พระพุทธรูปในประเทศปากีสถาน
เพียงเห็นรูปสมมติองค์พุทธะ
เราก็จะน้อมธรรมมารำลึก
สว่าง เย็นใจอยู่ในรู้สึก
เลื่อมใสนึกถึงพุทธคุณเป็นบุญเรา ฯ
อริญชย์
๑๖/๒/๒๕๕๕
พระพุทธรูป จัดเป็น สมมติสัจจะ (ความจริงโดยสมมติ สมมติ:สิ่งที่คนยอมรับร่วมกัน รับรู้ร่วมกัน เข้าใจร่วมกัน ตัวอย่าง ๆ ง่าย ก็เช่น
ไฟเหลือง = ให้เตรียมหยุดรถ ไฟแดง =ให้หยุดรถ ไฟเขียว = ขับไปได้ เหล่านี้ก็เป็นสิ่งสมมติขึ้น และคนก็เข้าใจร่วมกัน พระพุทธรูปก็เช่นกัน นี่คือสัญลักษณ์ที่ใครเห็นแล้วก็เข้าใจได้ทันทีว่า เป็นสื่อสัญลักษณ์ตัวแทนพระพุทธองค์ หรือก็คือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ศาสนาพุทธเรานั่นเอง)
ควรอ่านเรื่องสัจจะ 2 ดังนี้ (เพิ่มเติม)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[50] สัจจะ 2 (ความจริง : truth)
1. สมมติสัจจะ (ความจริงโดยสมมุติ, ความจริงที่ถือตามความกำหนดตกลงกันไว้ของชาวโลก เช่นว่า คน สัตว์ โต๊ะ หนังสือ เป็นต้น : conventional truth)
2. ปรมัตถสัจจะ (ความจริงโดยปรมัตถ์, ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น : absolute truth)AA.I.95; [/size] KvuA.34 องฺ.อ. 1/100;
ปญฺจ.อ. 153,182,241; ฯลฯ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_itemhttp://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=50ขอบคุณภาพจาก
www.google.com