หลังจากที่เก็บความสงสัยไว้มานานว่าทำไมการแต่งกลอนเก้านั้นบางบางกลอนก็ดูดี บางครั้งกลอนที่แต่งออกมาเมื่ออ่านแล้วกลอนก็ดู
อืดอาดจขาดความไพเราะ ตามที่ผมได้เขียนไว้เมื่อวานว่า มันเขียนขาดอะไรไปบางอย่างเพียงแต่นึกไม่ออก(เพราะไม่ทราบ)แต่ในที่สุดก็คลี่คลาย
ปริศนาที่คลายคาใจออกมาจนได้
ก่อนอื่นเลยต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมสนุกและช่วยผมคลี่คลายปัญหาคาใจเกี่ยวกับกลอนเก้านตั้งแต่ต้นะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
คุณพรายม่าน ที่อุตส่าห์แต่งมาให้ดูทั้งสองแบบ จนทำให้ผมได้พบกับคำตอบ ที่ดูเหมือนว่าจะทราบดีอยู่แล้วแต่ไม่บอกไม่สอนตรงๆ คงทำมาเป็น
ตัวอย่างให้ดูแล้วให้คิดเอาเอง ก็นับว่าเป็นอุบายวิธีการสอนที่ล้ำลึก ข้าน้อยขอคารวะ
อีกเรื่องหนึ่งที่จะแจ้งให้ทราบก็คือ ถึงแม้ว่าในเบื้องต้นผมจะได้กล่าวไว้ว่า ถ้าใครแต่งกลอนได้ถูกใจก็จะโหวตให้ ซึ่งตอนแรกก็ตั้งใจไว้
เช่นนั้นจริงๆ คือจะโหวตให้เฉพาะกลอนที่ถูกใจเท่านั้น แต่เนื่องจากตอนนี้ผมได้รับคำตอบที่ต้องการแล้ว ฉะนั้นจึงถือได้ว่าทุกท่านยอมสละเวลา
สละแรงในการแต่งกลอนเก้านั้น ได้มีส่วนในการที่ทำให้ผมรับคำตอบไปด้วย อันเป็นการได้รับความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยรู้(แล้วเดี๋ยวจะได้นำมาบอกเล่ากันต่อไป) ผมจึงตัดสินใจจะใช้สิทธิ์ ในการบวกคะแนนให้กับทุกท่าน คนละ 1 คะแนนครับ จะมากน้อยจะน้อยก็คนละ 1 เท่ากัน
ส่วนคนที่ผมบวกไปแล้วเมื่อวานก็ถือว่าเจ๊ากันไปนะครับ ไม่มีการบวกเพิ่มถือว่าให้แล้วก็แล้วกันไป ยกเว้นคุณพรายม่านที่ผมจะบวกเพิ่มให้อีก 4
รวมเมื่อวานด้วย เป็น 5 ในฐานะที่ท่านมีส่วนสำคัญในการที่ผมได้คำตอบ ถือเป็นค่าครูหรือค่าวิชาครับ แม้จะไม่ได้บอกกันตรงๆก็ตาม
ก็หวังว่าทุกท่านคงโอเคนะครับ คุณเว็บมาสเตอร์ และ ผู้ดูแลบอร์ด ถ้าผิดพลาดประการใดช่วยกรุณาเตือนกันด้วยนะครับ
อย่าให้คะแนนลดลงฮวบๆเดี๋ยวอายเขา
ครับ นั่นคือเรื่องที่แจ้งให้ทุกท่านได้ทราบ และต่อไปนี้ คือสิ่งที่ผมได้รับรู้ ซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็นเคล็ดลับที่สำคัญในการแต่งกลอนเก้าที่มักจะถูกมองข้ามไป อันเป็นเหตุให้กลอนที่แต่งออกมามีความอืดอาดยิดยาดจนขาดความไพเราะได้
เคล็ดลับสำคัญของการแต่งกลอนเก้า ดังที่ทราบกันอยู่แล้วนะครับว่า หลักการแต่งกลอนเก้าก็ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างกับกลอนแปดมากมายนัก เป็นแต่เพิ่มคำเข้าไปจากแปด
