03 กันยายน 2012, 02:03:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 03 กันยายน 2012, 02:03:PM » |
ชุมชน
|
ผมกลับมีสุขด้วย ความเห็น ต่างนา เมื่อท่านผู้รู้เป็น ปราชญ์ค้าน ต่างร่วมคิดร่วมเข็ญ คำต่าง มีหลักพิจารณ์จ้าน จึ่งให้กานท์เจริญฯ
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
03 กันยายน 2012, 04:55:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 03 กันยายน 2012, 04:55:PM » |
ชุมชน
|
โอ้โฮ ยกนิ้วให้ครับ คุณคนทัน นี่แหละที่เขาเรียกว่า ให้ใจ การใช้เวลาเขียนยาวขนาดนี้ ถ้าไม่รักกันจริง คงไม่ทำแน่ ขอบคุณมากๆ ครับ
ผมระบุหลายครั้งว่า ในความเห็นส่วนตัว ไม่ใคร่ชอบระบบ ยกนิ้วให้ หรือ การให้คะแนน (แต่ไม่ได้ขัดเคืองประการใดเลย) ผมอยากให้เราเขียน หรือแต่ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน (ถ้ามีอารมณ์ และโอกาส) เพราะด้วยวิธีนี้ เราจึงทราบข้อบกพร่อง และสามารถพัฒนาได้ เพียงขอให้ระมัดระวัง ถ้อยคำ สักเล็กน้อย และเปิดใจกว้างๆ เพราะเราแต่ละคน แตกต่าง กันแน่ๆ แต่ความต่าง ต้องไม่ทำให้เรา แตกแยก
....ขอบคุณเพื่อนที่ได้..........ชมเชย หากขยับขับแต่งเผย............ยิ่งล้ำ ถามเพื่อนหน่อยนะเอย..........วานบอก ว่าชอบ ขอคำย้ำ................ชอบนั้นประเด็นไหน
....ข้าฯ ใคร่จักรู้ลึก.............จึ่งถาม หวังทราบสิ่งต้องตาม..........เร่งแก้ ไม่หวั่นติชม งาม................ฤๅอ่อน "บอกต่อ" คือหวังแล้...........จึ่งกล้าเอ่ยถาม
02 กรกฎาคม 2012
|
|
|
|
03 กันยายน 2012, 08:17:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 03 กันยายน 2012, 08:17:PM » |
ชุมชน
|
ขออนุญาตยกตัวอย่าง โคลงทั้งสามนี้ อีกครั้งครับ
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ ๚ะ --- ลิลิตพระลอ
๏ นิพนธ์กลกล่าวไว้ เป็นฉบับ พึงเพ่งตามบังคับ ถี่ถ้วน เอกโทท่านลำดับ โดยที่ สถิตนา ทุกทั่วลักษณะล้วน เล่ห์นี้คือโคลง ๚ะ --- จินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท
๏ จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ ๚ะ --- นิราศนรินทร์ รัตนโกสินทร์ตอนต้น
โคลง ๓ บทนี้ใช้คำเอก 7 โท 4 และที่เหลือเป็นคำสุภาพทั้งหมด
|
|
|
|
04 กันยายน 2012, 12:23:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 04 กันยายน 2012, 12:23:AM » |
ชุมชน
|
พวกพี่คงบอกน้อง หลายครา พี่คงต้องบอกน้อง หลายครา ที่ผิดต่างนานา โปรดไว้ พลาดผิดหลากนานา ติไว้ เป็นบุญที่จรมา ปะพบ เป็นบุญที่จรมา พบปะ มิถูกเเก้สอนให้ อย่างนี้ ดีมาก ผิดแนะเเก้สอนให้ อย่างนี้ดีจริง
หากโคลงที่เเต่งนี้ มีอะไร เกณฑ์โคลงบังคับนี้ มีอะไร โทเอกเป็นไฉน ใคร่รู้ โทเอกเป็นไฉน ใคร่รู้ วิจารณ์หากพลาดไป ติเถิด แต่งผิดวิจารณ์ไป แนะเถิด หวังเเต่งไว้พอสู้ ไม่เเพ้ ใครเขา ร่ายเล่นเพียงพอสู้ ไป่แพ้ใครเขา
อย่างที่เคยระบุ จะไม่แก้ไขของใครเกินจำเป็น จึงขอยกเทียบไว้ครับ
๑ คงบอกน้อง อ่านแล้ว เหมือนเป็นอดีต ทำนองว่า คงบอกแล้วมั้ง คงต้องบอก ดูเป็นอนาคต ทำนอง คงต้องทำอีกแน่ๆ
