28 มิถุนายน 2012, 01:11:AM |
toshare
|
|
« เมื่อ: 28 มิถุนายน 2012, 01:11:AM » |
ชุมชน
|
ร่ายสุภาพ................ ๑ ขอ "ร่าย" เริ่มบ้าง
...โคลงฉันท์ กาพย์กลอนประเดิม........ขอ"ร่าย"เริ่ม บ้างหนา "ร่ายสุภาพ"พา เพลินเพลิน................ดำเนินเรื่อง ร่ายไป ห้าคำ ในหนึ่งวรรค.........................เรียงร้อยสัก พอประมาณ จบกานท์ ด้วยโคลงสอง..................ผองเพื่อน ขยับขับดู สัมผัสรู้ รับส่ง...............................อย่าลืมหลง เลยนา ร่ายลาจบเท่านี้......ขออย่าละหลีกลี้.......ร่วมด้วยช่วยกัน...แต่งนา
ฉันท์นั้นยาก จะครบพัน นานแน่ๆ
ร่ายดูง่ายๆ แต่คงลงกันได้ครั้งละบทกระมัง ยิ่ง ร่ายยาว ยาวสมชื่อ 555 กว่าครบพัน ฝันสลาย
หวังว่าคงไม่มีใครเสนอ ลิลิต พันบทนะ คงได้ร้องไห้กันเพราะสุดปลื้ม 555
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รัตนาวดี, พี.พูนสุข, ไม่รู้ใจ, ไพร พนาวัลย์, อริญชย์, รพีกาญจน์, สมนึก นพ, กามนิต, เนิน จำราย, อนุวาต, choy
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
28 มิถุนายน 2012, 07:23:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2012, 07:23:AM » |
ชุมชน
|
............... ๒ พระคุณแม่พ่อ
....เราทั้งปวงเกิดมา.........ใครเล่าหนาดูแล พระคุณแม่แลพ่อ.............เฝ้าพะนอโอบอุ้ม คุ้มครองป้องภัยพาล..........พยาบาลยามไข้ เติบใหญ่ให้รอบรู้..............เรียนคำครูสอนสั่ง ชั่วชิงชังหลีกลี้.................ความดีหมั่นประกอบ อาชีพชอบเลี้ยงตน............เจ็บจนท่านบ่ทิ้ง พักพิงได้ทุกเมื่อ...............ท่าน บ เบื่อ บ บ่น จวบจนล่วงเฒ่าชรา............ท่านอุตส่าห์ปกปัก หลานเหลนรักโอบเอื้อ.........บ่บ่ายบ่เบนกูลเกื้อ รักแท้จริงหนอ...ท่านนาฯ
|
|
|
|
29 มิถุนายน 2012, 02:57:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2012, 02:57:AM » |
ชุมชน
|
.........................๓ เกริ่นนำ
ข้าฯ ประสงค์ทำหนังสือ........ชื่อ “ร้อยกรองประลองคิด” จิตจึงหวังเพื่อนช่วย.............แลด้วยความเอื้อเฟื้อ รักช่วยเหลือของกวี.............ณ ที่นี้...ขอบคุณ
ท่านเจือจุนตอบโจทย์..........ยังประโยชน์สืบสาน กลอนกานท์ภาษาไทย..........ขจรไกลรุ่งเรือง ประเทืองด้วยความรู้............ศาสตร์ศิลป์สู้เขาได้ แม้คำไขจักเป็น..................อย่างที่เห็น...กาพย์กลอน ท่านมิถอนกำลังใจ
ด้วยเชื่อในเมตตา................บ้างข้าฯ แต่งแปลงใหม่ ขอเพื่อนให้อนุญาต..............ปรับเขียนวาดจัดทรง เหมาะสมตรงหลักเกณฑ์........แต่มิเจนจัดแล้ หวังเพื่อนแนะ ติ แก้.............สื่อให้อร่ามแท้...งามเฮย
---
...........................๔ คำชี้แจง
....หนังสือนี้อาจประหลาด........ผิดคาดจากเคยเห็น ด้วยจำเป็นให้ “คิด”...............จึงซ่อนปิดคำเฉลย มิให้เผยโดยง่าย
