10 กันยายน 2012, 01:08:PM |
อริญชย์
|
|
« เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 01:08:PM » |
ชุมชน
|
กลอนงามเด่นควรวาง
โคลงดั้นวิวิธมาลี
เธอทุกข์ทนเหนื่อยท้อ……ทางไกล มองบ่เห็นแสงดาว…………พร่างฟ้า จึงยอมถอดถอนใจ…………หลบหลีก ลืมว่าเคยเอื้อมคว้า………….ฝั่งฝัน
เธอเคยแข็งแกร่งกล้า…….ยืนยง เริงร่าทุกคืนวัน……………..แน่แท้ ไยจึงบ่ดำรง………………..หมายรุ่ง เรืองแฮ กลายหม่นยอมล้มแพ้…..ร่ำลา
เธอเขียนคำผิดบ้าง…………บางคราว มิตรส่งสาส์นตรงมา………..โอบอ้อม แจงเป็นเรื่องเป็นราว……….ผิดถูก ดีนา เพียงมุ่งหวังถ้อยพร้อม…….แด่นวล
เธอคิดเคืองขุ่นร้าย………….จงจาง มาแต่งคำรัญจวน…………...ยั่วเย้า กลอนงามเด่นควรวาง……..จรดค่า ผองเพื่อนยังจ้องเข้า……….ต่อกลอน ฯ
อริญชย์ ๑๐/๙/๒๕๕๕
ปล.ขอบคุณท่านกามนิต ที่ชี้แนะชื่อโคลงดั้นวิวิธมาลี
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พยัญเสมอ, ไร้นวล^^, กามนิต, ดาว อาชาไนย, บ้านริมโขง, --ณัชชา--, เมฆา..., พี.พูนสุข, บัณฑิตเมืองสิงห์, ลมหนาว, รัตนาวดี, รพีกาญจน์, เนิน จำราย
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
10 กันยายน 2012, 01:35:PM |
พยัญเสมอ
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 01:35:PM » |
ชุมชน
|
จะให้วิจารณ์ไงล่ะครับ นี่มันเป็นโคลงดั้น แต่ว่า ผมก็ชอบโคลงสี่สุภาพมากกว่า โคลงดั้น พวกโคลงอื่นๆ อย่างพวกโคลง ตรีพิธพรรณ ผมยังมองไม่เห็นประโยชน์ ของการวางสัมผัสให้แปลกไปจากโคลงสี่ นอกจากเพื่อความแปลก และความแต่งยาก บางทีปัญญาระดับเราอาจเข้าไม่ถึงความลับและจุดประสงค์ของกวีโบราณที่เขาบัญญัติก็ได้ หรือมิฉะนั้นก็คือ ขาดการถ่ายทอดที่สมบูรณ์แบบ คงเหลืออยู่แต่ผังและวิธีแต่ง กับเนื้อโคลงของเก่าเท่านั้น ทำนองเดียวกับเนื้อเพลงที่ทำนองดนตรีสูญหายไป คงเหลือแต่เนื้อเพลงเปล่าๆ เราอ่านก็เพียงได้อ่านแต่เนื้อที่เขียนว่ายังไงเท่านั้น ส่วนขับร้องยังไงเราไม่มีทางทราบ เช่นเดียวกับบทประพันธ์ต่างๆที่โบราณบัญญัติขึ้น เราก็เพียงเห็นว่าแปลกๆเท่านั้น แต่ดียังไง ไพเราะยังไง และคนโบราณเขาเห็นว่ามันดียังไง เขาถึงได้บัญญัติขึ้นเราเองก็ไม่มีทางทราบได้ เนื่องจากอาจจะไม่ได้รับการถ่ายทอดเคล็ดลับบางประการ ได้แค่ผังและวิธีแต่งเท่านั้น (อันนี้คือ ความคิดของผมนะ) บางทีนั่งมองโคลงอื่นๆ อย่างโคลงสองสุภาพ สามสุภาพ แล้วต้องมานั่งคิดว่า มันดียังไง ไพเราะยังไง ทั้งนี้เป็นเพราะเรายังไม่เข้าใจความลับของมันนั่นเอง
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ไร้นวล^^, กามนิต, ดาว อาชาไนย, บ้านริมโขง, อริญชย์, --ณัชชา--, เมฆา..., ไพร พนาวัลย์, พี.พูนสุข, บัณฑิตเมืองสิงห์, ลมหนาว, รัตนาวดี, รพีกาญจน์, เนิน จำราย
ข้อความนี้ มี 14 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย, เทพเจ้าไก่
|
|
|
10 กันยายน 2012, 02:56:PM |
กามนิต
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 02:56:PM » |
ชุมชน
|
กลอนเหนื่อยๆ
(โคลงดั้นบาทกุญชร)
