.ต่อ)
บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”........
1.2.2 สุนทรภู่สร้างโคลงกลบทชนิดใหม่
1 สร้างโคลงกลบทชนิดใหม่ที่เป็นกลบทเดี่ยว ในจํานวนโคลงกลบท 11 ชนิดทีสุนทรภู่แต่งในนิราศสุพรรณ มีโคลงกลบทเดียวทีสุนทรภู่คิดสร้างสรรค์ขึนใหม่ 2 ชนิด ได้แก่ กลบทซ้อนดอก และงูตวัดหาง นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีนักวิชาการคนใดค้นพบว่ากลบทซ้อนดอกของสุนทรภู่มีลักษณะการแต่งเป็นเช่นใดและมีในโคลงบทใดบ้าง นักวิชาการหลายคน เช่น พ.ณ ประมวญมารค (2510: 178) คิดว่ากลบทซ้อนดอกคือกลบทก้านต่อดอก ซึงไม่ถูกต้อง ผู้วิจัยพบว่ากลบทซ้อนดอกมีอยู่ 11 บทในนิราศสุพรรณ ได้แก่ บทที 38 49 98 160 166 274 288 291 387 412 และ 426 และมีลักษณะการแต่งต่างจากกลบทก้านต่อดอกอย่างเด่นชัด ดัง
เช่นโคลงกลบทก้านต่อดอกที่คัดมาจากโคลงดั้นปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนฯ ซึงเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ ปรมานุชิตชิโนรส ดังนี
ก้านต่อดอกของกรมปรมาฯ
หอรฆังทรงสร้างใหม่ เหมือนเรือน
ในอุดรลานเถลอง หลั่นนั้น
การประดับสรรพสรรพ์เหมือน มีที่ เพรงพ่อ
สถานสถิตนอกชั้นหั้น แห่งกระแพง
กลบทซ้อนดอกของสุนทรภู่
ข้างคลองสองฝังเฟือย เฟือยแขม
คาแฝกแซกเซียดแซม ซับซ้อน
ในพุ่มกุ่มกกแกม กอย่า รย้าแฮ
นกหกวกเวียรหว้อน วิงเต้นเผ่นโผน
…..(ยังมีต่อ)
…...สุดยอด...อยากมากลองแต่ง….
คืนค่ำนำจันทร์น้อม กระหน่ำโน้มโลมใจ
…….
บัวใบบังพรั่งพร้อย ลอย(ละ)ลาน
ไหลเลื่อนเหมือนวันวาร เหว่ว้า
ยางใยใช่พบพาน เพียงเผื่อน เลือนเลย
นัยหนึ่งุถึงเชือนช้า เช่นช้ำคำครวญ
ชวนชูดูฝ่ายฟ้อน ลครโขน
ศิลป์ส่งคงอวยโอน เอ่ยอ้าง
เรียนรำคร่ำโชกโชน ชาญเชึ่ยว เจียวเฮย
แปรเปลี่ยนเวียนเสรืมสร้าง สิ่งสร้อยพลอยเพลิน
คำ "ฝ่ายฟ้อน" "ลคร" พบบ่อยในคำกลอนรุ่นเก่า น่าใช้ได้ ไม่ผิด เพียงแต่ปัจจุบันไม่นิยม