อีกหวังขยายแนวร่วม...............เป็นแหล่งรวมคนขยัน ผู้พิถีพิถัน “คิด-ทำ”.................แม้ตรากตรำงานหนัก ก็มิพักย่อท้อ.........................มุ่งมั่นก่อกรรมดี ตระหนักศักดิ์ศรีแห่ง “ฅน” บังเกิดผล “คิดเป็น”................จิตสว่างเห็นมรรคแท้ พ้นยึด “ตัวตน” แล้..................สุขได้สงบเสมอ
ขออนญาต นำลงซ้ำ หาไม่ ๕ ปีได้ พันบท คงยากๆๆๆๆ
|
|
|
|
29 มิถุนายน 2012, 09:53:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2012, 09:53:PM » |
ชุมชน
|
ร่ายบทนี้ ขออนุญาตใช้ตัวเลขประกอบ เพื่อสะดวกคำนวณตามครับ
แบ่งอูฐ 17 ตัว ............ให้ครอบครัวลูกสาม ตามกำหนดดังนี้
หัวปีได้สิทธ์กึ่ง (8 1/2) .....หนึ่งในสามคนรอง (5 2/3) ของเจ้าเล็กบ่งไว้ ..............หนึ่งในเก้าชัดเจน (1 8/9) จากเกณฑ์เกิดปัญหา .........อูฐนั่นหนาต้อง”เป็น” เช่นนี้จึ่งยังประโยชน์...........ขี่แล่นโลดเดินทาง อูฐต่างบรรทุกของ..............ตรองแล้วจึงหาปราชญ์ ผู้ฉลาดเพิ่มหนึ่งให้.............รวมได้ 18 ตัว หัวปีเพิ่มเป็น 9...................เจ้ารองได้ถึง 6 ยกให้ตัวเล็ก 2 ..................ของทุกคน แน่! เพิ่ม
ข้าฯ ขอเริ่มปริศนา...............สามคนพาอูฐไป 17 ใช่หรือไม่......................หนึ่งจึงไว้คืนปราชญ์
เหตุประหลาดเช่นนี้..............ขอช่วยอธิบายชี้ เงื่อนนั้นเป็นไฉน
(แต่ละคนได้รับอูฐ คิดจากอูฐทั้งหมด)
|
|
|
|
01 กรกฎาคม 2012, 08:24:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2012, 08:24:PM » |
ชุมชน
|
......๖ แน่ชัดสี่ลิตร
....คุณได้รับมอบให้ จะต้องไปตักน้ำ ย้ำ ! แน่ชัดสี่ลิตร โดยคิดอธิบายได้
ให้ภาชนะสองใบ หนึ่งใส่เต็มห้าลิตร ส่วนใบนิดเต็มสาม
ข้อคำถามคือว่า น้ำท่าไม่จำกัด เครื่องตรวจวัดไม่มี
ให้ได้สี่แน่นั้น ต้องตักมีเชิงชั้น แน่แท้ทำไฉน
..........................๗
....ร่ายปริศนาครั้งนี้ จงถ้วนถี่คิดไข เงื่อนแฝงในเคล็ดคำ เมื่อทำการ"รับเข้า"
ต้องรู้เอา"นำออก" โจทย์ บ หลอกให้หลง จงคิดเป็น"ขั้นตอน" อย่าลดทอน"สังเกต"
จักเห็นเหตุตอบได้ ขอเพื่อนร่วมคิดให้ ครึกครื้นฝึกสมอง
กามนิต ๘ (ร่ายสุภาพ)
ถังสามลิตรตักแรก แจกถังใหญ่ได้สาม ครั้งสองตามได้สอง เต็มท้องถังห้าลิตร ติดถังเล็กไว้หนึ่ง
จึ่งรอไว้ก่อนคิด เทห้าลิตรคืนบ่อ รอตักคำรบใหม่ โดยใส่หนึ่งลิตรเดิม เติมจากเล็กไปใหญ่
แล้วตักใส่อีกสาม เลขงามสี่ลิตรแล้ ตามโจทย์ปัญหาแก้ อย่างนี้ไหมสหาย ฯ
๙ เพิ่มบุญ : 05/05/2006 6:20 pm
...เริ่มใส่ใบห้าลิตร....ไม่ต้องคิดกังขา....ก่อนถ่ายมาใบน้อย....น้ำจะร่อยหรอลง....คงเหลือสองลิตรแน่ว
แล้วเทใบสามลิตร...แม้สักนิดอย่าเหลือ...เพื่อเป็นภาชนะเปล่า...เอาสองลิตรเติมลง...คงที่ว่างลิตรเดียว
ใช้อีกเที่ยวใบเขื่อง....เปลืองแรงครั้งสุดท้าย....ถ่ายมาที่อีกใบ....ก็จะได้ตามหวัง....เหลือน้ำขังเที่ยวนี้