วันวันเวียนเลคเช้อร์ ทฤษฎี ย้ำย่ำยำตามกาล เก่าสร้าง อนาคตทุกนาฑี เทียวหม่น กลอนเหนื่อยนอนอ้างว้าง เวี่ยโหวง ฯ
จ๊อกจ๊อกลำไส้บ่น บาหิว! กระเพาะเต้นโคลงเคลง ขุ่นข้อง หูตาพร่าหวิวหวิว ลมจะจับ กลอนยัดใส่ท้องแล้ว อิ่มหรือ ฯ
สั่งไข่เจียวกับข้าว อุ่นขาว ซ้อสราดพลางเร่งมือ เขมือบเกลี้ยง น้ำเปล่ากลบเรื่องราว ลงกระเพาะ กลอนบ่กลับหล้าเลี้ยง หล่อฝัน ฯ
ฝ่าฝนเดินข้ามเกาะ กลางถนน ขึ้นรถเมล์แน่นคัน กลับบ้าน ทิ้งฝันท่ามสายฝน เฉอะแฉะ กลอนเน่าไหลคร้านเข้า เขรอะคลอง ฯ
กามนิต ๑๐ ก.ย.๕๕
ป.ล. คนแต่งโคลงดั้นน้อย อาจจะจริงที่เสียงและจังหวะโคลงแบบโบราณหายไปจากหูคนรุ่นใหม่แล้ว คงเหลือแต่โคลงสี่สุภาพที่ขึ้นแท่นมายาวนานตั้งแต่อยุธยาตอนต้นจนปัจจุบัน ส่วนโคลงทัณฑีทั้งหลาย (ตรีพิธพรรณ, จัตวาทัณฑี) คงสูญสลายไปตามกาลเพราะเกิดมาเพื่อทดลองเท่านั้น คนสมัยนี้ไม่นิยมแล้วจริงๆ ใครเผลอแต่ง พานจะมีคนมาตำหนิว่ารับส่งสัมผัสผิดเอาเสียเปล่า 555+
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บ้านริมโขง, พยัญเสมอ, ไร้นวล^^, อริญชย์, --ณัชชา--, เมฆา..., ไพร พนาวัลย์, พิมพ์วาส, พี.พูนสุข, บัณฑิตเมืองสิงห์, ลมหนาว, รัตนาวดี, รพีกาญจน์, เนิน จำราย
ข้อความนี้ มี 14 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
ความรักแท้จริงมีสีดำดังศอพระศิวะ
|
|
|
10 กันยายน 2012, 04:00:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 04:00:PM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมวิจารณ์ให้ความกระจ่าง พอดีได้อ่านโคลงบทนี้ ก็เลยยึดเป็นแบบในการแต่งโคลงที่ให้วิจารณ์ข้างบน จึงใช้สัมผัสระหว่างบทตามโคลงบทนี้แหละ ผิดพลาดประการใด ขอผู้รู้ทั้งหลายช่วยชี้แนะอีกที ถ้ามีโอกาส
อยุธยายศยิ่งฟ้า………..ลงดิน แลฤา อำนาจบุญเพลงพระ…..ก่อเกื้อ เจดีย์ลอออินทร์……….ปราสาท ในทาบทองแล้วเนื้อ…..นอกโสรม ฯ
พรายพรายพระธาตุเจ้า….เจียนจันทร์ แจ่มแฮ ไตรโลกเล็งคือโคม……..ค่ำเช้า พิหารระเบียงบัน……….รุจิเรข เรืองแฮ ทุกแห่งห้องพระเจ้า…….นั่งเนือง ฯ
ศาลาอเนกสร้าง…………แสนเสา โสดแฮ ธรรมาสน์จูงใจเมือง…….สู่ฟ้า พิหารย่อมฉลักเฉลา……ฉลุแผ่น ไส้นา พระมาศเลื่อมเลื่อมหล้า…หล่อแสง ฯ
ตระการหน้าวัดแหว้น…..วังพระ บำบวงหญิงชายแชรง……ชื่นไหว้ บูรพาท่านสรรค์สระ…….สรงโสรจ ดวงดอกไม้ไม้แก้ว………เบ่งบาล ฯ
กุฎีดูโชติช้อย…………….อาศรม เต็มร่ำสวรรค์ฤๅปาง……..แผ่นเผ้า เรือนรัตน์ภิรมย์ปราง……สูรยปราสาท แสนยอดแย้มแก้วเก้า……เฉกโฉม ฯ
(คำโคลงกำสรวลสมุทร)
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : --ณัชชา--, ไร้นวล^^, เมฆา..., ไพร พนาวัลย์, ค.คนธรรพ์, พิมพ์วาส, พี.พูนสุข, บัณฑิตเมืองสิงห์, ลมหนาว, รัตนาวดี, รพีกาญจน์, เนิน จำราย, Music
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
10 กันยายน 2012, 04:46:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 04:46:PM » |
ชุมชน
|
