01 กันยายน 2012, 12:25:AM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« เมื่อ: 01 กันยายน 2012, 12:25:AM » |
ชุมชน
|
(พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาให้ทุกท่านได้รับรู้รับทราบครับผม) เด็กเล็กเด็กดัดดื้อ เด็กดี เด็กเด่นเป็นศักดิ์ศรี ชาติเชื้อ เด็กเด็ดเด็กเดือดตี เตะต่อย เด็กดิ่งด่ำดำเนื้อ เพราะเอื้อเด็กเอง
เด็กนักเลงเล่นเด้ง เดิมพัน เด็กดูดติดการพนัน แต่น้อย เด็กเลียนแบบใครกัน จึงแก่น เด็กดั่งมะลิคล้อย ค่อนคล้ายคนโต..............…...................... บทที่ 3 ปัญหาการจัดการศึกษาของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น :รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-533.1 สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ไทยมีประชากรราว 63 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ใกล้เคียงกับฝรั่งเศส อังกฤษ และมียอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่คิดแบบถ่วงน้ำหนักด้วยค่าครองชีพ (PPP) อยู่ลำดับที่ 24 (สถิติของธนาคารโลก) แต่ GDP ต่อหัวของประชากรอยู่อันดับที่ 89 (ข้อมูลIMF)
แรงงานมีแรงงานไทยอายุ 25-64 ปีกว่าร้อยละ 66.2 มีการศึกษาโดยเฉลี่ยเพียงแค่ประถมศึกษาและต่ำกว่า ขณะที่ประเทศ เช่นมาเลเซียและฟิลิปินส์ แรงงานส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทำให้ผลิตภาพแรงงานไทยค่อนข้างต่ำ
ดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์ของUNDP ในปีค.ศ.2010(พ.ศ.2553)ไทยอยู่อันดับ 92ต่ำกว่ามาเลเซีย จีน และศรีลังกา ดัชนีการศึกษา EDUCATION INDEX (คำนวณจากสัดส่วนของผู้ใหญ่ที่รู้หนังสือและผู้ได้เรียนการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ไทยอยู่อันดับที่ 72ต่ำกว่าเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์
3.2 สภาวะด้านการศึกษา
โอกาส ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมทางการศึกษา ในระดับประถมศึกษา ไทยมีอัตราส่วนนักเรียนต่อประชากรสุทธิร้อยละ 88 แต่ในระดับมัธยมศึกษาอัตราการเข้าเรียนสุทธิของไทยยังต่ำคือร้อยละ 64 ต่ำกว่ามาเลเซีย (ร้อยละ 76) และเวียดนาม (ร้อยละ 69) ขณะที่ประเทศในกลุ่ม OECD (กลุ่มประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม)อัตราการเข้าเรียนสุทธิส่วนใหญ่สูงกว่าร้อยละ 90
ถ้าคิดเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อัตราการเข้าเรียนของไทยยังมีแค่ร้อยละ 55 ต่ำกว่าเวียดนาม และมาเลเซีย และต่ำกว่าประเทศในกลุ่ม OECD ที่อัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 100
อัตราการคงอยู่ของนักเรียน 2 ปีสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับของไทย (มัธยมศึกษาปีที่ 2-3) มีร้อยละ 80 คล้ายกับเวียดนาม ซึ่งแสดงว่ามีเด็กไทยที่เรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับถึงร้อยละ 20