ตามโจทย์กำหนดชี้....สี่ถ้วนปริมาณ....ลิตรเฮย
ก็ต้องขออนุญาตอีกครับ จะขอนำที่เคยลง ลงให้หมดก่อนครับ หาไม่กว่าครบ ๑๐๐๐ คง ๕ ปี 555
|
|
|
|
01 กรกฎาคม 2012, 11:23:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2012, 11:23:PM » |
ชุมชน
|
........................๑๐ พระคุณครู
.......ใครหรือคือครูบา........จิตวิญญาณ์สละพลี ชีวีเพื่อปวงศิษย์................แบบชีวิตคุณธรรม ส่องนำเห็นดีชั่ว................ไม่เมามัวตัณหา อวิชชาขจัดหาย................รู้ขวนขวายวิทยา ชีวาเพื่อผองชน .................................อดทนร่วมทอฝัน ร่วมฝ่าฟันไขว่คว้า.............ฟื้นวิญญาณ์แห่งตน
ตื่นเป็น ”ฅน” ที่แท้............ธรรมสถิตจิตจรัสแล้ ผ่องแผ้วทุกวัน.....วารเฮย
|
|
|
|
02 กรกฎาคม 2012, 07:32:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2012, 07:32:PM » |
ชุมชน
|
..........๑๑ แข่งม้า-ตัวแพ้
......พินัยกรรมบ่งชัด จะต้องจัดแข่งม้า นำอาชาตนวิ่ง เข้าชิง "ม้าตัวแพ้" ย้ำแน่ ! "ม้าที่โหล่" เมื่อโผเป็นดั่งนี้
ทุกผู้ที่เข้าแข่ง จึงออกแรงแต่น้อย ให้ม้าค่อยเหยาะหน้า สองก้าวพาถอยหลัง แข่งทั้งวันบ่ถึง ที่ซึ่งเป็นที่หมาย
จึ่งให้ทายสิว่า กติกาเช่นนี้ แข่งแบบไหนจึงชี้ ชนะแพ้ตามประสงค์
|
|
|
|
02 กรกฎาคม 2012, 08:13:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2012, 08:13:PM » |
ชุมชน
|
...............๑๒..................กามนิต, ๖ มิ.ย.๕๕
....มัวแต่งแต่ร้อยกรอง มิค่อยประลองปัญญา เพราะเน็ตช้าเต่าคลาน
ลงกลอนกานต์ก็ไป มิได้อยู่ดูเชาว์ วันนี้เมาชาเขียว เลยเลาะเลี้ยวมาแวะ
แทะเล็มทายปัญหา แข่งม้าหาตัวแพ้ เป็นข้อแม้มรดก จักตกทอดแก่ผู้ รู้จักคลายปริศนา ด้วยปัญญาแค่นี้ ก็อยากลองทายชี้ ช่วยรื้อปัญหา ท่านเอย ฯ
....กติกาบ่งแข่งแพ้............อาชา...ตนเฮย ตนขี่ย่อมชักมา.................อยู่ท้าย หากสลับอัศดรพา..............ม้าอื่น...ไปแฮ ม้าแห่งตนย้อมผ้าย*..........มิพ้นเนิ่นนาน ฯ
....สั่งการไปดั่งนี้..............นะสหาย การแข่งย่อมเร็วหมาย.........มุ่งชี้ ปัญหาช่างง่ายดาย............ไขสะดวก อย่ากระนั้นกระนี้................เร่งป้อนปัญหา...อื่นเอย ฯ
*ผ้าย (โทโทษ) = พ่าย
ขออนุญาตนำ โคลงที่คุณ กามนิต แต่งเฉลย ลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพื่อจะได้จบสมบูรณ์ครับ
|
|
|
|
02 กรกฎาคม 2012, 10:09:PM |
สมนึก นพ
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2012, 10:09:PM » |
ชุมชน
|
เห็นหัวข้อว่าร่าย คงไม่ง่ายดังคิด จะถูกผิดลองทำ
ห้าคำนำมาวาง ยังเลือนลางวรรคบท มีกำหนดแค่ไหน
หรือตามใจคนเขียน ช่วยแวะเวียนบอกนะ ขออย่าละเมินห่าง
จึงยกร่างให้ทาน ไหว้วานลองอ่านดู อาจารย์คุณครู
โปรดกรุณา ฉันรอ.
