26 กุมภาพันธ์ 2012, 07:56:AM |
บูรพาท่าพระจันทร์
|
|
« ตอบ #60 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2012, 07:56:AM » |
ชุมชน
|
คติไทย ใช้เทียบ เปรยเปรียบพจน์ นำซึ่งรส เค็มปาก ฝากให้คิด เพื่อเตือนตน สนใจ นำใส่จิตต์ แล้วลิขิต เขียนคำ พร่ำวลี
อันความดี มีไว้ ให้รักษา อย่าเลิกรา ซาจาก ปล่อยพรากหนี สู้ถนอม พร้อมถึง ซึ่งความดี เช่นเกลือนี้ มีไว้ ไซร้ความเค็ม.../
บูรพาท่าพระจันทร์
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รัตนาวดี, panthong.kh, อริญชย์, ..กุสุมา.., รพีกาญจน์, สล่าผิน, สะเลเต, sunthornvit, พี.พูนสุข, สิงขร, Thammada, สุนันยา
ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"สั้น-ตรงเป้า-เร้าใจ"
|
|
|
26 กุมภาพันธ์ 2012, 09:16:AM |
|
|
26 กุมภาพันธ์ 2012, 09:25:AM |
panthong.kh
|
|
« ตอบ #62 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2012, 09:25:AM » |
ชุมชน
|
คติไทย ใช้เทียบ เปรยเปรียบพจน์ นำซึ่งรส เค็มปาก ฝากให้คิด เพื่อเตือนตน สนใจ นำใส่จิตต์ แล้วลิขิต เขียนคำ พร่ำวลี
อันความดี มีไว้ ให้รักษา อย่าเลิกรา ซาจาก ปล่อยพรากหนี สู้ถนอม พร้อมถึง ซึ่งความดี เช่นเกลือนี้ มีไว้ ไซร้ความเค็ม.../
บูรพาท่าพระจันทร์
ฟังมธุรส วาจา คราได้คิด คนสนิท ชิดชอบ มอบมาเข้ม พี่บูรฯ จ๋า เช้านี้ มีจัดเต็ม ไม่แทะเล็ม เหมือนเก่า ดูเศร้าไป
พูดเรื่องเค็ม น้องนี้ มีมากเหลือ ยิ่งกว่าเกลือ นะพี่ รู้ใช่ไหม ไปทานข้าว สิบครั้ง มิจ่ายไง พอเก็บตังค์ ทำเฉไฉ ไปห้องน้ำ
เพื่อนคอย สรรเสริญ เยินยอต่อตลอด จนเขาปอด แล้วหนา คราชอกช้ำ ชวนทีไร ส่ายหน้า พาระกำ แค่พูดเล่น ขำขำ แต่ทำจริง พันทอง
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บูรพาท่าพระจันทร์, ..กุสุมา.., yaguza, รพีกาญจน์, สล่าผิน, สะเลเต, sunthornvit, พี.พูนสุข, อริญชย์, Thammada, สุนันยา
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
26 กุมภาพันธ์ 2012, 09:41:AM |
panthong.kh
|
|
« ตอบ #63 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2012, 09:41:AM » |
ชุมชน
|
|
|
|
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บูรพาท่าพระจันทร์, ..กุสุมา.., yaguza, รพีกาญจน์, สล่าผิน, สะเลเต, sunthornvit, พี.พูนสุข, อริญชย์, Thammada, สุนันยา
ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
26 กุมภาพันธ์ 2012, 09:56:AM |
|
|
26 กุมภาพันธ์ 2012, 10:18:AM |
|
|
26 กุมภาพันธ์ 2012, 03:36:PM |
รพีกาญจน์
กิตติมศักดิ์
คะแนนกลอนของผู้นี้ 3482
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 3,752
ทุกคนมีเครดิต แต่ทำลายได้ง่าย สร้างขึ้นใหม่ได้ยาก
|
|
« ตอบ #66 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2012, 03:36:PM » |
ชุมชน
|
สรรพคุณ หมามุ่ย เจอลุยแหลก มันช่างแปลกจริงๆ ยิ่งอกเอ๋ย เติบโตได้ ใหญ่มา พึ่งจะเคย ไฉนเลย ฤทธิ์ยา ว่ามากมี
แต่อย่างไร คงไม่ กล้าทานดอก กลัวโดนหลอก บอกว่า ไม่กล้านี่ แต่ถ้าเป็น ยาใจ พี่รพีฯ น้องยินดี กินหมด แม้ปลดปลง พันทอง
วิญญาณปู่ รู้ตาย หายจากร่าง หวังเพียรสร้าง บารมี ที่ประสงค์ ชดใช้กรรม ทำเอา เขาสิ้นลง เจ้านายส่ง เป็นทหาร รานตีเมือง
