ขอความช่วยเหลือค่ะ วิเคราะห์กลอน
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 10:13:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความช่วยเหลือค่ะ วิเคราะห์กลอน  (อ่าน 7491 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
29 มกราคม 2011, 04:36:PM
miyonna
LV1 เด็กน้อยอ่านกลอน
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 2



« เมื่อ: 29 มกราคม 2011, 04:36:PM »
ชุมชนชุมชน

คือว่าอาจารย์เขาสั่งให้วิเคราะห์กลอนค่ะ  เราเลยอยากจะขอความช่วยเหลืออ่ะคะ  เพราะไม่รู้จะวิเคราะห์ยังไงดี  ต้องส่งวันจันทร์แล้วล่ะคะ่ช่วยหน่อยนะคะ

กลอนอันนี้นะคะ


     ขอสิ่งใหม่ดีดีศรีิพิสุทธิ์                               คุณพระพุทธพระธรรมล้ำพระสงฆ์
 
ประสาทพรเพิ่มสวัสดิ์พิพัฒน์จง                     ให้ยืนยงพระพรรษาสง่างาม

     สุขทั้งชาติศาสนาพระมหากษัตริย์                   เป็นร่มฉัตรปกเกล้าชาวสยาม

ทรงดูแลขจัดทุกข์ทุกเขตคาม                        หวังแต่ความสุขาประชาชน

     ขอจงสุขสวัสดีศรีประเทศ                            คุณธรรมปกเกศทุกแห่งหน

ทุกข์อย่ามีความดีจงได้ดล                              ไทยทุกคนเพิ่มรักสามัคคี

     อย่าหลงผิดคิดมิชอบประกอบชั่ว                       รักครอบครัวประเทศชาติศาสน์สุขี

ละชั่วทุกข์ปลุกใจภักดิ์นฤบดี                            ประเทศไทยของเรานี้คือหนึ่งเดียว

     จะแบ่งแยกแตกกันทำำไมหนอ                           จงรักก่อสานสัมพันธ์อันแน่นเหนียว

ไม่แยกชาติศาสน์ผสมใจกลมเกลียว                    จงยึดเหนี่ยวรักกันไว้ไทยสุขเอย


รบกวนด้วยนะคะ
ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
29 มกราคม 2011, 10:24:PM
พรายม่าน
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 548
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 556


Praiman CharlesTep CharlesTep
เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 มกราคม 2011, 10:24:PM »
ชุมชนชุมชน


