...ขอเพิ่มเติมต่อจาก ท่านพี่ วฤก ครับ... การร้อยโคลง หรือ การเข้าลิลิตโดยหลักแล้ว?.ไม่บังคับครับ (แต่โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าน่าจะมี) เพราะจะทำให้เนื้อหาเป็นเรื่องสอดรับกันกับบทอื่นๆ อีกทั้งโบราณเราก็เคยสอนไว้ แต่จะไปบังคับกันจริงๆในเรื่องการเขียนลิลิตเสียมากกว่า..
ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต" หรือการ "ร้อยโคลง" ครับ
วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ มี ๒ ประเภท คือ
๑. ลิลิตสุภาพ คือ ลิลิตที่ใช้รายดั้นและโคลงดั้นแต่งสลับกันอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น
๒. ลิลิตดั้น คือ ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นและโคลงดั้นแต่งสลับกันอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลติยวนพ่าย เป็นต้น
ข้อสังเกต:
๑. โคลงนั้นใช้ทั้งโคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่ สุดแต่เห็นสมควรว่าตอนไหนควรจะใช้โคลงชนิดใด
๒. ถ้าแต่ลิลิตสุภาพ ต้องใช้ร่ายสุภาพขึ้นต้น แล้วใช้โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพแต่งสลับกัน ถ้าแต่งเป็นลิลิตดั้น ต้องใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วต่อไปก็ใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้นแต่งสลับกัน
๓. ถ้าเป็นโคลงสี่ดั้น นอกจากจะสัมผัสเกี่ยวกันระหว่างบทดังกล่าวแล้ว ยังต้องให้คำสุดท้ายของโคลงบทต้น สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๔ หรือ ๕ ของบาทที่ ๒ ของบทต้อไป ตามแบบและชนิดของโคลงดั้นชนิดนั้นๆ ด้วย
กฏ :
ร่ายและโคลงที่ใช้ในลิลิตนั้น มีลักษณะดังกล่าวมาแล้วข้างต้น บังคับให้มีการสัมผัส โดยเพียงแต่เพิ่มสัมผัสระหว่างบทให้เกี่ยวข้องติดต่อกัน ตั้งแต่ต้นจนจบ (คือให้คำสุดท้ายองบทต้น สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคแรกของบทต่อไป) ดังนั้นในเรื่องการเขียนโคลงทั่วๆไปจึงควรจะมีการร้อยโคลงหรือการเข้าลิลิตด้วยเพื่อให้เป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน จะทำให้ภาษาสวยงามขึ้น แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ได้ผิดกฎแต่อย่างใดครับ (ทั้งนี่ท่านป้า(พี่)อัณณ์รินแห่งบ้านกลอนไทยสืบค้นข้อมูลมาบอกว่าสมควรมี?) จึงเป็นเช่นนั้นหล่ะครับ......(ผิดพลาดขออภัย..และท่านใดมีอะไรเพิ่มเติมเชิญนะครับ)( ขอบคุณ คุณครูวัลภา เทียนดำรง อาจารย์ชำนาญการภาษาไทย โรงเรียนตราษตระการคุณ ) เรื่องการร้อยโคลงนี่ ถ้าเป็นโคลงสอง โคลงสาม นั่นนะต้องร้อยแน่ ๆ
แต่โคลงสี่ .... ผมยังไม่แน่ใจ
พอดีตอนนี้ติดทำงานที่ รพ. ยังให้คำตอบที่แน่นอนไม่ได้
คืนนี้กลับบ้าน จะค้นคำตอบมาให้ครับ
ในการเขียนร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือกลอน ก็ตาม
สิ่งสำคัญที่สุดยังคงเป็น "รสความ" เสมอ
นั่นคือ ... ผู้เขียนต้องให้ความสำคัญแก่เนื้อความที่จะเขียนไว้ก่อนเป็นอันดับแรก
เมื่อได้เนื้อความดีแล้ว จึงค่อยมาประดับประดาตกแต่งให้มี "รสคำ" เกิดขึ้น
ดังนั้น .... ในความเห็นส่วนตัว ....
อยากให้เขียนโคลงแต่ละบทให้ได้ใจความชัดเจนเสียก่อน
แน่นอน... ในการเขียนโคลงมากกว่า ๑ บทนั้น
เนื้อความจากแต่ละบทต้องต่อเนื่องกันไปไม่หลงเข้าป่าเข้าดงในระหว่างทาง
และหากว่าอยากจะร้อยโคลงแล้ว....
คำที่นำมาร้อยทำให้เนื้อความเสียไป ... ก็ไม่ควรต้องร้อยสัมผัส เพราะไม่ได้บังคับเอาไว้ในฉันทลักษณ์