เสียงระฆัง กังวาน สะท้านโบถท์
เพื่อนฉันโยน ดอกไม้ ช่อใหญ่นั้น
มือหญิงสาว รับช่อ ดอกไม้พลัน
แล้วเพื่อนฉัน ควงคู่ ผู้รักไป
เขาทั้งสอง ชั่งดู คู่เหมาะสม
น้ำตาฉัน ไหลลง ไปที่ไหน
สุดเจ็บทรวง ลวงหลอก ฉันทำไม
คนที่รัก ดั่งดวงใจ ใยทิ้งกัน
ก่อนเคย ยอกล้อ ต่อกระซิก
ส่วนเพื่อน ก็คือมิตร ที่สุขสันต์
เราสามคน ร่วมอยู่ ร่วมผูกพัน
แต่อยู่ ก็หักหลัง กันได้ลง
หมดแล้ว เพื่อนมิตร ที่ไว้ใจ
หมดไปกับ ใจที่ ถูกเพื่อนหลอก
หมดกันแล้ว ชายที่หลัง สุดจำยอม
พวกเธอต่าง ลวงล่อ ฉันเช่นไร
..พี่ขออนุญาตแนะนำให้ตามเจตนารมณ์ของน้องนะครับ..
.
๑.คำว่า"โบสถ์"เขียนอย่างนี้นะครับ..
๒.คำว่า"โยน"รับสัมผัสกับคำว่า"โบสถ์"ไม่ได้เพราะว่าเป็นสระคนละรูปนะครับ..
๓.คำว่า"นั้น"ในเสียงท้ายบทแรกของวรรคที่ ๒ เป็นเสียงตรี..ที่ไม่ควรที่จะใช้ครับ..(และมีคำว่า"ฉัน"ชิงสัมผัสอยู่ด้วย)..
๔.คำว่า"ช่าง"ในบทที่๒ ควรใช้คำนี้ครับ..
๕.บทที่ ๒ และในวรรคที่ ๒ มีคำว่า"ไหล"กับ"ไป"ชิงสัมผัสครับ..
๖.คำว่า"ไย"ในบทที่ ๒ ปลายวรรคที่ ๔ เขียนอย่างนี้นะครับ..
๗.น้องเดินกลอนแปดมาอย่างสมบูรณ์แล้วทั้ง ๒ บทแรก บทที่ ๓,๔ นี้จึงควรเดินกลอนแนวเดิมนะครับ..เช่น..ก่อนเราเคย หยอกล้อ ต่อกระซิก..
๘.คำว่า"หยอกล้อ"เขียนอย่างนี้นะครับ..
๙.คำว่า"มิตร"รับสัมผัสกับคำว่า"ซิก"ไม่ได้ครับเพราะว่าเป็นสัมผัสคนละรูปกันครับ..
๑๐.คำว่า"หลัง"ในบทที่ ๓ วรรคที่ ๔ รับสัมผัสกับคำว่า"พัน"ไม่ได้ครับ..เพราะว่าเป็นสัมผัสคนละรูปกันครับ..
๑๑.การวางคำว่า"ไป"เพื่อรับสัมผัสกับคำว่า"ใจ"ในบทที่ ๔ ทำให้ผังฉันทลักษณ์ของน้องจึงดูวกวนครับ..และเริ่มจะกลายเป็นกลอนเปล่าไป..
๑๒.สัมผัสในท้ายวรรค ๒,๓ ของบทที่๔ หลุดสัมผัสระหว่างบทและวรรคไปครับ..คือคำว่า"หลอก","ยอม","ต่าง"..บทสุดท้ายจึงดูนุงนังสับสนครับ..
๑๓.เวลาน้องเดินกลอน หากขึ้นต้นลีลาการเดินกลอนแล้ว พยายามยึดแนวในบทแรกไว้นะครับ..เพราะว่าบทที่ ๑,๒ จังหวะกลอนรับกันครับ-
- พอเดินกลอนเข้าบทที่ ๓,๔ ลีลาทางกลอนต่างกันไป ถ้าหากว่าน้องไม่เคาะเว้นวรรคให้ผู้อ่านๆก็จะสับสนได้เลยครับ..
๑๔.เวลาเดินเรื่อง เริ่มต้น,ขมวดปม,สรุป..ควรต่อเนื่อง และควรจบ(สรุป)ให้เด็ดขาด..ยิ่งในวรรคท้ายคือตัวตัดสินผลงานทั้งสำนวนเลยครับ..
.
..จากใจจริงจ่ะ..
..พี่ระนาดเอก..