(ฉบับแก้ไข เพราะคำที่๔ที่๕ ที่ดูตามท่านกามนิตเป็นรูปวรรณยุกต์โท กระผมพลาดจึงกลับมาแก้ไขใหม่ และรวมทั้งการส่งสัมผัสสลับกันระหว่างคำสี่และคำห้า รวมถึงบางตำแหน่งที่ใช้รูปวรรณยุกต์เอก อ้อรวมถึงคำสุดท้ายของบาทที่สามมาสัมผัสกับคำที่สี่ของบาทแรกบทต่อไป)จักขอลองดูสักครั้งด้วยนะครับท่านทั้งหลาย (โคลงดั้นบาทกุญชร)โคลงดั้นโคลงคาดคั้น คำคำ (คำที่สองหมายถึงทอง) ดั่งบุราณคณาจารย์ ผนึกให้ เรืองรายร่ายเรียงรำ เรียนร่ำ รองเฮย รู้รักษ์เริ่มรู้ไว้ ศักดิ์ศรีอักษราเราพร่ำร้อย รจนา ริ้วประเพณีไทย ทิพย์ถ้วน พราวเพริศพจน์ภาษา สูงศักดิ์ ดวงเด่นเดือนล้วนแพ้- พ่ายแสงคมปัญญาจักเพี้ยง เสี้ยวกวี จักไม่หน่ายแหนงเพียง ยากก้าว จักอุตส่าห์สานวจี เจิดจรัส หน่วงเหนี่ยวแนะน้องน้าว พิสมัยแล้วโยงโคลงพัทธ์พ้อง พงศ์สยาม จนตราบผืนผไทมลาย โลกล้ม เอกอักขระระบือนาม นรชาติ ไทยเฮย คอยเคี่ยวคำก้มกว้าน กวัดเฉลิมมาเถิดมาวาดเงื้อ งานศิลป์ จนเทพเคลิบเคลิ้มคอย ร่ายร้อง โปรยบุปผชาติทิพย์ริน รดรติ ทั่วภพสุขซึ้งซ้อง ศาสตร์สยามฯ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
10 กันยายน 2012, 07:49:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 07:49:PM » |
ชุมชน
|
โคลงกำสรวลเป็นวรรณคดีโบราณที่สำคัญ มาก มีลักษณะยอดเยี่ยมหลายประการโดยเฉพาะการใช้ถ้อยคำและโวหาร เนื่องจากผู้แต่งเลือกสรรคำมาแต่ง ทุกบาททุกบทล้วนมีความหมายเด่น ลึกซึ้ง สะเทือนอารมณ์ กวีผู้แต่งได้รักษาข้อบังคับการแต่งโคลงอย่างเคร่งครัด ความดีเด่นพิเศษของวรรณคดีเรื่องนี้คือ ความคิดที่แปลกและยิ่งใหญ่ จนได้รับการยกย่องจากกวีรุ่นหลังให้เป็นแบบอย่างงานเขียนที่แสดงความคิดที่ไม่ซ้ำแบบใคร ทั้งนี้เพราะกวีทั่วๆ ไปเมื่อต้องเดินทางจากคนรัก ย่อมมีความห่วงใย จึงเลือกฝากนางไว้กับผู้ใหญ่ที่ตนแน่ใจว่าจะคุ้มครองหญิงที่รักให้ปลอดภัย แต่กวีผุ้แต่งโคลงกำสรวลกลับใช้โวหารที่แหลมคมยั่วล้อผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น
โฉมแม่จักฝากฟ้า เกรงอินทร์ หยอกนา อินทรท่านเทอกเอา สู่ฟ้า โฉมนางจะฝากดิน ดินท่าน แล้วแฮ ดินท่านขัดเจ้าหล้า สู่สมสองสม
โคลงกำสรวลเป็นแบบฉบับให้กวีในสมัยหลังเลียนแบบสำนวนโวหารในการแต่งวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อยของพระยาตรัง และโคลงนิราศนรินทร์ ของนายนรินทรธิเบศ (อิน) ตัวอย่างโคลงกำสรวลที่ มีผู้เลียนแบบมากคือ
อยุธยายศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤา อำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อ เจดีย์ลอออินทร ปราสาท ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสม ------------ สารนี้นุชแนบไว้ ในหมอน อย่าแม่อย่าควรเอา อ่านเหล้น ยามนอนนาฏก์เอานอน เป็นเพื่อน คืนค่ำอย่าได้เว้น ว่างใด
|
|
|
|
10 กันยายน 2012, 08:38:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 08:38:PM » |
ชุมชน
|
(กระผมไปค้นโคลงที่ท่านพี่กามนิตกล่าวถึงคือ โคลงจัตวาทัณฑี จะลองหัดแต่งไว้ในเบื้องต้นดูนะครับ)โคลงควรคุณค่าค้ำ คติคน ลิขิตคิดดลดี ประดับเกล้า ถางถ่มบ่มโคลงปน เลนหล่ม หวังสลักอักษรเข้า ขนบเหย้ายิ่งหมอง