นพ 2ก.ค.55
|
|
|
|
02 กรกฎาคม 2012, 10:33:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2012, 10:33:PM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณที่สนใจ ผมก็ประเภทเปิดตำราแต่งครับ เพียงแต่เสียดายที่ส่วนใหญ่นิยมแต่งกันแต่กลอน ประเภทอื่นๆ แทบหายหมดไปแล้ว จึงพยายามลองดู เพราะยึดหลักเรียนรู้ไป ต้องมีใครแนะแน่ๆ ............................"ร่ายสุภาพ" "ร่ายสุภาพ"พาเพลินเพลิน ดำเนินเรื่องร่ายไป ห้าคำในหนึ่งวรรค เรียงร้อยสักพอประมาณ จบกานท์ด้วยโคลงสอง ผองเพื่อนขยับขับดู สัมผัสรู้รับส่ง อย่าลืมหลงเลยนา ร่ายลาจบเท่านี้ ขออย่าละหลีกลี้ ร่วมด้วยช่วยกัน แต่งนารายละเอียดดูที่ http://www.st.ac.th/bhatips/rai_poem.htmlตัวอย่างร่ายสุภาพ ข้าเก่าร้ายอย่าเอา อย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่าน้ำ อย่ารักถ้ำกว่าเรือน อย่ารักเดือนกว่าตะวัน สบสิ่งสรรพโอวาท ผู้เป็นปราชญ์พึงสดับ ตรับตริตรองปฏิบัติ โดยอรรถอันถ่องถ้วน (โคลงสอง) แถลงเลศเหตุเลือกล้วน เลิศอ้างทางธรรม แลนา ฯะ (สุภาษิตพระร่วง) ตัวอย่างร่ายดั้น ...เปรมใจราษฎร กำจรยศโยค ดิลกโลอาศรย ชยชยนฤเบนทรา ทรงเดช (บาท ๓ โคลงสี่ดั้น) ฦๅส่งดินฟ้าฟุ้ง ข่าวขจร (บาท๔ โคลงสี่ดั้น) (ลิลิตยวนพ่าย)
|
|
|
|
02 กรกฎาคม 2012, 10:49:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2012, 10:49:PM » |
ชุมชน
|
....................๑๔ เช่าบ้าน (ร่ายสุภาพ)
....สามคนชวนกันไป........เช่าบ้านใกล้อาคาร- ที่ทำงานไม่สาย..............อยู่สบายพอครบเดือน สามส่วนเพื่อนฉับพลัน.......จ่ายเท่ากันรวมได้ สามสิบให้เด็กน้อย...........เจ้าอย่าคอยเล่นอยู่ นำให้ผู้เจ้าของ................ท่านก็ตรองชื่นชม สมควรจะลดหย่อน...........ช่วยผ่อนหนักเป็นเบา เพียงเอายี่สิบห้า..............บอกเด็กหนานำกลับ ห้าหน่วยนับให้ดี..............ช่วยทีคืนเจ้าของ สองนั้นเขาจึ่งให้..............เด็กน้อยไว้กินขนม ต่างสุขสมทุกผู้ ....จึงนำสู่คำถาม.............คนทั้งสามจ่ายไป ใช่ไหมยี่สิบเจ็ด...............อีกจริงเท็จเด็กรับ สองเมื่อนับรวมเข้า............ยี่สิบเก้าพอดี แปลก ! ตอนที่เริ่มต้น.........สามสิบแน่–จงค้น สืบให้ได้ความ
|
|
|
|
02 กรกฎาคม 2012, 10:53:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2012, 10:53:PM » |
ชุมชน
|
........................ ๑๕ กามนิต, ๗ มิ.ย.๕๕
หวานหวานหมูหวานหวาน ท่านถามเป็นร่ายมา ข้าพเจ้าขอตอบร่าย
ปัญหาง่ายอย่างนี้ ขอชี้ให้เห็นเหตุ ท่านซ่อนเลศน์บวกผิด ไปคิดเงินที่ให้
