31 กรกฎาคม 2013, 11:32:AM |
นัท ผู้ชายฯ รักในหลวง
|
|
« ตอบ #160 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2013, 11:32:AM » |
ชุมชน
|
๐ ร้อยรัก (อินทรวิเชียรฉันท์๑๑)
๐ ร้อยรัก สลักคำ................ระบุย้ำ สิฉ่ำหวาน ร้อยจิต สะกิดมาน...............ก็ละลาน ตระการใจ
๐ ร้อยดาว สกาวฟ้า.............ศศิจ้า สง่าใส ร้อยฝัน ประพันธ์ไป...........หฤทัย วิไลเรือง
๐ ร้อยกลอน สะท้อนถาม....กะเทาะความ นิยามเรื่อง ร้อยต่อ บ่ ฝืดเคือง...............สติเปรื่อง และเลื่องลือ
๐ ร้อยหนัก ก็ถักได้...........ครุใส่ จะไม่ทื่อ ร้อยง่าย สบายมือ...............ลหุหรือ ก็คือเบา
๐ ร้อยใจ และไมตรี...........ขณะนี้ บ่ มีเหงา ร้อยกานท์ ผสานเรา..........เฉพาะเจ้า สิเฝ้ารอ...๖๒๘
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, ชลนา ทิชากร, สุวรรณ, รพีกาญจน์, พิมพ์วาส, ศรีเปรื่อง, ไร้นวล^^, เนิน จำราย, panthong.kh, อริญชย์, รัตนาวดี, ตรีประภัสร์ โสม, ปู่ริน, ป้าโย
ข้อความนี้ มี 15 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
หนึ่งคนห่างไกล หนึ่งใจห่วงหา
|
|
|
12 สิงหาคม 2013, 11:06:PM |
น.ปฎิพน
|
|
« ตอบ #161 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2013, 11:06:PM » |
ชุมชน
|
กมลฉันท์
๐ ดนุฉันก็เวียนเยี่ยม....มิตระเอี่ยมอลังการ นัยะเห็นจะบรรหาร......ระบุบทวจีฉันท์
๐ ภณะท่านแน่ะศรีเปรื่อง...ก็เมลืองมลังบรรณ เฉพาะเราสุตังกรรณ........พิศะเห็นสิเป็นคุณ
๐ สรเสียงสำเนียงพจน์.....ธรรมะบทก็เจือจุน ดนุโมทนาสุน-..............ทรธรรมประจำใจ
๐ กวะนามะสัทธิน..........ทริย์สิ้นประเดียวใด แหละผิหากประจาคไร้......พละปัญญะอินทรีย์
๐ ก็จะหวังมิต้องสง..........สัยะคงประจักษ์ชี- วิตพาลระรานมี..............กวะทรัพย์มลายหาย
๐ สมิโกงจะลวงสรรพ์......ปติวัญจโนบาย นฤพัทธะทำลาย............ณ นิวัทธเวรวาร
๐ เพราะฉะนั้นแหละบุคคล...พิเคราะห์ชนรบิลจาร กวะตามภณาสาส์น..........จะนิเทศและจำนรรจ์
๐ สุภะก่อประโยชน์เกื้อ.....หิตะเพื่อบวรธรรม์ บุญะภาพสราญครัน........ลุนิโรธะสุขแล ฯ (๖๓๖)
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : สุวรรณ, รพีกาญจน์, พิมพ์วาส, พี.พูนสุข, Prapacarn ❀, ชลนา ทิชากร, ศรีเปรื่อง, ไร้นวล^^, เนิน จำราย, panthong.kh, นัท ผู้ชายฯ รักในหลวง, อริญชย์, รัตนาวดี, ตรีประภัสร์ โสม, ปู่ริน, ป้าโย
ข้อความนี้ มี 16 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
๐ กรองฉันท์สวรรค์พจนะร้อย.......กวะถ้อยบวรมี รสซึ้งประหนึ่งทิพะฉวี...............จะพิเลปน์ประโลมมาน ฯ
|
|
|
14 สิงหาคม 2013, 04:58:PM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #162 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2013, 04:58:PM » |
ชุมชน
|
