ขอความช่วยเหลือเรื่องวิชาภาษาไทยหน่อยครับ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 02:11:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความช่วยเหลือเรื่องวิชาภาษาไทยหน่อยครับ  (อ่าน 6720 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
21 พฤษภาคม 2011, 01:05:PM
AJ
LV3 นักเลงกลอนประจำซอย
***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19



« เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2011, 01:05:PM »
ชุมชนชุมชน

ขอรบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยเหลือในเรื่องวิชาภาษาไทยหน่อยครับ

ตอบคำถามต่อไปนี้

1.สุนทรพจน์หมายความว่าอย่างไร
2.สุนทรพจน์จัดเป็นชนิดของคำประเภทใด
3.สุนทรพจน์จัดเป็นการสร้างคำแบบใด
4.วรรณกรรมหมายถึงอะไร
5.วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนคืออะไร
6.โอเรียนเต็ลจัดเป็นคำภาษาต่างประเทศประเภทใด

อ่านสุนทรพจน์ที่ให้ดังต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 7-10

       โลกคือหนังสือที่ยาวที่สุดในโลก
       การอ่านทำให้เรารู้จักโลกของหนังสือเล่มนี้มากขึ้น
       ทำให้เรารู้จักคนอื่นและการรู้จักคนอื่นทำให้เรารู้จักตัวเอง
       ทำให้เราได้พูดคนกับตัวเอง
       และเข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น

7."โลกคือหนังสือที่ยาววที่สุดในโลก" หมายความว่าอย่างไร (คำตอบ 3 บรรทัด)
8."การอ่านทำให้รู้จักหนังสือของโลกเล่มนี้มากขึ้น" หมายความว่าอย่างไร (คำตอบ 3 บรรทัด)
9."การรู้จักคนอื่นทำให้เรารู้จักตัวเอง" หมายความว่าอย่างไร (คำตอบ 3 บรรทัด)
10."การเข้าใจความเป็นมนุษย์" คืออะไร (คำตอบ 3 บรรทัด)

ขอรบกวนหน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บอม ซอง ดุ๊ก, my smile, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
21 พฤษภาคม 2011, 02:44:PM
♥ กานต์ฑิตา ♥
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 500
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,078



« ตอบ #1 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2011, 02:44:PM »
ชุมชนชุมชน

1.คำว่า “สุนทรพจน์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำอ่านว่า “สุน-ทอ-ระ-พด” หรือ “สุน-ทอน-ระ-พด” และให้
ความหมายว่า “คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้น กล่าวในพิธีการ หรือโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น
นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ”

ถ้าแปลตามตัวอักษร “สุนทร” แปลว่า งาม ดี ไพเราะ ส่วน “พจน์” ก็แปลว่า “คำพูด ถ้อยคำ”
ดังนั้นคำว่า “สุนทรพจน์” จึงแปลตรงตัวว่า “คำพูดที่ไพเราะ งดงาม คำพูดที่ดี”
การกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสสำคัญจึงเป็นการพูดในสิ่งที่ดีงาม ให้คนฟังฟังแล้วเกิดความรู้สึกที่ดี
เว้นแต่นักการเมืองบางคน ไม่ว่าระดับไหน ทั้งในประเทศหรือระดับโลก มักถือโอกาสโจมตีผู้อื่นหรือฝ่ายอื่น
แม้การกล่าวในการประชุมสหประชาชาติก็เถอะ บางทีก็ดูไม่ “สุนทร” นัก

2.เป็นคำบรรยายโวหาร และสาธกโวหาร




(นิตยสารสกุลไทยฉบับที่ 2661 ปีที่  51 ประจำวัน  อังคาร ที่  18 ตุลาคม  2548 โดย  สุดสงวน)

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : AJ, บอม ซอง ดุ๊ก, my smile, ดาว อาชาไนย, พี.พูนสุข, อ้อนจันทร์, จารุทัส

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
21 พฤษภาคม 2011, 02:49:PM
AJ
LV3 นักเลงกลอนประจำซอย
***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19



« ตอบ #2 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2011, 02:49:PM »
ชุมชนชุมชน

ขอบคุณมากครับ  ตบมือให้ ตบมือให้ ตบมือให้

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บอม ซอง ดุ๊ก, my smile, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
21 พฤษภาคม 2011, 09:20:PM
♥ กานต์ฑิตา ♥
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 500
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,078



« ตอบ #3 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2011, 09:20:PM »
ชุมชนชุมชน


3.แบบสร้างคำ คือ วิธีการนำอักษรมาประสมเป็นคำเกิดความหมายและเสียงของแต่ละ พยางค์ ใน ๑ คำ
จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน เป็นอย่างน้อย คือ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ อย่างมากไม่เกิน ๕ ส่วน คือ
สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์

สุนทรพจน์จัดเป็นการสร้างคำ แบบคำสมาส คือ สุนทร (ไพเราะ) + พจน์ (คำพูด). = สุนทรพจน์ (คำพูดที่ไพเราะ) 

(คำสมาสเป็นวิธีสร้างคำในภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบ
กันคล้ายคำประสม แต่คำที่นำมาประกอบแบบคำสมาสนั้น นำมาประกอบหน้าศัพท์ การแปล
คำสมาสจึงแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า )
สาวน้อยหัวเราะ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : บอม ซอง ดุ๊ก, AJ, ดาว อาชาไนย, พี.พูนสุข, อ้อนจันทร์, จารุทัส

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
31 พฤษภาคม 2011, 07:57:AM
พี.พูนสุข
กิตติมศักดิ์
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1269
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,104


ทิวาฉาย ณ ปลายผา


« ตอบ #4 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2011, 07:57:AM »
ชุมชนชุมชน


      ขอตอบข้อ 7-10 จะวางแนวใ้้ห้ ไปขยายความให้ครบ 3 บรรทัดเองนะคะ

      ข้อ 7   "โลกคือหนังสือที่ยาวที่สุดในโลก" หมายความว่า เปรียบโลกคือหนังสือเล่มหนึ่ง ที่มีเนื้อหาหรือเรื่องราวที่ยาวที่สุด
               และมีนักประพันธ์จำนวนมากกว่าหนังสือเล่มใดๆในโลกใบนี้ เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เราสามารถแสวงหาความรู้
               จากการอ่านได้ทุกภาษา ทุกศาสตร์ ทุกแขนงอย่างไมีมีวันจบ
   
      ข้อ 8   "การอ่านทำให้เรารู้จักโลกของหนังสือเล่มนี้มากยิ่งขึ้น"
หมายความว่า เมื่อเราอ่านโลกของหนังสือเล่มนี้แล้ว
              จะทำใ้ห้เรามีความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ส่งผลให้เรารู้จักคิด
              มีจินตนาการ  มองโลกได้กว้างไกล มีโลกทัศน์ ยิ่งอ่านมากยิ่งทำให้เห็นคุณค่าของหนังสือเล่มใหญ่เล่มนี้มากยิ่งขึ้น


      ข้อ 9  การรู้จักคนอื่นทำให้เรารู้จักตัวเอง หมายความว่า การอ่านทำให้เรารู้จักเรื่องราวของมนุษย์ที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
              ทั้งดีและชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม แล้วย้อนมาดูตัวเองว่า เราเป็นเช่นนั้นหริอไม่


      ข้อ 10  การเข้าใจความเป็นมนุษย์ คือ รู้ความหมายของความเป็นมนุษย์ ว่ามีพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร เหมือนกันหรือ
               แตกต่างกัน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น


                       ขออภัย ตอบช้าไปหน่อย เพิ่งล่องมาเจอ ขอให้ตั้งใจเรียน อย่าดื้อนะคะ

                                                          ยายกะปู กิ๊บๆ

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : AJ, อ้อนจันทร์, จารุทัส

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
31 พฤษภาคม 2011, 10:02:PM
AJ
LV3 นักเลงกลอนประจำซอย
***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19



« ตอบ #5 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2011, 10:02:PM »
ชุมชนชุมชน

ขอบคุณมากครับ  ตบมือให้ ตบมือให้ ตบมือให้

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 1 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
31 พฤษภาคม 2011, 10:22:PM
♥ กานต์ฑิตา ♥
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 500
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,078



« ตอบ #6 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2011, 10:22:PM »
ชุมชนชุมชน

4.วรรณกรรมหมายถึงอะไร

คำว่า “วรรณกรรม” (literature)  เป็นคำที่มีความหมายคลุมเครือและขึ้นอยู่กับการนิยามของผู้นิยามแต่ละคน นักวรรณคดีวิจารณ์ในอดีตให้ความหมายไว้กว้างมาก เช่น
ว่าหมายถึงงานเขียนทั่วไปทุกประเภท ตั้งแต่ตำรา หนังสือ งานเขียนประกาศ โฆษณา แม้แต่แคตตาล็อคสินค้าของห้างเทสโก้-โลตัส  การนิยามเช่นนี้ น่าจะทำให้เกิด
ปัญหาเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับนักวรรณกรรมศึกษาแล้ว คำว่า “วรรณกรรม” ไม่ได้กินความครอบคลุมจนหาขอบเขตไม่ได้อย่างนั้น ถ้าเช่นนั้น นักวรรณกรรม
ให้ความหมายของคำๆ นี้ไว้อย่างไร?

