(กลบทนาคราชแผลงฤทธ์)อยู่อย่างเป็นเช่นผู้สู้กับโลก
โศกก็ลองสู้โชคบันดาลหนุน
บุญดีนำกรรมใช่ใครเจือจุน
ครุ่นใจจำกรรมหนุนที่หนุนนำ
ธรรมนั้นหนุนน้อมนำกรรมที่ชอบ
กอปรที่ชนประกอบอุปถัมภ์
อำปวงโทษโฉดไว้ใครอาจทำ
คร่ำอกทนหม่นช้ำระกำใจ
ไร้กรรมจะประชันสักวันหนึ่ง
ซึ้งว่าหนีกรรมซึ่งกลั้วเหลวไหล
ไกลเหลวแหลกยืนร่างอย่างมีชัย
ไยหมองช้ำทำไมไม่สมควร
มวลศักดิ์คนล้นที่มีดีชั่ว
มั่วด้วยโฉดโทษทั่วจะกำสรวล
จวนเกิดเศร้าเราคิดจิตทบทวน
จวนท้นทุกข์คิดล้วนตรองมวลกรรม
ตรำมวลกิจผิดทางจะหมางหม่น
จนเมื่อหมดอดทนคนเหยียบย่ำ
คำหยันเย้ยเปรยให้ใจหมองช้ำ
จำมั่นชอบ กอปรธรรม ไร้กรรมเวร
(กลบทนาคราชแผลงฤทธ์)ในจารึกวัดพระเชตุพนฯ ไม่บังคับสัมผัสสระชิดในวรรคหลัง
กลบทนาคราชแผลงฤทธิ์ คล้ายกลบทช้างประสานงา (หรืออักษรบริพันธ์)
คือบัญญัติให้มีสัมผัสอักษรระหว่าง 3 คำ ของช่วงหลังในวรรคก่อน กับ
3 คำช่วงแรกในวรรคถัดไป
แต่กลบทนาคราชแผลงฤทธิ์ ต้องมีสัมผัสระหว่างคำปลายวรรคก่อน กับ
คำแรกของวรรคถัดไปด้วย
กลบทนี้ มีทั้งในกลบท ศิริวิบุลกิตติ์ และ จารึกวัดพระเชตุพนฯ