๋ยในคำประพันธ์อื่น หรือวางไว้ให้คำครบตามบังคับ 18. เฮย ใช้เน้นความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวหน้าสร้อยคำนั้น เฮย มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว" จึงน่าจะมีความหมายว่า เป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน
****ข้อสังเกตคำสร้อยที่ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ มักใช้กับโคลงมีดังนี้ (ดูคำท้ายที่ไม่อยู่ในวงเล็บ) 1. (เลย) ท่าน 2. (หอม) ฤา 3. (ใด) แล 4. (เมฆ) (พระ) (ขวัญ) (เอง) (ใจ) เอย 5. ก็ดี 6. (ลับ) (ลึก) (ไป) (ยิ่ง) (แป้ง) (โลก) (สอน) (เสมอ) แล 7. (นิ่ง) (ทิพย์) (เสมอ) (ถ้วน) (อิ่ม) เทอญ 8. (ร้าง) (พอ) (จริง) (ดัง) (เห็น) (หาย) (เปรียบ) ฤา 9. ลั่นโลก 10. (ถึง) (ยิ่ง) (ยิน) (ครวญ) (ช้า) (นา) (นั้น) (วิเศษ) (ชู) (เสมอ) (ปลอม) (งาม) (โลก) นา 11. (รู้) รา 12. (ถึง) เลย 13. ไชโย 14. ควรเมือง 15. (ใหญ่) แฮ **ท่านใช้คำที่ลงท้ายด้วย นา, แล และ ฤา มากที่สุด **ที่ท่านไม่ใช้เลยมี เฮย, อา, ฮา, เนอ, บารนี, นอ, พี่, แม่ และ พ่อ **ที่ท่านเพิ่มเองมี ไชโย, ควรเมือง และ ลั่นโลก **สร้อย ก็ดี ท่านมักใช้กับวรรคแรก
สนอง เสาทอง 3 มิถุนายน 2556
|
|
|
|
03 มิถุนายน 2013, 07:51:PM |
|
|
03 มิถุนายน 2013, 09:09:PM |
choy
|
|
« ตอบ #104 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2013, 09:09:PM » |
ชุมชน
|
ฟังคำเจ้าว่าข้อย สังข์ทอง พระสังข์ โถชั่งคิดแม่ทอง พันฯ ก้อน ไผแถวนี่เอิ้นปอง ณเดชน์หล่อ อ้ายนา เผิ่นว่าพระสังข์ย้อน ใหม่ซ้าดมาเกิดฯ
อันพระสังข์ข่าน้อย เด้อนาง ฮู้แต่เขียนกลอนอ้าง จ่มป้อย นางน้อยผู่งามก้าง ซ้อมเบิ่ง สิเถิ่งบ่อน้อข้อย คู่สร้างรจนาฯ
(55555555..........ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ) ***อยากรู้คำแปลให้ “ลุงไพร” แปลให้ฟังนะจ้ะพันฯ
สนอง เสาทอง 3 มิถุนายน 56
|
|
|
|
03 มิถุนายน 2013, 09:35:PM |
ไพร พนาวัลย์
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 2083
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,422
นักร้อง
|
|
« ตอบ #105 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2013, 09:35:PM » |
ชุมชน
|
ลุงไพรแปลบ่ได้..................เดอนาง ก็เพราะเกิดภาคกลาง..............แต่ต้น พันทองบ่หมองหมาง.................รู้เรื่อง หมดแล จึงบ่ต้องคิดค้น.....................ค่ำนี้ฟังเฉลย
ก่อนเคยไปรบบ้าน.....................เมืองลาว จึงหัดพูดกับสาว.........................บ่ข้อง เคยกินบ็อกสองซาว....................ลงเหรด กันนอ เมาเหล่าจนฮ่ำฮ้อง....................ข่อยนี้อยากอาย
“ไพร พนาวัลย์”
บ็อกสองซาว= เหล้าขาวสี่สิบดีกรี ลงเหรด= ลงร่องหลุมเพลาะที่ขุดรอบฐานที่มั่นในสนามรบ
|
|
|
|
03 มิถุนายน 2013, 09:45:PM |
|
|
03 มิถุนายน 2013, 10:11:PM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #107 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2013, 10:11:PM » |
ชุมชน
|
(ต่อเนื่องจากเรื่องนก) เคยทำรังล่อใต้...........ชายคา เพียงไม่นานหรอกหนา...เริ่มแล้ว นกตัวหนึ่งตรวจตรา......รังใหม่ เรียกคู่เสียงดังแจ้ว.......ร่วมรู้รังรอง
สองตัวจึงเริ่มสร้าง.......เรือนหอ โดยไม่อยากคอยรอ.....ผ่านพ้น ครบทุกอย่างเพียงพอ...เสริมแต่ง อบอุ่นความสุขล้น.......ไข่แล้วสามฟอง
มองเห็นตัวหนึ่งนั้น......ในรัง กกไข่นอนเงียบจัง.......รุ่งเช้า อีกตัวหนึ่งคอยหวัง......รออยู่ ผลัดเปลี่ยนทุกวันเฝ้า...ไม่ช้าลูกมี.