ฉันท์งามมากครับ ทั้งท่านนัท ฯ และ ท่าน fourierlism (ขออ่านเป็น ฟูเรียร์ลิซึ่ม นะครับ ) (วสันตดิลกฉันท์ ๑๔)ปลื้มจิตตะเหลือจะคณนา นัทะมาเสนอเพลง พิณฉันท์วะวามกละเชลง พจะผ่องประดุจแถง ฟูเรียร์ลิซึ่มมิตระฉันท์ บริพันธ์กระบวนแพร ความคำ ฤ ต้องกะดนุแด รสเลิศประเสริฐธรรม์ ขอเปลี่ยนยุบลลิขิตะใหม่ เพราะวะใจมุหมายบรร- ยายคุณะมาตฤรำพัน ภณะเผื่อสหายยล (มาณวกฉันท์ ๘)อันคุณะแม่ แผ่กวะฟ้า เพี้ยงพสุธา ปานมหะชล ท่านทนุรักษ์ ฟักบุตระตน พัฒนะจน เติบกะยะโต บ่มเพาะนิสัย ใฝ่คุณธรรม ทุกวทะคำ ตรึงตระมโน "แม้นชิวิเฟื่อง เรืองอักะโข หากวะยโส ศักดิจะคลา จงมละทำ กรรมกิจะบาป ที่นระสาป สัตว์ระอา ถึงวะจะปิด- มิด ฤ ก็ปรา- กฏ ณ อุรา ห่อนภิทะพัง" เพียงอนุอัตถ์ ภัทระที่ มาตฤชี้ ปลูกจิตะฝัง บ้างบุตระค้าน ต้านสุตะฟัง แม่ ฤ ก็ยัง ทนทมะสอน ขอสุรคุ้ม อุ้มดนุแม่ ให้สุขะแด ปราศะนิวรณ์ กินก็สบาย ง่ายนิทระนอน กายะมิคลอน โรคภัยะไกล (๖๔๔) ศรีเปรื่อง ๑๔ ส.ค. ๒๕๕๖ ปล. แถง (ถะ-แหฺง) = ดวงจันทร์ ยุบล = ข้อความ เรื่องราว มาตฤ (มา-ตฺริ) = แม่ มหะชล จาก มหา + ชล ทมะ = การข่มใจ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ชลนา ทิชากร, รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, ไร้นวล^^, เนิน จำราย, panthong.kh, น.ปฎิพน, นัท ผู้ชายฯ รักในหลวง, อริญชย์, ตรีประภัสร์ โสม, ปู่ริน, ป้าโย
ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
15 สิงหาคม 2013, 06:30:PM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #163 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2013, 06:30:PM » |
ชุมชน
|
(วสันตดิลกฉันท์ ๑๔)
-พรหมวิหาร ๔ ประการ-
๐อัญเชิญพระธรรม์กณิกนันต์ คติอันอุดมพร ถ้อยถ้วนกถาสระขจร และรจิตประกิตพรหม
๐คือธรรมสาส์นพระพุทธองค์ ระบุบ่งบดีสม ทั้งเทพมนุษยะนิยม ยติยอดสุธีศรี
๐เรียกพรหมวิหาระชระจินต์ คุณรินรจิตดี เหมือนเย็นสกนธ์เพราะชลธี ทุรค่อยสงัดลง
๐เมตตาประมาณะจิตแจง จะแสดงประสาหงส์ มุ่งปรารถนากวะประสงค์ สุขส่งสหายเหิน
๐การุณย์ระเมียรดุจเปรียญ วิรเพียรพยุงเดิน ซึ่งมิตรประสบมละเผชิญ ฉลฉาวชโลมชมน์
๐เปรมปรีดิดำริมุทิตา สขิคราเจริญผล ดั่งเราฤดีประสพตน- ชุติตามตระหง่านเคียง
๐ท้ายธรรม์อุเบกขะบริกัป ผิว์ระงับวิโรธน์เพียง คนใกล้ประกอบธุระเผดียง นิรคุณมิขุ่นขันธ์
๐ถือธรรมะกานท์พระทศญาณ ประจุนานเอนกนันท์ ดังว่าฤทัยพิสิฐนั้น ดุจจิตมหาพรหมฯ(๖๕๒)เชิงอรรถพอสังเขป
กณิกนันต์(ว.) =ละเอียด รจิต(ว.)= งดงาม ประกิต(ก.)= แจ้ง, แสดง บดี(น.)= นาย. เจ้าของ, ผู้เป็นใหญ่ ยติ(น.) =ผู้สำรวมอินทรีย์ สขิ(น.)= เพื่อน วิโรธน์(ว.)= โกรธ แต่ถ้าวิโรจน์=สว่าง, รุ่งเรือง (คำพ้องเสียง)
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ชลนา ทิชากร, ศรีเปรื่อง, พี.พูนสุข, รพีกาญจน์, panthong.kh, นัท ผู้ชายฯ รักในหลวง, อริญชย์, รัตนาวดี, เนิน จำราย, ตรีประภัสร์ โสม, ปู่ริน, ป้าโย
ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
14 กันยายน 2013, 09:04:AM |
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,430
โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย
|
|
« ตอบ #164 เมื่อ: 14 กันยายน 2013, 09:04:AM » |
ชุมชน
|
(วสันตดิลกฉันท์)
๐ดินฟ้าประดาพิภพพลัน อภินันท์สนั่นฝน ท้องทุ่งขจีรจิตบน ทุรถิ่นเถลิงสินธุ์
๐นี่หนอมนุษย์ประดุจพฤกษ์ รติคึกขบวนดิน คนเราก็ย่อมจิตถวิล วรเวทะเมตตา
๐น้ำเย็นชโลมชนมะไพร ก็ผลิใบไสวป่า ใจเราเฉลาเพราะกรุณา นฤมาณสขีขวัญ
๐ใครเขาสิอยากประสพยาก รึลำบากสกนธ์กัน บาปบุญเลบงอสิตะนั้น นฤอย่าเยาะหยามเศียรฯ(๖๕๖)
|
แดนดินใดให้เราเกิด เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร
|
|
|
15 กันยายน 2013, 01:33:AM |
|
|
17 กันยายน 2013, 08:16:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #166 เมื่อ: 17 กันยายน 2013, 08:16:PM » |
ชุมชน
|
ด้วยสำนึก…เจ้าพระยามหานที
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
โอ้ท้องนทีพราว…………....วะวะวาวประกายแพร ลำเจ้าพระยาแม่………......ระดะจันทร์รวีเรือง
หลั่งไหลผดุงแดน………...ชนแคว้นระลึกเนื่อง ใช้สอยมิเปล่าเปลือง.......ขณะธารก็การุญ
คามเขต ณ สองฝั่ง………….มนหวังอุทกจุน ล่องเรือประมงหนุน………...ลุวิถีเกษตรผล
คดโค้งเลาะเรือนเหย้า……..พนเคล้ากระแสชล ศาสตร์ศิลป์ผสานมนต์…….ดุจคงมิเสื่อมคลาย
หลากพฤกษ์วิไลพรรณ……..รุจิขั้นสวรรค์หมาย เพียงแสงตะวันพราย………..สกุณาระเริงรมย์
แผ่วไผ่ผิว์รำพึง……………….สุตะตรึงฤทัยสม ทิพย์ธรรมชาติพรม…………..คุณเจ้าพระยางาม ฯ(๖๖๖)
อริญชย์ ๑๕/๙/๒๕๕๖
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พี.พูนสุข, รัตนาวดี, ไร้นวล^^, ชลนา ทิชากร, ดาว อาชาไนย, รพีกาญจน์, เนิน จำราย, ศรีเปรื่อง, น.ปฎิพน, ตรีประภัสร์ โสม, ปู่ริน
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
|
08 ตุลาคม 2013, 05:23:PM |
น.ปฎิพน
|
|
« ตอบ #168 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2013, 05:23:PM » |
ชุมชน
|
ชิชะ! แล้วหล่อนจะเสียดาย (2)
(วสันตดิลกฉันท์)
๐ เสียดายกระผมน่ะปฎิสน-.........ธินะกลบุรุษเพรา เชิงองค์อนงค์ก็มิเฉลา...............กวะวัญจนาหญิง
๐ นงคราญสุลักษณจริต..............สิก็ชิดจะก้านพิง ข้าน้อยมิอาจเฉพาะจะอิง..............มธุสรอนงค์สรวง
๐ แล้วตอบระบอบภณะประจักษ์.......วธุลักษณ์ประโลมทรวง ตามในวิสัยวิมลดวง....................กลลักษมีวรรณ
๐ แม้นมีสุดามฤทุเพริศ.................วจิเลิศวิถีฉันท์ ควรที่จะมีมธุรบรรณ....................สรพิศจรูญใจ
๐ ช่วยอรรถวิสัชชนะขยาย..............อธิบายกะความนัย ควรฤาพธู ณ หฤทัย....................ตละที่จะเสียดาย
๐ ด้วยเราเพราะเพรากละบุรุษ...........สริร์สุดจะบรรยาย หล่อพิศก็เพียงสุระประกาย.............กะหิรัณย์ก็เทียบทัน
๐ ดาราพิศาลสกละทิศ...................ผิจะพิศมิสู้ฉัน กอปรความสุภาพบุรุษพรรณ.............สิก็ใครจะแม้นเหมือน
๐ อยากฟังนุชากละวิสัช-..................ชนะอรรถสุดาเดือน ฟังแล้วมิแคล้วจิตะสะเทื้อน...............จะประกันประเดียวเอย ฯ
|
๐ กรองฉันท์สวรรค์พจนะร้อย.......กวะถ้อยบวรมี รสซึ้งประหนึ่งทิพะฉวี...............จะพิเลปน์ประโลมมาน ฯ
|
|
|
08 ตุลาคม 2013, 09:48:PM |
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,104
ทิวาฉาย ณ ปลายผา
|
|
« ตอบ #169 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2013, 09:48:PM » |
ชุมชน
|
|
|
