ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ยังจดจำรอยเจ็บจากเล็บเหยี่ยว
ยังจดจำรอยเจ็บจากเล็บเหยี่ยว
ที่เกาะเกี่ยวขาแขนในแดนฝัน
เริ่มหน้าหนาวข้าวนาเหลืองลาวัณย์
ช่วงสุขสันต์ผองเราเด็กเฝ้าคอย
เคยถูกหนามเล็บเหยี่ยวมาเกี่ยวเสื้อ
เกาะหนังเนื้อเลือดนองจำต้องถอย
หวังเก็บผลกินให้ชื่นใจลอย
แตนก็ต่อยตอนยื้อยื่นมือไป
ถูกซ้ำเติมความเจ็บหนึบเหน็บหนัก
ยังคึกคักหัวเราะวิ่งเลาะไล่
ล้วนผองเพื่อนเด็กน้อยร้อยดวงใจ
หาต้นใหม่ไม่ยากสองฟากทาง ฯ
อริญชย์
๘-๑๒-๒๕๕๕ชื่อวิทยาศาสตร์ Ziziphus oenoplia (L.) Mill. var. oenoplia
ชื่อพื้นเมือง เล็บแมว, ยับเยี่ยว (นครราชสีมา)
ตาฉู่แม, ไลชูมี (กะเหรี่ยง –เชียงใหม่)
พุทราขอ, เล็ดเยี่ยว, เล็บเหยี่ยว (ภาคกลาง)
มะตันขอ, หนามเล็บเหยี่ยว, หมากหนาม (ภาคเหนือ)
ยับยิ้ว (ภาคใต้); สั่งคัน (สุราษฎร์ธานี, ระนอง)
แสงคำ (นครศรีธรรมราช)
ชื่อวงศ์ RHAMNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เล็บเหยี่ยวเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถาและกิ่งมีหนามแหลมงอทั่วทั้งต้นเปลือกเถาสีดำเทา เปลือกในสีแดง
ใบ ใบเดี่ยว รูปทรงกลมรีเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนนุ่มสั้นๆ หลังใบ สีเขียวเข้ม คล้ายใบพุทรา
ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ เป็นกระจุกตามซอกใบ
ผล ผลเป็นผลกลม ผลดิบจะมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีดำ มี 1 เมล็ด
แหล่งที่พบ ป่าเต็งรังและป่าคืนสภาพ
ประโยชน์
ผลของเล็บแมวกินได้ มีรสเปรี้ยวอมหวานมีสพรรคุณทางสมุนไพรทำให้ชุ่มคอ แก้เสมหะ ภูมิปัญญาพื้นบ้านจำแนกเล็บแมวไว้เป็น 2 ชนิดคือเล็บแมวตัวผู้และเล็บแมวตัวแม่ โดยใช้ลักษณะของหนามที่แตกต่างกันเป็นตัวจำแนก เล็บแมวผู้นิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพรมากกว่าเล็บแมวตัวแม่ โดยส่วนของเปลือกและรากนำมาต้มดื่มใช้ขับปัสสาวะ ข้อมูลจาก :http://www.tistr.or.th/sakaerat/index.php
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://siriwan72.wordpress.com/2011/10/01/326/_107