นพ 3มิ.ย.56
|
|
|
|
03 มิถุนายน 2013, 10:54:PM |
สายใย
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 600
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 2,700
ช่างเขาเฮอะ
|
|
« ตอบ #108 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2013, 10:54:PM » |
ชุมชน
|
|
หากสิทธิ์ของสายใย ไม่สงวน...(ครับ)
|
|
|
03 มิถุนายน 2013, 11:33:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #109 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2013, 11:33:PM » |
ชุมชน
|
๐เฉพาะพ้อเพียงผิดเพ้อ พจีพาล ถูกบ่พร่ำกลับขาน ขื่นเขี้ยว โอ้มนุษย์มโนชยาม รักยื่น เปลี่ยนรสฝืดเฝื่อนเปรี้ยว แปร่งลิ้นเสน่ห์สลาย
๐แรกรักคลายเงื่อนคล้อย คำชาย รักหนึ่งซึ้งทรวงหลาย หลอกซ้ำ เผลอเพียงค่ำนางหมาย รักใหม่ รักดื่มด่ำลึกล้ำ ช่างสั้นสนองสมร
๐พจน์บวรน้องออดอ้อน อภินันท์ ช่างชุบช่างเสกสรร สวาทแสร้ง มิรักเร่าร้อนปัน รักแปร่ง โอ้แน่งน้อยช่างแกล้ง กล่อมเคลิ้มกลืนขวัญฯ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
04 มิถุนายน 2013, 02:44:AM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #110 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 02:44:AM » |
ชุมชน
|
๐หลายสิ่งติงเพื่อนพ้อง ครองเคือง หลายสิ่งจรรโลงเรือง เรื่องย้ำ หลายสิ่งสิ่งหลายเปลือง เนืองขัด ใจนา หลายสิ่งติงเพื่อค้ำ ค่ำเช้าเนาคลอง๐
๐ลองฟังยั้งโอฐโอ้ ความคิด ลองหยั่งยั้งสักนิด ก่อนถ้อย ลองตรองตรึกสะกิด ใจต่อ คำนา ลองก่อนแม้สักน้อย ค่อยย้อนวอนลอง๐
Orion264(มือขวา) ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
04 มิถุนายน 2013, 03:19:AM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #111 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 03:19:AM » |
ชุมชน
|
ผังของโคลงสี่สุภาพ เอก ๗ โท ๔
๐๐๐๐่๐้ ๐๐(๐๐) ๐๐่๐๐๐ ๐่๐้ ๐๐๐่๐๐ ๐๐่(๐๐) ๐๐่๐๐๐้ ๐่๐้๐๐
นี่คือผังของโคลงสี่สุภาพที่ตำราบังคับว่า ตรงตำแหน่งทั้ง ๗ (ที่เน้นสีแดง)นั้น ให้ใช้รูปวรรณยุกต์เอก(ไม้เอก) โดยไม่บังคับว่าจะเป็นพยัญชนะ เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงกลาง ใช้ได้หมด หรือถ้าหาคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกไม่ได้ อนุโลมให้ใช้คำที่เป็นคำตาย คือคำที่สะกดด้วยพยัญชนะ แม่ กก แม่กด เแม่ กบ และคำทีเป็นสระเสียงสั้นที่เป็นรัสสะ เช่น อะอิอุ ได้ ห้ามใช้รูปวรรณยุกต์อื่นๆ เช่น ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวาในตำแหน่งดังกล่าว (ยกเว้นในบาทแรกคำที่ ๔-๕ ให้ใช้เอกโท สลับตำแหน่งกันได้ แต่ไม่ใคร่นิยมใช้นัก)