เด็กน้อยไว้นั่นแหละ จึงแยกแยะไม่ถูก ขอผูกร่ายคำตอบ ทางที่ชอบวางไว้ ได้พอเป็นเห็นเค้า ได้แก่เจ้าของบ้าน ตามการณ์ยี่สิบห้า คืนมาห้าใช่ไหม แบ่งไปเด็กสองจึง เหลือสามถึงสามสหาย รายการนี้จึงจบ สามสิบครบดังเก่า เล่าความแจงแจกชี้ พึงเบิกบานฉะนี้ อย่าได้กังวล แลนา ฯ
|
|
|
|
04 กรกฎาคม 2012, 11:31:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2012, 11:31:AM » |
ชุมชน
|
..............................ขอชี้แจง และชวนเชิญ ..... ร่ายยาว กล่าวได้ว่าเป็นเหมือน เรียงความ หรือ กลอนเปล่า มีเกณฑ์บังคับน้อยมาก คือเพียงแค่มี สัมผัสส่ง-รับ เท่านั้น และจบลงด้วย คำนิยม บางคำ เช่น ฉะนี้ เป็นต้น การ รับสัมผัสก็มิได้กำหนดว่า ต้องเป็นตำแหน่งใด จึงเป็น ร้อยกรอง ที่ผมใคร่เสนอว่า น่าส่งเสริมสำหรับผู้เริ่มแต่งคำประพันธ์ อย่างไรก็ตาม ที่ว่า ง่ายๆ แท้นั้น ยากจริงๆ คือ ยากที่จะแต่งให้ไพเราะ ได้ใจความ หากเขียนเรื่อยๆ มาเรียงๆ ก็ไม่น่าสนใจ ขอยกคำแนะนำจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/07/K4529307/K4529307.htmlการแต่งร่ายยาวต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำและสัมผัสในให้มีจังหวะรับกันสละสลวย เมื่ออ่านแล้วให้เกิดความรู้สึกมีคลื่นเสียงเป็นจังหวะๆอย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต" และจำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่งก็ไม่ควรให้ยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจครั้งหนึ่งๆ คือควรให้อ่านได้ตลอดวรรคแล้วหยุดหายใจได้โดยไม่ขาดจังหวะ ดูตัวอย่างได้ในหนังสือ เวสสันดรชาดก
ร่ายยาวนี้ใช้แต่งเทศน์หรือบทสวดที่ต้องว่าเป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ เทศน์ธรรมวัตร เมื่อจบความตอนหนึ่งๆมักลงท้ายด้วยคำว่า :- นั้นแล, นั้นเถิด, นี้แล, ฉะนี้แล, ด้วยประการฉะนี้ คำว่า "นั้นแล" นั้นนิยมใช้เมื่อสุดกระแสความตอนหนึ่งๆหรือจบเรื่อง เมื่อลง "นั้นแล" ครั้งหนึ่งเรียกว่า "แหล่" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อมาจากคำ "นั้นแล" นั่นเอง เพราะเวลาว่าทำนองจะได้ยินเสียง "นั้นแล" เป็น "นั้นแหล่"
|
|
|
|
04 กรกฎาคม 2012, 01:26:PM |
|
|
05 กรกฎาคม 2012, 11:51:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2012, 11:51:PM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณ คุณพี.พูนสุข มากครับ ขอชม ภาษาสวย ไพเราะ สาระดี แถมคุณกามนิตแนะ แก้ไขทันที เยี่ยมมากๆ ----- ตัวอย่าง ร่ายสุภาพ แบบสั้นสุดๆ คือ แต่ง ๕ วรรค จบด้วยโคลงสองสุภาพ รวมเป็นแปดวรรค
