Re: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
21 พฤศจิกายน 2024, 08:21:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่  (อ่าน 139323 ครั้ง)
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2023, 11:08:AM »

         
[
             
ผมเชิาใจเอาเองว่า กลบท"สร้อยสลับคู่สคราญ" คือ กวีได้ดัดแปลง ต่อยอด กลบท "สร้อยคู่สคราญ" ของ (คุณชาญชนะ ฆังคะโชติ) ผู้ประพันธ์ต้นแบบ

ถ้าจะพูดว่า ผมก็ ครึ่งหนึ่ง ได้ทำการ ครึ่งหนึ่ง ไม่ได้ทำการแัดแปลง กลบทสร้อยคู่สคราญ ด้วยเช่นกัน
ก็คือ พูดถูกทั้งสองครึ่ง



            อัปสรา อินเดีย   
           

จากตำนานดังกล่าว ชาวฮินดูเชื่อว่า เมืองจิดัมทรัม  เป็นสถานที่ที่พระอิศวรเสด็จลงมาแสดงการฟ้อนรำบนโลกมนุษย์เป็นครั้งแรก จึงคิดสร้างเทวรูปของพระองค์ ปางฟ้อนรำ เรียกว่า “นาฏราช” หรือ  “ศิวนาฏราช” และช่วยกันจำหลักท่ารำ ๑๐๘ ท่าของพระอิศวรไว้ที่เสาไม้ทางตะวันออกที่ทางเข้ามหาวิหาร ท่ารำเหล่านี้ตรงกับที่กล่าวไว้ในตำรา “นาฏยศาสตร์” ซึ่งรจนาโดยพระภรตมุนี ท่าฟ้อนรำเหล่านี้ถือเป็นแบบฉบับของนาฏศิลป์อินเดีย ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ และแพร่กระจายมาสู่ดินแดนไทย
……..
จากตำนานข้างต้น กล่าวได้ว่าไทยรับอิทธิพลรูปแบบการฟ้อนรำมาจากตำนานพระอิศวร    พิสูจน์ได้จากท่ารำแม่บทของนาฏศิลป์ไทยนั้นมี ๑๐๘ ท่า ซึ่งมีเค้ามาจากท่า “นาฏราช” ตามตำนาน     ศิวนาฏราช อีกทั้งเทวรูปที่คนในวงการนาฏศิลป์เคารพนับถือคือเทวรูปศิวนาฏราช
……เครดิต    https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=https://www.gotoknow.org/posts/387211&ved=2ahUKEwjqlOyC14L_AhU48DgGHXvUB3oQFnoECBUQAQ&usg=AOvVaw3ADCeXYqXuGPvw8eNf4gx_

แต่….นักวิ สายเขมร บอกว่า
…..

“นาฏศิลป์และดนตรีของไทยได้แบบแผนจากอินเดีย” เป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยอ้างนิทานอินเดียเรื่องศิวนาฏราช (พระศิวะฟ้อนรำ) ใช้ครอบงำการศึกษาไทยนานมากแล้ว (ขณะนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง)

 

แต่เรื่องของศิวนาฏราชเริ่มมีบทบาทสำคัญในอินเดียภาคเหนือแล้วตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.1000 จากนั้นจึงแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนกัมพูชาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน (สมัยก่อนเมืองพระนคร)

ท่าฟ้อนรำศิวนาฏราชที่หน้าบันปราสาทพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์) และที่ปราสาทอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในดินแดนไทยและในดินแดนกัมพูชา เป็นท่าฟ้อนรำของท้องถิ่น (ดังที่พบในท่าฟ้อนรำของบรรดานางอัปสรทั้งที่ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน) ล้วนแสดงลีลาแตกต่างจากท่ารำของอินเดีย
…….



          นาฏศิลป์ อินเดีย ไทย
               



    ไม่รู้จำวันไหว้ถึง ไม่ทัน

…หมองหมาย เป็นเสน่ห์ของคำโคลงคลาสสิค  ถ้าเป็นคำกลอนจะพูดว่า หมองเมื่อหมาย




วันวารการเริ่มล้วน     ควรคน
หลอกเปลี่ยนเลียนแกมกล     เกี่ยงแก้
แปลงปรับเปลี่ยนวกวน     วอนว่า ระอาเอย
วันพ่าย วายพวกแพ้     เพื่อนพ้องหมองหมาย

สุขที่ใจใคร่มักรักกำเรืบ   เจ็บต่อเติบโตตามรู้ความหมาย
สุขที่จำคำแน่ไม่แก้กลาย   เจ็บต่อตายขำขื่นคนคืนคำ

เมื่อเจ้ามาคร่าคล้อยร้อยห้าสิบ   หากขยิบถูกหักยักลงต่ำ
เมื่อเจ้ามีสีส้มอมแอบอำ   หากขยำรุนแรงแดงล่องลอย

            วันวารคลาลาเลือนเตือนเรรวน
            ใครก็ควรรู้รักสู้ศักดิ์สร้อย
            วันวารเคลื่อนเลือนลาปริบตาปรอย
             ใครก็คอยผู้ภักดิ์รักราชเรา

size]

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

โซ...เซอะเซอ, ระนาดเอก

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s