เป็นเก้า โดยที่กลอนเก้าแต่ละวรรคนั้น จะมีวรรคละเก้าคำ แบ่งเป็นสามตอน ตอนละสามคำ รวมสามตอน๙คำ จึงเป็น ๑วรรค คิดว่าหลายคน
คงทราบกันดีอยู่แล้ว ผมคงไม่ต้องอธิบายอะไรอีก ดันี้
000
000 000
000
000 000
000
000 000
000
000 000
ในหนึ่งวรรคนั้นมีสามตอน ตอนละสามคำ ซึ่งการแต่งก็ไม่ต่างอะไรกับกลอนแปด ใครที่แต่งกลอนแปดได้ ย่อมแต่งกลอนเก้าได้อย่างไม่มีปัญหา
แต่สิ่งที่ผมกำลังจะพูดต่อไปนี้ก็คือเคล็ดลับสำคัญที่จะทำให้กลอนเก้าที่แต่งออกมานั้นดูเป็นธรรมชาติ ไม่อืดยืดจนเกินไป ข้อนี้คิดว่าคงมีหลายท่านที่ทราบแล้ว แต่ก็คงมีอีกหลายท่านที่ยังไม่ทราบ ซึ่งผมกำลังจะบอกเล่าให้ทราบ
เคล็ดลับสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ กลอนเก้าแต่ละวรรค ที่แบ่งเป็นวรรคละสามช่วงสามตอนนั้น ในตอนที่สองของวรรค
คือช่วงกลางวรรคระหว่างคำที่ ๔ ถึง ๗ ดังนี้(สีแดง)
000
000 000
ตรงช่วงกลางของวรรคที่มีอยู่สามคำนั้นถ้าจะแต่งกลอนเก้าไพเราะ มีความกระจับ ไม่ดูอืดและยืด เราจะต้องเลือกใช้คำเพียงสองคำ โดยให้คำหนึ่ง
มีเพียงพยางค์เดียว ส่วนอีกคำหนึ่งเป็นคำๆที่มีสองพยางค์ จะสลับกันไว้หน้าไว้หลังก็ได้ ดังตัวอย่าง
ด้วยวิสัย ในประเทศ ทุกเขตแคว้น (สุนทรภู่-พระอภัยมณี)
ถึงแม้กลอนในพระอภัยมณีส่วนใหญ่จะเป็นกลอนแปด แต่ก็จะมีบางวรรคที่นานๆจะมีกลอนเก้าปนเข้ามา(ความจริงคือกลอนแปดกับกลอนเก้านั้น
ก็เหมือนกับพี่น้องฝาแฝดที่ตัดกันยังไงก็ไม่ขาด คิดว่าคนที่แต่งกลอนทุกท่านคงทราบเรื่องนี้ดี ที่บางครั้งแม้แต่งกลอนแปดแต่ก็มีบางวรรคที่จำต้องแต่งเป็นกลอนเก้า ซึ่งแม้แต่บรมครูกลอนสุนทรภู่เองก็หนีเรื่องนี้ไปไม่พ้น)
ที่นี้อยากให้พิจารณาดูตรงกลางวรรค ตรงคำว่า
ในประเทศ ที่ดูเพียงผิวเผินก็ดูเหมือนจะเป็นสามคำ
สามพยางค์ แต่แท้จริงแล้ว คำนี้ มีแค่สองคำเท่นั้น คือคำว่า"
ใน" กับคำว่า"
ประเทศ" เท่านั้นครับ รวมเป็นสองคำ สามพยางค์
แม้ในบทกลอนอื่นๆดังจะยกตัวอย่างให้ดูเช่น
คนจะงาม งามน้ำใจ ใช่ใบหน้า
คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน
คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน
คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโตความไพเราะของกลอนนี้ไม่ใช่จะอยู่ที่แต่งแบบเป็นกลบทอย่างเดียว แต่อยู่ที่การู้เคล็ดของการแต่งกลอนเก้าจึงทำให้กลอนออกมาดีฟังแล้วไพเราะ
ไม่ยืดไม่อืด ตรงบริเวณกลางวรรคที่ผมได้ใส่สีไว้ คือ สีน้ำเงินนับเป็นคำหนึ่ง สีแดงนับเป็นอีกหนึ่งคำ รวมเป็นสองคำสามพยางค์
