16 เมษายน 2012, 01:04:AM |
รัตนาวดี
|
|
« เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 01:04:AM » |
ชุมชน
|
.. ღ ♥ .*.♥ ღ ...
...ในวันนี้ มีผู้ คนล้นหลาม ร่วมนึกความ ประวัติ จัดเรื่องใหม่ ไททานิค พลิกพลัน วันฤทัย ผู้คนมอบ อาลัย ในความจำ...
...อุบัติเหตุ เรื่องราว มีกล่าวขาน คล้ายตำนาน วันกลับ มานับพร่ำ คืนวันที่ สิบสี่ มีเหตุทำ ด้วยคราดึก นึกคำ พร่ำอาวรณ์...
ณ เวลา สองสาม จุดสี่ศูนย์ ทวีคูณ พบพา ฤๅคราก่อน แต่งตัวสวย ด้วยเรื่อง เครื่องอาภรณ์ ชุดนุ่งห่ม สมัยย้อน ตอนเพริศพรรณ...
...ครบรอบหนึ่ง ร้อยปี วันนี้หนา ที่เรือมา ถลาล่ม จมลงนั่น ทั่วโลกรู้ เรื่องมี ในวี่วัน ร่วมผูกมั่น วันคล้าย ไว้อาลัย...
รัตนาวดี
... ღ ♥ .*.♥ ღ ...
อนึ่ง..เรือไททานิค ชนน้ำแข็งในท้องมหาสมุทร เมื่อคืนวันที่ 14 เมษายน 1912 , เวลา 23.40 น. ล่มลงในวันที่ 15 เมาษยน 1912 ในจำนวนผู้โดยสารทั้งหมด 1,517 คน เสียชีวิตร่วม 1,309 คนค่ะ
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : amika29, เนิน จำราย, Music, รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, บูรพาท่าพระจันทร์, ลมหนาว, บัณฑิตเมืองสิงห์, sunthornvit, ...สียะตรา.., อริญชย์, หนามเตย
ข้อความนี้ มี 13 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
18 เมษายน 2012, 07:34:PM |
bond15199
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 เมษายน 2012, 07:34:PM » |
ชุมชน
|
10เมษาคมค.ศ1912ปล่อยเรือไททานิคที่อังกฤษ11-14เมษายนเป็นปกติจนกระทั้งเรือแคริฟอเนียเตื่อน7ครั้งแต่ไม่ได้รับโทรเลขแต่ไม่ทราบในที่สุด23.39คนดูเห็นภูเขานำแข็ง23.40ชนภูเขานําแข็ง0.00นำท่วมชั้นE-3ตามลําดับ2.17เรือไททานิคหักถึงสันหลังจมไปในที่สุด
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : tomoko, sunthornvit, พี.พูนสุข, ...สียะตรา.., อริญชย์, รพีกาญจน์, เนิน จำราย, รัตนาวดี, Music, หนามเตย, ลมหนาว
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
ชวิน
|
|
|
18 เมษายน 2012, 07:50:PM |
tomoko
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 18 เมษายน 2012, 07:50:PM » |
ชุมชน
|
สิบสี่เมษาห้าทุ่มสี่สิบ ไททานิคพุ่งชนนําแข็งจริง ตีสองยี่สิบนาทีไททานิค เจ็ดร้อยสิบคนตายวุดวิด
|
|
|
|
|
19 เมษายน 2012, 03:22:AM |
รัตนาวดี
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 เมษายน 2012, 03:22:AM » |
ชุมชน
|
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา อาร์เอ็มเอส ไททานิก
เรือไททานิกขณะออกจากท่าเซาท์แทมป์ตัน 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ประวัติ ชื่อเรือ: อาร์เอ็มเอส ไททานิก (Titanic) เจ้าของ: บริษัทไวท์สตาร์ไลน์ (White Star Line) จดทะเบียนที่: ลิเวอร์พูล เส้นทางเดินเรือ: เบลฟัสต์ - ควีนส์ทาวน์ (ท่าเรือโคบห์) - แชร์บรูก - เซาแธมป์ตัน - นิวยอร์ก สั่งต่อเรือ: 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1908 ต่อขึ้นที่: อู่ต่อเรือ ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ ในควีนส์ไอแลนด์ เมืองเบลฟัสต์ ไอร์แลนด์เหนือ เลขที่อู่ต่อเรือ: 401 วางกระดูกงู: 31 มีนาคม ค.ศ. 1909 ปล่อยลงน้ำ: 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 เวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น พิธีตั้งชื่อเรือ: ไม่มี สร้างเสร็จ: 1 เมษายน ค.ศ. 1912 เดินทางครั้งแรก: 10 เมษายน ค.ศ. 1912 รหัสประจำเรือ: สัญญาณเรียกขาน "MGY" ตัวเลขทางราชการของอังกฤษ : 131428
จุดจบ: ชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง วันเสาร์ที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 เวลา 23.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น อัปปางลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เวลา 02.20 น.