ตรึกตรองก่อนกระเห่อห้าว กานท์ไกร รอบคอบชอบในคำ เพราะถ้อย จึงค่อยปล่อยโคลงไป ประกิต เผลอพล่อยพร่ำพจน์ด้อย ย่ำช้ำวงศ์ระแหง
พลิกแพลงเพียงเพียบพร้อม พจน์เพริศ กลับตวัดกวัดเชิดชาญ เชี่ยวช้อย ริร่ายง่ายงุดเตลิด ตำตลาด ยิ่งคร่าโคลงค่าน้อย อรรถต้อยต่ำตาม
ผมพล่ามคำดั่งนี้ พอที เพื่อนอาจตวาดตีเตะ ต่อยท้อง ละอ่อนกร่อนแกล้งดี สอนสั่ง บงกชใต้น้ำร้อง ป่าวปั้นขวัญเหลิงฯ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
10 กันยายน 2012, 09:58:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 09:58:PM » |
ชุมชน
|
๗. ๏ อยุธยายศโยกฟ้า ฟากดิน ผาดดินพิภพดยว ดอกฟ้า แสนโกฏบยลยิน หยากเยื่อ ไตรรัตนเรืองรุ่งหล้า หลากสรรค ๚ะ
— โคลงดั้นบาทกุญชร
โคลงกำสรวล ผู้แต่ง ยังสรุปไม่ได้ มีหลักฐานที่ค่อนข้างเชื่อได้ว่าโคลงกำสรวญนี้แต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ผู้แต่งเป็นคนละคนกับศรีปราชญ์ในตำนาน ลักษณะคำประพันธ์เป็นโคลงดั้นบาทกุญชร มีร่ายดั้นนำ โคลงตกหล่นไปมากตามกาลเวลา
ภาษาในโคลงกำสรวญเป็นภาษาเก่าแก่เกินสมัยพระนารายณ์ เมื่อพิจารณาดูจะเห็นว่าใกล้เคียงกับ ลิลิตยวนพ่าย ที่แต่งในสมัยพระบรมไตรโลกนาถมากกว่า
* สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ สาวส่งงเลวงเต็ม ฝ่งงเฝ้า สระเหนาะพี่หลยวเหลือ อกส่งง สารด่งงข้าส่งเจ้า ส่งงตน
ใช้อักขรวิธีแบบโบราณ
คำที่มี ํ อยู่ข้างบนเท่ากับเป็นสระโ-ะ และมี-มสกด เช่น พํรหม อ่านว่า พรหม, ชํ อ่านว่า ชม
คำที่มีตัวสกดสองตัวข้างหลัง ให้อ่านเป็นสระ-ะ สกดด้วยตัวนั้น เช่น ต้งง อ่านว่า ตั้ง,น้นน อ่านว่า นั้น
ตัว ย เท่ากับสระเ-ีย เช่น จยร อ่านว่า เจียร
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ที่กล่าวถึงในโคลง เป็นตำแหน่งสนมเอกของพระเจ้าแผ่นดิน
|
|
|
|
10 กันยายน 2012, 11:56:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 10 กันยายน 2012, 11:56:PM » |
ชุมชน
|
อาศัยกระทู้ท่านอริญชย์นี่แหละครับฝึกโคลงอิอิอิ แต่แปลกตรงที่ตัวอย่างที่ท่านอริญชย์ยกมานั้น ต่างจากที่แบบแผนที่เขียนไว้ให้เรียนครับ คือคำสี่,ห้าของบาทสุดท้ายรูปโททั้งคู่ และส่งสัมผัสกับคำสี่ กระผมจึงจะแต่งโดยยึดแบบนี้ไว้ ซึ่งจะต่างจากท่านอริญชย์เล็กน้อย (โคลงดั้นวิวิธมาลี)(แต่ขออภัยท่านอริญชย์เจ้าของกระทู้ที่อาศัยกระทู้ท่านบ่นเบื่อสภาพสังคมสักเล็กน้อย) ค่ำนี้ยินข่าวข้น จากเมือง จีนเฮย เป็นเด็กเก้าขวบคอย ไล่ปล้ำ สาวยี่สิบหน้าเหลือง ปากซีด โอ้..เด็กวิ่งจ้ำเข้า ข่มขืน
โอ้...โลกเอ๋ยวิปริตได้ เด็ดดวง ข่าวแปลกทุกค่ำคืน ตระหง่องเศร้า ข่าวโจรข่าวหลอกลวง ยอกทรัพย์ เห่อนาคทิพย์เข้าค้น บ่อฉัน
โอ้....โจรใต้แต่งแต้ม คาร์บอม รวมกว่าสิบสองคัน ทั่วใต้ ทหารตำรวจยังตรอม ตรวจแต่ บ่เห็นเฮย นั่น!ประชาชนไร้แล้ว ซึ่งหวัง
หันมามองเด็กสร้าง อนาคต เห็นแต่เอะอะเสียงดัง ซิ่งแว้น ไม่งั้นก็แอบสะกด- รอยอริ ขึ้นรถเมล์แค้นค้าง จ่อสวน
ในกรุง,บ้านนอกล้วน อันตราย ต้องระมัดระวังจวน รอบด้าน หวังแต่พึ่งกฎหมาย ใดช่วย สำรวจรั้วบ้านนั้น แน่นหนา