๒ แม้ไม่มีข้อห้าม แต่ถ้าไม่จำเป็น ที่ใดไม่บังคับใช้ รูปวรรณยุกต์ เอกโท ก็พยายามเลี่ยง จะดีกว่า ที่ผิด -> พลาดผิด ต่างนานา -> หลากนานา โปรด -> ลักษณะใช้ มักเป็น ราชาศัพท์ เลี่ยงเป็น ติ
๓ ปะพบ -> พบปะ สังเกตไหม หากอ่านเป็นทำนองเสนาะ บรรดาเสียงวรรคหลังจะเป็น สูง แล้ว ต่ำ
๔ มิถูก -> ผิด ชัดเจนกว่า แล้วหาคำเติมคือ แนะ มาก ห้ามใช้เด็ดขาด คำท้ายสุดต้องเป็นเสียง สามัญ หรือ จัตวา(นิยม) : "รูปของคำ" ห้ามมีวรรณยุกต์ ตย. อย่าได้ถามเผือ, เล่ห์นี้คือโคลง, คล่าวน้ำตาคลอ
๕ อย่างนี้ดีจริง ตั้งใจ ไม่ส่งสัมผัส เพื่อชี้แจง
*** ปกติ (ถ้าจะแสดงฝีมือก็ทำได้) โคลง ไม่บังคับให้ต้อง ส่งสัมผัส เว้นแต่ แต่งลิลิต (ส่งสัมผัสคำท้ายสุด ไปรับสัมผัส คำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ บทถัดไป) หรือเป็น โคลงดั้น ซึ่งปกติ บังคับให้แต่ง ๒ บท และต้อง ส่ง-รับ สัมผัสตามกฎของโคลงดั้นนั้นๆ
๑ หากโคลงที่เเต่งนี้ มีอะไร : คงต้องการสื่อว่า ถ้ามีอะไรก็ให้ แนะบอก
๓ วิจารณ์หากพลาดไป ติเถิด อ่านแล้ว เหมือนสื่อว่า ถ้า(ฉัน)วิจารณ์พลาดไป ก็ให้ ติ มาได้ แต่งผิดวิจารณ์ไป แนะเถิด สื่อว่า แต่งผิด ก็ขอเชิญ วิจารณ์ เชิญแนะ
๔ ไม่แก้ก็ได้ครับ เพียงแต่ "ไม่" เขามักเลี่ยง แนะใช้ ไป่ บ บ่
แฮะๆ พิมพ์ร่วมชั่วโมงเชียว
|
|
|
|
04 กันยายน 2012, 06:28:AM |
เพรางาย
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 553
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,312
ทุกคำถามจะนำมาซึ่งคำตอบ
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 04 กันยายน 2012, 06:28:AM » |
ชุมชน
|
....ชำนาญชาญเชี่ยวด้วย......ฝึกฝน ปฏิบัติ กุญแจดล................เลิศแท้ ค้นคว้า เฉกเวทมนต์............สำเร็จ กลอนกาพย์กล้าแกร่งแล้.......ร้องเล่นเป็นประจำ
....คำงาม สัมผัสพร้อม..........ไพเราะ จังหวะ รับส่งเสนาะ..............ครึกครื้น ประเด็นเด็ด เด่นควรเหมาะ......ตรึงจิต คีตะกานท์กวีฟื้น.................."ตื่นรู้"ละตน
ขอเขียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
อยากให้สังเกต บทแรกส่วนสีแดง ใช้ โทเอก (ตามกฎเกณฑ์บังคับให้ใช้ เอกโท) ประมาณ ๓-๔ ปีก่อน ผมเคยลองใช้ โทเอก อยู่พักหนึ่ง เพราะเห็นว่า ไพเราะดี และบางครั้งเหมาะสมกับเนื้อหา แต่คุณครูภาษาไทยหลายท่านติเตือน จะทำให้นักเรียนมีปัญหาในการทำข้อสอบ จึงหยุดไป ภายหลังอ่านพบในมติชนสุดสัปดาห์ ผู้เขียนนั้นนำเสนอว่า น่าสนับสนุนให้เป็นโคลงรูปแบบใหม่ และเสนอให้เรียก โคลงสี่โสภา ผมเห็นด้วยเพราะ ฉันท์ มีผู้เชี่ยวชาญนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ จนเป็นที่ยอมรับ แต่ โคลง หยุดการวัฒนารูปแบบใหม่ๆ มานาน
* ใคร ใช่ญาติจากแคว้น แดนไกล ใคร ชุบจิตแจ่มใส เมื่อเศร้า ใคร ให้แห่งพักใจ ยามตก ต่ำเฮย ใคร ร่างเหลือเพียงเถ้า เฝ้าร่ำอวยพร
นี่เป็นบทแรกที่ผมลองสลับตำแหน่ง เอกโท เป็น โทเอก เพราะ เฝ้า รับสัมผัสกับ เถ้า ได้ดี เฝ้าร่ำ ก็ให้ความหมายชัดกว่า ร่ำเฝ้า
