เพลงคำระบำขาน
๏ ประกาศศาสตร์ประกันสรรประกายศัพท์
สลวยหน่วยสลับนับสลอนหนอ
วิภัชคัดวิภาคราวิพุธคลอ
แสลงแซงสะล้อซอ..สลักซึง
๏ เสบยเคยเสบียงเคียงสะบัดขาน
สมัยไหนสมานนานเสมือนหนึ่ง
เฉลิมเจิมแชล่มแจ่มเชลงจึง
สล้างต่างสลึงตึง..สลายตัน
๏ ระบำคำระบือคือระเบียบขัด
ประทานสารประทัดซัดประเทืองสันต์
สมัครวรรคสมองว่องเสมอวัน
เสนาะเผาะสนั่นพลัน..สนุกพิศ
๏ สะเดาเผาสะเด็ดเผ็ดสดับผล
ประพันธ์กันประพนธ์กลประไพรกิจ
ตะกายหมายตระการมานตระกองมิตร
วิจัยชัยวิจิตรชิด..วิจารณ์ชม
๏ เผดิมเจิมผดุงจรุงเผดียงจด
พยานสานพยศสดพญาสม
กระเจิดเพริศกระจายพรายกระจ่างพรม
นิยายขายนิยมคม..นิยามค้าน
๏ ประลัยใสประหลาดศาสตร์ประลองศิลป์
กระหวัดพัดกวินพิณกวีผ่าน
ฉลาดกาจฉลองก้องเฉลียวกานท์
พิมลวนพิมานหวาน..พิมุขเวียง ๚ะ๛
คอนพูทน
กลบทนารายณ์ประลองศิลป์ กลอนเก้าคำ เช่น.......พิมลวนพิมานหวาน..พิมุขเวียง
กำหนดให้คือคำที่ ๑-๔-๗ ซ้ำกันและเป็นคำตายไม่มีตัวสะกด (พิ-พิ-พิ) สัมผัสอักษร
สองคู่คือคำที่ ๒-๕-๘ (มล-มาน-มุข) และคำที่ ๓-๖-๙ (วน-หวาน-เวียง) สัมผัสสระชิด
สองคู่คือคำที่ ๒-๓ (มน-วน) และคำที่ ๕-๖ (มาน-หวาน) ส่วนคำที่ ๘-๙ (มุข-เวียง)
เขียนตามอิสระไม่ต้องสัมผัสสระชิด นอกนั้นเหมือนกลอนสุภาพ ด้วยความขอบคุณ