อายุกาล ผ่านมา ห้าร้อยขวบ จะขอรวบ ตัดความ ตามท้องเรื่อง อันตำรา ยาดี มีนานเนือง ความปราดเปรื่อง เก่ากรุ คนบุราณ
เขาสังเกต เหตุสัตว์ กัดกินพืช พิษถมถืด มากมาย หลายขนาน กินแล้วเกิด เคลื่อนไหว ในอาการ เป็นตำนาน พานผูก เป็นหยูกยา
ที่บรรเลง เพลงไป มิใช่หมอ อยากจะขอ ร่วมแจม แถมหรรษา อยากมีแควน แฟนรัก สักคนมา นวดแข้งขา คางคอ พอบรรเทา
หกสิบปี ชีวิต มิคิดใช้ สมุนไพร ว่านผัก หมักดองเหล้า เพียงชื่นชม ดมนิด สะกิดเบา เจ้านกเขา หัวชัน ขันจุ๊กกรู
รพีกาญจน์ 59
|
|
|
|
26 กุมภาพันธ์ 2012, 04:03:PM |
|
|
26 กุมภาพันธ์ 2012, 05:40:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #68 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2012, 05:40:PM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณภาพจาก อินเตอร์เน็ต ๐เกลือ:รักษาโรค๐
เกลือเค็มใช่เพียงว่าปรุงอาหาร คนโบราณใช้เป็นยารักษาแผล แก้ตะคริว คลื่นไส้ ใช้ได้แล เป็นยาแก้พิษเบื่อร้ายให้หายดี
เกลือที่ใช้เป็นยา มี ห้า อย่าง สินเธาว์บ้าง เกลือพิก เกลือวิก นี่ เกลือฝ่อ และท้ายสุด สมุทรี เป็นเกลือมีสรรพคุณสมุนไพร
ยามเมื่อรับประทานอาหารเผ็ด อมเกลือเม็ดเผ็ดหมดยิ้มสดใส ดื่มสุราเมาค้าง ก็สร่างไป หากรู้ใช้เกลือไซร้ สบายนาน
เกลือรักษาความเค็มไว้เต็มที่ เกลือจึงมีคุณค่ามหาศาล, คนทำดีแล้วอย่าอันธพาล จงรักษ์การทำดีไว้อย่าหน่ายเอย ฯ
อริญชย์ ๒๖/๒/๒๕๕๕
พุทธสุภาษิต รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ ลวณํ โลณตํ ยถา พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็มhttp://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/12/K8676823/K8676823.htmlhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD เกลือ รักษาโรค เขียนโดย webmaster เมื่อ อ, 05/31/2011 - 18:33
มูลนิธิสุขภาพไทย
ดังที่ได้นำเสนอ เกลือคือสมุนไพร ในฉบับที่ผ่านมา ตามความรู้ในตำรับยาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ที่กล่าวถึงเกลือที่ใช้เป็นยามี 5 ประเภท คือ เกลือสินเธาว์ เกลือพิก เกลือฝ่อ เกลือสมุทรี และเกลือวิก ซึ่งแต่ละชนิดเกิดจากกระบวนการปรุงที่แตกต่างกัน จึงมีสรรพคุณแตกต่างกันไป ถือเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีค่าต่อการนำมาใช้และศึกษาพัฒนาสืบไปอย่างยิ่ง ก่อนที่จะขยายความรายละเอียดในเกลือแต่ละประเภท ขอให้ผู้อ่านได้ทบทวนวิธีการเตรียมเกลือที่กล่าวไว้ในฉบับที่ผ่านมาด้วย การปรุงเกลือพิก (ในภาษาปัจจุบันเขียนว่า พริก) ให้เอาเกลือที่เตรียมไว้แล้วมากวนกับน้ำผึ้ง กวนให้แห้งประมาณ 3 วัน เกลือชนิดนี้มีรสขมเผ็ด เหตุนี้เองคนโบราณท่านจึงเรียกชื่อว่าเกลือพิก (พริก) ซึ่งมีสรรพคุณทำให้เสียงดี ชุ่มชื่นในลำคอ การปรุงเกลือฝ่อ ให้เอาเกลือที่เตรียมไว้มากวนในน้ำนมวัวและน้ำมันงา กวนให้แห้ง ประมาณ 3 วัน เกลือนี้มีรสเค็มมัน โบราณท่านว่าใช้แก้โดยอนุโลมปติโลม แลแก้โรคอันเสียดแทง รู้บำรุงไฟธาตุ แลรู้แก้กุมารพรรดึก ตกมูก ความรู้นี้มีข้อแตกต่างจากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ที่เป็นหนึ่งในตำราหลักของยาไทย ที่กล่าวไว้ว่า “ให้เอาเกลือที่แบ่งไว้แล้ว 1 ส่วน มาแบ่งทำเป็น 2 ส่วน เอาน้ำมันงาเท่ากับเกลือ 1 ส่วน เอาน้ำมันเปรียงเท่ากับเกลืออีก 1 ส่วน ลงกวนให้ได้สามวันให้แห้ง จึงได้ชื่อว่าเกลือฝ่อ มีรสเค็มมัน สรรพคุณ แก้พรรดึก แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้โรคอันเสียดแทง” วิธีการที่ต่างกันนี้ควรศึกษาค้นคว้าต่อไป การปรุงเกลือสมุทรี ให้เอาเกลือที่เตรียมไว้ลงกวนกับน้ำเยี่ยววัว ให้แห้ง ประมาณ 3 วัน เกลือชนิดนี้มีรสหวาน ทำให้อาหารงวด แก้ระส่ำระสาย บำรุงธาตุ แก้พรรดึก แลดีเดือด โรคบังเกิดแต่ตา ส่วนในแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์กล่าวไว้ มีความแตกต่างกันอีกว่า “เกลือสมุทรีมีรสเค็ม สรรพคุณ บำรุงธาตุทั้ง 4 แก้น้ำดี แก้ท้องมาน แก้โรคตา แก้เสมหะพิการ แก้บิดมูกเลือด บำรุงน้ำเหลือง” การปรุงเกลือวิก ให้เอาเกลือที่เตรียมไว้ลงกวนกับน้ำสุราให้แห้ง 3 วัน เกลือชนิดนี้ไม่ได้ระบุสรรพคุณไว้ในตำราของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์กล่าวไว้ว่า “เกลือวิกมีรสเค็มร้อน สรรพคุณ แก้อภิญญาณธาตุ แก้โรคท้องมาน แก้ไส้พองท้องใหญ่ กระทำให้ชุ่มชื้น” จะเห็นได้ว่าการจดบันทึกของตำรายาต่าง ๆ ยังมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกันหรือมีข้อมูลที่เพิ่มเติมมา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นภูมิปัญญาของแพทย์แผนไทยที่นำไปพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม ทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่เพิ่มเติมขึ้นมา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องน่าจะได้ทำการสังคายนาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อลูกหลานจะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาที่สามารถแบ่งปันให้กับผู้สนใจได้รับทราบเกี่ยวกับการใช้เกลือสมุทรหรือเกลือแกงในการดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้แก่ แก้ตะคริว ใช้เกลือละลายน้ำดื่มแก้ตะคริว บางท่านก่อนจะลงว่ายน้ำถ้าได้ดื่มน้ำเกลือก่อนจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวได้ แก้คลื่นไส้ และเมาสุรา ใช้เกลือ 1/2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แก้ว ผสมกันแล้วดื่ม อาการคลื่นไส้จะหายไป แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้เกลือเล็กน้อยละลายน้ำสะอาด 1 แก้ว ดื่มก่อนเข้านอนหรือตื่นนอนตอนเช้าแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้ผลดี รักษาโรคกระเพาะ ใช้เกลือ 1 ช้อนชา ละลาย น้ำ 1 แก้ว กินทุกเช้าหลังจากตื่นนอน ช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ แก้เป็นลม เอาเกลือทะเลละลายกับน้ำร้อน หรือน้ำเย็นดื่มแก้อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน ตาลาย เพราะร่างกายอ่อนเพลียได้ผลดี แก้ถูกยาเบื่อ ใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำอุ่น 1/2 แก้ว ให้รีบกินครั้งเดียวจะอาเจียนออกมา แก้แผลปากเปื่อย ใส่เกลือบริเวณแผลแล้วอมไว้ ครั้งแรกจะรู้สึกแสบ ครั้งต่อไปแผลจะหาย แก้เผ็ด (อันนี้ไม่ใช่เอาคืนใครที่มาแกล้งเรา) ถ้ากินอาหารรสเผ็ดจัด ๆ รู้สึกแสบที่ปาก ให้อมเกลือแล้วทิ้งไว้สักครู่ก็จะหาย ในมุมกลับ อาหารที่มีเกลือผสมอยู่จำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพเช่นกัน ในเวลานี้คนไทยหรืออเมริกันป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวนมาก สาเหตุหนึ่งมาจากรับประทานเกลือมากเกินไป