ในระดับมัธยมศึกษาอัตราการเข้าเรียนค่อนข้างสูง แต่อัตราจบการศึกษาต่ำลงเพราะสภาพปัญหาของชีวิตและสังคมที่อัตคัด ขาดแคลนและปัญหาอื่นๆทำให้มีเยาวชนที่เรียนไม่จบชั้นมัธยมศึกษาอยู่มาก เมื่อจำแนกตามหลักสูตร ประเทศไทยจัดหลักสูตรมัธยศึกษามสายสามัญ ถึงร้อยละ 72.8 สายอาชีพร้อยละ 27.2 ทั้งๆที่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่และตลาดแรงงานต้องการสายอาชีพมากกว่าที่ผลิตได้ ประเทศที่จัดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายอาชีพได้มากเกินร้อยละ 60 ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฟินแลนด์และออสเตรเลีย
อัตราการเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาของไทย แม้จะค่อนข้างสูง เพราะคนที่ผ่านการเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่เข้าสู่มหาวิทยาลัยมากกว่าออกไปทำงาน แต่ส่วนใหญ่เป็นอุดมศึกษาที่เน้นทฤษฎีเป็นฐานถึงร้อยละ 83 เน้นการปฏิบัติ/วิชาชีพ เพียงร้อยละ 17 ตรงข้ามกับมาเลเซีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ที่เยาวชนเลือกเรียนโปรแกรมเน้นการปฏิบัติ/วิชาชีพมากกว่าร้อยละ 40
ตัวแปรด้านคุณภาพการศึกษา อัตราส่วนนักเรียนต่อครูของไทย ระดับประถมศึกษามีอัตราส่วน 19:1 เทียบกับจำนวนผู้เรียน สูงกว่าสหรัฐฯ ฟินแลนด์ จีน และนิวซีแลนด์ อัตราส่วนนักเรียนต่อครูระดับมัธยมศึกษาของไทย 23:1 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางซึ่งมีค่าเฉลี่ย 20:1 และ OECD ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 13.4สถิติอัตราส่วนนักเรียนต่อครูของไทยข้างต้นเป็นแค่ค่าเฉลี่ยทางสถิติในสภาพเป็นจริงมีปัญหาขาดครูในหลายพื้นที่เนื่องจากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีการจ้างครูทดแทนอัตราเกษียณน้อยมากทั้งมีปัญหาการใช้อิทธิพลเส้นสายการเมืองดึงครูไปช่วยราชการอื่นอยู่มาก และปัญหาการที่ผู้บริหารไม่ได้สอนหรือสอนน้อยมากแต่นับรวมในสถิติครูด้วย
ชั่วโมงการสอนของครูไทยมีค่าเฉลี่ย 800-1,100 ชั่วโมงต่อปี มากกว่าประเทศส่วนใหญ่และมากกว่ากลุ่ม OECD ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 803 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งสะท้อนว่าการสอนมากชั่วโมงไม่เกี่ยวกับการเรียน เก่งขึ้น ส่วนเงินเดือนครูไทยขั้นต้นเมื่อคิดปรับด้วยค่าครองชีพของแต่ละประเทศแล้วต่ำกว่าค่าเฉลี่ย กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและต่ำกว่ากลุ่มประเทศ OECD 4-5 เท่า แต่เงินเดือนขั้นสูงสุดของครูไทย เมื่อปรับค่าครองชีพแล้วสูงกว่าประเทศรายได้ปานกลาง เช่นมาเลเซีย อินเดีย และใกล้เคียงกับประเทศฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ ความแตกต่างที่น่าสังเกตคือ ประเทศอื่นให้เงินเดือนครูขั้นต้นสูงและเมื่อทำงานไปแล้วเงินเดือนจะค่อยๆ ขึ้นไม่มากนัก แต่ของไทยเงินเดือนครูอาวุโสกลับขึ้นไปสูงต่างจากครูขั้นต้นมาก ความหมายคือ ทำให้คนจบใหม่ๆ ไม่ค่อยมีแรงจูงใจที่จะมาทำอาชีพครูหรือต้องดิ้นรนหารายได้เสริม
