เกิดอารมณ์อยากจะเขียนอะไร ๆ ที่มีสาระบ้าง
ลองดูนะครับ
(กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ : มาณวกฉันท์ ๘)http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3พุทธกถา กาละมะสูตร
การสุต Truth ความคติใด
อย่าสติเขลา เบาหฤทัย
เชื่อวทะใคร โดยบมิทาน
จงพิเคราะห์ทวน มวลพจะฟัง
ตามทศกัง- ขานิยฐาน
พุทธดำรัส ตรัสตะบุราณ
หลักตริพิจารณ์ อัตถกถา
(๑. มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา)หนึ่งมละหลง ปลงกมลาศ
เชื่อพจนารถ ด้วยเพราะนรา
อ้างวะสดับ รับมุลมา
จากพจนา เหล่านรชน
(๒. มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา)สองวทะเก่า เล่าตะบุราณ
ควรตริและทาน อัตถยุบล
อย่าปฏิเสธ เหตุและผล
เชื่อบุพชน ปราศตริตรอง
(๓. มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ)สามมละข่าว กล่าวและสะพัด
อ่อนวจนัตถ์ ขาดมุลจอง
เพียงวทะลือ ถือ ฤ ก็หมอง
ใช้สติกรอง กั้นขยะสาร
(๔. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา)สี่คัมภีร์ นี้ก็มิควร
ภักดิสำนวน ทุกบทจาร
ใช่มัฆวา มาอวตาร
พลั้งพจมาน ผิด ฤ ก็มี
(๕. มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง)ห้าผิวะจัก ตรรกะพินิจ
หากมุลผิด คลาศวิถี
อย่าจิตเคร่ง เร่งกรณี
ปิดบัญชี ด้วยเพราะทะนง
(๖. มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา)หกอนุมาน การกะคะเน
เพียงกลเล่ห์ อาจจะมิตรง
บ้างก็เขยื้อน เคลื่อนบ่มิคง
อย่าจิตปลง ในวิเคราะห์ผล
(๗. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ)เจ็ดคติเคย เผย ณ อดีต
ใช่มรุขีด บ้างก็พิกล
เบี่ยงวิปริต คิด ฤ ฉงน
ควรนรชน เผื่อมนใน
(๘. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน)แปดมละจิต ทิฏฐิพิจารณ์
เพียงเฉพาะด้าน ตรงกะหทัย
เชื่อทฤษฎี ที่ดำริไว้
รั้นวินิจ์ฉัย ตามอุระตน
(๙. มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้)เก้ามละเชื่อ เนื้อพจน์วากย์
เพียงพิเคราะห์จาก ลักษณะคน
ปราชญ์ ฤ ก็พลั้ง ดังปุถุชน
สาระยุบล อาจจะมิควร
(๑๐. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา) สิบมละเชื่อ เนื้อวทะครู
โดยบ่มิดู พจนกระบวน
คิดพิเคราะห์สาร อ่านและก็ทวน
ตรองตริประมวล พึ่งจะกระทำ
ศรีเปรื่อง
๒ ก.ค. ๒๕๕๖
ปล.
Truth (ทรูธ) = ความจริง
มละ = ละ, ทิ้ง
คติ = แบบอย่าง วิธี แนวทาง
กมลาศ = กมล (ใจ) + ศ เข้าลิลิต
อัตถ = เนื้อความ
ยุบล = ข้อความ, เรื่องราว
วจนัตถ์ = วจน (คำพูด) + อัตถ์ (เนื้อความ)
มุล จาก มูล = ๑. รากเหง้า ๒. ทั้งหมด
ตะบุราณ จาก แต่โบราณ
มรุ = เทวดาพวกหนึ่ง
คลาศ = คลาด
บุพชน จาก บรรพชน