๒ การใช้คำผู้แต่งใช้คำอยู่ในกลุ่มคำไทยเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ แคว้น คุ้ง ลุ่มน้ำ คน ไก่ นก เกวียน พงไพร เพรง เพลง แผ่ว พลิ้ว กล่อม เป็นต้น
ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาท้องถิ่นไทยในอดีตเป็นอย่างดี
แต่หากผู้แต่งถนัดภาษาพื้นบ้าน เพิ่มคำพื้นที่ราบสูงอีกหน่อย (ในบทกวีมีสองคำ ฮัก เฮา)
ให้ข้าวเหนียวปลาร้าโชยกลิ่นอ่อนๆ ก็จะได้บรรยากาศท้องถิ่นอีสานมากยิ่งขึ้น
ในบทกวีปรากฏคำซ้ำบ่อยเกินไป ข้อนี้อาจถูกกล่าวหาได้ว่าเป็นผู้อับจนถ้อยคำ
ดังนั้นในความทรงจำของนักกวีจึงต้องมีคำศัพท์ให้เลือกสรรอยู่มากเพียงพอ
เป็นคลังคำในสมองที่สั่งสมมาจากการฟังพูดอ่านเขียน
มิฉะนั้นก็ต้องพึ่งหนังสือคลังคำและพจนานุกรมข้างกายโดยสามารถเลือกเฟ้นคำได้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
๔
เรียงคำหวาน
แผ่วพลิ้ว…………ตรึงฤทัย
ลอยผ่านธารพงไพร……………อุ่นเอื้อ
อาวรณ์ห่วงคนไกล…………….พลัดถิ่น นาแม่
เพลงแห่งฝันไฟเชื้อ……………
กล่อมซึ้งครวญเสนอ ฯ
๕
มนต์เสียงพิณ
แผ่วพลิ้ว………..องคุลี
ปานดั่งทิพย์เทพกวี…………….
กล่อมย้ำ
สายธารแห่งดนตรี……………..บอกถิ่น เฮาเอย
เพลงคู่พิณหวานล้ำ…………….รุ่งรุ้ง ผงาดแดน ฯ
การส่งสัมผัสสระซ้ำบาทแรกติดกันสองบท ผู้วิจารณ์ในฐานะมือโคลงรู้สึกว่า เสียงของบทกวีอ่อนกำลังทำให้ความไพเราะน้อยลง
๓
แสงทองทาบทุ่งข้าว………….เรือง
วิไล ส่งสัมผัสสระไอซ้ำติดกันสองบทนกกล่อมกังวาน
ไกล………….ว่อนคุ้ง
เสียงเพลงถิ่นพง
ไพร………….บอกกล่าว
เป็นสื่อฮักสายรุ้ง……………...แน่นแฟ้นพิสมัย ฯ
๔
เรียงคำหวานแผ่วพลิ้ว…………ตรึง
ฤทัยลอยผ่านธารพง
ไพร……………อุ่นเอื้อ
อาวรณ์ห่วงคน
ไกล…………….พลัดถิ่น นาแม่
เพลงแห่งฝันไฟเชื้อ……………กล่อมซึ้งครวญเสนอ ฯ
๓ กวีโวหาร คือ ภาษาเชิงกวีที่ผู้แต่งคิดรังสรรค์ขึ้น ได้แก่ สัมผัสสระ สัมผัสอักษร กลบท
ภาพพจน์และกลวิธีอื่นๆเพื่อให้ผลงานของตนบังเกิดรสทางวรรณศิลป์
ผู้แต่งเปิดเรื่องด้วยกลบทกระทู้เดี่ยวได้น่าสนใจโดยแตกกระทู้สาย เป็นสี่ความหมาย
คือ ๑)ลำน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ๒)ความโอบอ้อมอารีของคนพื้นถิ่น ๓)ทิวทัศน์อันงดงาม
และ๔)ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน
สายธารไหลหล่อเลี้ยง………มวลประชา
ลำน้ำอันอุดมสมบูรณ์ เฉลยบาท๔ว่า ลำน้ำโขงสายแห่งความเมตตา………..โอบแคว้น
ความโอบอ้อมอารีของคนท้องถิ่นสายรุ้งพร่างธารา……………..เพชรพุ่ง
ทิวทัศน์อันงดงามสายป่านรักแน่นแฟ้น………..ลุ่มน้ำโขงงาม ฯ
ความสามัคคีของคนในชุมชนแต่ถึงกระนั้น กลับพรรณนาภาพพจน์หรือความเปรียบเบาไป
สายธารไหลหล่อเลี้ยง………มวลประชา
เนื่องจากเป็นน้ำโขง ควรเพิ่มปริมาณและความแรง ของสายน้ำโดยเปลี่ยนไหลเป็นหลาก ซึ่งยังแฝงนัยนำพาดิน ตะกอนที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรมอีกด้วยสายแห่งความเมตตา………..โอบแคว้น
แห่ง ความ เป็นคำหน้าที่(function word) ได้แก่ บุพบท สันธาน อาการนาม ซึ่งสื่อความได้น้อย ควรหาคำเนื้อหา(content word) ได้แก่ นาม กริยา คุณศัทพ์ วิเศษณ์มาขยายเมตตาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สายรุ้งพร่างธารา……………..เพชรพุ่ง
เปรียบสายรุ้งเป็นแสงเพชรพุ่ง ผู้อ่านอาจนึกภาพ ไม่ออกว่า สายรุ้งเป็นแสงเพชรพุ่งได้อย่างไร ความเปรียบนี้ อาศัยความช่างคิดสังเกต จึงจะเห็นสิ่งที่คนอื่นมองข้าม แล้วจึงนำมาเปรียบเปรยด้วยกวีโวหารให้แจ่มกระจ่างลึกซึ้ง
๒
เพรงกาลเกวียนเล่มน้อย……คงทน
โคเคลื่อนหมุนนำวน……….หมื่นลี้
หมุนนำวน อ่านไม่เข้าใจ หมื่นลี้ นึกถึงหนังจีนบรรทุกสิ่งของคน…………...แทบโก่ง เพลาเฮย
เกวียนคงทน ถึงบรรทุกมาก ก็ไม่น่าแทบโก่งยังแต่กาลบัดนี้……………...เพื่ออ้างงามสงวน ฯ
อ่านไม่เข้าใจ พยายามจับความ งามสงวน คงหมายถึง หญิงสาว เข้าใจว่า ขณะนี้ กำลังเดินทางไปหาหญิงสาวส่วนบทกวีที่เหลือ กล่าวถึงธรรมชาติ ความคิดถึงนาง และการขับลำนำตามลำดับ
ผู้แต่งสามารถพรรณนาภาพพจน์ได้อย่างเติมที่ตามขนบวรรณคดีไทย แต่ก็ปรากฏภาพพจน์อยู่ไม่มากนัก
๓
แสงทองทาบทุ่งข้าว………….เรืองวิไล
นกกล่อมกังวานไกล………….ว่อนคุ้ง
ว่อนคุ้ง คำเอกโทสดใหม่ ฟังเสนาะหู เสียงเพลงถิ่นพงไพร………….บอกกล่าว
บอกกล่าวอะไร ความหมายไม่ชัดเจนเป็นสื่อฮักสายรุ้ง……………...แน่นแฟ้นพิสมัย ฯ
สื่อรักสายรุ้ง ความเปรียบไพเราะแต่ไม่สื่อความ ๔
เรียงคำหวานแผ่วพลิ้ว…………ตรึงฤทัย
ลอยผ่านธารพงไพร……………อุ่นเอื้อ
ทำไมอุ่นเอื้อ ความหมายไม่ชัดเจนอาวรณ์ห่วงคนไกล…………….พลัดถิ่น นาแม่
เพลงแห่งฝันไฟเชื้อ……………กล่อมซึ้งครวญเสนอ ฯ
เพลงแห่งฝัน ไม่น่าเปรียบกับ เชื้อไฟ ๕
มนต์เสียงพิณแผ่วพลิ้ว………..องคุลี
ปานดั่งทิพย์เทพกวี…………….กล่อมย้ำ
แสดงว่ากล่อมสองครั้ง ทำไมกล่อมสองครั้งสายธารแห่งดนตรี……………..บอกถิ่น เฮาเอย
เพลงคู่พิณหวานล้ำ…………….รุ่งรุ้ง ผงาดแดน ฯ
เข้าใจว่า รุ่งปี ออกอัลบั้มเพลงพิณแล้วรุ่งก่อนอำลาบทวิจารณ์
ผมคิดว่า ผู้ฝึกโคลงควรแต่งโคลงตามกำลังของเรา
ใช้ความเปรียบง่ายๆ เขียนใช้คำที่เราแม่นความหมายไปก่อน
สื่อความแล้วอ่านรู้เรื่อง
วรรคไหนทำสัมผัสอักษรได้ให้ทำทันที
จะสัมผัสในวรรคหรือข้ามวรรคก็ได้ทั้งนั้น
แล้วค่อยเพิ่มความเปรียบเข้าไปตามทักษะที่เพิ่มพูนขึ้น
ขอบคุณเพื่อนนักกลอนทุกท่านที่ทนอ่านโพสต์ข้อเขียนขนาดยาวนี้
คนทันคันปากเข้า วิจักษ์วิจารณ์
ยาวยืดเรื่องรำคาญ พล่ามบ้า
หวังกวีศึกษาสราญ ประสบประโยชน์
ผิดเบื่ออภัยทานข้า ครึ่งรู้ใคร่เขียนคนทัน
๑๕/๙/๕๕เพื่อนนักกลอนที่เห็นต่างออกไป โต้แย้งได้เลยนะครับเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการ