ข้อมูลจาก : http://www.st.ac.th/bhatips/gabpglon_16.htm
กาพย์ฉบัง ได้ชื่อว่าฉบัง ๑๖ เพราะ ๑ บท มี ๑๖ พยางค์ หนึ่งบทมีสามวรรค วรรคที่หนึ่ง หกพยางค์
วรรคที่สองมีสี่พยางค์ และวรรคที่สามเป็นวรรคสุดท้ายมีหกพยางค์ รวมเป็นสิบหกพยางค์
การวางคณะให้สังเกตแผนผัง จะเห็นบรรทัดที่หนึ่งมีสองวรรค และบรรทัดที่สองมี ๑ วรรค วางเช่นนี้
ต่อไปเรื่อย ๆ
สัมผัสระหว่างวรรค ในหนึ่งบทมีคู่สัมผัสเพียงคู่เดียว คือพยางค์สุดท้ายของวรรคที่หนึ่งสัมผัสกับ
พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ สอง
ฉบังสิบหกความหมาย หนึ่งบทเรียงราย
นับได้สิบหกพยางค์
สัมผัสชัดเจนขออ้าง เพื่อเป็นแนวทาง
ให้หนูได้คิดคำนึง
พยางค์สุดท้ายวรรคหนึ่ง สัมผัสรัดตรึง
สุดท้ายวรรคสองต้องจำ
สุดท้ายวรรคสามงามขำ ร้อยรัดจัดทำ
สัมผัสรัดบทต่อไป
บทหนึ่งกับสองว่องไว จงจำนำไป
เรียงถ้อยร้อยกาพย์ฉบัง
อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์
ทองหยิบจับจีบสีเหลือง บอกความรุ่งเรือง
ชี้ชัดวัฒนธรรม
สัมผัสระหว่างบท
เมื่อแต่งมากกว่า ๑ บทต้องมีสัมผัสระหว่างบท พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้าย
ของวรรคที่สองของบทถัดไป
ตัวอย่าง
ทองหยิบจับจีบสีเหลือง บอกความรุ่งเรือง
ชี้ชัดวัฒนธรรม
อย่าให้เหลือเพียงทรงจำ คุณค่าเหลือล้ำ
แนะนำขนมของไทย
การเลือกใช้คำ
กาพย์ฉบัง ๑๖ นิยมใช้คำเป็นคู่ คือ
๐๐/๐๐/๐๐ ๐๐/๐๐
๐๐/๐๐/๐๐
เช่น
กระเทือน / กระทบ / กระแทก ใช่ตก/ใช่แตก
แต่แทรก/รู้สึก/ในทรวง
(ศิวกานต์ ปทุมสูติ)
ความไพเราะของกาพย์ฉบัง ๑๖ จากกาพย์พระไชยสุริยา ของสุนทรภู่
มะม่วง/พวงพลอง/ช้องนาง หล่นเกลื่อน/เถื่อนทาง
กินพลาง/เดินพลาง/หว่างเนิน
เห็นกวาง/ย่างเยื้อง/ชำเลืองเดิน เหมือนอย่าง/นางเชิญ
พระแสง/สำอาง/ข้างเคียง
เขาสูง/ฝูงหงส์/ลงเรียง เริงร้อง/ซ้องเสียง
สำเนียง/น่าฟัง/วังเวง
กลางไพร/ไก่ขัน/บรรเลง ฟังเสียง/เพียงเพลง
ซอเจ้ง/จำเรียง/เวียงวัง
ฯลฯ
ก ข /ก กา /ว่าเวียน หนูน้อย/ค่อยเพียร
อ่านเขียน/ผสม/กมเกย
ระวังตัว/กลัวคร/ูหนูเอ๋ย ไม้เรียว/เจียวเหวย
กูเคย/เข็ดหลาบ/ขวาบเขวียว
หันหวด/ปวดแสบ/แปลบเสียว หยิกซ้ำ/ซ้ำเขียว
อย่าเที่ยว/เล่นหลง/จงจำ
หม้อแกง/ จัดแบ่ง/ ลงจาน รสมัน /หอมหวาน
ท้องพาล/ กู่ร้อง/ จ้องหา
เพียงเพื่อ/ ลิ้มรส/ โอชา เพียงสัก /ครั้งครา
ก็พา/ ติดพ้อง /ต้องใจ
อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
22 พฤศจิกายน 2024, 07:17:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: กาพย์ฉบัง ๑๖ (อ่าน 187920 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: