อินโดนีเซี่ยนี้………………วิลาวัณย์
งามเด่นเกาะอัศจรรย์………ป่ากว้าง
บาหลีดั่งแดนสวรรค์………เลอค่า
สัตว์ทั่วไพรบ่ร้าง………….เด่นแท้ ทะเลงาม ฯปล.เราก็ไปของเราได้ อิอิ
เผื่อใครจะแต่ง
ข้อมูลอยู่นี้เน้อ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2ประเทศอินโดนีเซียจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
Republik Indonesia (อินโดนีเซีย)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: Bhinneka Tunggal Ika
(ชวาเก่า/กาวี: "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย")
เพลงชาติ: อินโดเนเซีย รายา
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด) จาการ์ตา
6°08′S 106°45′E / 6.133°S 106.75°E / -6.133; 106.75
ภาษาทางการ ภาษาอินโดนีเซีย
การปกครอง ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี
- ประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
- รองประธานาธิบดี โบเอดิโอโน
เอกราช จาก เนเธอร์แลนด์
- ประกาศ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488
- เป็นที่ยอมรับ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492
พื้นที่
- รวม 1,904,569 ตร.กม. (16)
735,355 ตร.ไมล์
- แหล่งน้ำ (%) 4.85%
ประชากร
- 2548 (ประมาณ) 222,781,000 (4)
- 2543 (สำรวจ) 206,264,595
- ความหนาแน่น 116 คน/ตร.กม. (84)
302 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
- รวม 977.4 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (15)
- ต่อหัว 4,458 ดอลลาร์สหรัฐ (110)
ดพม. (2546) 0.697 (กลาง) (110)
สกุลเงิน รูเปียห์ (IDR)
เขตเวลา มีหลายเขต (UTC+7 to +9)
- (DST) not observed (UTC+7 to +9)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .id
รหัสโทรศัพท์ 62
อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติศาสตร์
2 การเมืองการปกครอง
3 การแบ่งเขตการปกครอง
4 ทรัพยากรและเศรษฐกิจ
5 ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
6 อ้างอิง
[แก้] ประวัติศาสตร์อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญๆในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ.2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฎว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อพ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุงยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506
[แก้] การเมืองการปกครองประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศและดูแลประเทศและ
[แก้] การแบ่งเขตการปกครองปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions - daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่
เกาะสุมาตรา
เขตปกครองพิเศษอาเจะห์ -บันดาร์อาเจะห์*
จังหวัดสุมาตราเหนือ -เมดาน
จังหวัดสุมาตราใต้ -ปาเลมบัง
จังหวัดสุมาตราตะวันตก -ปาดัง
จังหวัดเรียว -เปอกันบารู
หมู่เกาะเรียว -ตันจุงปีนัง
จังหวัดจัมบี -จัมบี
หมู่เกาะบังกาเบลีตุง -ปังกัลปีนัง
จังหวัดเบงกูลู -เบงกูลู
จังหวัดลัมปุง -บันดาร์ลัมปุง
เกาะชวา
เขตนครหลวงพิเศษจาการ์ตา**
จังหวัดชวากลาง -เซมารัง
จังหวัดชวาตะวันออก -บังดุง
จังหวัดชวาตะวันตก -ซูราบายา
จังหวัดบันเตน -เซรัง
เขตปกครองพิเศษย็อกยาการ์ตา*
หมู่เกาะซุนดาน้อย
จังหวัดบาหลี -เดนปาซาร์
จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก -คูปัง
จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก -มาตาราม
เกาะบอร์เนียว
จังหวัดกาลีมันตันกลาง -ปาลังการายา
จังหวัดกาลีมันตันใต้ -บันจาร์มาซิน
จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก -ซามารินดา
จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก -ปนตีอานัก
เกาะซูลาเวซี
จังหวัดโกรอนตาโล -โกรอนตาโล
จังหวัดซูลาเวซีเหนือ -มานาโด
จังหวัดซูลาเวซีกลาง -ปาลู
จังหวัดซูลาเวซีใต้ -มากัสซาร์
จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ -เกินดารี
จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก -มามูจู
หมู่เกาะโมลุกกะ
จังหวัดมาลูกู -อัมบน
จังหวัดมาลูกูเหนือ -เตอร์นาตี
เกาะนิวกินี
จังหวัดปาปัว -จายาปุระ
จังหวัดปาปัวตะวันตก -มานกวารี
แผนที่แสดงจังหวัดของประเทศอินโดนีเซี