...........................๑๗ ชั่งช้าง
....ฮ่องเต้มีพระประสงค์........เจตน์จำนงสอบปราชญ์ ผู้ฉลาดแก้ปัญหา..............."ช้างข้าหนักเท่าไร" วิธีใดก็ตาม........................ซักถามแจงกระจ่างได้ วอนเพื่อนเฉกปราชญ์ไซร้.......แต่งแก้ปริศนา -----
ขอแนะเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับ เกี่ยวกับ
คำส่งสัมผัส - รับสัมผัส ให้มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน
การแต่งคำประพันท์ใดๆ จะต้องระวัง บริบท(สภาพแวดล้อม) ของเนื้อเรื่องด้วย กล่าวคือ กาล สถาน และบุคคล ต้องให้เหมาะสม
จากข้างต้น ช้างข้าหนักเท่าไร เป็น ช้าง(นั่น)หนาหนักเท่าไร ข้า เป็น หนา เพื่อรับสัมผัส ปัญหา
เพื่อให้มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน คงไม่เหมาะ เพราะ ไม่มีฮ่องเต้ตรัสนุ่มๆ แน่ๆ
|
|
|
|
06 กรกฎาคม 2012, 12:18:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2012, 12:18:AM » |
ชุมชน
|
.. ...ร่ายยาว กล่าวได้ว่าเป็นเหมือน เรียงความ หรือ กลอนเปล่า มีเกณฑ์บังคับน้อยมาก คือเพียงแค่มี สัมผัสส่ง-รับ เท่านั้น และจบลงด้วย คำนิยม บางคำ เช่น ฉะนี้ เป็นต้น การ รับสัมผัส ก็มิได้กำหนดว่า ต้องเป็นตำแหน่งใด จึงเป็น ร้อยกรอง ที่ผมใคร่เสนอว่า น่าส่งเสริมสำหรับผู้เริ่มแต่งคำประพันธ์
อย่างไรก็ตาม ที่ว่า ง่ายๆ แท้นั้น ยากจริงๆ คือ ยากที่จะแต่งให้ไพเราะ ได้ใจความ หากเขียนเรื่อยๆ มาเรียงๆ ก็ไม่น่าสนใจ
ขอยกคำแนะนำจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/07/K4529307/K4529307.htmlการแต่งร่ายยาวต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำและสัมผัสในให้มีจังหวะรับกันสละสลวย เมื่ออ่านแล้วให้เกิดความรู้สึกมีคลื่นเสียงเป็นจังหวะๆอย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต" และจำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่งก็ไม่ควรให้ยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจครั้งหนึ่งๆ คือควรให้อ่านได้ตลอดวรรคแล้วหยุดหายใจได้โดยไม่ขาดจังหวะ ดูตัวอย่างได้ในหนังสือ เวสสันดรชาดก
ร่ายยาวนี้ใช้แต่งเทศน์หรือบทสวดที่ต้องว่าเป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ เทศน์ธรรมวัตร เมื่อจบความตอนหนึ่งๆมักลงท้ายด้วยคำว่า :- นั้นแล, นั้นเถิด, นี้แล, ฉะนี้แล, ด้วยประการฉะนี้ คำว่า "นั้นแล" นั้นนิยมใช้เมื่อสุดกระแสความตอนหนึ่งๆหรือจบเรื่อง เมื่อลง "นั้นแล" ครั้งหนึ่งเรียกว่า "แหล่" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อมาจากคำ "นั้นแล" นั่นเอง เพราะเวลาว่าทำนองจะได้ยินเสียง "นั้นแล" เป็น "นั้นแหล่"
