ขึ้นต้นกลอนด้วย วรรคที่สอง ?
ถ้าใครที่เคยอ่านงานเขียนกลอนของคนรุ่นเก่าๆในยุคสมัยโบราณ
สักเมื่อร้อยหรือร้อยห้าสิบปีขึ้นไปก็จะคุ้นตาดีว่า คนในสมัยเวลาเขียนกลอนโดย
เฉพาะอย่างกลอนแปด ท่านมักจะขึ้นต้นด้วยวรรคที่สอง หรือกลอนรับเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นกลอนนิราศ. นิทานคำกลอน. กลอนเพลงยาว หรือกลอนอื่นๆ ซึ่งก็ทำ
ให้รู้สึกแปลกใจเหมือนกันว่า เพราะเหตุอะไร ท่านจึงขึ้นตนกลอนด้วยวรรคที่สอง
ยกตัวอย่างเช่น(แต่งเป็นตัวอย่าง)
จำนิราศคลาดนวลรำจวนขวัญ
จะจากน้องหน้ามนคนสำคัญ
แสนหวาดหวั่นกลัวรักจะหักลำ
ต้องไปรบพบผู้ศัตรูประเทศ
ปกป้องเขตขัณฑสีมาใครอย่าย่ำ
ไปจับปืนฝึกฝนทนตรากตรำ
ยอมหน้าดำเพื่อรักษามาตุภูมิ
ที่นี้อย่างที่ทราบกันว่า. กลอนนั้นไม่ว่าจะเป็นกลอนอะไรก็ตาม. ย่อมประกอบด้วยวรรคสี่วรรคคือ
วรรคแรกเรียกว่า กลอนสดับ วรรคที่สองเรียกว่า กลอนรับ วรรคที่สามเรียกว่ากลอนรอง. วรรคที่สี่
เรียกว่า. กลอนส่ง. ซึ่งนักกลอนในยุคปัจจุบันนี้ มักนิยมขึ้นต้นด้วยวรรคแรก(กลอนสดับ)เสมอ
ยกเว้นแต่การเขียนกลอนบางประเภทที่มีกฏกติกาบังคับว่าต้องขึ้นด้วยวรรคที่สอง เช่น กลอนนิราศ
อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนในสมัยก่อน นิยมเขียนกลอนโดยขึ้นต้นด้วยวรรคที่สอง
เรื่องนี้ ผมเองก็ตอบไม่ได้ เพราะว่าไม่ใช่คนโบราณ และเกิดไม่ทัน
แต่เพื่อจะเป็นการตั้งโจทย์ไว้ เพื่อหาคำตอบเรื่องนี้ในภายหลัง. ผมจะได้เขียนกลอน โดยเขียนเฉพาะ
วรรคที่สอง สาม และสี่ โดยไม่มีวรรคแรก ไว้สักสองสามตัวอย่าง. เผื่อว่า วันข้างหย้าจะคิดอะไรออกบ้าง
ตัวอย่าง กลอนสามวรรค. โดยขึ้นจากวรรคที่สอง. ตามแบบท่านโบราณ
เป็นนักกลอนนอนเปล่าเศร้าไฉน
เป็นนนักกลอนนอนเปล่าแสนเศร้าใจ
เป็นนักกลอนทำไมกันนะเรา
ถามเหตุผลกลใดของใครเขา
ตอบคำถามเพื่อเปิดบังเกิดเชาว์
เหมือนกระเซ้าด้วยกลอนอ้อนวาจา
บันทึกไว้ช่วยจำนำค้นหา
เขียนบอกไว้ให้เห็นเป็นวิชา
วันข้างหน้าต่อไปจะได้ดีฯ
บูรพาทรนง