|
|
09 ตุลาคม 2013, 12:46:PM |
เนิน จำราย
|
|
« ตอบ #170 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2013, 12:46:PM » |
ชุมชน
|
ปราจีนฯประจัญบาน
อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒
๐ปราจีนฯประจัญบาน พหุธารกระดอนกระเด็น เรือนเอนระเนนเห็น ระบุเบิ่ง ณ โทรทัศน์
๐คันคลองละลายลา พสุธาสะเทือนถนัด รุกรานวิหารวัด พระกะเณรตะครั่นตะครอ
๐“บ้านสร้าง”และ “นาดี” ลุ “กบินทร์บุรี”ระคอ น้ำคลั่งถะถั่งจอ สวะกั้น”ประจันตคาม”
๐เมือง “ศรีมโหสถ” สละหมดละถ้วยละชาม เมียต้อยเกาะผัวตาม พละเปลี้ยตะโกนสบถ ๐แม่ “ศรีมหาโพธิ” อภิโหดกระหน่ำมิลด สุดแสบระแบบบท รึจะมุ่ง มล้างมลาย (๖๙๐)
เนิน จำราย
|
|
|
|
18 พฤศจิกายน 2013, 09:19:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #171 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2013, 09:19:AM » |
ชุมชน
|
ที่มา: http://www.siamrath.co.th(ขออนุญาตแต่งแต้มสีครับ - share) ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่า คงมีคนที่มีความสุขกับการอ่าน “คำฉันท์” ไม่มากนักร้อยกรองประเภทฉันท์ ชาวสยามรับมาจากคำประพันธ์ของอินเดีย มีการพัฒนาให้ไพเราะเหมาะกับรสนิยมของชาวสยาม ฉันท์มีวิวัฒนาการตั้งแต่ไม่เคร่งครัดคำ ครุ ลหุ นักในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนมาเคร่งครัดคำ ครุ ลหุ มากจนเกินไปในสมัยกลางยุครัตนโกสินทร์ ทำให้คำฉันท์หยุดนิ่งในกรอบตายตัว เสื่อมความนิยมลงไป อย่างไรก็ตาม มหากวียุคใกล้ก็ยังได้สร้างวรรณคดีคำฉันท์ไว้เป็นอมตะ คือเรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์” ของ ชิต บุรทัต เป็นต้น กวีร่วมสมัยที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูการแต่งฉันท์คือ “คมทวน คันธนู” บทกวีคำฉันท์ของเขามีอิทธิพลต่อกวีรุ่นใหม่มาก ปัจจุบันกับยังมีกวีรุ่นใหม่ๆ ที่แต่งกวีด้วยคำฉันท์ได้ “ถึง” ทั้งรสและสาระ เช่น “สกุณี ทักษิณา” ผู้มีผลงานตีพิมพ์ใน “สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์” เป็นประจำ ในทางวิชาการ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ “ฉันท์” ก็ยังไม่ขาดหายไป ผลงานที่ดีเด่นของ ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร เรื่อง “วัณณะมาลี ทฤษฎีใหม่เรื่องการแต่งฉันท์ของล้านนา” เป็นพยานในเรื่องนี้ คำฉันท์ในศิลาจารึกเก่าแก่ที่พบในไทย ขอยกตัวอย่าง “จารึกหลักที่ ๕๖” พบที่เนินสระบัว (บริเวณเมืองพระรถ) ต.โคกปีบ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ท่านพุทธสิริ แต่งด้วยวสันตดิลกฉันท์ จารึกด้วยภาษาอินเดียใต้ เมื่อ พ.ศ. 1304 ความว่า ๐ โย สพฺพโลกหิโต กรุณาธิวาโส โมกฺขํ กโร นิรมลํ วรปุณฺณจนฺโท เญยฺโย ทโม นวิกุลํ สกลํ วิพุทฺโธ โลกุตฺตโร นมตถิ ตํ สิรสา มุเนนฺทํ ฯ จารึกวิหารหลวง วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.