|
|
|
|
06 กรกฎาคม 2012, 07:36:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2012, 07:36:AM » |
ชุมชน
|
ขออนุญาต CTBELL นำมาเป็นกรณีศึกษา ขอบคุณมา ณ ที่นี้ครับ
CTBELL เป็นอีกคนที่ผมขอชื่นชม เพื่อนบ้านกลอนฯ คงเห็นพ้องว่า หากผู้ใดมานะพยายาม เรายินดีช่วย และ พิมพ์วาส ได้เสนอแนะไปแล้ว
ร่ายยาว.................................๑๘ แนะนำตัว
...........ชื่อของฉันชลาลัยนั้นคือสายน้ำ ปู่ให้คำจำกัดความว่าเป็นสายน้ำที่จะไม่ไหลย้อนกลับ เป็นคนคอยรับฟังปัญหาเพื่อนเเละมีน้ำใจ มักจะไม่โกรธเคืองใครได้นานนาน ไม่ใช่คนขี้รำคาญเเต่เป็นมิตร เป็นคนจิตใจดีเเละรักเด็ก ตัวเล็กผอมไม่สูงสายตาสั้น ฉันมีความใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นนิสิตคณะอักษร......... CTBELL
..........................................๑๙ ชลาลัย
....ชื่อฉันชลาลัยหรือก็คือแหล่งแห่งน้ำ....ปู่ให้คำขยายความเป็นสายน้ำไม่ไหลกลับ....เป็นคนคอยชอบจะรับฟังปัญหาของเพื่อนเพื่อน....มีน้ำใจไม่รู้เลือนไม่ขัดเคืองโกรธใครได้นานนาน....ไม่ใช่คนขี้รำคาญเเต่เป็นมิตรจิตใจดี....ตัวฉันนี้รักเด็ก....ตัวเล็กเล็กผอมไม่สูงสายตาสั้น....ใฝ่ฝันเป็นนิสิตคณะอักษร....ฝากร่ายกานท์กลอนเป็นบันทึก...ฉะนี้แลฯ
อาลัย ๒ น. ที่อยู่, ที่พัก, เช่น ชลาลัย = ที่อยู่แห่งนํ้า
เสนอว่า เวลาอ่าน แบ่งจังหวะ ลักษณะนี้
....ชื่อฉัน ชลาลัย หรือก็คือ แหล่งแห่งน้ำ ....ปู่ให้คำ ขยายความ เป็นสายน้ำ ไม่ไหลกลับ ....เป็นคนคอย ชอบจะรับ ฟังปัญหา ของเพื่อนเพื่อน ....มีน้ำใจ ไม่รู้เลือน ไม่ขัดเคือง โกรธใคร ได้นานนาน ....ไม่ใช่คน ขี้รำคาญ เเต่เป็นมิตร จิตใจดี ....ตัวฉันนี้ รักเด็ก ....ตัวเล็กเล็ก ผอมไม่สูง สายตาสั้น ....ใฝ่ฝัน เป็นนิสิต คณะอักษร ....ฝากร่ายกานท์กลอน เป็นบันทึก...ฉะนี้แลฯ
|
|
|
|
06 กรกฎาคม 2012, 08:28:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2012, 08:28:AM » |
ชุมชน
|
อีกตัวอย่าง ร่ายสุภาพ แบบสั้นสุดๆ คือ แต่ง ๕ วรรค จบด้วย โคลงสองสุภาพ รวมเป็นแปดวรรค
...............๒๐ โลก-มีจันทร์....คู่แฉล้ม
....ค่ำคืนวัน-จันทร์เพ็ญ..........นั่งเย็นเย็นคุยกัน พลันคนหนึ่งนึกถาม...............ตามตำรารู้อยู่ จันทร์คู่ล้อม(ดาว)อังคาร........วานผองเพื่อนช่วยให้ ณ โลก-มีจันทร์ได้.................คู่แฉล้มแจ่มนา
|
|
|
|
06 กรกฎาคม 2012, 05:53:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2012, 05:53:PM » |
ชุมชน
|
รบกวนช่วยแก้ฉันทลักษณ์โครงสี่สุภาพให้ทีค่ะ :) ?'~?.•*ลูกกวาด*•.?~'? 09 มกราคม 2012, 06:17:pm