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
01 กันยายน 2012, 12:26:AM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 กันยายน 2012, 12:26:AM » |
ชุมชน
|
การทดสอบประเมินผลของ PISA ครั้งที่3ในปี 2006 ใน 3 วิชา คือคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่าน ได้ขยายไปสู่ประเทศรายได้ปานกลางหลายประเทศ ได้ผลใกล้เคียงกับปี 2003 คือ 20 อันดับแรกอยู่ในประเทศเดิม ๆ มีไต้หวัน ติดอันดับ 1 ในวิชาคณิตศาสตร์(และที่ 4 วิชาวิทยาศาสตร์) ฟินแลนด์ยังได้ที่ 1 วิชาวิทยาศาสตร์ และที่ 2 ในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่าน ขณะที่เกาหลีใต้ได้ที่ 1 ในวิชาการอ่าน ได้ที่ 4 วิชาคณิตศาสตร์ ฮ่องกงติดอยู่ใน 3 อันดับแรกทั้ง 3 วิชาจีนและเวียดนามไม่ได้เข้าร่วมโครงการทดสอบนี้ ขณะที่ไทยได้คะแนนเฉลี่ยอันดับค่อนข้างท้าย คือลำดับที่ 40 กว่า ๆ จาก 57 ประเทศ และมีนักเรียนไทยส่วนน้อยมาก (เช่นกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนสาธิต) ที่ทำคะแนนได้ระดับสูงหน่อย แต่นักเรียนไทยส่วนใหญ่ทำได้แค่ระดับต้นๆ (ต่ำกว่าระดับ 1-2) โดยเฉพาะเรื่องทักษะการอ่าน (ภาษาไทย) ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการไปเรียนวิชาอื่นต่อ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
03 กันยายน 2012, 09:25:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 กันยายน 2012, 09:25:PM » |
ชุมชน
|
ขอร่วมแบ่งปันครับ อ่านแล้วให้ทำใจนะครับ
๑. มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง น่าสนใจมาก
เหตุใดนักเรียนไทย ทำโจทย์คณิตศาสตร์ ได้คะแนนต่ำ ผลการศึกษาพบว่า เพราะ - อ่านโจทย์ไม่ได้ (% มากสุด) - อ่านโจทย์ได้ แต่ไม่เข้าใจ (อยากร้องไห้จริงๆ)
๒. (ย้ำ ความเห็นส่วนตัวครับ) หลักสูตร ห่างไกลจาก ความคุ้นเคยของเด็ก (จากประสบการณ์ที่เคยไปช่วยสอน)
- ป.๕ วิทยศาสตร์ - เมฆก้อนขาวใหญ่ มีชื่อเรียกว่าอะไร - 555 ผมไม่เข้าใจจริงๆ การรู้จัก เมฆ cumulus กับ circuit breaker ที่ใช้ตัดไฟฟ้าเมื่อเกิดลัดวงจร หรือที่เรียกกันว่า breaker สิ่งไหนควรสอนเด็กก่อนกัน - ป.๖ คณิตศาสตร์ว่าด้วย ระยะทางดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์ เด็กพูดกับคุณพ่อที่มารับกลับบ้าน ป๊า เรียนไปทำไม ไอ้เลข พันล้าน หมื่นล้าน ป๊ามีเงินยังไม่ถึง ล้านเลย 555 - โจทย์เลข ป.๔ รถม้าเทียมม้าคู่ ราคารวมทั้งสิ้น ๖๕๐๐๐ บาท ม้าแต่ละตัวแพงกว่ารถ ๕ เท่า ม้าแต่ละตัวราคาเท่าใด (ทุกแห่งที่เคยไปสอน ย้ำ ทุกแห่ง เด็กบอกว่า อ่านไม่เห็นรู้เรื่อง)