เมื่อจิตใจมนุษย์ไร้ คุณธรรม ตอกหลักกำแพงหา เหล็กกล้า มิอาจแกร่งทานนำ สงบสุข เห็นแต่เพียงคว้าคล้อย ศาสน์ศีลฯ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
11 กันยายน 2012, 10:26:AM |
ค.คนธรรพ์
Special Class LV3 นักกลอนผู้มากผลงาน
คะแนนกลอนของผู้นี้ 73
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 145
คำ คำ คำ ค่ำ ค่ำ คำ คำ
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 10:26:AM » |
ชุมชน
|
โคลงดั้นบาทกุญชร มีลักษณะเด่นที่รับส่งสัมผัสแบบเท้าช้าง การย่างก้าวของช้างนั้น ต่างจากสัตว์จตุบาทชนิดอื่นอย่างเสือ สิงโต กระทิง โดยช้างจะยกเท้าหน้าหลังไปพร้อมกันที่ละซีกของลำตัวช้าง หากเริ่มที่ซีกซ้าย ช้างจะยกเท้าหน้าและเท้าหลังของซีกซ้ายก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน เมื่อเท้าสัมผัสพื้น หยุดเท้าหน้าหลังซีกซ้ายไว้ จากนั้นจึงยกเท้าหน้าและเท้าหลังซีกขวาตามมาเพื่อก้าวไปข้างหน้าต่อ เป็นเช่นนี้ในทุกย่างก้าวของช้าง ตามรูป เลขศูนย์สีดำบนขวา แทนรอยเท้าหน้าหลังซีกขวาของช้าง ส่วนเลขศูนย์สีดำล่างซ้าย คือ รอยเท้าหน้าหลังซีกซ้ายนั่นเอง เมื่อเราโยงเส้นรับส่งสัมผัสให้เท้าหน้าขวาสัมผัสกับเท้าหน้าซ้าย เท้าหลังขวาสัมผัสกับเท้าหลังซ้าย ก็จะได้เป็นผังบังคับสัมผัสของโคลงดั้นบาทกุญชร นี่เองคือที่มาของชื่อบาทกุญชรหรือโคลงดั้นสัมผัสเท้าช้าง มีโคลงดั้นบาทกุญชรของนักกลอนผู้หนึ่งที่ผมรู้สึกประทับ ขอนำมาเป็นตัวอย่าง หอมกลีบพวงช่อแก้ว คำสกาว ผจงถักเรียงเอกโท แน่แท้ คลอสนิทกล่อมคืนหนาว เพลงนุ่ม พิศลักษณ์งามโอ้แล้ พร่างสลอนฯ
หวานหนอพาชุ่มนี้ ทรวงใน เย็นชื่นยลอรชร อ่อนช้อย ดังสวรรค์เด่นพราวไสว ครวญแว่ว เทียนต่อเทียนล้วนถ้อย ประดับสถานฯ
สลักพจน์..ลมแผ่วพลิ้ว ชมเพลิน หลงกลิ่นบทเพลงกานท์ เทิดก้อง ฉลุคำจากโขดเขิน สดับขับ รักษ์แค่ชวนร้องคล้อง จุ่งเขียนฯ
คอนพูทน
|
คำ คำ คำ ค่ำ ค้ำ คำ คำ
|
|
|
11 กันยายน 2012, 10:51:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 10:51:AM » |
ชุมชน
|
เข้ามาปุ๊บ เจอเรื่องนี้ เลยต้องเขียนปั๊บ
ว้าว ยอดเยี่ยมๆๆ มากๆๆๆ ครับ คุณคนทัน
แหมนี่ต้องเรียกว่า เข้าใจจริง เข้าใจซึ้ง นี่เป็นเหตูผลหนึ่งในหลายๆ แง่มุมที่กวีโบราณเขาทิ้งไว้ให้เราขบคิด
ต้องขอบคุณมากๆ ที่ให้แง่มุมน่ารู้นี้
.....บางทีปัญญาระดับเราอาจเข้าไม่ถึงความลับและจุดประสงค์ของกวีโบราณที่เขาบัญญัติก็ได้ หรือมิฉะนั้นก็คือ ขาดการถ่ายทอดที่สมบูรณ์แบบ คงเหลืออยู่แต่ผังและวิธีแต่ง กับเนื้อโคลงของเก่าเท่านั้น .....ทำนองเดียวกับเนื้อเพลงที่ทำนองดนตรีสูญหายไป คงเหลือแต่เนื้อเพลงเปล่าๆ เราอ่านก็เพียงได้อ่านแต่เนื้อที่เขียนว่ายังไงเท่านั้น ส่วนขับร้องยังไงเราไม่มีทางทราบ .....เช่นเดียวกับบทประพันธ์ต่างๆที่โบราณบัญญัติขึ้น เราก็เพียงเห็นว่าแปลกๆเท่านั้น แต่ดียังไง ไพเราะยังไง และคนโบราณเขาเห็นว่ามันดียังไง เขาถึงได้บัญญัติขึ้นเราเองก็ไม่มีทางทราบได้ เนื่องจากอาจจะไม่ได้รับการถ่ายทอดเคล็ดลับบางประการ ได้แค่ผังและวิธีแต่งเท่านั้น........................Orion264
