เห็นกระทู้ ~*~ชายเดียวในดวงใจ~*~ (กลบทคุลาซ่อนลูก) (
http://www.klonthaiclub.com/index.php?topic=15608.msg123705) ของครูกานต์ อ่านแล้วประดักประเดิด ไม่กล้าแต่งตาม เลยค้นข้อมูลดู ทราบว่า กลบทคุลาซ่อนลูกเป็นกลบทอักษร ซึ่งเป็นกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน
อ่านจากข้อมูลเว็บบ้านกลอนไทยนี่เอง (
http://www.klonthaiclub.com/index.php?topic=3859.msg42540#msg42540) ระบุไว้ว่า
กลอักษรคุลาซ่อนลูก
เคยเห็นใจน้อยหรือใจไม่คิดเห็น
เฝ้าหลงรักผลักกระเด็น
ทำลิ้นเล่นเป็นบ้าบอ
หลอกให้หลงคงความสัตย์
แม่กลับตัดไม่เหลือหลอ
คิดคำหญิงหยิ่งเสียพอ
ทำวางข้อเขื่องกระไร
อ่านได้ว่า
เคยเห็นใจ
น้อยหรือใจไม่คิดเห็น
เฝ้าหลงรัก
น้อยหรือรักผลักกระเด็น
ทำลิ้นเล่น
น้อยหรือเล่นเป็นบ้าบอ
หลอกให้หลง
น้อยหรือหลงคงความสัตย์
แม่กลับตัด
น้อยหรือตัดไม่เหลือหลอ
คิดคำหญิง
น้อยหรือหญิงหยิ่งเสียพอ
ทำวางข้อ
น้อยหรือข้อเขื่องกระไร
กฎ :
๑. ให้คำที่ ๓ กับคำที่ ๖ เป็นคำซ้ำกัน และคำที่ ๔ กับคำที่ ๕ ต้องเป็นคำที่มีเนื้อความไปในทางตัดพ้อต่อว่าหรือแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจ
เช่น คำว่า น้อยหรือ , ควรหรือ , นี่หรือ เป็นต้น ถ้าใช้คำใดคำหนึ่งจะต้องใช้ให้เหมือนกันตลอดทุกวรรค
๒. เมื่อทำเป็นกลอักษรคุลาซ่อนลูก ให้ตัดคำที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ออกเสียทุกวรรค เว้นแต่วรรคที่หนึ่งให้คงไว้เพื่อจะได้สังเกตรู้ว่าตัดคำอะไรออกไป
เพราะคำที่ ๔ และที่ ๕ ต้องใช้เหมือนกันทุกวรรค ส่วนคำที่ ๖ ก็เหมือนกับคำที่ ๓ จึงตัดออกเสียได้ เวลาอ่านต้องอ่านเติมให้ครบจึงจะถูกต้อง
ที่มา
http://www.geocities.com/annenena/index22.htmจากตัวอย่างที่ยกมา หากสังเกตสักนิด จะเห็นว่าตอนเขียนเป็นกลบทที่ยังไม่ได้ถอดคำ วรรคแรก "เคยเห็น
ใจน้อยหรือใจไม่คิดเห็น" จะเป็นกลอน ๙ แสดงถึงคำที่ซ้ำกันในตำแหน่งคำที่ ๓ และคำที่ ๖ คือ ("
ใจ") และเผยคำที่ซ่อน คือ "
น้อยหรือ" เพื่อนำไปถอดคำในวรรคถัดไป
เฝ้าหลงรักน้อยผลักกระเด็น ถอดเป็น เฝ้าหลง
รักน้อยหรือรักผลักกระเด็น
และวรรคอื่น ๆ ก็จะถูกถอดออกมาทำนองเดียวกัน การซ่อนคำจึงเหมาะกับชื่อ กลบทคุลาซ่อนลูก
ทีนี้ก็ให้สงสัยว่า กลบทคุลาซ่อนลูก (
http://www.klonthaiclub.com/index.php?topic=15608.msg123705) ของครูกานต์ มาจากไหน ทำไมอ่านดูประดักประเดิดขนาดนั้น ?
