Re: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
21 ธันวาคม 2024, 09:12:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ที่แล้วไปไม่นับ กลับมาเริ่มใหม่  (อ่าน 145060 ครั้ง)
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2022, 12:04:PM »

                 

         ช้าแขก
         

ถ้าจะเอ่ยถึงคำฉันท์ ข้าพเจ้า จะนึกถีง "มัทนะพาธา"
การพรรณนาเรื่องของ สตรี ความรัก ฉันท์ คือคำประพันธ์ที่เหมาะ ไพเราะที่สุด
................
หนังสือที่แต่งได้โดยยาก
ลักษณะคำประพันธ์ของบทละครพูดคำฉันท์ เรื่องมัทนะพาธา
หากเพื่อน ๆ สังเกตดี ๆ ก็จะพบว่าวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราได้ศึกษากันในระดับชั้นมัธยมนั้นมีผลงานพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ อยู่มากมายทีเดียว และจากการที่ได้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดละครพูดตามแบบตะวันตกมาก และได้พระราชนิพนธ์บทละครพูดเองอยู่หลายเรื่อง เช่น บทละครเรื่องเห็นแก่ลูก ตามใจท่าน เวนิสวาณิช วิวาห์พระสมุทร และอื่น ๆ โดยบทละครเหล่านี้มักเป็นร้อยแก้วหรือคำกลอน แต่มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดเรื่องเดียวที่แต่งเป็นฉันท์ ประกอบด้วยฉันท์ทั้งหมด ๒๑ ประเภทภายในเรื่องเดียว ได้แก่ อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อุปชาติฉันท์ ๑๑ จิตรปทาฉันท์ ๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ สาลินีฉันท์ ๑๑ อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ สวางคตาฉันท์ ๑๑ รโธทธตาฉันท์ ๑๑ โตฏกฉันท์ ๑๒ กมลฉันท์ ๑๒ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ปิยังวทาฉันท์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มันทักกันตาฉันท์ ๑๗ กุสุมิตลดาเวลิตาฉันท์ ๑๘ สัททุลวิกีฬิตฉันท์ ๑๙ เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙ อิทิสังฉันท์ ๒๐ สัทธราฉันท์ ๒๑

[อินทะวิเชียร, ๑๑.]
มายาวิน

ไม้เรียกผะกากุพ- ชะกะสีอรุณแสง
ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณีณยามอาย
ดอกใหญ่และเกสร สุวคนธะมากมาย
อยู่ทนบวางวาย มธุรสขจรไกล
อีกทั้งสะพรั่งหนาม ดุจะเข็มประดับไว้
ผึ้งเขียวสิบินไขว่ บมิใคร่จะห่างเหิน.
อันกุพฺชะกาหอม บริโภคอร่อยเพลิน
รสหวานสิหวานเชอญ นรลิ้มเพราะเลิดรส
กินแล้วระงับตรี พิธะโทษะหายหมด
คือลมและดีลดทุษ เสมหะเสื่อมสรรพ์
อีกทั้งเจริญกา- มะคุณาภิรมย์นันท์
เย็นในอุราพลัน และระงับพยาธี
(ขอบคุณ บทความจาก ) https://blog.startdee.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%A15

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙

หนึ่งบท จะมี ๓ วรรค (โดย ๓ วรรคถือเป็นหนึ่งบาท)
วรรคแรกมี ๑๒ พยางค์
วรรคสองมี ๕ พยางค์ ........ วรรคสุดท้ายมี ๒ พยางค
(รวมเป็น ๑๙ พยางค์ ในหนึ่งบท)

ครุ-ลหุ แต่ละวรรคจะมีลักษณะ คือ

ครุ-ครุ-ครุ- ลหุ-ลหุ-ครุ- ลหุ-ครุ- ลหุ-ลหุ-ลหุ-ครุ
ครุ-ครุ- ลหุ-ครุ-ครุ. ลหุ-ครุ

ลักษณะการส่งสัมผัส
คำสุดท้ายของวรรคแรก ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
ส่วนวรรคที่สามเป็นอิสระ
- สัมผัสระหว่างบท -
ให้คำสุดท้ายของบทก่อนหน้า ส่งสัมผัสไปที่คำสุดท้ายในวรรคที่ ๑ ของบทต่อไป
หากต้องการเพิ่ม สัมผัสใน คำที่๖ ส่งสัมผ้สไปที่คำที่๘ ของวรรคแรก

       

       
โคลง ไฮกุ

            มธุรส หอมหวาน
            กุหลาบ ที่สุด แห่งความงาม
            ชื่อนี้ สื่อแทนรัก
           
ร่ายสุภาพ

             รูปรสกลิ่นจินต์จำ สำเนียงเสนาะโสต
             สะโอดอั๋นหนั่นเนื้อ ชวนชื่นจิตชิดเชื้อ
             ร่ำร้องสองสม

กาพย์ดอกแคร่วง
               

               ค่ำคีนรี่นรมย์. ต่างไต้ไพรพรม
               แจ่มจันทร์

สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙

                 ตูม ตูม แต็ก แหนะระบำ จะขำ ก็บมิขัน
                  แม้อ้วนสะโพกสั่น                      ก็งาม

แขก.
     https://www.tiktok.com/@jwandada/video/7006723206660836610


     

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

ระนาดเอก, โซ...เซอะเซอ

ข้อความนี้ มี 2 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 กรกฎาคม 2022, 10:00:AM โดย @free » บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s