ทำให้มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น เมื่อความดันสูงก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นตามไปด้วย เราสามารถลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้โดยการลดการกินเกลือ และอาหารรสเค็มๆทั้งหลาย เกลือ คือ สมุนไพรใช้รักษาโรคได้ ยามที่ท่านไม่สบาย แต่อาหารที่ท่านกินทุกวัน ต้องระงับใจไม่ติดในรสเค็มมากเกินไป เบาๆกับเครื่องปรุงรสต่างๆ กินก๊วยเตี๋ยวก็อย่าได้เหยาะน้ำปลามากเกินไป กินผลไม้สดๆ ก็เลี่ยงๆการจิ้มพริกเกลือบ้าง ที่สำคัญอาหารสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยวทั้งหลาย มักมีปริมาณเกลือสูงมาก ฉลากอาหารที่ติดในบรรจุภัณฑ์ก็อ่านยาก หาก อย. เห็นดีเห็นงามปรับปรุงฉลากอาหารแบบที่เมืองนอกเขาริเริ่มทำกันบ้างแล้ว โดยการแปลงค่า เกลือ ไขมัน และน้ำตาล เป็นแบบสัญลักษณ์ไฟจราจร ถ้าฉลากไหนติดสีเขียวแสดงว่าปริมาณผ่านฉลุย ถ้าไฟเหลืองก็พอรับได้ แต่ถ้าฉลากไหนมีค่าเกลือเป็นสีแดง แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นกินแล้วจะได้รับเกลือมากเกินไป เกลือ คือ สมุนไพร และกินเกลือเหมาะสมช่วยรักษาสุขภาพด้วย
หมายเหตุ : บทความและเนื้อหาของเว็บไซต์นี้ ไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าhttp://www.thaihof.org/frontherb/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
01 มีนาคม 2012, 07:09:PM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #69 เมื่อ: 01 มีนาคม 2012, 07:09:PM » |
ชุมชน
|
ยอดต้นมะก่องข้าวแก้เบาหวาน ยาพื้นบ้านของไทยสมัยเก่า เด็ดสิบห้ายอดต้มทนขมเอา ดื่มเย็น-เช้าไม่นานน้ำตาลลด!ฯ อริญชย์ ๑/๓/๒๕๕๕http://news.sanook.com/region/region_65572.phpทึ่ง!ต้นมะก่องข้าว แก้โรคเบาหวานได้
โดย ข่าวสด วัน พฤหัสบดี ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 02:02 น.
คอลัมน์ เป็นไปได้ ปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งที่คนเป็นกันมาก แต่เดิมจะเป็นสำหรับคนที่อ้วนและผู้สูงอายุ ปัจจุบันคนผอม และคนอายุไม่มากนักก็เป็นเบาหวานได้ เป็นโรคที่เป็นแล้วโอกาสที่จะหายนั้นยาก นอกจากคอยควบคุมเอาไว้เท่านั้น ด้านการรักษาในปัจจุบัน จะมีการรักษาทั้งทางด้านแผนปัจจุบัน และในเรื่องของยาสมุนไพร มียาสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถแก้เบาหวานได้ แม้จะไม่หายขาด แต่ก็สามารถลดน้ำตาลลงได้มาอยู่ในเกณฑ์ที่หมอกำหนด ก็สามารถทำให้เราอยู่ได้ตลอดไป คนส่วนใหญ่ที่เป็นเบาหวานนั้นจะรักษากินยาทั้งแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรควบคู่กันไป มียาสมุนไพรตัวหนึ่งที่มีส่วนในการรักษาเบาหวานนั้นก็คือ ต้นมะก่องข้าว บางพื้นที่ก็เรียกกันว่า มะอุบข้าว แตกต่างกันไป ในที่นี้จะเรียกว่าต้นมะก่องข้าว ปัจจุบันทางเจ้าอาวาสวัดภูช้างน้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ได้นำต้นมะก่องข้าวมาทำการแปรรูปต้มเป็นน้ำชาใช้รับประทานและได้รับความนิยมจากผู้ได้ทดลองกินดูแล้วจำนวนมาก พระอาจารย์กิตติพงษ์ กิตติสาโร เจ้าอาวาสวัดภูช้างน้อย กล่าวถึงเรื่องของสมุนไพร ต้นมะก่องข้าว ว่า ได้อ่านพบในหนังสือฉบับหนึ่งก็เกิดความสนใจ เนื่องจากสมุนไพรตัวนี้ เป็นสมุนไพรที่พบอยู่ตามป่าตามเขา ตามหัวไร่ปลายนาโดยทั่วไป