ช่วยด้วยคะ ...โคลงโลกนิติแต่งยังไง ช่วยสอนและแต่งให้เป็นตัวอย่างหน่อย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
24 พฤศจิกายน 2024, 03:45:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยด้วยคะ ...โคลงโลกนิติแต่งยังไง ช่วยสอนและแต่งให้เป็นตัวอย่างหน่อย  (อ่าน 4341 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
10 กันยายน 2010, 01:45:PM
~..ผู้ได้รับบาดเจ็บ..~
Special Class LV1
นักกลอนผู้เร่ร่อน

*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 168


Alone_Me ...


« เมื่อ: 10 กันยายน 2010, 01:45:PM »
ชุมชนชุมชน

"โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาแต่โบราณครั้งกรุงเก่า เดิมนักปราชญ์ผู้แต่งเที่ยวเลือกหาคาถาสุภาษิตภาษาบาลีและสันสกฤต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบทก็มี นำมาตั้งแล้วแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุกๆ คาถา รวมเป็นเรื่องเรียกว่า โคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่นับถือกันมาช้านาน

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2374 มีพระราชประสงค์จะให้จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลา ติดไว้เป็นธรรมทานในวัดพระเชตุพนฯ จึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงรวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ให้เรียบร้อยประณีตไพเราะเพราะของเก่าลอกคัดกันต่อๆ มา ปรากฏมีถ้อยคำวิปลาสผิดพลาดมาก

ครั้นสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชำระแล้ว โปรดเกล้าฯให้จารึกในวัดพระเชตุพนฯ โคลงโลกนิติจึงแพร่หลายแต่นั้นมา"

ข้อความข้างต้นเป็นคำนำ หนังสือประชุมโคลงโลกนิติ โดยกรมศิลปากรเป็นผู้จัดพิมพ์ เมื่อ พ.ศ.2514 ที่เรียกหนังสือนี้ว่า ประชุมโคลงโลกนิติ จับใจความได้ว่าเดิมทีมีโคลงโลกนิติของเก่าอยู่ สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชำระและแต่งสำนวนใหม่เพิ่มเติมรวมไว้ด้วย จึงเรียกว่า ประชุมโคลงโลกนิติ

เฉพาะสำนวนของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร มีการจัดพิมพ์ต่างหากในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ล.กรี เดชาติวงศ์ เมื่อ พ.ศ.2490 จึงเป็นที่แพร่หลายกว่าสำนวนเก่า

สังเกตว่า ที่คนรุ่นพ่อผม หรือรุ่นผมท่องจำกันได้นั้น ล้วนเป็นสำนวนของสมเด็จฯ พระองค์นั้นทั้งสิ้น สำนวนเก่าไม่ค่อยมีใครจำได้และนำมาอ้างถึงนัก

น่าเสียดายว่า คาถาภาษาบาลีและสันสกฤตที่เป็นต้นแบบคำโคลงนั้นๆ ค้นหามาได้น้อย ถ้าจะอุตสาหะค้นหามาพิมพ์กำกับไว้ทุกบท จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใคร่การศึกษาไม่น้อย

เนื้อหาของ โลกนิติ เข้าใจว่า ผู้รวบรวมมิได้ตั้งใจจัดให้เป็นระบบ นึกคาถาใดได้ก่อนก็นำมาลงไว้ก่อน แต่จะเป็นความบังเอิญหรือไม่ ไม่ทราบ ท่านวางเรื่อง "การคบหา" ไว้เป็นบทต้นๆ

เท่ากับจะบอกเป็นนัยๆ ว่า คนเราจะเจริญ หรือเสื่อม สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งแวดล้อมทางบุคคล ถ้าคบคนดี ก็ย่อมจะมีโอกาสเจริญก้าวหน้า อย่างน้อยไม่ได้อะไร ก็ได้ชื่อเสียงเกียรติยศว่า เป็นผู้คบคนดีเป็นเพื่อน ถ้าคบคนชั่วโอกาสที่จะดำเนินชีวิตผิดพลาดย่อมมีมาก ถึงจะไม่ชั่วเสียเอง ก็ได้รับคำตำหนิติฉินว่า มีเพื่อนชั่ว

การวางหัวข้อเรื่องอย่างนี้ ไปตรงกับมงคลสูตรของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสถึง "มงคล" หรือเหตุแห่งความเจริญ 38 ประการนั้น พระองค์ทรงเน้นไปที่การรู้จักคบหาบุคคล หรือสิ่งแวดล้อมทางบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ

ทรงยกขึ้นแสดงว่า การไม่คบคนพาล (คนชั่ว) การคบแต่บัณฑิต

การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ เป็นเหตุแห่งความเจริญในชีวิต