สุโขทัย ภาษีบาลี จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ก็ใช้ฉันทลักษณ์ “วสันตดิลกฉันท์” “ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย คำว่า ฉันท์ มีรากศัพท์มาจากธาตุ ฉท , ฉันท ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ปรากฏมีลักษณะเป็นที่น่าพอใจ น่าพึงใจ ส่วนในภาษาบาลีคำว่า ฉันท , ฉันโท มีความหมายสองอย่าง คือ แปลว่า ความปรารถนา ความตั้งใจ และคัมภีร์พระเวท หรือลักษณะคำประพันธ์ ต้นกำเนิดของฉันท์นั้น เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีที่แล้ว ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์ฤคเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน 50 พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ 50 – 106 พยางค์ โดยฉันท์ที่นิยมแต่งมี 8 ชนิด คือ คายตรี อนุษฏุก ตริษฏุก ชคตี พฤหตี ปังกตี วิราฏ อุษณิก ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดครุ ลหุ มากนัก นอกจากบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท จนกระทั่งอีกสองพันปีซึ่งอยู่ในสมัยมหากาพย์ ฉันท์ที่เรียกว่า “โศลก” ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาใหม่ โดยมี บาทที่ 1 เหมือนกับบาทที่ 3 และบาทที่ 2 เหมือนกับบาทที่ 4 โศลกบทแรกเกิดขึ้นโดยฤาษีวาลมีกิรำพึงถึงนกกะเรียนที่ถูกพรานยิงตาย..... หลังสมัยมหากาพย์ รูปแบบฉันท์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในคัมภีร์ฉันท์วุตโตทยะ และฉันท์โทมัญชรี ซึ่งมีฉันท์จำนวน 311 ชนิดด้วยกัน” (“วัณณะมาลี ทฤษฎีใหม่เรื่องการแต่งฉันท์ของล้านนา” โดย ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร หน้า 1-2) กวีอยุธยาพัฒนารูปแบบฉันท์อินเดียมาเป็นแบบไทย ซึ่งคงประยุกต์มาจากคัมภีร์วุตโตทัย ดังปรากฏในจินดามณีของพระโหราธิบดี รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประเภทฉันท์สมัยอยุธยานั้น อ่านค่อนข้างยาก นอกจากคำบาลีแล้ว ยังมีคำศัพท์แขมร์เป็นจำนวนมาก อย่างเช่นตอนบรรยายช้างป่าว่า ๐ ทุยทำพำลาพาหล สิงคาลคนชน กันโลมระลมสังไก พลุกแบงบังกินจรรไร ทมพลุกทิพาไศรย กำพษกำโบลโยนยัศ ประพลุกสุครีพแลคัด ธรณีบังบัด ทั้งนาคพันธ์พินาย ลันดาษยุรยักษ์บรรลาย ซุกซอนพรัยพราย บิเดาะกันเอาะพลุกหนี ฯ คุณสุธีร์ พุ่มกุมาร ที่ปรึกษาสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “คู่มือเรียนเขียนกลอน” ร่วมกับคุณยุทธ โตอติเทพย์ อดีตนายกสมาคมนักกลอนฯ เธอกำลังจะออกหนังสือเล่มใหม่ เขียนวิเคราะห์คำฉันท์ในหนังสือ “สามัคคีเภทคำฉันท์” คุณสุธีร์ กล่าวถึงการแต่งฉันท์ไว้น่าสนใจมาก เป็นต้นว่า “ธรรมชาติของฉันท์เป็นเรื่องของความยากลำบาก คนเขียนฉันท์ต้องพยายามทำความยากลำบากนั้นให้เป็นความง่าย แต่งาม ง่ายทั้งอ่านง่ายทั้งเขียน แต่งามด้วยลีลาและชั้นเชิงวรรณศิลป์ ต่างกับ กลอน ธรรมชาติของกลอนเป็นเรื่องง่าย คนเขียนกลอนจึงต้องพยายามทำความง่ายให้เป็นความยากโดยการสรรหาถ้อยคำที่อ่านแล้วต้องตีความ หรือการใช้ถ้อยคำอันเป็นสัญลักษณ์ มีนัยกว้างขว้าง แต่จะ “สถิตเสถียรเทียรฆ์กาลนิยม” หรือไม่ เป็นเรื่องท้าทาย” และ “ศัพท์ภาษาเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนฉันท์ นักฉันทศาสตร์เปรียบเหมือนนายมาลาการ(นักจัดดอกไม้) คณะฉันท์เหมือนต้นไม้ ครุ-ลหุ เหมือนดอกไม้ ความฉลาดในการจัดวางดอกไม้แม้มีเพียงไม่กี่ชนิดเพื่อประดับในแจกันใบเล็ก หากสลับปรับแต่งได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน แจกันใบนั้นก็ย่อมดูสวยงามตระการตา กฎเกณฑ์หรือกติกาข้อบังคับของฉันท์มีอยู่แค่ ครุ ลหุ วางให้ถูกตำแหน่งแค่นี้เอง ส่วนสัมผัสสระนอก-ใน หากเคยเขียนคำประพันธ์ร้อยกรองชนิดอื่นๆ มาบ้างแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรยุ่งยาก ขอให้ดูเปรียบเทียบฉันท์ที่มี 12 คำด้วยกัน” “การยืดคำ – หดคำ ให้เป็นสระเสียงยาว – เสียงสั้นนั้น ก็ทำได้กับศัพท์จากภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น ใช้กับคำภาษาอื่นไม่ได้ คุณสุธีร์ยกตัวอย่างคำว่า “กังวล” ซึ่งชิต บุรทัต แยกศัพท์ข้ามวรรค เป็น กัง - วละ“มีคำศัพท์ที่น่าสนใจเป็นกรณีศึกษาอยู่คำหนึ่งคือคำว่า กังวล (ไท้นฤกัง – วละอย่างไร) กังวล เป็นคำเขมร (กังวล ก. ห่วงใย, มีใจพะวงอยู่. (ข) – พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน), คำศัพท์ที่จะ ทีฆะ – ทำสระเสียงสั้นให้เป็นสระเสียงยาว หรือ รัสสะ-ทำสระเสียงยาวให้เป็นสระเสียงสั้น และการแตก,กระจายคำออกเป็นพยางค์สั้นๆ เพื่อใช้เป็นคำ ลหุ คำนั้นๆ ต้องเป็นคำที่มาจากภาษา บาลี – สันสกฤต เท่านั้น เนื่องจากธรรมชาติของสองภาษานี้มีเสียงเป็น ลหุ เสียส่วนใหญ่ แต่ถูกตัดแต่งเพื่อความสะดวกลิ้นของผู้ตัดแต่ง เมื่อนำมาเขียนฉันท์ก็สามารถย้อนกลับสู่รากเดิมได้ เจ้าของภาษาฟังเข้าใจ รู้เรื่อง, กังวล เป็นคำเขมร ล. ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดได้อย่างเดียว เปลี่ยนหน้าที่ไม่ได้ เพราะเมื่อเปลี่ยนแล้ว เจ้าของภาษาฟังไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง, ตะวันตก จะให้เป็น ตะวันตะกะ อย่างนี้ไม่ได้เพราะไม่ใช่คำบาลี – สันสกฤต นิมนต์ เป็น นิมะนะตะ อย่างนี้ได้ เพราะเป็นคำบาลี สงสัย เป็น สงสะยะ – สังสะยะ อย่างนี้ได้ เพราะเป็นคำบาลี คำศัพท์ที่มาจาก บาลี – สันสกฤต แม้จะมีภูมิรู้ ตัด – แต่ง – แผลง – ต่อ, ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์แล้ว ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าเมื่อได้รูปได้คำตามต้องการ ลองอ่านออกเสียงให้หูตัวเองฟัง ไพเราะไหม ออกเสียงยากไหม แล้วจึงค่อยตัดสินใจจะเอาอย่างไร ถ้าฟังแล้วรู้สึกแปร่งหู ระคายหู ตลกขบขัน ก็ไม่ควรนำมาใช้เขียนในบทกวีหรือแม้แต่งานเขียนทั่วไป” ขอเกริ่นไว้ก่อนครับ เพราะหนังสือดีเล่มนี้ ยังพิมพ์ไม่เสร็จ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รัตนาวดี, ศรีเปรื่อง, ชลนา ทิชากร, รพีกาญจน์, ดาว อาชาไนย, พี.พูนสุข, sati, อริญชย์, ตรีประภัสร์ โสม, ปู่ริน, ป้าโย
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
18 พฤศจิกายน 2013, 12:11:PM |
|
|
20 พฤศจิกายน 2013, 09:54:PM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #173 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2013, 09:54:PM » |
ชุมชน
|
แด่เกลอเก่า (อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)
เกริ่น...