ถึงแม้ว่าคำว่า น้ำใจ จะเป็นคำสองคำ คือ น้ำ กับใจ ก็ตาม แต่เมื่อนำมารวมกันแล้วได้ความหมายใหม่ขึ้นมาซึ่งแสดงถึงสิ่งๆเดียวก็ต้องนับเป็นคำๆเดียว แม้ในคำอื่นๆที่มีลักษณะเช่นนี้ก็ดุจเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
จะก้าวเดิน เผชิญโลก แม้โศกเศร้า
จะก้าวเข้า สู่ภยัน ด้วยหรรษา
จะก้าวข้าม ห้วงมหิทธิ์ ด้วยฤทธา
จะก้าวฝ่า อุปสรรค ที่ดักทาง
จะร้อยรส พจนา เพื่อหาหลัก
จะทอถัก ถ้อยกวี ไม่หนีห่าง
จะคอยย้ำ น้ำคำไว้ ไม่เจือจาง
จะสะสาง ความเข้าใจ ในกวี
จะคอยชัก อักขระ สารพัด
จะคอยจัด ทุกอักษร เป็นกลอนศรี
จะคอยช่วย อำนวยเชิด ให้เกิดมี
จะคอยวัน ทีฉันนี้ ตีแตกกลอน
ทุกวันนี้ ศึกอะไร ยังไม่ห่วง
ทุกวันนี้ ศึกที่ลวง คือทรวงหลอน
ทุกวันนี้ ศึกที่ล้า คืออาวรณ์
ทุกวันนี้ ศึกที่อ่อน คือชั้นเชิงดังนี้ จะเห็นได้ว่าตรงบริเวณที่ผมใส่สีฟ้า กับแดงไว้นั้น ตรงสีฟ้าก็นับเป็นหนึ่ง ตรงสีแดงก็เป็นคำหนึ่ง รวมแล้วเป็นสองคำสามพยางค์
บางคำนั้นเป็นคำๆเดียวที่มีสามพยางค์เลยก็มี(ตรงที่ใส่แดงสีเดียว) ถึงแม้ในช่วงหลังๆจะดูด้อยลงโดยพิจารณาผิวเผินแล้วดูเหมือนเป็นสามคำ
แต่เมื่อพิจารณาจากความหมายแล้วก้คงได้แค่สองคำ จึงต้องนับเป็นสองคำสามพยางค์ไปด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นเคล็ดลับที่สำคัญในการแต่งกลอนเก้าให้ดูกระชับ มีความไพเราะ ฟังดูเป็นธรรมชาติ ไม่ยืดและไม่อืดจนขาดความไพเราะไป ความจริงผมอยากจะเขียนและอธิบายให้มากกว่านี้แต่่เนื่องจากข้อจำกัดบางประการจึงอยากฝากให้ท่านที่สนใจในบทกวีและยังไม่ทราบ
ถึงเคล็ดลับสำคัญอันนี้ได้ลองไปพิจารณาและทดสอบดูด้วยตนเอง ผมคิดว่าจะต้องเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการแต่งกลอนเก้าคราวต่อไป
ส่วนท่านที่ทราบดีอยู่ผมต้องขออภัยถ้าอาจจะเอามะพร้าวมาขายสวน
สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนช่วยให้ผมได้ทราบเคล็ดลับและคำตอบอันนี้ ผมก็ไม่มีอะไรจะตอบแทนท่านได้นอกจากนำเอา
ความรู้ที่ได้นี้มาถ่ายทอดให้กับผุ้ที่ยังไม่ทราบได้ และจะได้บวกคะแนนให้กับทุกท่านที่มีส่วนช่วยท่านละ 1 ตามที่ได้บอกไว้ตั้งแต่ต้น
ผมหวังว่าสิ่งที่ผมได้เล่าถ่ายทอดมานี้คงมีประโยชน์กับทุกๆท่านที่ได้อ่านจนจบ สิ่งใดที่ผิดพลาดและขาดตกบกพร่องไปผมต้องขออภัยเป็นอย่างสูง
Mayawin
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