พระสิริมังคลาจารย์ ผู้แต่งคำอธิบาย มงคลสูตร ได้ยกนิทานมาเล่าให้ฟังว่า การเกี่ยวข้องกันนั้นมีอิทธิพลต่อบุคคลอย่างไร อย่าว่าแต่คนเลย แม้สัตว์เดียรฉานหรือต้นไม้ มันก็มีอิทธิพลต่อกันเหมือนกัน ท่านว่าอย่างนั้น แล้วก็เล่านิทานสนุกๆ ให้ฟัง

ชาวสวนปลูกมะม่วงรสหวานไว้ต้นหนึ่ง ต่อมามะม่วงต้นนั้นผลิตผลออกมาเท่าไรๆ ก็กลายเป็นมะม่วงเปรี้ยวหมดสิ้น เจ้าของมีความสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร แต่ก่อนมะม่วงต้นนี้หวานอร่อย แต่บัดนี้กลับเปรี้ยว เมื่อพิจารณาไปก็เห็นเถาบอระเพ็ดเกิดขึ้นพันต้นมะม่วงนั้นอย่างแน่นหนา จึงเข้าใจถึงสาเหตุ นี้เป็นเรื่องของต้นไม้

อีกเรื่องหนึ่ง ลูกนกแขกเต้าสองตัวถูกลมพัดพาไปตกยังที่ต่างกัน ตัวหนึ่งไปตกอยู่ที่คลังอาวุธของพวกโจร พวกโจรนำไปเลี้ยงไว้ ตั้งชื่อ สัตติคุมพะ (ไอ้หอก) นกสัตติคุมพะเจริญเติบโตมา ได้ยินพวกโจรพูดคำหยาบคายต่างๆ ก็จดจำไว้ และพูดเลียนเสียงพวกโจร

อีกตัวหนึ่งไปตกอยู่บนกอดอกไม้ของพวกฤๅษี พวกฤๅษีนำไปเลี้ยงไว้ ตั้งชื่อว่า ปุปผกะ (ไอ้ดอกไม้) แล้วก็สอนให้นกปุปผกะพูดแต่คำไพเราะ

วันหนึ่งพระเจ้าปัญจาละ เสด็จไปพบนกทั้งสอง จึงตรัสถามพวกฤๅษี พวกฤๅษีได้ถวายพระพรให้ทรงทราบว่า นกแขกเต้าทั้งสองตัวนี้ เป็นลูกพ่อแม่เดียวกัน แต่พลัดพรากจากกัน มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างกัน ตัวที่ไปอยู่กับพวกโจรก็พูดแต่คำหยาบ ตัวที่มาอยู่กับพวกฤๅษีพูดแต่คำไพเราะ นี้เป็นเรื่องของสัตว์เดียรฉาน

อีกเรื่องหนึ่ง บุตรชายปุโรหิตนามว่า อหิงสกะ เดิมเป็นเด็กดี ภายหลังไปเรียนศิลปวิทยาอยู่กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ถูกพวกศิษย์ร่วมสำนักอิจฉาเพราะเป็นเด็กเรียนเก่งเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์ จึงยุยงอาจารย์ต่างๆ นานา นานเข้าอาจารย์ผู้หูเบาก็เชื่อจึงคิดกำจัด ทำทีว่าจะประสิทธิ์ประสาทวิชาการที่ลี้ลับพิเศษให้ แต่ให้ไปฆ่าคนเอานิ้วมือมาให้ครบหนึ่งพันนิ้ว เพราะความอยากได้วิชาลี้ลับและเพราะความเชื่อถือในอาจารย์ อหิงสกะจึงกลายเป็นมหาโจรลือชื่อในเวลาต่อมา

เขากลายเป็นมหาโจร เพราะอาจารย์มิได้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับเขา นี้เป็นเรื่องของคน

พระสิริมังคลาจารย์ได้สรุปว่า ไม่ว่าพืชต้นไม้ หรือสัตว์ หรือมนุษย์ถ้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพืชต้นไม้ กับสัตว์ กับมนุษย์ที่ไม่ดีแล้ว ย่อมมีโอกาสเสียหายได้ดังนิทานที่เล่ามานั้น

โคลงโลกนิติ ยกการคบคนพาลดุจปลาเน่าห่อใบคา การคบคนดีดุจใบพ้อ (กะพ้อ) ห่อกฤษณา ขอยกทั้งสำนวนเก่าและสำนวนของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร มาดังนี้
บันทึกการเข้า

ถึงไม่มีสิทธิ์รัก แต่ฉันก็มีสิทธิ์เหงา

เรื่องที่เธอเลือกเขา ก็พอเข้าใจ

ถึงไม่เคยอ่อนแอ ก็แค่มีมุมอ่อนไหว

เพราะนี่คือจิตใจ เจ็บได้ร้องเป็น
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s