[/size
บาทสกุณี เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง แสดงจริยวัตร อากัปกริยา อัน นุ่มนวล งามสง่า อ่าองค์ ยงยศ ของ พระอินทร์ กษัตริย์ กษัตรี เป็นต้น
สีดาลุยไฟ ขบวนแห่สีดา เพลงหน้าพาทย์เสมอ สีดาลุยไฟ เพลงเชิดฉิ่ง...บันดาลเป็นโกสุมปทุมทอง
บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”.....(ต่อ)
สัมผัสในแห่งที่1 เป็นสัมผัสในชนิดสัมผัสสระระหว่างคําที 2-3 ร้อยละ 90.31 เป็นสัมผัสในชนิดสัมผัสพยัญชนะระหว่างคําที 2-3 ร้อยละ 2.76 เป็นสัมผัสในชนิดสัมผัสพยัญชนะในตําแหน่งอื่น ร้อยละ 6.44 (คือระหว่างคําที 3-4 บ้าง คําที 1-3 บ้าง หรือคําที 2-4 บ้าง) ขาดสัมผัสชนิดนี 8 บาท ชํารุดจนอ่านไม่ได้ 1 บาท ร้อยละ 0.48
สัมผัสในแห่งที่2
คือ สัมผัสระหว่างคําที 7-8 ในบาทสี่ ผู้วิจัยพบว่า
เป็นสัมผัสสระ ร้อยละ 97.62
เป็นสัมผัสพยัญชนะ ร้อยละ 1.08 เป็นสัมผัสพยัญชนะในคําตําแหน่งอื่น ร้อยละ 0.43 ไม่มีสัมผัสชนิดนี้ ร้อยละ 0.87
สัมผัสในแห่งที่3
คือ สัมผัสระหว่างคําสุดท้ายของบาทกับคําแรกของคําสร้อย พบว่า
เป็นสัมผัสสระ ร้อยละ 88.74 เป็นสัมผัสพยัญชนะ ร้อยละ 7.79 ไม่มีสัมผัสชนิดนี ร้อยละ 3.46
ผลการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่าข้อบังคับการแต่งโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่ คือ เพิ่มสัมผัสใน 3 แห่งในโคลงสี่สุภาพทั่วไปและส่วนใหญ่เป็นสัมผัสสระ มีที่เป็นสัมผัสพยัญชนะน้อยมาก นวัตกรรมด้านรูปแบบโคลงที่สุนทรภู่สร้างขึ้นนี เป็นการต่อยอดรูปแบบโคลงสี่สุภาพที่กวีโบราณในสมัยอยุธยาตอนกลางได้คิดขึ้นซึ่งเป็นโคลงที่มีสัมผัสในชนิดสัมผัสสระขึ้น2แห่งในโคลงบทเดียวกัน คือ ระหว่างคําที 2-3 หรือ 3-4 ในวรรคหน้าของแต่ละบาท และระหว่างคําที 7-8 ในวรรคสุดท้าย ดังปรากฏในโคลงบทแรกของตัวอย่างโคลงที มีชื อว่า “สีหคติกํากาม นาคบริพันธฉันท” ในจินดามณี (วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 2, 2530: 482) และปรากฏอย่างเป็นระบบชัดเจนในโคลงอักษรสามหมู่เกือบทุกบทของพระศรีมโหสถ (เรื องเดิม: 645-649)
ดังตัวอย่าง
โคลงสีหคติกํากาม นาคบริพันธฉันท
๏ ธ วัวกลัวเมียเพี้ยง กลัวเสือ
โม เมาเงางุนเยือ กล่าวกล้า
โอ โถงโครงเปล่าเหลือ ตัวแต่ง
ปาก หากลากคําค้า คึ่งให้ใครขาม
โคลงอักษรสามหมู่
๏ พรียพลรนร่นร้น พลเขา
ปีนป่ ายทลายทะลวงเผา เผ่าเผ้า
สท้านท่านทานเรา ดูยาก
ลอมล่อมล้อมฟางเข้า จ่อข้ายขจายลง
นอกจากนี้ สัมผัสในดังกล่าวยังพบในโคลงพระราชนิพนธ์บางบทของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศด้วย (วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3, 2531: 52-63) เช่น
๏ เสร็จชลอก่อแท่นขึ้น รองรับ
รือเรือกเฝือกประดับ ทับไว้
เสมอนิทรกิจกลหลับ ลืมตื่น
ร้าวฉานสท้านไม้ แยกย้ายสลายลง
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสันนิษฐานว่าสุนทรภู่อาจพัฒนารูปแบบโคลงของตนเองมาจากโคลงสมัยอยุธยาตอนกลางหรือตอนปลายด้วยการเพิ่มสัมผัสสระะหว่างคําสุดท้ายของบาทกับคําแรกของคําสร้อยในบาทสามเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง ทําให้มีสัมผัสในถึง3 แห่งในโคลงบทเดียวกัน
แสดงเป็นผังข้อบังคับการแต่งโคลงสี่สุภาพทั่วไปเปรียบเทียบกับข้อบังคับการแต่งโคลงสี สุภาพของสุนทรภู่ซึ่งมีข้อบังคับการแต่งเพิ่มขึ้น ดังนี้
ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพทั่วไป
ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
(เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว)
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
(จรูญจรัดรัศมีพราว ุ พร่างฟ้า)
สองเขือพี หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่
(ยามดึกนึกหนาวหนาว เขนยแนบ แอบเอย)
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
(เยนฉ่ำนํำค้างย้อย เยือกฟ้าพาหนาว)
อย่างไรก็ตามในกรณีเป็นโคลงที่ ไม่มีคําสร้อยก็จะขาดสัมผัสในระหว่างคําสุดท้ายของบาทกับคําสร้อยไป 1 แห่ง แต่ลักษณะเช่นนี ก็มีน้อยมากในนิราศสุพรรณ.....ยังมีต่อ.....1.1.3 โคลงที่มีสัมผัสข้ามวรรค 1-4 บาท........
เทิดไทยชูสู่ฟ้า สากล
ชวนย่องเพลินเชิญยล เยี่ยมเหย้า
ไปมาอย่าหายหน เหินห่าง รางรา
เรือนหมู่เรียงเคียงเค้า คู่คล้ายสหายเสมอ
..........
[/colorเลอทรงองค์ผ่านฟ้า วรารัชช์...(วัฒน์)
งามท่านการจริยวัตร ว่าไว้
งามเรืองเครื่องกษัตริย์ สูงส่ง องค์เอย
พสกถิ่นอินทราไซร้ แซ่ซ้องฉลองเฉลิม
เสริมสัตย์จัดสื่อสร้าง ฟางไฟ
ลุยย่ำยำเยงไย ยิ่งเย้ย
สีดาฝ่าเปลวไป ปลอดเปล่า เผาเลย
กมลใฝ่ใครหะเฮ้ย ห่อนห้ามทรามสมร
(ไม่พบคำทรามสมรอย่างเป็นทางการ แต่มีผู้ใช้อยู่บ้าง
จึง่ลือกใช้คำนี้เพราะชอบมากกว่าคำ ทรามสงวน