ถ้าเพื่อนที่อยากลองคิด คิดแล้วได้คำตอบช่วยตอบกลับด้วย จักขอบคุณหลายๆ (คำตอบแบบ ป.๔ นะครับท่าน)
...............รถหนึ่ง เทียมม้าคู่
....รถหนึ่ง เทียมม้าคู่.............ดูราคา แจ้งไว้ ใช้เงิน หกหมื่นห้า.................แต่ละม้า แจกแจง แพงกว่ารถ ห้าเท่า .....................................จึ่งขอเข้า คำถาม ตามตำรา “ประถมสี่”..............ควรที่ ม้าหนึ่งนั้น มีค่า ตามกรอบกั้น.................มากน้อย เท่าใด ...แน่นา
เอาแค่นี้ก่อน พอคลายเครียด 555
|
|
|
|
03 กันยายน 2012, 11:58:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 กันยายน 2012, 11:58:PM » |
ชุมชน
|
ท่านทรูแชร์เยี่ยมแท้ ครูไทย แต่กระผมอ่อนใจ ลัพธ์นั้น ผลรวมย่อมส่อใน ภาพใหญ่ ก็เด็กชาติอื่นครั้น สอบได้ผมเซ็ง
เรื่องเก่งไม่เก่งนี้ หลากหลาย เก่งเลขเก่งศิลป์สาย หมึกแต้ม หากเห็นเด็กคมคาย คอยร่ำ เรียนนอ ค่อยชื่นใจได้แย้ม- พักตร์ยิ้มอิ่มหนำฯ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
04 กันยายน 2012, 07:02:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 กันยายน 2012, 07:02:PM » |
ชุมชน
|
* กิจกรรมหลายหลากต้อง จัดทำ เด็กจักได้แนวนำ ถูกต้อง บรรยากาศดี จำ ตรึงจิต นานนา พูดพร่ำตำราคล้อง เด็กจ้องหนีหาย
|
|
|
|
04 กันยายน 2012, 09:12:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 กันยายน 2012, 09:12:PM » |
ชุมชน
|
ผมเห็นว่าแนวการศึกษาของ Maria Montessori น่าจะเป็นแนวหนึ่งในการปรับปรุงการศึกษา จึงขออนุญาตนำลงซ้ำครับ
her general educational programme: first the education of the senses, then the education of the intellect.
* เธอมั่น "ฝึกหัด" ต้อง จริงจัง ผัสสะเริ่ม รับฟัง ชัดถ้อย ฝึกพูดเพิ่มพูนพลัง ลำดับ ความนา หัดอ่าน เขียนเรียงร้อย ค่อยให้ฝึกฝน
|
|
|
|
05 กันยายน 2012, 07:23:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 กันยายน 2012, 07:23:AM » |
ชุมชน
|
* นิทาน! เด็กชอบให้ เล่าเอย โลดแล่นโลกฝันเผย อย่าช้า เลือกเรื่องเหมาะเหม็งเลย แบบอย่าง ประทับจิตไป่เหนื่อยล้า เล่นร้องสนุกสนาน
|
|
|
|
05 กันยายน 2012, 10:54:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 05 กันยายน 2012, 10:54:PM » |
ชุมชน
|
* ขานรับ แต่ใคร่รู้ เล่านิทาน จักทราบพัฒนาการ ฤ ได้ วัด-ทดสอบผลงาน เด็กอย่าง- ไรฤๅ ระบบ!!บีบต้องให้ ระบุแต้ม-ผ่านไหม
ขอชี้แจงเพิ่มเติมครับ
ในการสัมมนา การเรียนการสอนเด็กเล็ก มีผู้ตั้งคำถามทำนองว่า เห็นด้วยที่จะเล่านิทานให้เด็กฟัง แต่ แล้วเราจะวัดผลให้คะแนนเด็กได้อย่างไร
|
|
|
|