จึงได้ออกตระเวนหา เอามาปลูกที่วัดและเอามาทำเป็นห่อต้มรับประทานแทนน้ำชา หลายคนที่มาวัดก็ให้ชิมและให้ไปต้มกินหลายคนที่เป็นเบาหวาน เอาไปต้มกินแล้วน้ำตาลดลงได้ผลเป็นที่น่าพอใจ พระท่านบอก ต้นมะก่องข้าวนั้นสามารถใช้ในการทำยาตั้งแต่รากจนถึงใบ และลูกดิบอ่อนก็สามารถกินได้ การทำก็เอาต้นมะก่องข้าวมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เอาตากแดดให้แห้งสนิท ถ้าไม่สนิทก็จะต้องอบให้แห้ง เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อราเมื่อเราจะเก็บไว้นานๆ หรือจะกินแบบสดๆ ด้วยการเด็ดใบมาต้มกินก็ได้ ต้นมะก่องข้าวนี้ จะมีความสูงเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ลำต้นที่ใหญ่ที่สุดไม่เกิน 1.5 ซ.ม. แตกก้านออกลักษณะทรงพุ่มห่างๆ มีดอกสีเหลืองมีลูกออกมาทรงกลมตัดเป็นแฉกๆ ชอบขึ้นอยู่ตามป่าละเมาะ ริมลำห้วย หรือป่าที่ร่มรำไร มีอายุไม่เกิน 3 ปี สามารถขายพันธุ์ด้วยการเอาเมล็ดที่แก่แล้วมาปลูก นับเป็นยาสมุนไพรในเรื่องของโรคเบาหวาน ลองต้มกินกันดู ส่วนจะได้ผลยังไงก็ต้องถามหมอ !! หน้า 26 หน้านี้ถูกเปิดอ่านแล้ว ครั้ง
อ่านข่าวทั้งหมดของ ข่าวสด ได้ที่นี่ http://www.sukhothaitc.ac.th/pramote/artical/pogpag.htmโผงผาง ชื่ออื่น มะก่องข้าว ตอบแตบ แอบข้าว ตบตาบ สารข้าวเปลือก ครอบศรี ลักษณะ เป็นไม้พุ่มลำต้นตรง มีกิ่งก้านมาก สูง 1 - 2 ม. ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ผิวใบเรียบมีขอบหยักเล็กน้อย ปลายใบแหลม มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบดอกมีสีเหลือง ผลเมื่อแก่และแห้งจะแตกออกเอง ขอบผลจะเป็นครีบประมาณ 15 - 20 ครีบ ในแต่ละครีบจะมีเมล็ด 2 - 3 เมล็ด แหล่งที่พบ ป่าโปร่ง และที่รกร้างทั่วไป ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ ลำต้น บำรุงโลหิต ขับลม ช่วยย่อยและเจริญอาหาร รากแก้โรคเกี่ยวกับหลอดลม น้ำดี ปัสสาวะขุ่น ใบหรือทั้งต้นต้มดื่มแก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ ใบตำพอกบ่มหนองให้สุกไว ข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าใครสนใจ ตามลิงค์นี้ ตามหาสมุนไพร.....มะก่องข้าว ...แก้โรคเบาหวาน http://www.oknation.net/blog/lovelearnlife/2011/04/27/entry-2
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
|
04 มีนาคม 2012, 08:29:AM |
อริญชย์
|
|
« ตอบ #71 เมื่อ: 04 มีนาคม 2012, 08:29:AM » |
ชุมชน
|
ต้นเครือหมาน้อย ชื่อท้องถิ่น: ต้นเครือหมาน้อย ชื่อสามัญ: กรุงเขมา ชื่อวิทยาศาสตร์: Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ชื่อวงศ์: MENISPERMACEAE ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้เถา ลักษณะพืช: กรุงเขมา” หรือ “กรุงบาดาล” หรือ “หมาน้อย” หรือ “ใบก้นบิด” จัดเป็นพืชเถาและเป็นไม้เลื้อยที่พบได้ในป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าไผ่ ป่าพุ่ม บางครั้งพบบนภูเขาหินปูน ในประเทศไทยพบได้ในป่าแถบ จ.สกลนคร และจังหวัดใกล้เคียง ในการนำเอาใบกรุงเขมามาบริโภคนั้น อ.