คิดถึงอดีตดนู เอ๊าะเอ๊าะอยู่ ณ มัธยม หนึ่งมิตรสนิทชม อุระซึ้งคนึงเสมอ
จึ่งขอรจิตฉัน- ทะนิพันธะยอเกลอ กรองกลั่นสำนวนเสนอ พจะแนวประเทิงมาน
"น้ำใจสหายข้า ฯ นภหล้าก็ห่อนปาน ซื่อสัตย์สมัครสมาน สุขะทุกข์ก็เคียงเดิน
เป็นคู่สมองคิด สุหฤทะจำเริญ เรื่องใด ฤ จักเกิน ทวิมิตรพินิจไข
ร่วมเรียนและศึกษา วิทยาวิชาไกร แข่งขันประชันชัย ชนะแลกขนมปัง
บางคราวก็เคืองขัด ปะทะหมัดประลองพลัง หายขุ่นมิคิดชัง ภณะขออภัยกัน
พลาดพลั้งกระทำผิด ปิยะมิตรก็เตือนพลัน คอยผลักและคอยดัน มิตระสู่วิถีควร
บนบานอมรให้ สขิได้ประสบมวล- ความสุขสนุกกระสรวล ภยะร้ายมิกรายเยือน" (๗๐๐)
ศรีเปรื่อง ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๖
ปล.
ขออนุญาตใส่ ะ ที่ท้ายบางคำ เพื่อสื่อถึงแนวทางการอ่านครับ
ดนู = ผม, ข้าพเจ้า เอ๊าะเอ๊าะ (แสลง) = วัยรุ่น ภณะ = กล่าว, พูด, บอก สุหฤท, สขิ = เพื่อน
|
|
|
|
29 พฤศจิกายน 2013, 08:31:AM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #174 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2013, 08:31:AM » |
ชุมชน
|
อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=3578
โอ้รัชนินี้ รัศมีพระจันทร์เลือน อับเฉารุจิเหมือน มนแห่งดนูชาย
ห่อเหี่ยวกมลา อภิว้าวะเวงกาย ฤาว่าอรคลาย จิตภักดิ์สมัครคลอน
เพียรข่มนัยนา จะนิทราประทมนอน พลันเหล่าศุนิหอน สรอึงคะนึงซอย
ยิ่งดึก ฤ ก็ยิ่ง อุระดิ่ง ณ เหงาหงอย เห็นหน้านุชลอย เลาะละล่องมิยอมไป
รวบรวมสติมุ่ง สละฟุ้งมโนใน ขับโฉมสิริไกล หฤทัยมิรั้งรอ
เริ่มเวียนศิรษา นัยนาก็น้ำคลอ ล้มตึงกะยะงอ ก็เพราะข้าวบ่ได้กิน
ศรีเปรื่อง ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๖
ปล.