06 กันยายน 2012, 12:48:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 12:48:PM » |
ชุมชน
|
* มั่นในหลักที่ได้ แนะนำ ฟัง! นิทานเด็กจำ แม่นแท้ พูด! เล่าร่ำด้วยคำ ตัวเด็ก เองนา แตกต่าง จักชัดแล้ เล่ห์นี้คงเห็น
* อย่าเป็นการสอบให้ เด็กกลัว จัดแข่ง! แย่งกันนัว เรียกร้อง อยากอวดอยากแสดงตัว ตนเก่ง ค่อยค่อยปรับสอดคล้อง สนุกนั้นวัยเขา
|
|
|
|
06 กันยายน 2012, 05:46:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 05:46:PM » |
ชุมชน
|
* หกเจ็ดขวบให้อ่าน คล้องจอง สดับเสนาะเพราะทำนอง ขับร้อง ปูฐานร่ายร้องกรอง แต่เนิ่น เน้นสนุกคิดคำพ้อง ซับซึ้งภาษา
|
|
|
|
06 กันยายน 2012, 08:25:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 08:25:PM » |
ชุมชน
|
* พาเพลินเรียนรู้สิ่ง สนุกสนาน ไป่เบื่อกลัวลนลาน หลีกลี้ ดินปั้น-วาด วิญญาณ ฝันใฝ่ บอกบ่งอนาคตชี้ สิ่งสร้างนรกสวรรค์
|
|
|
|
07 กันยายน 2012, 02:35:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 07 กันยายน 2012, 02:35:PM » |
ชุมชน
|
ฮือๆๆ คุณไร้นามคร้าบ ขอฟ้องคร้าบ ฮือๆๆ
เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าพม่า ๕ ล้านคนหายจากโรงเรียน
ไทยรัฐ ๑ กันยายน ๒๕๕๕ หน้า ๕ "หมายเหตุประเทศไทย" ลมเปลี่ยนทิศ
สำรวจทั้ง ๗๖ จังหวัด ๗๒,๗๘๐ คน จาก ธ.ค. ๕๓ -ม.ค. ๕๔ IQ เฉลี่ย ๙๘.๕๙ (ค่ามาตรฐาน ๑๐๐) ต่ำกว่าเด็กพม่า แต่ถือว่าดีขึ้น เพราะปี ๔๙ เท่ากับเด็กเขมรเท่านั้น (โอ้โฮ น่าดีใจจัง เท่าเด็กเขมร 555 ขอโทษครับ อ่านแล้ว ตูจะบ้าตาย)
เด็กไทย ๕.๗ ล้านคน (เกือบ ๑๐ % ของประชากรทั้งประเทศ) เป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา
แล้วเราจะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง ???
|
|
|
|
07 กันยายน 2012, 04:35:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 07 กันยายน 2012, 04:35:PM » |
ชุมชน
|
ผลสำรวจการอ่านสร้างญาณทัศน์ ยิ่งอึดอัดอ่อนใจกว่าใครเขา ไทยหลายคนไม่สนฝึกฝนเชาว์ สยามเราอ่อนกานท์อาจบ้านพัง
ผลเฉลี่ยการอ่านงานหนังสือ โดยยึดถือต่อหนึ่งปีนี้ให้หลัง ทางยุโรปสิบหกเล่มเต็มพลัง แม้ทางฝั่งเมืองมะกันเช่นนั้นเชียว
ที่ญี่ปุ่นรุ่นไหนไหนชอบใจอ่าน รวมกลอนกานท์ห้าสิบเล่มอิ่มเอมเกี่ยว- ซึ่งความรู้คู่ชาติคนปราดเปรียว วิชาเชี่ยวชาญช่วยชาติเจริญ
สิงคโปร์โอ้เด็ดเจ็ดสิบเล่ม ช่างเกษมกันทั้งชาติไม่ขัดเขิน เวียตนามนั้นขยันอ่านกันเพลิน ไม่ขาดเกินหกสิบเล่มที่เปรมปรีดิ์
มาเลเซียเฉลี่ยมาห้าสิบเล่ม ไม่มิดเม้มสมองกล้าผ่องราศี อ่านทั้งวันอ่านมุมนั้นอ่านมุมนี้ รวมทั้งปีปัญญาย่อมพรักพร้อมพอ
หันมามองพี่น้องพ้องสยาม พยายามอ่านถ้อยน้อยจริงหนอ เพียงสองเล่มเต็มที่เท่านี้พอ เรารั้งรออะไรใจเย็นจัง
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
|