เจ๊ดิษฐา ขออนุญาต เกลาให้นิดหน่อย นะครับ
เขียนโคลงกลอนยากแท้ เกินตัว
ควรฝึกฝนเนียนัว คล่องไว้
พลั้งพลาดผิดอย่ากลัว จงแก้
เพียรฝึกไปเรื่อยไซร้ ไม่ช้าเห็นผลฯ
หมายเหตุ คือ คำสอง วรรคสอง ควรจะเป็นเสียงเอกหรือคำตายน่ะครับ (ตามผัง)
๐ เขียนโคลงอาจยากแท้.......เกินตัว
หากหมั่นเฝ้าพันพัว..............ฝึกไว้
จนผังแม่นในหัว..................คงมั่น
ยากแต่เรียนรู้ได้..................หากแม้นพากเพียรฯ
คำที่ 7 ใน บาทที่ 3 ต้องเป็นวรรณยุกต์เอกนะคะ
๐ เขียนโคลงอาจยากแท้.......เกินตัว
หากหมั่นเฝ้าพันพัว..............ฝึกไว้
จนผังแม่นในหัว..................คงมั่น
ยากแต่เรียนรู้ได้..................หากแม้นพากเพียรฯขอโทษจร้า ถามนิดนึงว่าคิดตรงกันมั้ยเขียน ต้องเสียงสามัญ นี่เสียงจัตวาหรือเปล่า?
ยาก ต้องใช้เสียงเอกหรือเปล่า?
เฝ้า ต้องให้เสียงสามัญหรือเปล่า?
ผัง ต้องเสียงสามัญ นี่จัตวาหรือเปล่า?
หัว ต้องเสียงสามัญ นี่เสียงจัตวาหรือเปล่า?
รู้ ตรงนี้ต้องเสียงสามัญหรือเปล่า?
ลองถามดูครับอาจมีวิธีคิด หรือแบบแผนไม่เหมือนกัน
ตอบกระทู้ข้างล่างเด้อ Mayawin
อืม...ครับ แต่ผมว่ายังไงก็ เดินตามผังนิดนึง น่าจะดีครับ
เพราะว่า คนไม่รู้ เค้ามาอ่านเค้าจะได้ไม่สับสน
ผมว่าบางที่กลอนที่แต่งมาแบบเป็นหลักเป็นการ น่าจะต่างจากกลอนที่เขียนสู่กันดูนะครับ
เนื้อหาบังคับของกลอนชั้นครูที่ชักเสียงหรือกดเสียงไปเป็นเพราะต้องการให้เนื้อหากระชับ คล้องดุลย์ และแยบย่อ
แต่กลอนแบบเราที่นั่งฝึกกัน ผมว่าน่าจะทำให้ถูกช่องไว้ก่อน เช่น เสียงตาย ที่จะต้องใช้ให้ถูก
เพื่อเพื่อนๆที่เห็น ก็จะได้เห็นกลอนในแนวเดียวกัน เหมือนๆกัน เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ไม่ได้ว่าหรืออะไรเน้อ แค่เสนอฟามคิดนิดนึง
สู้ๆครับ