27 เมษายน 2012, 06:16:PM |
toshare
|
|
« เมื่อ: 27 เมษายน 2012, 06:16:PM » |
ชุมชน
|
"ถ(ถอ)-น(นอ)-น(นอ)" อยากให้ เพื่อนเผย ไฉนอ่าน"ถนน(ถะหฺนน)" ได้เอย ใคร่รู้ หลักสะกดอย่างไรเฉลย บอกหน่อย เหนื่อยยากลำบากสู้ สืบค้นเป็นทาน
ฐานภาษาต้องแน่น มั่นคง ศรีสง่าชาติดำรง เด่นหล้า แปรเปลี่ยนค่อยบรรจง ปรับแต่ง เหมาะเฮย หน้าที่นี้ – สิ่งท้า ทุกผู้ชาวสยาม
|
|
|
|
08 พฤษภาคม 2012, 09:32:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2012, 09:32:PM » |
ชุมชน
|
Kukkui ...ถอ-นอ-นอ(ถนน) ให้อ่าน ถะหนน มีเหตุผลจาก ถ. เป็นตัวแรก อักษรสูงมานำจึงทำแปลก จะต้องแทรกเสียง ห. หน้าตัวตาม
...ยังมีคำอื่นอีกที่ทำคล้าย มีมากมายหลายตัวไม่ต้องถาม เช่น ขยาย ขนม และสนาม เป็นความงามภาษาไทยรักษ์ไว้เอย
|
|
|
|
17 พฤษภาคม 2012, 11:44:PM |
toshare
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2012, 11:44:PM » |
ชุมชน
|
สายศิลป์ค่ะ
...“(อักษร)สูง” นำ “ต่ำ” ต้องอ่าน.........(เสียง)"หอ" นำ สระ "โ-ะ" ลดรูปจำ..........................มั่นไว้ "ถนน, ขนบ" อีกหลากคำ...................ถือหลัก....นี้นา ลองเพ่งพินิจให้...............................จักแจ้งคำเฉลย
|
|
|
|
05 สิงหาคม 2013, 03:50:PM |
เพรางาย
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนกลอนของผู้นี้ 553
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1,312
ทุกคำถามจะนำมาซึ่งคำตอบ
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2013, 03:50:PM » |
ชุมชน
|
ขอบคุณที่ช่วยค้น แจกแจง สูงต่ำสื่อแสดง เล่ห์ให้ มิรู้สดับแถลง รับเพิ่ม ทวนทบจบใจได้ กระทุ้งทักถาม
|
คนที่กำลังไล่ตามความฝัน ท่ามกลางความผกผันของเวลา
|
|
|
05 สิงหาคม 2013, 04:32:PM |
choy
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 05 สิงหาคม 2013, 04:32:PM » |
ชุมชน
|
"ถะหนน" ลองสืบค้น เหง้าราก เขมรออก “ทะนอล” ปาก กระชับถ้อย “ถนน” ไทยรับมาจาก เขมรศัพท์ “ทาง” นั่นของแท้ร้อย แก่นเค้าไทยภาษาฯ ***ทะนอล เขียนโดยอิงสำเนียงพูดแบบลำลองไม่อ้างอิงหลักสัทศาสตร์ และนิรุกติศาสตร์ มาจากคำเขมรที่ใช้สื่อสารกันจริงๆ ทั้งเขมรต่ำ (เขมรกัมพูชา/ขแมร์กรอม) และเขมรสูง (คนไทยเชื้อสายเขมร/ขแมร์เลอ) อาทิ จังหวัดศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ปราจีนบุรี, สระแก้ว และตราด ฯลฯ
***ถนน [ถะ-หฺนน] น. หนทางที่ทำขึ้น, โบราณว่า สนน ก็มี. อ้างอิง : พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ.นคร
***ถนน ถนน : [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่). อ้างอิง : พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน
|
|
|
|
|