ส่วนตำแหน่งที่เน้นสีฟ้านั้นคือตำแหน่งที่บังคับรูปวรรณยุกต์ โท(ไม้โท) โดยไม่บังคับว่าพยัญชนะต้นเสียงจะเป็นพยัญชนะเสียงใด ห้ามใช้รูปวรรณยุกต์อื่น เช่นไม้เอก ไม้ตรี ไม้จัดวา และคำตาย เสียงสูงเสียงต่ำ เสียงสามัญแทนในตำแหน่งดังกล่าว (ยกเว้นในบาทแรกคำที่ ๔-๕ ให้ใช้เอกโท สลับตำแหน่งกันได้ แต่ไม่ใคร่นิยมใช้นัก)
ตำแหน่งอื่นๆ(ภายในวงเล็บ) คือตำแหน่งที่ให้เติมคำสร้อยลงไปได้ในกรณีที่เนื้อความยังไม่ครบ โดยคำสร้อย ให้ใส่ได้ในบาทที่ ๑ กับบาทที่ ๓ เท่านั้น และควรเว้นสร้อยเจตนัง(การใส่สร้อยตามใจชอบโดยไม่มีอยู่ในตำรา)
ความจริงยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอยู่อีกนิดหน่อย แต่ในที่นี้ต้องการกล่าวถึงเรื่องเอก ๗ โท ๔ เท่านั้น
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
04 มิถุนายน 2013, 03:54:AM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #112 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 03:54:AM » |
ชุมชน
|
๐ฝึกโคลงโยงต่อถ้อย คำพัน-ทองเอย ลองแต่งออกทุกวัน หวั่นบ้า ควรหยุดบ่สังสรรค์ ลาก่อน พันเอย ขออยู่ลำพังข้า ไป่ใกล้ใครใคร๐ โคลงแบบเอกเจ็ดโทสี่ มิสคอลหนึ่งขนานแท้ (เสียงเอกตรงตำแหน่งเอก เสียงโทตรงตำแหน่งโทเด๊ะ)
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
04 มิถุนายน 2013, 06:06:AM |
|
|
04 มิถุนายน 2013, 09:34:AM |
|
|
04 มิถุนายน 2013, 10:29:AM |
|
|
04 มิถุนายน 2013, 11:58:AM |
|
|
04 มิถุนายน 2013, 12:53:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #117 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 12:53:PM » |
ชุมชน
|
๐โคลงกระผมพล่ามเพี้ยง ปฐมสาร ตรึกตระหนักตามบุราณ ร่ายไว้ ดัดแปลงวิวัฒน์การ เกินกว่า- เกล้าเอย เพียงย่ำอยู่ให้ได้ เดชดั้นดังเดิม
๐จึ่งเริ่มบทเริ่มด้วย ดอนใด ค่อยคืบค่อยคลานไป หล่มนั้น ตำราเก่าแนบนัย นวรัตน์ จึงฝึกฝนทนปั้น ปลั่งเปลื้องตามปม
๐กลบทเลิศค่าคล้าย พัฒน์พจี ผมกลับบ่อาจมี ปรัชญ์จ้าน แอบอ่านอรรถกวี โคลงเอก แล้วจดจำกิ่งก้าน ลอกแก้วกาญจน์กลอน
๐ใครก็อาจสอนศาสตร์สร้าง โคลงฉวี ผมนบน้อมเรียนวิธี ท่านพร้อง แต่งมาเถิดโคลงศรี สาส์นศักดิ์ ร่ายระบัดหล้าซ้อง สรุตร้องลายสยามฯ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
04 มิถุนายน 2013, 11:36:PM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #118 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 11:36:PM » |
ชุมชน
|
ผมก็เป็นหนึ่งผู้ ชอบโคลง รจิตลิขิตโยง แต่งเหล้น โทเอกกว่าโขยง เกินเรื่อย เสพติดโคลงเข้าเส้น ถักร้อยตามประสา
บางคราก็อยากแต้ม ตามใจ ไร้กฎไร้เกณฑ์ใด กรอบกั้น แม้แจ้งว่าอะไร ผิดพร่อง เมื่อมิตรสะกิดนั้น รับได้ไป่ระคาง
แม้นว่างก็จักแก้ ดังคำ ที่เพื่อนชี้แนะนำ กล่าวถ้อย แต่อาจร่วมฉนำ นาท่าน แถลงบอกกันสักน้อย พี่น้องอย่าเคือง
ศรีเปรื่อง ๔ มิ.ย. ๒๕๕๖
|
|
|
|
07 มิถุนายน 2013, 06:39:PM |
|
|
|