เพื่อนผู้รู้ เชิญร่วมแสดงความเห็น จะได้เกิดประโยชน์ต่อวงการร้อยกรอง ขอบคุณครับ
ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการใช้ เอก โท และ โท เอก ในสัมผัสวรรณยุกต์บังคับเล็กน้อย การสลับตำแหน่ง เอกโท โทเอก ที่ใช้คู่กันนี้ ที่จริงแล้วไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด ในโคลงที่แต่งมาก่อนเก่าก็มีปรากฏให้เห็น ถือว่าไม่ผิดบังคับเพื่อให้อ่านแล้วได้ความตามประสงค์ เพียงแต่ไม่เป็นที่นิยมนัก
และเมื่อจำเป็นต้องสอนการแต่งคำประพันธ์สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกใหม่ๆ คงจำเป็นจะต้องมีแบบหลักสำหรับฝึกหัดให้มั่นคง ก่อนที่ผู้ฝึกนั้นจะแกร่งกล้าในการใช้คำและสื่อความ จนเลือกสรรกลเม็ดและข้อยกเว้นที่ต้องตรงใจได้เป็น
ดังนั้นเมื่อแรกหัดจึงควรเริ่มจากการใช้เอกโทให้เป็นก่อน เมื่อฝึกตนให้แม่นยำในแบบผังฉันทลักษณ์เป็น จึงค่อยกระโดดออกจากกรอบไปสู่อิสระในการสื่อความและสร้างคำไพเราะ
ป.ล. ความรู้เรื่องโคลงประเด็นนี้ก็ได้มาจากเพื่อนในเว็บนี้ช่วยบอกสอนให้ได้ไปศึกษาสืบค้นต่อไป จึงขอเรียนขอบคุณมาไว้ด้วย
|
คนที่กำลังไล่ตามความฝัน ท่ามกลางความผกผันของเวลา
|
|
|
06 กันยายน 2012, 07:48:AM |
ค.คนธรรพ์
Special Class LV3 นักกลอนผู้มากผลงาน
คะแนนกลอนของผู้นี้ 73
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 145
คำ คำ คำ ค่ำ ค่ำ คำ คำ
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 07:48:AM » |
ชุมชน
|
ผมกลับมีสุขด้วย ความเห็น ต่างนา เมื่อท่านผู้รู้เป็น ปราชญ์ค้าน ต่างร่วมคิดร่วมเข็ญ คำต่าง มีหลักพิจารณ์จ้าน จึ่งให้กานท์เจริญฯ
กู่ไกลห่างแก่นใกล้ ปู่ปราชญ์ ดีกว่าไหลชื่อชาติ เปรตต้ม มือโคลงจับจอบคราด ปลูกผัก ตำรับเก่าเก็บก้ม ขุดค้นหนังสือ
อ่านสื่อเองสืบค้น ศึกษา ท่องอ่านกลอนทัศนา เว็บไซต์ คิดเขียนอ่านปรารถนา แลกเปลี่ยน เพื่อนเอย โพสต์กระทู้อ่านได้ ขบข้อกลอนเขียน
|
คำ คำ คำ ค่ำ ค้ำ คำ คำ
|
|
|
06 กันยายน 2012, 12:28:PM |
กามนิต
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 12:28:PM » |
ชุมชน
|
เขียนเถิดเขียนอย่างแจ้ง ใจตน สารสื่ออย่าสับสน แค่นั้น ฉันทลักษณ์อาจพิกล ยามแรก เริ่มแฮ พอคล่องมือเข้าขั้น ขยับได้สบายเสมอ ฯ
กามนิต ๖ ก.ย.๕๕
|
ความรักแท้จริงมีสีดำดังศอพระศิวะ
|
|
|
06 กันยายน 2012, 12:47:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 12:47:PM » |
ชุมชน
|
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
07 กันยายน 2012, 12:50:PM |
กามนิต
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 07 กันยายน 2012, 12:50:PM » |
ชุมชน
|
โฮ่ ๆ โดนพาดพุง
เลยต้องรีบแจ้นมาตอบท่านไร้นาม๑....เพราะฉะนั้น ถ้าผมแต่งดังนี้ น่าจะผิดครับ เช่น
รักเราโรยกระอ่วนเปลี้ย เพลียจัง กระทบกระทั่งกระเทือนดัง แข่งแข้ง กระเกรี้ยวปากก็ยังพัง เลือดกลบ ประกบรักรึประชุมแร้ง กัดกร้าวกินกัน (ขออภัยครับ โคลงโหดไปหน่อย โคลงพาไปครับ)