อาจจะจริงที่ เสียงและจังหวะ โคลงแบบโบราณหายไปจากหูคนรุ่นใหม่แล้ว ...............กามนิต (นี่เป็นข้อคิดที่ ผู้รู้หลายท่าน ให้ความเห็นว่า ทำไม ฃ ฅ จึงหายไป และชี้ว่าเสียง ฎ ฏ ในคนทั่วไปก็หายไปแล้ว เราจึงออกเสียงเหมือน ด ต เสียง ฎ ฏ คล้ายเสียง th ในภาษาอังกฤษครับ ลองฟังคนอังกฤษพูด the จะเข้าใจได้)
ความโดดเด่น ของบ้านกลอนฯ (ความเห็นส่วนตัวครับ) อยู่ที่ เราผองเพื่อน พยายามแนะนำ ให้ความรู้ต่อกันอย่างจริงจัง จริงใจ ประคับประคองกันเมื่อมีพายุอารมณ์ถล่ม นี่เป็นสีสันจริงๆ (กลอนแอบรัก กลอนเหงา ฯลฯ มีมากมาย หาอ่านได้ทั่ว ไพเราะไม่แพ้ที่นี่)
ขอบคุณอีกครั้งครับ
|
|
|
|
11 กันยายน 2012, 12:17:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 12:17:PM » |
ชุมชน
|
จากแผนผังข้างบนครับ ท่านทั้งสองโปรดได้ไขข้อข้องใจผมด้วยเถิดครับ เพราะว่าในผังนั้นกระผมมีข้อสงสัยคือการรับสัมผัส มีดังนี้๑.คำที่๗ บาทที่๑ รับสัมผัสกับคำที่๕ บาทที่๓ (อันนี้ไม่สงสัย)
๒.คำที่๗ บาทที่๒ รับสัมผัสกับคำที่๔ บาทที่๔ (อันนี้สงสัยครับ เพราะในผังรับกับคำที่๔ แล้วผมsearchดูแผนผัง และโคลงโบราณชนิดนี้ของครูกวีโบราณ ท่านก็มักจะสัมผัสกับคำที่๕ กระผมก็เลยสงสัย หรือเป็นไปได้ว่าได้ทั้งสองตำแหน่ง??)
๓.สัมผัสระหว่างบท คำที่๗ บาทที่สามรับสัมผัสกับคำที่ ๔ บาทที่๑ ของบทถัดไป (อันนี้ผมสงสัยเนื่องจากบทแรกของท่านพี่กามนิตสัมผัสกับคำที่๕ เพราะผมนับถือว่าท่านพี่กามนิตคือผู้เชี่ยวชาญด้านโคลงที่สุดยอดคนหนึ่งของประเทศไทย ผมจึงมิอาจว่าท่านผิดไปจากผังครับ ซึ่งผมวิเคราะห์ว่า อาจจะเป็นไปได้ว่าได้ทั้งสองตำแหน่ง หรือผมอาจจะยังอ่านของเก่าน้อยไปหน่อย เพราะความเฉพาะตัวของแต่ละโคลงมีพอสมควร)
ขอขอบพระคุณมากๆครับ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
11 กันยายน 2012, 01:38:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 01:38:PM » |
ชุมชน
|
ขออนุญาตเป็นผู้เชี่ยวชาญหน่อยครับ 555 อยากได้หน้า ๒)คำที่๗ บาทที่๒ รับสัมผัสกับคำที่๔ หรือคำที่๕ ของบาทที่๔ ??? ตอบ : ได้ทั้งสองแห่งครับ (ตัวแดง) และบางครั้งเพื่อ แสดงความสามารถ ลงรูปวรรณยุกต์โททั้งสองแห่งเลย ดังในบทที่ ๑ บทที่ ๔ บทที่ ๕ คุณไร้นาม สังเกตดูสิครับ (จะลงแห่งเดียวก็ได้ครับ ดูบท ๒ บท ๓)
๑. อยุธยายศยิ่งฟ้า…….ลงดิน แลฤา อำนาจบุญเพลงพระ…..ก่อเกื้อ เจดีย์ลอออินทร์……….ปราสาท ในทาบทองแล้วเนื้อ…..นอกโสรม ฯ ๒. พรายพรายพระธาตุเจ้า….เจียนจันทร์ แจ่มแฮ ไตรโลกเล็งคือโคม……..ค่ำเช้า พิหารระเบียงบัน……….รุจิเรข เรืองแฮ ทุกแห่งห้องพระเจ้า…….นั่งเนือง ฯ ๓. ศาลาอเนกสร้าง……แสนเสา โสดแฮ ธรรมาสน์จูงใจเมือง…….สู่ฟ้า พิหารย่อมฉลักเฉลา……ฉลุแผ่น ไส้นา พระมาศเลื่อมเลื่อมหล้า…หล่อแสง ฯ ๔. ตระการหน้าวัดแหว้น…..วังพระ บำบวงหญิงชายแชรง……ชื่นไหว้ บูรพาท่านสรรค์สระ…….สรงโสรจ ดวงดอกไม้ไม้แก้ว………เบ่งบาล ฯ ๕. กุฎีดูโชติช้อย…………อาศรม เต็มร่ำสวรรค์ฤๅปาง……..แผ่นเผ้า เรือนรัตน์ภิรมย์ปราง……สูรยปราสาท แสนยอดแย้มแก้วเก้า……เฉกโฉม ฯ (บทที่ ๖ ยังหาไม่ได้ครับ) ๗. อยุธยายศโยกฟ้า ฟากดิน ผาดดินพิภพดยว ดอกฟ้า แสนโกฏบยลยิน หยากเยื่อ ไตรรัตนเรืองรุ่งหล้า หลากสรรค ๚ะ (คำโคลงกำสรวลสมุทร — โคลงดั้นบาทกุญชร)