------------------------------------------------- .....ตัวข้านามอัชชา ข้าเรียนหอการค้า ศึกษาการบัญชี ข้าเกิดที่กรุงเทพ ไม่ได้เมพกากเกรียน เป็นเซียนอ่านนิยาย ตื่นนอนสายอยู่บ้าง อาจไม่น่าคบค้า แต่ข้าก็จริงใจ นะท่้าน
ผมไปพบกระทู้นี้ "ส่วนล่าง"(ไม่ทราบจะเรียกว่ากระไร)ซึ่งมีความแสดงไว้ มีลักษณะแต่งเป็น ร่ายสุภาพ แต่งได้ดีทีเดียว เลยขอนำเสนอครับ
แต่ร่ายสุภาพ ต้องจบด้วย โคลงสองสุภาพ ซึ่งที่นี้ แต่งพลาดไปเล็กน้อย
- บ้าง เป็นคำมีตัวสะกด แต่ ค้า ไม่มี - วรรคท้าย กำหนดให้มีเพียง ๔ คำ (มีสร้อยได้อีก ๒)
จึงขอแก้ไขเป็น
..........................๒๑ ข้านามอัชชา
.....ตัวข้านามอัชชา ข้าเรียนหอการค้า ศึกษาการบัญชี ข้าเกิดที่กรุงเทพ ไม่ได้เมพกากเกรียน เป็นเซียนอ่านนิยาย ตื่นนอนสายเพราะล้า อาจไม่น่าคบค้า แต่ข้าจริงใจ นะท่้าน
อ๋อ ขอรบกวนเพื่อนๆ ที่ใกล้ชิดวัยรุ่น อธิบายคำนี้ให้ข้าผู้สูงวัยด้วย 555
เมพกากเกรียน
|
|
|
|
06 กรกฎาคม 2012, 07:33:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2012, 07:33:PM » |
ชุมชน
|
.......................... ๒๒ ถวายชัยมงคล แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
....คนไทยนับมีโชค ชนในโลกจะเท่า กับเราที่โชคดี มีบุญเกิดเป็นไทย ใต้ร่มบารมี จักรีกษัตรา เจ้าฟ้าสยามินทร์ บดินทร์ประทานสุข ดับทุกข์ที่รุกราน ให้แผ่วพานร่มเย็น ธ เป็นดั่งร่มไทร คอยคุ้มภัยสรรพสัตว์ ธ ปัดความยากเข็ญ ให้เป็นความมั่งมี เลี้ยงชีวีพอเพียง ร้อยเรียงความพอดี ธ ทรงชี้แนวทาง เป็นแบบอย่างน้อมนำ คำพระพ่อประทาน วารนี้ฤกษ์มงคล ภูมิพลราชา ประชาสดุดี แปดสิบสี่พรรษา ขอพุทธาประทาน อภิบาลพ่อหลวง ปวงราชภัยจงแคล้ว องค์แก้วพระราชา โรคาจงมลาย มิกล้ำกรายพระราชันย์ เป็นมิ่งขวัญผองข้าฯ จนกว่าจะสิ้นไทย พระทรงชัยยิ่งฟ้า พสกนิกรทั่วหล้า ต่างก้มวันทา พระเอย.
ศรีนวล (ช) 17 กุมภาพันธ์ 2012, 08:32:pm
ร่ายสุภาพ บทนี้ เปิดพบ (นักเรียนขอคนบ้านกลอนฯ แต่งให้)
แต่งดีทีเดียว อาจปรับให้ดีขึ้นได้อีก แต่ที่นี้ เวลานี้ คงไม่สมควร ด้วยเจ้าตัวไม่มีโอกาสรับรู้
เพียงแต่อยากเสนอบ้าง เพราะคิดว่าสำคัญ
.... ๑ "จนกว่าจะสิ้นไทย" ความนี้ไม่ใคร่เหมาะ ด้วยเนื้อหาเป็นการถวายพระพร ไม่เข้ากับ บริบท
บริบท [บอริบด] (ไว) น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย
.... ๒ "ศัพท์" ที่บางครั้งแทนกันได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งไป
ราชัน น. พระราชา. (ส.). ราชันย์ น. เชื้อกษัตริย์. (ส.).
ที่นี้ น่าจะเป็น ราชัน
|
|
|
|
|