ดวงดาวดา อย่าแชเชือน
เคลื่อนเถิดรา คราเดือนคล้อย
(ดาวเคลื่อน พบเห็นได้ในโคลง กลอนไทย เพลงไทย เมื่อยามเดือนคล้อย)
แขกบันตน
ทำไมแต่งโคลงประกอบกลอนกลบทสร้อยสลับคู่สะคราญ เพราะเสน่ห์คำสร้อยของโคลง ผมแปลงเป็น สร้อยคู่สะคราญ
คำซ้อน คือการนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงข้ามกัน ใกล้เคียงกัน มาเรียงต่อกัน แล้วทำให้เกิดคำใหม่ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำเดิม หรือมีความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่ง โดยคำมูลใช้สร้างคำซ้อนนั้นอาจเป็นคำมูลจากภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
การซ้อนคำเป็นการสร้างคำใหม่ในภาษาไทยรูปแบบหนึ่ง ทำให้เราได้คำใหม่มาใช้ในภาษาไทยมากขึ้น โดยคำซ้อนในภาษาไทยสามาถแบ่งเป็น ๒ กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ คำซ้อนเพื่อความหมายและคำซ้อนเพื่อเสียง
เคลื่อนคล้อย รกร้าง นิดหน่อย เปลี่ยนแปลง กดขี่ ตัดขาด โขกสับ อ่อนหวาน เก่งกาจ อ้างว้าง
แจกแจง
รา
คำวิเศษณ์
(กลอน)
คำชวนให้อีกฝ่ายหนึ่งทำตาม.
"ไปเถิดรา"
คำสรรพนาม
(กลอน)
เราสอง, เขาทั้งสอง.
"สองรา"
คำกริยา
1.
ค่อย ๆ เลิกกันไป.
"เลิกรา รากันไป"
2.
ลดลง หรือทำให้ลดลง.
"ราไฟในเตา ไฟค่อย ๆ รา"
แลง= ใกล้ค่ำ แพง= รัก ถ้าจะว่านี่เป็นภาษาลาว ช่าง ผมพบเห็นใน โคลง กสอนไทย เพลงไทย
ก็เหมือน น้องเมียลาว อยู่บ้านเรา กินข้าวเรา ก็เป็นน้องเมียเรา
ต้อยและติ่งพลาพลดลภราดร
รอนแลงแสงกล่ำกล้ำ รำไร
จวนค่ำจำหวิวไหว เหว่ว้าง
เลือนรางช่างเป็นไป แปรเปลี่ยน เรียนรา
รอนเพื่อนเลือนราร้าง เริ่มรู้เรียนหรือ
เพื่อนรักกันพันผูกฝากปลูกฝัง เรื่องเล่าหลังก่อนเก่าเอาสอนสื่อ
เพื่อนรักเก่าเขาคอยมิปล่อยมือ เรื่องเล่าลือป่วนไปจึงไม่จริง
ก้าวไกลกว้างย่างโยกมุ่งโลกใหม่ ไก่หรือไข่เกิดก่อนย้อนแย้งยิ่ง
ก้าวไกลกว่าท้าทวงทั้งช่วงชิง ไก่หรือขิงรอราข่าเริ่มแรง
คราวดาวเดือนเคลื่อนคล้อยพลอยคลาดขลัง หวาดระวังหมองหม่นคนสิ้นแสง
คราวดาวใดใสสดหมดเพื่อนแพง หวาดระแวงดูดำทำดูดี
[/color][/size]