วรรณกรรมในความหมายของนักวรรณกรรมศึกษา จำกัดแคบเข้ามาเฉพาะงานเขียนที่เป็นงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีคุณลักษณะบางอย่างเฉพาะ เป็นต้นว่า
เป็นงานเขียนที่อยู่บนพื้นฐานของจินตนาการ การใช้ภาษาเชิงภาพพจน์ การอุปมาอุปมัย หรือรวมไปถึงท่วงทำนอง จังหวะจะโคนที่งดงามไพเราะ มีเค้าโครงเรื่อง
มีตัวละคร การนิยามในลักษณะนี้จึงทำให้เกิดการจำกัดประเภทของงานเขียนว่าเข้าข่ายวรรณกรรมอยู่ไม่กี่ประเภท อาทิ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย เป็นต้น

การนิยามในลักษณะนี้ ปรากฏในการนำเสนอของนักวิจารณ์ตะวันตกในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยการนำของกลุ่มนักวิจารณ์ที่เรียกตนเองว่า
“นักวิจารณ์แนวใหม่” (The New Critics) พวกเขาเริ่มจำกัดขอบเขตของวรรณกรรมให้แคบเข้ามา อย่างไรก็ตาม เมื่อทัศนะทางวรรณกรรมได้เปลี่ยนไป
การนิยามความหมายของวรรณกรรมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแนวคิดของนักทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์แต่ละกลุ่ม ทัศนะใหม่ ๆ นี้ต่างก็หักล้าง
และโต้แย้งกันเอง ดังเช่น การให้คำนิยามของนักวิจารณ์แนวใหม่ ได้รับการโต้แย้งจากนักวิจารณ์รุ่นต่อมาว่า งานเขียนที่ไม่ใช่วรรณกรรมบางประเภท
ก็มีท่วงทำนองเขียนที่มีจังหวะจะโคน มีการใช้ภาษาเชิงภาพพจน์เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากงานเขียนที่ให้ความบันเทิงบางประเภท อาทิ
บทเพลงสมัยนิยม (popular song) เรือแนวตลกขบขัน หรือแม้แต่การเขียนตามฝาผนังทีเรียกกันว่า “กราฟฟิตี้” ซึ่งในทัศนะของนักวิจารณ์บางคน
จะมองว่า งานพวกนี้เปรียบเหมือนวัชพืช ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ที่เราไม่ต้องการที่จะเพาะปลูก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการให้นิยามว่าวรรณกรรมคืออะไร มันก็ขึ้นอยู่กับ
จุดมุ่งหมายในการอ่าน การใช้ของผู้ที่สร้างคำนิยามขึ้นมาเป็นสำคัญ

นักวิจารณ์วรรณกรรมตะวันตกในปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่มีกระแสคิดแบบหลังสมัยใหม่ หรือ “โพส์ตโมเดิร์นิสม์” ให้ความหมายวรรณกรรมในแง่มุมที่น่าสนใจ
และได้รับการยอมรับกันกว้างขวางว่า วรรณกรรมเป็นการประกอบสร้างทางสังคม (social construction) ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่หมายความว่า วรรณกรรม
ถูกสร้างโดยสังคม  ทั้งวรรณกรรมและหลักการเกี่ยวกับวรรณกรรมต่างได้รับการประกอบสร้างและสถาปนาขึ้นมาโดยสังคม อะไรก็ตามสามารถเป็นวรรณกรรมได้ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะงานเขียนที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าคงที่อย่างปราศจากข้อสงสัย   ดังเช่นงานเขียนวรรณคดีไทยหลายๆเรื่อง ที่ยังได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้

จะเห็นได้ว่า การนิยามความหมายของวรรณกรรมขึ้นอยู่กับมุมมองและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับวรรณกรรมที่อยู่เบื้องหลัง  หากประมวลมโนทัศน์ในการนิยามวรรณกรรม
ของนักวิจารณ์ในแนวทฤษฎีต่างๆ ก็จะมีการนิยามที่แตกต่างกันออกไป ดังเช่น  วรรณกรรม คือภาษา วรรณกรรมคือเรื่องสมมุติ วรรณกรรมคือ ความจริง
วรรณกรรมคือ สุนทรียภาพ วรรณกรรมคือ สัมพันธบท
 

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : อ้อนจันทร์, พี.พูนสุข, AJ, จารุทัส

ข้อความนี้ มี 4 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  ชุมชน  |  ส่งหัวข้อนี้  |  พิมพ์  
 

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s