ราตรีบอกว่านิยมนำมาบริโภคเป็น 2 รูปแบบ คือ ใช้เป็นของหวานหรือของคาว ถ้าใช้เป็นของคาวให้เลือกใบกรุงเขมาที่แก่จัดมีสีเขียวเข้ม ประมาณ 10-20 ใบ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาขยี้กับน้ำสะอาด 1 ถ้วย ในขณะที่ขยี้ใบกรุงเขมาจะรู้สึกเป็นเมือกลื่น ๆ ขยี้จนได้น้ำสีเขียวเข้ม หลังจากนั้นให้กรองเอากากออก นำน้ำที่ได้มาปรุงรสชาติด้วยการเติมน้ำปลาร้า พริกป่น น้ำปลา ข้าวคั่ว เนื้อปลาต้มสุก ใบหอมและผักชีหั่นผสมคลุกเคล้ากันรับประทานเป็นอาหารคาว แต่ถ้าจะทำเป็นของหวานให้เติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งลงไปในน้ำกรุงเขมาที่กรองกากออกแล้ว จากนั้นตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที น้ำกรุงเขมาจะจับตัวเป็นก้อน นำมารับประทานเป็นของว่างที่มีรสชาติอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ปริมาณที่พบ: มาก การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: อ.ราตรี พระนคร จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับต้นกรุงเขมาและได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าเป็นพืชป่าอีกชนิดหนึ่งที่น่าปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน ทั้งเป็นการอนุรักษ์พืชท้องถิ่นให้คงอยู่กับเราไปได้นานเท่า นาน และการนำต้นกรุงเขมามาปลูกไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เนื่องจากเป็นพืชป่าที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ชอบดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุสูง ชอบอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่แต่ไม่ชอบที่น้ำขังแฉะ หากได้มีโอกาสเข้าไปในป่าแล้วพบต้นกรุงเขมาสามารถขุดแบ่งต้นจากป่ามาปลูกก็ได้ ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรเพาะต้นกล้ากรุงเขมาขายในราคาต้นละ 10-15 บาท ปลูกลงดินให้เป็นไม้เลื้อยขึ้นต้นไม้ใหญ่หรืออาจจะทำค้างเหมือนกับการปลูกถั่วก็ได้แต่ข้อควรระวังต้นกรุงเขมาไม่ชอบปุ๋ยเคมีเพราะมีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูงจะทำให้ต้นเปื่อยและตายได้ ดังนั้นควรเน้นการใช้ปุ๋ยชีวภาพเป็นหลัก จากการทดลองในการปลูกต้นกรุงเขมาของ อ.ราตรี ในช่วงฤดูฝนจะต้องระวังศัตรูที่สำคัญคือ หนอนกระทู้และหอยทาก ในขณะที่ช่วงฤดูฝนมักจะพบปัญหาเรื่องราแป้ง แต่ปัญหานี้จะน้อยลงเมื่อต้นกรุงเขมาเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
อ.ราตรียังได้บอกว่าในอนาคตการขยายพันธุ์ต้นกรุงเขมาใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สาขาพืชศาสตร์ โทร. 0-4277-1460. การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์: คนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่นี้ได้มีการนำเอาใบกรุงเขมามาทำเป็นอาหารว่างลักษณะคล้ายวุ้น เรียกว่า “วุ้นหมาน้อย” โดยเฉพาะผู้ที่ฟื้นไข้ได้รับประทานจะช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้ กระเปร่า ข้อมูลทางด้านสมุนไพร ได้บอกสรรพคุณของกรุงเขมาไว้ว่าช่วยในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้อาการร้อนในและรักษาโรคตับ ในประเทศอินโดนีเซียมีการใช้รากกรุงเขมานำ มาต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ส่วนของใบตำใส่น้ำตั้งทิ้งไว้ให้เป็นเยลลี่กินเป็นอาหารช่วยย่อยและแก้ปวดท้อง http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=8970
|
เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน
|
|
|
|
22 พฤษภาคม 2012, 05:54:PM |
|
|
|