๓)สัมผัสระหว่างบท คำที่๗ บาทที่สามรับสัมผัสกับคำที่ ๔ บาทที่๑ ของบทถัดไป ตอบ : เพราะทั้งสองตำแหน่งนี้ บังคับ รูปวรรณยุกต์เอก ครับ อ้าว แล้วคุณกามนิต ทำไมไป รับสัมผัสกับคำที่ ๕ บาทที่๑ ของบทถัดไป เสียฟอร์มผู้เชี่ยวชาญด้านโคลงโหมด ??? ไม่เลยครับ คุณกามนิต เข้าใจดี มันเกิดเพราะ การสลับ เอก โท เป็น โท เอก ครับ การรับสัมผัสของบทถัดไปจึง สลับที่
คือ โคลงมีกฎเกณฑ์ - คำที่ ๔ ที่ ๕ วรรคแรก ของบาทที่ ๑ ของบท ต้องมี รูปเอก โท (สลับกันได้) แต่ในการแต่งหลายๆ บท บทแรกต้อง เอก โท เท่านั้น อนุญาตให้ บทถัดไป - คำที่ ๔ ที่ ๕ วรรคแรก ของบาทที่ ๑ ของบท สลับ รูปเอก โท เป็น โท เอก ได้
* วันวันเวียนเลคเช้อร์ ทฤษฎี ย้ำย่ำยำตามกาล เก่าสร้าง อนาคตทุกนาฑี เทียวหม่น กลอนเหนื่อยนอนอ้างว้าง เวี่ยโหวง ฯ * จ๊อกจ๊อกลำไส้บ่น บาหิว! กระเพาะเต้นโคลงเคลง ขุ่นข้อง หูตาพร่าหวิวหวิว ลมจะจับ กลอนยัดใส่ท้องแล้ว อิ่มหรือ ฯ
คุณไร้นาม คงชัดเจนนะครับ
|
|
|
|
11 กันยายน 2012, 01:55:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 01:55:PM » |
ชุมชน
|
ผมเข้าใจแจ่มแจ้งดีมากครับท่าน และผมดีใจมากที่ความเข้าใจของผมเหมือนกับที่ท่านอธิบาย เพียงแต่ผมไม่แน่ใจรอท่านผู้รู้มาapproved เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วการแต่งโคลงจะสนุกขึ้นครับ หากยังมีความสงสัยกระผมจะแต่งไม่ราบรื่น ต้องยอมรับเลยว่าท่านคนทันอธบายเทียบกับช้างนั้น ผมสว่างในสมองทันที เพราะช้างเดินต่างจากสุนัขหรือแมว เพราะสุนัขหรือแมวเวลาวิ่งจ๊อกกิ้งมันจะสลับขากัน แต่ถ้ามันวิ่งspeedจะไปพร้อมคู่หน้าแล้วก็หลัง ส่วนช้างเดินผมสังเกตเหมือนท่านว่าไว้เลยครับ แต่ตอนช้างวิ่งผมคงต้องหาโอกาสดูอีกทีไม่แน่ใจจะเหมือนเดินไหม
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
11 กันยายน 2012, 02:52:PM |
|
|
11 กันยายน 2012, 05:41:PM |
ค.คนธรรพ์
Special Class LV3 นักกลอนผู้มากผลงาน
คะแนนกลอนของผู้นี้ 73
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 145
คำ คำ คำ ค่ำ ค่ำ คำ คำ
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 05:41:PM » |
ชุมชน
|
คือ โคลงมีกฎเกณฑ์ - คำที่ ๔ ที่ ๕ วรรคแรก ของบาทที่ ๑ ของบท ต้องมี รูปเอก โท (สลับกันได้) แต่ในการแต่งหลายๆ บท บทแรกต้อง เอก โท เท่านั้น อนุญาตให้ บทถัดไป
ผมเพิ่งรู้นะ รู้สึกยะเยือกจริงๆ มีบทโคลงเรื่องหนึ่ง ผมเริ่มต้นว่า ดูดดื่มน้ำ ค้างอ่อน ยอดหญ้า แผ่ซาบซ่านโลมา ชีพฟื้น เปิดบาทแรก ก็ลงข้างทางทันที ทำให้นึกวิวาทะระหว่างคุณมือขวากับคุณระนาดเอก แต่หลังจากนี้ พอรู้แล้ว จะแต่งให้ผิดได้ถนัดถนี่ ถ้าแต่งตามแบบแผนจารีตนิยม ก็ต้องยืนตามมตินี้