อภิว้า = อภิ (ยิ่ง) + ว้า (ว่าง, เปลี่ยวใจ) วะเวง กร่อนจาก วังเวง ศุนิ = สุนัข กะยะ กร่อนจาก กายา
|
|
|
|
29 ธันวาคม 2013, 09:12:AM |
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,104
ทิวาฉาย ณ ปลายผา
|
|
« ตอบ #175 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2013, 09:12:AM » |
ชุมชน
|
สวัสดีปีม้า ๒๕๕๗ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๐ ปีใหม่มะเมียม้า ฮิฮิ..ท่าทะมัดมั่น ควบขับขยับพลัน ดุจวันมิผันคืน
๐ ผกโผนกระโจนท่อง พละคล่องประชาตื่น เชี่ยวชัดตระบัดฟื้น อุระร้าวระรานแหยง
๐ รู้ย่างเหยาะโถมถีบ ตะละกีบสะบัดแรง ขายค้า ฤ นาแล้ง ประลุหวังสะพรั่งพราย
๐ ควบขี่วิถีตน มนะทนระโหยหาย จับเจ่าประเทาคลาย สติพร้อมประนอมขวัญ
๐ ปีม้าสง่างาม คติตามบุราณบรรพ์ พาชีทวีสัน- ติสุโขมโนมัย
๐ เพลิดเพลินเจริญสุข และสนุกประโลมใจ รื่นเริงเถลิงชัย สรซ้อง ชโย! เทอญ. (๗๑๒)
พี.พูนสุข ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖
|
|
|
|
31 ธันวาคม 2013, 04:19:AM |
|
|
|
27 มกราคม 2014, 09:40:AM |
toshare
|
|
« ตอบ #178 เมื่อ: 27 มกราคม 2014, 09:40:AM » |
ชุมชน
|
วิชชุมมาลาฉันท์ 8
....ตรุษจีนพรธรรม์.....................สุขสันต์เพื่อนผอง เทพไท้คุ้มครอง.........................ครอบครัวร่มเย็น การงานรุ่งโรจน์.........................ธรรมโปรด"รัก"เป็น เมตตาผู้เข็ญ.............................ตรุษจีนทั่วกัน
....กายจิตผ่องแผ้ว.....................คลาดแคล้วเภทภัย ชีวิตสดใส.................................หมั่นมุ่งทางธรรม์ ทุกวันวันดี................................ชีพนี้ไป่ผัน ดำรงชีวัน.................................เพื่อฝันผองชน
|
|
|
|
03 กุมภาพันธ์ 2014, 11:25:AM |
ศรีเปรื่อง
|
|
« ตอบ #179 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2014, 11:25:AM » |
ชุมชน
|
โกรธทะลุจุดเดือด (มาณวกฉันท์ ๘)
เกิดอุระคึก นึกจะเสนอ สมมุติ..เอ่อ ผมน่ะกมล ถูกนุชน้อง ก่องกิ๊ก(ะ)ดล ให้ภิทจน กริ้วเกาะฤดี
(คือ...เรื่องสมมุตินะครับ)
ผมก็บุรุษ สุดจะพิลาศ เท่หฉกาจ ล้ำปฐพี "เจมส์จิ"มิได้ ใกล้รัศมี นัขธุลี ห่างระยะไกล
แต่อภิงง สงสัยนัก วนอุระหัก ช้ำหฤทัย ถูกกิ๊ก(ะ)หญิง ทิ้งมละไป เหตุอะไร ใยนุชลา
แค้น ฤ ก็แค้น แน่นมนท้น อายนรชน ทั้งพสุธา หรือทิพแหนง แกล้งอัตมา เนื่องเพราะวิภา เหนือนิรชร
เหวยวะวะเหวย เฮ้ยชนสรวง เดี๋ยวเถอะจะร่วง จากคฤห(ะ)นอน เปล่งวทะร้อง ก้องอัมพร "คืนกิ๊ก(ะ)อร แล้วจะมิโดน"
แกว่งกวะกระบี่ ชี้ ณ สวรรค์ สองบทพลัน ยันกะยะโผน กู่สร "ย้ากส์" วากยะตะโกน คิดกะจะโหน เมฆ(ะ)ทยาน
สูงนภเสียด เฉียดทศโยชน์ ด้วยพละโกรธ คลั่งอุระดาล- เดือดทะลุจุด ฉุดสติทาน ตกสริร์ราน แหลกบ่มิเหลือ (๗๓๓)
ศรีเปรื่อง ๓ ก.พ. ๒๕๕๗
ปล.
นัขธุลี (นัก-ขะ-ธุ-ลี) = นัข (เล็บ) + ธุลี (ฝุ่น) สงสัย (ป. สํสย; ส. สํศย) = อ่านเป็น สง-สะ-ยะ อัตมา = ตัวเอง = อ่านเป็น อะ-ตะ-มา นิรชร = เทวดา เหวยวะวะเหวย = กร่อนจาก "เหวยเหวยเหวยเหวย" แกว่งกวะ = กร่อนจาก "แกว่งกวัด" กะยะ = แผลงจาก "กายา" สร (สะ-ระ) นภ = ฟ้า โยชน์ = ชื่อมาตรวัด (16 กิโลเมตร) สริร์ = แผลงจาก สรีร์ = ร่างกาย
|
|
|
|
|