เพราะแม้เป็นคำลหุ แต่เป็นการออกเสียงเต็มเสียง จังหวะจึงน่าจะเกิน พอดีเห็น่ทานพี่กามนิตแวะมาพอดี ท่านอาจให้ความกระจ่างได้ครับผม
๒. คำที่หก ของบาทที่๑ และ๓ ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ได้หรือไม่ครับ(เน้นว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์นะครับ)
ผมยังมีข้อสงสัยอีกพอสมควรครับ แต่ตอนนี้เมื่อยมือครับ จิ้มดีดได้ยาวเท่านี้ จึงขอถามเมื่อภายหลังครับผม
ด้วยความคารวะมิตรอักษรทุกท่านครับผม
ตอบข้อ ๑. จังหวะไม่เกิน และไม่ผิดครับ แต่นักกลอนจะค่อนว่า "จังหวะยาน เยิ่นเย้อ" ครับ! คือมันยาวไปหน่อย ต้องอ่านรวบ ๆ ให้ลงจังหวะ จังหวะไม่งาม โคลงจะไม่ไพเราะ ครับ
อ้อผิดนิสนุง สำนวนไทย "เลือดกบปาก" ไม่ใช่ "เลือดกลบปาก" ครับ
ตอบข้อ ๒. มีได้ครับ โบราณไม่ได้ห้าม ทั้งนี้ รวมถึงตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่บังคับเอกโท ส่วนใหญ่ไม่ได้ห้ามใช้เอกโทครับ แต่แนะนำ ย้ำนะครับ แนะนำว่าควรเลี่ยง เพื่อไม่ให้เอกโทมาแย่งที่กับตำแหน่งบังคับน่ะครับ
หมั่นอ่านของเก่าบ่อย ๆ สงสัยอะไรก็อ่านของเก่า รับรองจะแจ้งจางปางครับ (ฮา)
เมื่อยนิ้วเหมือนกันครับ ต้องลาไปสปาก่อนนะครับ
|
ความรักแท้จริงมีสีดำดังศอพระศิวะ
|
|
|
09 กันยายน 2012, 10:27:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 09 กันยายน 2012, 10:27:PM » |
ชุมชน
|
ขอเพิ่มเติม ให้ชัด อีกหน่อยครับ ตอบ ๑. หนึ่งพยางค์เป็นหนึ่งคำ
๏ รบินรเบียบท้าว เบาราณ รบอบรบับยล ยิ่งผู้ ระเบียบรบิการย เกลากาพย ก็ดี รเบอดรบัดรู้ รอบสรรพ ๚ะ ...... ลิลิตยวนพ่าย
หลายพยางค์เป็นหนึ่งคำ
๏ พระอนุชาข้าแกล้งกล่าว กลอนถวาย พยัญชนะคลาดบาทกลายหลาย แห่งพลั้ง ผิดอรรถะขจัดขจายปลาย สลายสล่ำ แม้นพลาดประมาทประมาณยั้ง โทษะร้ายขจายเสีย ๚ะ .... สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
๏ การเวกหรือวิเวกร้อง ระงมสวรรค์ เสนาะมิเหมือนเสนาะฉันท์ เสนาะซึ้ง ประกายฟ้าสุริยาจันทร์ แจร่มโลก ไฉนฤๅ เมฆพยับอับแสงสะอึ้ง อร่ามแพ้ประพนธ์เฉลย ๚ะ .... กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ตอบ ๒. โคลงสี่สุภาพ มีเกณฑ์บังคับเพียง ๑. เอก ๗ โท ๔ : รูปวรรณยุกต์เอก แทนด้วย คำตาย ได้ ๒. ห้ามคำที่มี รูปวรรณยุกต์ ๔ แห่ง (สีแดง) และ คำท้ายของบท ห้ามใช้ คำตาย (เพราะจะเหมือนใช้แทน รูปวรรณยุกต์เอก) ๓. การส่ง-รับสัมผัส (ขออนุญาตไม่กล่าว ณ ที่นี้)
โคลงสุภาพนั้น คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่ มิได้มีรูปวรรณยุกต์ ดังนั้น แม้มิได้ห้าม ผู้รู้ก็แนะว่า หากเลี่ยงได้ ให้ใช้คำที่มี รูปวรรณยุกต์ น้อยที่สุด
ขออภัย ถ้าตอบไม่ชัดเจน (คืนวันที่ ๗ ตอบได้ยาวกว่านี้ แต่ยังไม่ได้ save เก็บ และขณะส่ง, comp ขึ้น error แล้วเข้าบ้านกลอนฯ ไม่ได้ ที่ตอบหายหมดครับ)
หุๆ คุณไร้นาม รีบแก้นะครับ เลือดกบปาก กับ เลือดกบ ไม่เหมือนกันนะคร้าบ
กลบ [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง กบ (ความหมายที่ ๖) ว. เต็มมาก, เต็มแน่น
|
|
|
|
|