|
คำ คำ คำ ค่ำ ค้ำ คำ คำ
|
|
|
11 กันยายน 2012, 06:09:PM |
|
|
11 กันยายน 2012, 07:18:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 07:18:PM » |
ชุมชน
|
เพื่อให้ชัดเจน ขออนุญาตเพิ่มเติม โดยขอยก โคลงในจินดามณี มาให้ร่วมกันพิจารณาครับ
๏ ให้ปลายบาทเอกนั้น มาฟัด (เอก โท) ห้าที่บทสองวัจน์ ชอบพร้อง บาทสามดุจเดียวทัด ในที่ เบญจนา ปลายแห่งบทสองต้อง ที่หน้าบทหลัง ๚ะ
๏ ที่พินทุ์โทนั้นอย่า พึงพินทุ์ เอกนา (โท เอก) บชอบอย่างควรถวิล ใส่ไว้ ที่พินทุ์เอกอย่าจิน ดาใส่ โทนา แม้วบมีไม้ เอกไม้โทควร ๚ะ
๏ บทเอกใส่สร้อยได้ โดยมี (โท เอก) แม้วจะใส่บทตรี ย่อมได้ จัตวานพวาที ในที่ นั้นนา โทที่ถัดมาใช้ เจ็ดถ้วนคำคง ๚ะ
๏ บทต้นทั้งสี่ใช้ โดยใจ (เอก โท) แม้วจะพินทุ์ใดใด ย่อมได้ สี่ห้าที่ภายใน บทแรก แม้นมาทจักมีไม้ เอกไม้โทควร ๚ะ
— จินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี
๏ เอกโทเปลี่ยนผลัดได้ โดยประสงค์ แห่งที่ห้าควรคง บทต้น บทอื่นอาจบ่ปลง แปลงแบบ นาพ่อ เฉภาะแต่บทหนึ่งพ้น กว่านั้นฤๅมี ๚ะ
๏ เอกเจ็ดหายากแท้ สุดแสน เข็ญเอย เอาอักษรตายแทน เทียบได้ โทสี่ประหยัดหน หวงเปลี่ยน ห่อนจักหาอื่นใช้ ต่างนั้นไป่มี ๚ะ
๏ เอกโทผิดที่อ้าง ออกนาม โทษนา จงอย่ายลอย่างตาม แต่กี้ ผจงจิตรคิดพยายาม ถูกถ่อง แท้แฮ ยลเยี่ยงปราชญ์สับปลี้ เปล่าสิ้นสรรเสริญ ๚ะ
๏ ใช้ได้แต่ปราชญ์คร้าน การเพียร ปราชญ์ประเสริฐดำเนียร หมิ่นช้า ถือเท็จท่านติเตียน คำตู่ คำนา มักง่ายอายอับหน้า อาจถ้อเถียงไฉน ๚ะ
จินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท
|
|
|
|
11 กันยายน 2012, 08:23:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 08:23:PM » |
ชุมชน
|
(โคลงดั้นบาทกุญชร แหะๆๆๆอาศัยกระทู้นี้แหละจะฝึกจนจำได้ ขออนุญาตนะท่านอริญชย์ )โคลงคือคลองเก่าเผ้า ปลูกแปลง สันนิษฐานล้านนา เริ่มต้น อยุธยารับมาแจง จารึก แล้วพัฒนาค้นคว้า ต่อเติม
ต่างรวมใจผนึกไว้ วาบหวาน วิวัฒน์กานท์แช่มเฉลิม ฉ่ำล้ำ ท่านถ่ายทอดลูกหลาน สานสุข ตราบทุกวันนี้ย้ำ ว่าหอม
แบ่งคำโคลงคลุกเคล้า หลายประเภท เร่งศึกษาอย่ายอม พ่ายแพ้ จนเรารุ่งเรืองเดช กวีเปรื่อง ให้ทาบทาแต้มแล้ รอบไทย
หนึ่งคือโคลงเรื่องซึ้ง สุภาพ สองเด่นดั้นนั่นไง ช่วยซ้อง สามโคลงบุราณซาบ ซึมซ่าน แล้วแตกหน่อคล้องพร้อง แพร่หลาย ปล.กระทู้นี้มีประโยชน์ดีครับ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
11 กันยายน 2012, 10:08:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 11 กันยายน 2012, 10:08:PM » |
ชุมชน
|
.............โคลงดั้นบาทกุญชร
* อีกโคลงแบบดั้นหนึ่ง พึงยล บอกเช่นบาทกุญชร ชื่ออ้าง วิธีที่เลบงกล แปลกก่อน ยากกว่าบรรพ์แสร้งสร้าง อื่นแปลง
* สองรวดกลอนห่อนพลั้ง มิดพจน์ เฉาสี่เชิงแสดง ย่างผ้าย สัมผัสทั่วทุกบท ฤาเคลื่อน คลาดเอย บงดั่งบาทช้างย้าย ต่อตาม
จาก จินดามณี เล่ม 2 พระนิพนธ์กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
|
|
|
|
|