2.2 โคลงกลบทผสม 2 ชนิดที่เกิดจากการใช้โคลง “สพพพ” แต่งร่วมกับโคลงกลบทเดี่ยวชนิดใดชนิดหนึ่ง เกิดเป็นโคลงกลบทผสม 2 ชนิด ได้แก่
2.2.1 โคลงกลบทผสม อักษรสามกับงูตวัดหาง ได้แก่
รวังไพรร่ายร้องกร่อ กร๋อกรอ
แอ้แอ่แอ้แอ๊อุลอ เลียบร้อง
พญาลอล่อล้อคลอ เคล้าคู่ อยู่แฮ
กรอดกรอดกร๊อดกร๋อดร้อง กรอกเต้นเล่นกระแต
2.2.2 โคลงกลบทผสม ซ้อนดอกกับงูตวัดหาง ได้แก่
เหลียวซ้ายฝ่ายฝั่งเฟื้อย เฟือยไสว
พงไผ่ไม้รําไร รอบคุ้ง
แลขวาป่าแฝกไฟ ฟอนเรี่ยน เกรียนแฮ
ลิบลิ่วทิวท้องถุ้ง ถิ่นกว้างวางเวง
ผู้วิจัยพบว่าสุนทรภู่แต่งโคลงกลบทเดี่ยวและโคลงกลบทผสมรวมกันถึง 354 บทในจํานวนโคลงทั้งสิ้น 462 บท ซึ่งแสดงให้เห็นฝีมือการแต่งโคลงของสุนทรภู่อย่างชัดเจนเพราะลําพังแต่งโคลงสี่สุภาพธรรมดาก็แต่งยากอยู่แล้ว แต่สุนทรภู่กลับสามารถแต่งโคลงที่มีลักษณะพิเศษแบบโคลงสุนทรภู่ได้มากถึง 462 บท ในจํานวนนี้เป็นโคลงกลบทที่มีวิธีการแต่งตามข้อบังคับพิเศษหรือข้อบังคับเฉพาะอีก 354 บท คิดเป็นร้อยละ 76.62 นิราศสุพรรณจึงเป็นโคลงนิราศที่สะท้อนให้เห็นความสามารถพิเศษของสุนทรภู่ในการแต่งโคลง ทั้งยังเป็นนิราศที่มีความยาวมากที่สุดและมีโคลงกลบทมากที่สุดในบรรดาโคลงนิราศที่กวีโบราณเคยแต่งกันมาก่อนนิราศสุพรรณของสุนทรภู่
ขอจบ บทความวิจัยเรื่อง “นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ” เแบบ ของสุนทรภู่ เพียงเท่านี้ หากมีควันหลงอาจนำมาเสนอในโอกาสต่อไป
ขอขอบคุณ และ ขออณุญาต เจ้าของงานวิจัย
ศาสตราจารย์ ดร. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
ฝั่งโขง
นางครวญ
ส่วนตัวผมเองก็พอจะได้แบบแผนฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพแบบสุนทรภู่ เป็นแบบหลัก ส่วนที่เป็นกลบท บางบทน่านำมาใช้ บางบทก็อาจรู้ไว้ใช่ว่า เพราะบางบทก็ขัดกับฉันทลัษณ์ ที่ผมหวังว่าน่าจะเป็น
คมคราวคาวใคร่แค้น ครวญคม
เกล้าเกี่ยวเกลียวแกนกลม แก่เกล้า
ต่างใจไต่จมตม จิตต่าง จางเฮย
สามร่างสางรอยเส้า ร่ำเศร้าเราสาม
ยามเยือนยังฝั่งน้ำ ลำโขง
ชมชื่นยืนหยัดโยง เยี่ยมเหย้า
โครมครืนคลื่นคลาโคลง เคลงเคลื่อน เลือนฤๆ
คุณค่าควรคิดเค้า ค่อนคุ้นเคยคำ
ลำโขงไหลขุ่นล้น คนคอย
รานเจื่อนเลือนใจลอย ร่ำร้อง
ฝากครวญฝ่าครืนฝอย ฟากฝั่ง ฟังรา
เคยร่ำคำรักน้อง แน่นั้นนิรันดร์รือ