เลยลองเสิร์ชในเน็ต ก็เจอต้นตอครับ เว็บวัดเกาะวาลุการาม (
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=2466.msg15068#msg15068) ระบุไว้ว่า
กลอน: คุลาซ่อนลูก แบบที่ ๑
1 2 3 3 5 6 7
ลักษณะบังคับเหมือนรักร้อยทุกประการ แต่จำนวนคำในวรรคใช้วรรคละ ๗ คำ พระปิตุเรศปิตุเรศสังเวชบุตร ก็แสนสุดสุดนิยมสม
ไม่ฟังคำคำจำนิยม พระทรงกรมกรมระทมกรอม
นายเพ็ชฌฆาฎก็มาทหมาย ฉกาจร้ายร้ายไม่ถดถ่อม
จึงปลดเปลื้องเครื่องจำพร้อม จากพระจอมจอมกระหม่อมจริง
(ศิริวิบุลกิตติ์)
อ่านคำอธิบายก็อึ้งนิด ๆ ที่กลบทบอกบังคับวรรคละ ๗ คำ แต่ วรรคแรกกลับมี ๘ คำ (พระ/ปิตุ/เรศ/ปิตุ/เรศ/สัง/เวช/บุตร)
... เห็นอะไรไหมครับ? ....
กลบทคุลาซ่อนลูก ต้องมีการ "ซ่อน" ใช่ไหมครับ? หากเทียบกับคำอธิบายกลบทคุลาซ่อนลูกในเว็บบ้านกลอนไทย จะเห็นว่าวรรคแรกคือวรรคเฉลยของกลอน มีการซ่อนเพียง ๑ คำ และคำที่ซ่อนก็น่าจะซ้ำกับคำที่ ๒ ของแต่ละวรรค (ลองใส่คำว่า "ปิตุ" ในวรรคอื่นแล้วอ่านไม่ได้ความ) ส่วนคำที่ควรซ้ำ คือคำที่ ๓ กับคำที่ ๕ ("เรศ") ดังนั้นกลบทนี้คำที่ซ่อนคือคำที่ ๒ ของแต่ละวรรค และคำที่ซ้ำคือคำที่ ๓ และคำที่ ๕ เนื่องจากเป็นกลอน ๘
กลอนข้างบนจึงควรถอดคำอ่านได้ว่า
พระปิตุเรศ
ปิตุเรศสังเวชบุตร ก็แสนสุด
แสนสุดนิยมสม
ไม่ฟังคำ
ฟังคำจำนิยม พระทรงกรม
ทรงกรมระทมกรอม
นายเพ็ชฌฆาฎ
เพ็ชฆาฎก็มาทหมาย ฉกาจร้าย
กาจร้ายไม่ถดถ่อม
จึงปลดเปลื้อง
ปลดเปลื้องเครื่องจำพร้อม จากพระจอม
พระจอมกระหม่อมจริง
อาจจะดูคล้าย กลอักษรนกกางปีก เพียงแต่ไม่ต้องสลับคำ ๓-๔
ส่วนการเขียนกลบท ๗ คำและซ้ำคำ ที่๓ กับคำที่ ๔ นั้น ยังไม่เข้าใจเจตนานัก
ดังนั้นคำอธิบายที่ว่า
"
2 3 3 5 6 7
ลักษณะบังคับเหมือนรักร้อยทุกประการ แต่จำนวนคำในวรรคใช้วรรคละ ๗ คำ"
จึง
น่าจะไม่ถูกต้องนัก ดังที่อภิปรายมา
ผมคิดว่า การจะนำกลบทใดมาใช้ ควรเข้าใจในกลเสียก่อน มิฉะนั้นจะทำให้กลบทเสียรสชาติเสียกลบทไปเสียเปล่า
จึงฝากข้อสังเกตไว้ดังนี้
ผิดพลาดประการใดก็ด้วยความด้อยปัญญาของผมเอง ขอกราบอภัยบรมครูทุกท่านครับยังคิดถึงถึงคิดยังคิดถึง
ความรักซึ่งซึ่งรักมิผลักใส
ถึงคอยรอรอคอยอย่าน้อยใจ
โปรดยิ้มไว้ไว้ยิ้มหวานอิ่มทรวง
คิดถึงน่าน่าถึงคิดถึงน่า
เจ้าคอยท่าท่าคอยมิน้อยห่วง
ในตาจ้องจ้องตาสุดาดวง
ถึงเลยล่วงล่วงเลยมิเคยเลือน
กามนิต
๒๐ มิ.ย.๕๔