ว่าไปทีละบทเลยก็แล้วกัน

บทที่หนึ่ง
เนื้อความ
พอจับใจความได้ว่า “ขอให้สิ่งบริสุทธิ์ใหม่ๆ กับคุณพระศรีรัตนตรัย จงอวยพรให้มีสิ่งดีเพิ่มขึ้นและมีอายุยืน”
เมื่ออ่านบทแรกก็จะเกิดคำถามขึ้น สองสามประการ
๑.   เพราะเหตุใด? หรือ เนื่องในโอกาสใด? จึงต้องมีการอวยพร และอวยพรใคร?
เนื่องจากเป็นบทแรกของสำนวน ผู้ประพันธ์ควรบอกที่ไปที่มาของความจำเป็นที่จะต้องมีคำอวยพรนี้
๒.   ตรรกกะ หรือ น้ำหนักของความเป็นไปได้ที่กลอนได้อ้างถึง? เหตุเพราะ พระรัตนตรัยก็ดี สิ่งใหม่ๆอันบริสุทธิ์ก็ดี ไม่อาจอำนวยผลสัมฤทธิ์ตามที่ต้องการได้เลย หากปราศจากการกระทำ
๓.   วรรคสุดท้ายของบทใช้คำ “ยืนยงพระพรรษา” คล้ายกับเป็นคำถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ? ก็จะยิ่งไปเสริมความจำเป็นตาม ๑. ยิ่งขึ้น
ฉันทลักษณ์
   โดยรวม ในบทแรกนี้มิได้ผิดฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพไปมากนัก เพียงแต่กลอนขาดสัมผัสใน กับใช้คำ “ขืน” สัมผัส (คำที่นำมาใส่เพื่อรักษาสัมผัสไว้เท่านั้น) เช่น คำ “ล้ำ” ในวรรคสอง และคำ “จง” ในวรรคสาม
   หากจะจัดหาคำมาแทนคำที่มีความหมายคล้ายคลึงและซ้อนกันอยู่ (“ใหม่ดีๆศรีพิสุทธิ์”วรรคแรก, “พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์”วรรคสอง, “สวัสดิ์พิพัฒน์”วรรคสาม) โดยเลือกคำที่มีวรรณยุกต์เหมาะสม ก็จะทำให้กลอนบทแรกมีความหมายลึกซึ้งไพเราะขึ้น
บทที่สอง,สาม
เนื้อความ
   ใจความก็ยังเป็นการอวยพรต่อไป
   บทที่สองวรรคแรก “ให้ชาติศาสนาพระมหากษัตริย์มีความสุข” ชาติและพระมหากษัตริย์คงพออนุโลมให้มีความสุขได้ แต่ ศาสนา เราคงไม่อวยพรกันว่าให้ศาสนามีความสุข
   บทที่สองวรรคสอง,วรรคสาม,วรรคสี่ “เป็นร่มฉัตรให้ประชาชนไทย ดูแลบำบัดทุกข์ไปทั่วทุกแห่ง โดยหวังว่าประชาชนจะมีความสุข” นัยคงจะหมายถึงพระมหากษตริย์ แต่กลอนมิได้กล่าวถึงว่าเป็นเช่นนั้นมาก่อนเลย
   บทที่สามวรรคแรก,วรรคสอง,วรรคสาม,วรรคสี่ “ให้ประทศมีความสุข,   ทุกๆที่มีคุณธรรม, ไม่มีทุกข์และให้ความดีบันดาล, ให้คนไทยสามัคคี” ผู้ประพันธ์ใช้ความเข้าใจของตนเองว่า ปัจจุบัน “ประเทศไม่มีความสุข, คนไม่มีคุณธรรม, มีทุกข์และขาดความสามัคคี” ถึงแม้จะเป็นความจริง แต่กลอนมิได้เอ่ยถึงเหตุปัจจัยเหล่านั้นมาก่อนเลย จึงทำให้กลอนขาดอรรถรสทางเหตุและผลไป
ฉันทลักษณ์
   คงมีลักษณะเช่นเดียวกับบทแรก โดยเฉพาะคำ ”สุขา” ในวรรคสุดท้ายของบทที่สอง ถึงแม้ความหมายโดยตรงจะหมายถึงความสุข แต่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า หมายถึงอะไร แต่เนื่องจากผู้ประพันธ์ต้องการให้สัมผัสกับคำว่า”ประชา” จึงทำให้กลอนขาดความไพเราะไปมากและเข้าข่ายขืนสัมผัสเช่นเดียวกัน
บทที่สี่
เนื้อความ
   ใจความโดยรวม เหมือนเป็นการเตือนหรือคำสั่ง ว่าอย่าทำโน่นนี่ เช่น
   วรรคแรก “อย่าหลงผิดทำชั่ว” วรรคสอง “รักครอบครัวประเทศและศาสนา” วรรคสาม “ไม่ทำชั่วและรักมหากษัตริย์” วรรคสี่ “ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว”
   เมื่ออ่านมาถึงบทนี้ก็จะเกิดคำถามขึ้นทันทีว่า  ทำไมต้องทำเช่นนั้น? เหตุเพราะกลอนไม่ได้กล่าวมาก่อนเลยว่า ถ้าไม่ทำแล้วเกิดหรือจะเกิดอะไรขึ้น? 
ฉันทลักษณ์
   เช่นเดียวกับบทก่อนๆ เพียงแต่บทนี้ สัมผัสในจะยิ่งน้อยลงไปมาก และใช้คำขืนสัมผัสเช่นเดิม(“สุขี”วรรคสอง “ทุกข์” วรรคสาม “นี้” วรรคสี่)

บทที่ห้า
เนื้อความ
   ใจความเป็นทั้งรำพึงและคำสั่ง
   วรรคแรก “จะแบ่งแยกกันทำไม” วรรคสอง “ให้ประสานสัมพันธ์กันไว้” วรรคสาม “อย่าแยกกันให้รวมกัน” วรรคสี่ “รักกันแล้วไทยจะมีความสุข”
   คำถามสำคัญเมื่ออ่านมาถึงบทนี้ คือ “แล้วทำอย่างไร?” จะเห็นได้ว่าเหตุและผล ที่ไปที่มา เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้คำประพันธ์มีค่า

ฉันทลักษณ์
   ลักษณะเดียวกับบทที่ผ่านมา

สรุป

กลอนสำนวนนี้ยังขาดแนวคิดและเรื่องราวที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน
กระบวนการนำเสนอยังขาดลำดับทางตรรกะอันเหมาะสม  เช่น สถาณการณ์-เหตุปัจจัย-ผล-วิธีแก้ หรือ ผลร้าย-ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลร้าย-สาเหตุ-วิธีแก้
กลอนยังไม่ไพเราะเท่าที่ควรเนื่องจากขาดสัมผัสในและการเลือกใช้คุณค่าของคำ ที่เหมาะสม


พรายม่าน
สันทราย
๒๙.๐๑.๕๔
ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s