ชั้น: ชั้นโอลิมปิก
ความจุ: แบบพักเดี่ยว 1,324 คน (ชั้นหนึ่ง 329 คน ชั้นสอง 285 คน และชั้นสาม จำนวน 710 คน) และสามารถปรับเปลี่ยนเป็นพักแบบคู่ในบางห้องได้เป็น 2,435 คน ( ชั้นหนึ่ง 735 คน, ชั้นสอง 674 คน และชั้นสาม 1,026 คน ) ความจูสูงสุด: 3,547 คน ลูกเรือ: 860 คน
อาร์เอ็มเอส ไททานิก (อังกฤษ: RMS Titanic) เป็นเรือโดยสารซึ่งจมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติกเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 หลังชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งระหว่างการเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การจมของไททานิก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,517 ศพ นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางทะเลในยามสงบครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ไททานิก เป็นเรือลำใหญ่ที่สุดที่ลอยอยู่ขณะการเดินทางเที่ยวแรกของมัน เป็นหนึ่งในสามเรือโดยสารชั้นโอลิมปิกซึ่งดำเนินการโดยไวต์สตาร์ไลน์ สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1909-11 โดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนดวูล์ฟฟ์ในเบลฟาสต์ บรรทุกผู้โดยสาร 2,223 คน
ผู้โดยสารบนเรือมีบรรดาบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เช่นเดียวกับผู้อพยพกว่าพันคนจากบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย เป็นต้น ซึ่งกำลังแสวงหาชีวิตใหม่ในทวีปอเมริกาเหนือ เรือได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกสบายและความหรูหราที่สุด โดยบนเรือมียิมเนเซียม สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ภัตตาคารชั้นสูงและห้องจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีโทรเลขไร้สายทรงพลังซึ่งจัดเตรียมไว้เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร เช่นเดียวกับการใช้เชิงปฏิบัติการ แต่แม้ ไททานิก จะมีคุณลักษณะความปลอดภัยที่ก้าวหน้า เช่น ห้องกันน้ำและประตูกันน้ำที่ทำงานด้วยรีโมต ก็ยังขาดเรือชูชีพที่เพียงพอสำหรับบรรทุกผู้โดยสารทุกคนบนเรือ เนื่องจากระเบียบความปลอดภัยในทะเลที่ล้าสมัย จึงมีเรือชูชีพเพียงพอสำหรับผู้โดยสาร 1,178 คนเท่านั้น เกินครึ่งของผู้ที่เดินทางไปกับเรือในเที่ยวแรกเล็กน้อย และหนึ่งในสามของความจุผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดเท่านั้น
หลังเดินทางออกจากเซาท์แทมป์ตันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ไททานิก ถูกเรียกที่เชอร์บูร์ก (Cherbourg) ในฝรั่งเศส และควีนส์ทาวน์ (ปัจจุบันคือ โคฟ, Cobh) ในไอร์แลนด์ ก่อนมุ่งหน้าไปทางตะวันตกมุ่งสู่นิวยอร์ก วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ห่างจากเซาท์แทมป์ตันไปทางใต้ราว 600 กิโลเมตร ไททานิก ชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเมื่อเวลา 11.40 น. (ตามเวลาเรือ GMT-3) การชนแฉลบทำให้แผ่นลำเรือไททานิก งอเข้าในตัวเรือหลายจุดบนฝั่งกราบขวา และเปิดห้องกันน้ำห้าจากสิบหกห้องสู่ทะเล อีกสองชั่วโมง สามสิบนาทีต่อมา น้ำค่อยๆ ไหลเข้ามาในเรือและจมลง ผู้โดยสารและสมาชิกลูกเรือบางส่วนถูกอพยพในเรือชูชีพ โดยมีเรือชูชีพจำนวนมากถูกปล่อยลงน้ำไปทั้งที่ยังบรรทุกไม่เต็ม ชายจำนวนมาก กว่า 90% ของชายในที่นั่งชั้นสอง ถูกทิ้งอยู่บนเรือเพราะระเบียบ "ผู้หญิงและเด็กก่อน" ตามด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งบรรทุกเรือชูชีพนั้น ก่อน 2.20 น. เล็กน้อย ไททานิก แตกและจมลงโดยยังมีอีกกว่าพันคนอยู่บนเรือ คนที่อยู่ในน้ำเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) อันเกิดจากการจุ่มในมหาสมุทรที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง ผู้รอดชีวิต 710 คนถูกนำขึ้นเรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง
|
|
|
|
|
|